รถเมล์เพื่อคนทั้งมวลและสังคมอยู่เย็นเป็นสุข

แสดงความคิดเห็น

คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ได้ติดตามกรณีที่ทุกคนต้องเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ของสถานที่ และบริการสาธารณะต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการออกแบบที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน จึงมอบให้คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการพิจารณาศึกษาโครงการจัดซื้อรถเมล์ ๓,๑๘๓ คัน ของ งค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) ซึ่งพบว่าหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๖ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้จัดซื้อรถโดยสารประจำทาง(รถเมล์)ใช้เชื้อเพลิง เอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) คณะกรรมาธิการและเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการจำนวนมากก็ได้เสนอแนะกับทางขสม ก.เกี่ยวกับรถเมล์ที่จะจัดซื้อครั้งใหม่ว่าควรอยู่ภายใต้แนวคิด “การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design หรือ UD)” กล่าวคือ เป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) มีทางลาด และพื้นภายในห้องโดยสารเรียบไม่มีสิ่งกีดขวางอย่างไรก็ดี ทาง ขสมก. ก็ดูจะไม่ยอมรับกับข้อเสนอดังกล่าวและให้เหตุผลว่า “น้ำท่วมและปัญหาคอสะพานสูงชัน” เป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถจัดซื้อรถเมล์ชานต่ำได้ และจะแก้ปัญหาด้วยการจัดตั้งลิฟท์ยกสำหรับคนพิการในรถเมล์ปรับอากาศแทน ซึ่งลิฟต์ยกนี้ไม่ใช่แต่เพียงมีราคาแพงเท่านั้น หากแต่ยังมีค่าบำรุงรักษาที่สูง และใช้เวลาดำเนินงานที่ค่อนข้างนาน อันอาจส่งผลให้ผู้โดยสารหรือสังคมมองคนพิการเป็นต้นเหตุของการเสียเวลา

ดังนั้น เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส และคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการร่วมกับเครือข่ายคนพิการ วุฒิสภา ได้มีการแถลงข่าวเรื่อง "รถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน ด้วยความสะดวกปลอดภัย” ที่อาคารรัฐสภา เพื่อย้ำจุดยืนขององค์กรด้านคนพิการที่ต้องการ “รถชานต่ำ ใช้ได้ทุกคน คนพิการไม่ต้องการลิฟต์ยกคนพิการ ขึ้นรถเมล์..ราคาแพง"

นอกจากนั้น คณะกรรมาธิการ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการจัดระบบอำนวยความสะดวกบนรถโดยสารประจำทาง สาธารณะต่อองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดังนี้

๑. ควรกำหนดเป้าหมายในการดำเนินโครงการใหม่เป็นการอำนวยความสะดวกในการให้ บริการแก่คนทุกกลุ่มของสังคมเป็นสำคัญ โดยอยู่บนพื้นฐานของการให้บริการคนทั้งหมด ไม่ใช่มองแต่การให้บริการเฉพาะคนพิการ

๒. ควรพิจารณาทบทวนการตัดสินใจเลือกใช้ลิฟต์ยกแทนการใช้ทางลาด โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้งาน และความเท่าเทียมทางกฎหมายในการเข้าถึงบริการสาธารณะเป็นสำคัญ

๓. ควรคำนึงถึงคนพิการที่มีความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถใช้รถโดยสารปรับอากาศได้

๔. ควรประสานการทำงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลทางเดินเท้า เพื่อปรับปรุงให้สามารถใช้ทางลาดได้ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้

๕. ควรแก้ปัญหาป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ด้านข้างของกระจกรถโดยสาร ที่เป็นอุปสรรคต่อทัศนวิสัยในการมองไปนอกรถ ทำให้ผู้โดยสารมองจุดหมายปลายทาง หรือมองสถานที่ที่ใกล้เคียงที่เป็นจุดสังเกตในการลงรถไม่เห็น

๖. ควรให้บริการบัตรค่าโดยสารล่วงหน้าแบบรายเดือนแก่ผู้ใช้บริการเพื่อลดอัตราค่าบริการ

๗. คณะกรรมการ จัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) ควรพิจารณาเปรียบเทียบราคาของรถ กับคุณสมบัติของรถ

๘. ควรกำหนดมาตรฐาน และควบคุมการดำเนินการจัดเก็บค่าโดยสารรถโดยสารให้มีอัตราค่าโดยสารให้ ชัดเจน เพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจในการเก็บเงินค่าโดยสาร

ท้ายที่สุด องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ควรทบทวนTOR เพื่อไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็ก

รถเมล์ชานต่ำ

นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิชาการอิสระได้ให้ข้อคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าวแก่เครือข่ายคนพิการ ว่า รถเมล์ที่จะจัดซื้อครั้งใหม่ควรอยู่ภายใต้แนวคิด “การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design หรือ UD)” กล่าวคือ เป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) มีแผ่นทางลาดเชื่อมทางออกรถเมล์กับทางเดินเท้า และพื้นภายในห้องโดยสารเรียบไม่มีสิ่งกีดขวาง การเรียกร้องรถเมล์ชานต่ำขององค์กรด้านคนพิการนี้ มิได้ก่อประโยชน์โภชน์ผล แต่เพียงกลุ่มคนพิการเท่านั้น หากยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” (Inclusive Society) ที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของทุกกลุ่มคนด้วยเช่นกัน

เริ่มตั้งแต่กลุ่มผู้สูงอายุ/หญิงมีครรภ์ ที่ปัจจุบันรถเมล์ชานสูงหรือมีขั้นบันไดเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง และเป็นสาเหตุหนึ่งของอุบัติเหตุจากการโดยสายรถเมล์

ในทางเดียวกับ กลุ่มคนวัยทำงาน/นักท่องเที่ยว ที่จะได้ประโยชน์จากรถเมล์ชานต่ำ โดยเฉพาะเวลาต้องขนสัมภาระหนักที่จะไม่ต้อง “ปีน” ขึ้นบันไดอันสูงชันของรถเมล์แบบเดิม

หรือกลุ่มเด็กนักเรียน ที่มักเป็นข่าวจากการ “ตกรถเมล์” บ่อยครั้งในปัจจุบัน ก็จะสามารถเดินทางได้โดยปลอดภัยมากขึ้น และสามารถเติบโตต่อไปเป็นกำลังหลักของประเทศในอนาคต

ท้ายที่สุด ประโยชน์โภชน์ผลของรถเมล์ชานต่ำ อาจส่งผลต่อไปยังกลุ่มสาวออฟฟิศวัยทำงาน ที่ไม่ต้องพะวงกับอุบัติเหตุจากการขึ้นลงรถเมล์อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการใส่ส้นสูง/กระโปรงสั้นลื่นไถลจากบันไดทางขึ้น หรือการเป็นเหยื่อของการละเมิดทางเพศทางสายตา

“รถเมล์ชานต่ำ” จึงเป็นหมุดหมายที่มากกว่าการอำนวยความสะดวกเฉพาะกลุ่มคนพิการ หากแต่เป็นการสร้าง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” และสร้าง “พื้นที่ความเท่าเทียมที่แท้จริง” ของทุกกลุ่มคนอย่างไม่ละเว้น อันจะส่งผลให้คนในสังคมที่แตกต่างกันเกิดการเรียนรู้และมอบความเอื้อเฟื้อ ระหว่างกัน

“รถเมล์ชานต่ำ” จึงเป็นเรื่องของทุกกลุ่มคน ที่ประเทศอารยะทั้งหลายพึงจะมีเพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตทางสังคมของคนทั้ง มวล และการเดินทางของทุกกลุ่มคนด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

ทั้งนี้ การเรียกร้อง “รถเมล์ชานต่ำ” อาจจะเป็นจุดเริ่มสำคัญ อันจะขยายไปสู่ระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ และการจัดสภาพทางกายภาพที่สนับสนุนการสร้าง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” ต่อไปในอนาคต

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๕-๖ โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย”ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕

ขอบคุณ... http://www.naewna.com/lady/columnist/8608

แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๐ ก.ย.๕๖

ที่มา: แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๐ ก.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 14/09/2556 เวลา 03:38:18 ดูภาพสไลด์โชว์ รถเมล์เพื่อคนทั้งมวลและสังคมอยู่เย็นเป็นสุข

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ได้ติดตามกรณีที่ทุกคนต้องเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ของสถานที่ และบริการสาธารณะต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการออกแบบที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน จึงมอบให้คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการพิจารณาศึกษาโครงการจัดซื้อรถเมล์ ๓,๑๘๓ คัน ของ งค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) ซึ่งพบว่าหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๖ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้จัดซื้อรถโดยสารประจำทาง(รถเมล์)ใช้เชื้อเพลิง เอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) คณะกรรมาธิการและเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการจำนวนมากก็ได้เสนอแนะกับทางขสม ก.เกี่ยวกับรถเมล์ที่จะจัดซื้อครั้งใหม่ว่าควรอยู่ภายใต้แนวคิด “การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design หรือ UD)” กล่าวคือ เป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) มีทางลาด และพื้นภายในห้องโดยสารเรียบไม่มีสิ่งกีดขวางอย่างไรก็ดี ทาง ขสมก. ก็ดูจะไม่ยอมรับกับข้อเสนอดังกล่าวและให้เหตุผลว่า “น้ำท่วมและปัญหาคอสะพานสูงชัน” เป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถจัดซื้อรถเมล์ชานต่ำได้ และจะแก้ปัญหาด้วยการจัดตั้งลิฟท์ยกสำหรับคนพิการในรถเมล์ปรับอากาศแทน ซึ่งลิฟต์ยกนี้ไม่ใช่แต่เพียงมีราคาแพงเท่านั้น หากแต่ยังมีค่าบำรุงรักษาที่สูง และใช้เวลาดำเนินงานที่ค่อนข้างนาน อันอาจส่งผลให้ผู้โดยสารหรือสังคมมองคนพิการเป็นต้นเหตุของการเสียเวลา ดังนั้น เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส และคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการร่วมกับเครือข่ายคนพิการ วุฒิสภา ได้มีการแถลงข่าวเรื่อง "รถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน ด้วยความสะดวกปลอดภัย” ที่อาคารรัฐสภา เพื่อย้ำจุดยืนขององค์กรด้านคนพิการที่ต้องการ “รถชานต่ำ ใช้ได้ทุกคน คนพิการไม่ต้องการลิฟต์ยกคนพิการ ขึ้นรถเมล์..ราคาแพง" นอกจากนั้น คณะกรรมาธิการ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการจัดระบบอำนวยความสะดวกบนรถโดยสารประจำทาง สาธารณะต่อองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดังนี้ ๑. ควรกำหนดเป้าหมายในการดำเนินโครงการใหม่เป็นการอำนวยความสะดวกในการให้ บริการแก่คนทุกกลุ่มของสังคมเป็นสำคัญ โดยอยู่บนพื้นฐานของการให้บริการคนทั้งหมด ไม่ใช่มองแต่การให้บริการเฉพาะคนพิการ ๒. ควรพิจารณาทบทวนการตัดสินใจเลือกใช้ลิฟต์ยกแทนการใช้ทางลาด โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้งาน และความเท่าเทียมทางกฎหมายในการเข้าถึงบริการสาธารณะเป็นสำคัญ ๓. ควรคำนึงถึงคนพิการที่มีความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถใช้รถโดยสารปรับอากาศได้ ๔. ควรประสานการทำงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลทางเดินเท้า เพื่อปรับปรุงให้สามารถใช้ทางลาดได้ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ ๕. ควรแก้ปัญหาป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ด้านข้างของกระจกรถโดยสาร ที่เป็นอุปสรรคต่อทัศนวิสัยในการมองไปนอกรถ ทำให้ผู้โดยสารมองจุดหมายปลายทาง หรือมองสถานที่ที่ใกล้เคียงที่เป็นจุดสังเกตในการลงรถไม่เห็น ๖. ควรให้บริการบัตรค่าโดยสารล่วงหน้าแบบรายเดือนแก่ผู้ใช้บริการเพื่อลดอัตราค่าบริการ ๗. คณะกรรมการ จัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) ควรพิจารณาเปรียบเทียบราคาของรถ กับคุณสมบัติของรถ ๘. ควรกำหนดมาตรฐาน และควบคุมการดำเนินการจัดเก็บค่าโดยสารรถโดยสารให้มีอัตราค่าโดยสารให้ ชัดเจน เพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจในการเก็บเงินค่าโดยสาร ท้ายที่สุด องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ควรทบทวนTOR เพื่อไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็ก รถเมล์ชานต่ำ นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิชาการอิสระได้ให้ข้อคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าวแก่เครือข่ายคนพิการ ว่า รถเมล์ที่จะจัดซื้อครั้งใหม่ควรอยู่ภายใต้แนวคิด “การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design หรือ UD)” กล่าวคือ เป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) มีแผ่นทางลาดเชื่อมทางออกรถเมล์กับทางเดินเท้า และพื้นภายในห้องโดยสารเรียบไม่มีสิ่งกีดขวาง การเรียกร้องรถเมล์ชานต่ำขององค์กรด้านคนพิการนี้ มิได้ก่อประโยชน์โภชน์ผล แต่เพียงกลุ่มคนพิการเท่านั้น หากยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” (Inclusive Society) ที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของทุกกลุ่มคนด้วยเช่นกัน เริ่มตั้งแต่กลุ่มผู้สูงอายุ/หญิงมีครรภ์ ที่ปัจจุบันรถเมล์ชานสูงหรือมีขั้นบันไดเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง และเป็นสาเหตุหนึ่งของอุบัติเหตุจากการโดยสายรถเมล์ ในทางเดียวกับ กลุ่มคนวัยทำงาน/นักท่องเที่ยว ที่จะได้ประโยชน์จากรถเมล์ชานต่ำ โดยเฉพาะเวลาต้องขนสัมภาระหนักที่จะไม่ต้อง “ปีน” ขึ้นบันไดอันสูงชันของรถเมล์แบบเดิม หรือกลุ่มเด็กนักเรียน ที่มักเป็นข่าวจากการ “ตกรถเมล์” บ่อยครั้งในปัจจุบัน ก็จะสามารถเดินทางได้โดยปลอดภัยมากขึ้น และสามารถเติบโตต่อไปเป็นกำลังหลักของประเทศในอนาคต ท้ายที่สุด ประโยชน์โภชน์ผลของรถเมล์ชานต่ำ อาจส่งผลต่อไปยังกลุ่มสาวออฟฟิศวัยทำงาน ที่ไม่ต้องพะวงกับอุบัติเหตุจากการขึ้นลงรถเมล์อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการใส่ส้นสูง/กระโปรงสั้นลื่นไถลจากบันไดทางขึ้น หรือการเป็นเหยื่อของการละเมิดทางเพศทางสายตา “รถเมล์ชานต่ำ” จึงเป็นหมุดหมายที่มากกว่าการอำนวยความสะดวกเฉพาะกลุ่มคนพิการ หากแต่เป็นการสร้าง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” และสร้าง “พื้นที่ความเท่าเทียมที่แท้จริง” ของทุกกลุ่มคนอย่างไม่ละเว้น อันจะส่งผลให้คนในสังคมที่แตกต่างกันเกิดการเรียนรู้และมอบความเอื้อเฟื้อ ระหว่างกัน “รถเมล์ชานต่ำ” จึงเป็นเรื่องของทุกกลุ่มคน ที่ประเทศอารยะทั้งหลายพึงจะมีเพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตทางสังคมของคนทั้ง มวล และการเดินทางของทุกกลุ่มคนด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ทั้งนี้ การเรียกร้อง “รถเมล์ชานต่ำ” อาจจะเป็นจุดเริ่มสำคัญ อันจะขยายไปสู่ระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ และการจัดสภาพทางกายภาพที่สนับสนุนการสร้าง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” ต่อไปในอนาคต ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๕-๖ โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย”ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕ ขอบคุณ... http://www.naewna.com/lady/columnist/8608 แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๐ ก.ย.๕๖

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...