บานไม่บาน 'ส้วมกตัญญู'

แสดงความคิดเห็น

โมเดลชักโครกแบบมีราวจับ

'ส้วมกตัญญู' : คอลัมน์ บ้านไม่บ้าน โดย... อาจารย์เชี่ยว ผมถือว่าผมเป็นคนโชคดีที่ได้มีโอกาสทำงานที่หลากหลาย เรียกว่าตั้งแต่ “สากกระเบือยันเรือรบ“ ตั้งแต่ออกแบบ ตึกสูงนับร้อยชั้น, พระอุโบสถ, เมรุ, กุฏิพระ, โรงแรม, รีสอร์ท และห้างสรรพสินค้า ฯลฯ และอยู่ดีๆ ท่านนายก “ปู” ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ผมเป็นคณะกรรมการ “ส้วมสาธารณะไทย” โดยมี รองนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ ปลอดประสพ สุรัสวดี

เป็นประธานกรรมการ และได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาแม่บท “ส้วมสาธารณะไทย” ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เรื่อง “ส้วม” ก็ไม่ใช่เรื่อง “ส้วมๆ” อีกต่อไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผมต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนเพื่อทำความเข้าใจในทุก “มิติ” เกี่ยวกับเรื่อง “ส้วม” ยิ่งศึกษาก็ยิ่งค้นพบครับว่าแท้จริงแล้วมีความซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา ผมก็ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการใน “งานส่งเสริมสุขภาพและพลานามัยแห่งชาติ” ครั้งที่ 6 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี หัวข้อการบรรยายของผมคือ “ส้วมกตัญญู” ที่ป้องกันปัญหาจาก “โรคเข่าเสื่อม” ซึ่งผมได้ขึ้นเวทีบรรยายกับ ศาสตราจารย์นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ ซึ่งในวงวิชาการแพทย์ถือได้ว่าท่านเป็นปูชนียบุคคลระดับประเทศที่มีความ เชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งกับ “โรคข้อ” และ “โรคผู้สูงอายุ” ซึ่งท่านเป็นตัวแทน มูลนิธิโรคข้อในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการที่ผมได้คุยกับ “หมอเสก” ที่ท่านได้เคยประกาศต่อสาธารณะว่าจะมีอายุอยู่ร้อยปีอย่างมีสุขภาพดี ทำให้ผมได้รู้ว่าในปี พ.ศ.2568 ที่จะถึง ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง 20% ของประชากรประมาณ 14 ล้านคนจะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ “ส้วม” ที่ใช้ทุกวันครับ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่าเรื่อง “ส้วม” นั้นไม่ใช่เรื่อง “ส้วม ๆ” เพราะ “ส้วม” ที่ขาด “สุขลักษณะ” จะนำมาซึ่งโรคต่างๆ ที่คาดไม่ถึง เช่น โรคข้อเข่า, โรคหลอดเลือด (เพราะเวลาเข้า “ส้วม” นานๆ ก็ต้องนั่งกดทับเส้นเลือด ก็อาจจะทำให้เลือดเลี้ยงสมองไม่ทัน) โรคหัวใจ, โรคความดัน, โรคริดสีดวงทวาร, โรคเครียด ฯลฯ รวมไปถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจาก “ส้วม” ดังนั้น “ส้วม” ที่ไม่ถูก “สุขลักษณะ” ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงขึ้นได้ครับ ซึ่งในการบรรยายนั้นก็มุ่งเน้นไปที่ “โรคข้อเข่า” กับการออกแบบ “ส้วมกตัญญู” ซึ่งผมอยากเปรียบว่าเป็นโรคประเภท “ทาสในเรือนเบี้ย” เพราะจะทำให้เรากลายเป็น “ทาส” ไปตลอดชีวิต การเข้า “ส้วม” แบบนั่งยองๆ จะนำมาซึ่งสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นของ “โรคข้อเข่าเสื่อม” ของบรรดาผู้สูงอายุที่เรารัก เพราะการนั่ง “ส้วม” ที่ไม่ถูกสุขลักษณะทำให้ “ข้อเข่า” ของเราตายก่อนตัวเราเสียอีก ยิ่งแฟนๆ ชาว “คนรักบ้าน” มีอายุเกิน 40 ปี ก็ยิ่งอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง วิธีสังเกตง่ายๆ ของอาการ “โรคข้อเข่า” กำเริบคือ เมื่อลุกหรือนั่งหากมีเสียงกึกกักกึกกักถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายแล้วครับ เพราะเป็นอาการของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อกระดูกเกิดการสึก เป็นผลให้ลูกสะบ้าที่เข่าเริ่มเสียดสีและเริ่มมีอาการอักเสบ ดังนั้นการเข้า “ส้วม” แบบนั่งยองๆ ก็ยิ่งเร่งปฏิกิริยาของ “โรคข้อเข่า” ที่นับวันจะมีแต่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและทุกข์ทรมานมากยิ่งขึ้นครับ

จะเห็นได้ว่า “ส้วม” เป็นมหันตภัยมืด ที่อยู่ใกล้ตัวเราเป็นที่สุด และเรามักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การบรรยายในหัวข้อ “ส้วมกตัญญู” จึงเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ผมได้มีโอกาสออกแบบ “ส้วม” ให้คนที่ผมรักและเป็นการแสดงความ “กตัญญู” ต่อคนที่ผมรัก นอกจากนั้น จากผลการศึกษาของผม “ส้วม” ของคนไทยต่างกับ “ส้วม” ของชาวตะวันตก เพราะเราทำหลายอย่างที่ฝรั่งไม่ทำใน “ส้วม” เพราะ “ส้วม” ของคนไทยไม่ได้ใช้เพียงแค่อุจจาระ ปัสสาวะเท่านั้น ยังใช้ “ส้วม” เป็นที่อาบน้ำ, ซักผ้า, ตากผ้า, ตากชุดชั้นใน, ล้างผักผลไม้ ทำภารกิจส่วนตัว ฯลฯ สำหรับผมแล้วชื่นชอบในการอ่านหนังสือใน “ส้วม” เป็นที่สุด และชื่นชอบกับการใช้เวลานานเป็นชั่วโมงทำภารกิจส่วนตัวใน “ส้วม” ยิ่งศึกษาก็ยิ่งตระหนักว่า “ส้วม” เป็นห้องที่สำคัญที่สุดในบ้านไม่น้อยหน้าห้องนอน ห้องรับแขกและห้องครัว ทั้งยังสะท้อนถึง “วิถี” แห่งการ “กินดีอยู่ดี” ที่ถูก “สุขลักษณะ” และสะท้อนให้เห็นถึงความ “ศิวิไลซ์” ของคนในชาติ

โมเดลส้วมกตัญญู

นอกจากนั้น จากการศึกษาของผมก็พบตัวเลขที่น่าตกใจมากครับว่า ในประเทศของเราในปัจจุบันมี “ส้วม” อยู่ทั้งสิ้น 17.5 ล้านส้วม และประมาณ 13.933 ล้านส้วม นั้นจำเป็นต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ที่ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต้องรวมกันต้องแก้ไข ลึกๆ ก็ภูมิใจไม่ได้ครับว่าผมเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ “การเดินทางหมื่นลี้ก็ย่อมต้องมีลี้แรกเสมอ” ก็ต้องมีใครสักคนที่ทำหน้าที่ในการออกแบบ “ส้วม” ที่เป็น “ต้นแบบ” ในครั้งนี้ ที่เป็นภาระอันหนักอึ้งที่จะต้องทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยให้ลงลึกไปถึง “แก่น” ว่าแท้จริงแล้วคนไทยต้องการ “ส้วม” แบบใดและควรจะมีองค์ประกอบอย่างไรและจะทำอย่างไรดีกับ “ส้วมนั่งยอง” ที่มีอยู่ทั่วประเทศนับสิบล้านส้วมและจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงใดที่ไม่เกินความสามารถของคนเหล่านี้

ในสัปดาห์นี้ผมขอทิ้งข้อคิดไว้เพียงแค่นี้ ไว้อีกสองสัปดาห์หน้ามาดูกันว่า “ส้วมกตัญญู” ในฝันของผมนั้นจะมีรูปแบบอย่างไร ซึ่งผมเชื่อว่าน่าจะเป็น “ส้วม” ในลักษณะ “ไฮบริดจ์” ลูกผสม ระหว่าง “ส้วมนั่งราบแบบไฮโซ” และ “ส้วมนั่งยองแบบโลว์โซ” ต้องผสานกันแบบกลมกลืน เพราะจากการศึกษาค้นพบว่าคนในชนบทถ้าหากนั่ง “ส้วมนั่งราบ” จะถ่ายไม่ออกจะเกิดอาการท้องผูก เพราะชินกับการนั่ง “ส้วมยอง”มาแต่กำเนิดครับ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนักเพราะเดิมพันด้วยการ “กินดีอยู่ดี” ของคนในชาติ โดยผมฝันไว้ว่า “ส้วมกตัญญู” ที่ออกแบบแล้วเสร็จจะเป็น “ส้วมสบาย” แบบสุดๆ ถึงขนาดนั่งหลับคาส้วมได้เลยทีเดียว และจะต้องเป็น “ส้วม” ที่ “หากไม่เข้าก็ไม่ออก” และ “พอเข้าไปแล้วก็ไม่อยากออก” ก็อยากให้แฟนๆ ชาว “คนรักบ้าน” ติดตามการพัฒนาการของรูปแบบ “ส้วมกตัญญู” ต่อไปครับ และในใจลึกๆ ก็ภูมิใจที่ได้มีโอกาสทำงานออกแบบชิ้นสำคัญนี้ครับ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130914/168111/บานไม่บานส้วมกตัญญู.html#.Ujau_X9HWzs (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ย.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 17/09/2556 เวลา 03:22:06 ดูภาพสไลด์โชว์ บานไม่บาน 'ส้วมกตัญญู'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โมเดลชักโครกแบบมีราวจับ 'ส้วมกตัญญู' : คอลัมน์ บ้านไม่บ้าน โดย... อาจารย์เชี่ยว ผมถือว่าผมเป็นคนโชคดีที่ได้มีโอกาสทำงานที่หลากหลาย เรียกว่าตั้งแต่ “สากกระเบือยันเรือรบ“ ตั้งแต่ออกแบบ ตึกสูงนับร้อยชั้น, พระอุโบสถ, เมรุ, กุฏิพระ, โรงแรม, รีสอร์ท และห้างสรรพสินค้า ฯลฯ และอยู่ดีๆ ท่านนายก “ปู” ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ผมเป็นคณะกรรมการ “ส้วมสาธารณะไทย” โดยมี รองนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ ปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธานกรรมการ และได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาแม่บท “ส้วมสาธารณะไทย” ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เรื่อง “ส้วม” ก็ไม่ใช่เรื่อง “ส้วมๆ” อีกต่อไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผมต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนเพื่อทำความเข้าใจในทุก “มิติ” เกี่ยวกับเรื่อง “ส้วม” ยิ่งศึกษาก็ยิ่งค้นพบครับว่าแท้จริงแล้วมีความซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา ผมก็ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการใน “งานส่งเสริมสุขภาพและพลานามัยแห่งชาติ” ครั้งที่ 6 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี หัวข้อการบรรยายของผมคือ “ส้วมกตัญญู” ที่ป้องกันปัญหาจาก “โรคเข่าเสื่อม” ซึ่งผมได้ขึ้นเวทีบรรยายกับ ศาสตราจารย์นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ ซึ่งในวงวิชาการแพทย์ถือได้ว่าท่านเป็นปูชนียบุคคลระดับประเทศที่มีความ เชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งกับ “โรคข้อ” และ “โรคผู้สูงอายุ” ซึ่งท่านเป็นตัวแทน มูลนิธิโรคข้อในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการที่ผมได้คุยกับ “หมอเสก” ที่ท่านได้เคยประกาศต่อสาธารณะว่าจะมีอายุอยู่ร้อยปีอย่างมีสุขภาพดี ทำให้ผมได้รู้ว่าในปี พ.ศ.2568 ที่จะถึง ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง 20% ของประชากรประมาณ 14 ล้านคนจะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ “ส้วม” ที่ใช้ทุกวันครับ ผู้รับผิดชอบโครงการ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่าเรื่อง “ส้วม” นั้นไม่ใช่เรื่อง “ส้วม ๆ” เพราะ “ส้วม” ที่ขาด “สุขลักษณะ” จะนำมาซึ่งโรคต่างๆ ที่คาดไม่ถึง เช่น โรคข้อเข่า, โรคหลอดเลือด (เพราะเวลาเข้า “ส้วม” นานๆ ก็ต้องนั่งกดทับเส้นเลือด ก็อาจจะทำให้เลือดเลี้ยงสมองไม่ทัน) โรคหัวใจ, โรคความดัน, โรคริดสีดวงทวาร, โรคเครียด ฯลฯ รวมไปถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจาก “ส้วม” ดังนั้น “ส้วม” ที่ไม่ถูก “สุขลักษณะ” ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงขึ้นได้ครับ ซึ่งในการบรรยายนั้นก็มุ่งเน้นไปที่ “โรคข้อเข่า” กับการออกแบบ “ส้วมกตัญญู” ซึ่งผมอยากเปรียบว่าเป็นโรคประเภท “ทาสในเรือนเบี้ย” เพราะจะทำให้เรากลายเป็น “ทาส” ไปตลอดชีวิต การเข้า “ส้วม” แบบนั่งยองๆ จะนำมาซึ่งสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นของ “โรคข้อเข่าเสื่อม” ของบรรดาผู้สูงอายุที่เรารัก เพราะการนั่ง “ส้วม” ที่ไม่ถูกสุขลักษณะทำให้ “ข้อเข่า” ของเราตายก่อนตัวเราเสียอีก ยิ่งแฟนๆ ชาว “คนรักบ้าน” มีอายุเกิน 40 ปี ก็ยิ่งอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง วิธีสังเกตง่ายๆ ของอาการ “โรคข้อเข่า” กำเริบคือ เมื่อลุกหรือนั่งหากมีเสียงกึกกักกึกกักถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายแล้วครับ เพราะเป็นอาการของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อกระดูกเกิดการสึก เป็นผลให้ลูกสะบ้าที่เข่าเริ่มเสียดสีและเริ่มมีอาการอักเสบ ดังนั้นการเข้า “ส้วม” แบบนั่งยองๆ ก็ยิ่งเร่งปฏิกิริยาของ “โรคข้อเข่า” ที่นับวันจะมีแต่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและทุกข์ทรมานมากยิ่งขึ้นครับ จะเห็นได้ว่า “ส้วม” เป็นมหันตภัยมืด ที่อยู่ใกล้ตัวเราเป็นที่สุด และเรามักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การบรรยายในหัวข้อ “ส้วมกตัญญู” จึงเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ผมได้มีโอกาสออกแบบ “ส้วม” ให้คนที่ผมรักและเป็นการแสดงความ “กตัญญู” ต่อคนที่ผมรัก นอกจากนั้น จากผลการศึกษาของผม “ส้วม” ของคนไทยต่างกับ “ส้วม” ของชาวตะวันตก เพราะเราทำหลายอย่างที่ฝรั่งไม่ทำใน “ส้วม” เพราะ “ส้วม” ของคนไทยไม่ได้ใช้เพียงแค่อุจจาระ ปัสสาวะเท่านั้น ยังใช้ “ส้วม” เป็นที่อาบน้ำ, ซักผ้า, ตากผ้า, ตากชุดชั้นใน, ล้างผักผลไม้ ทำภารกิจส่วนตัว ฯลฯ สำหรับผมแล้วชื่นชอบในการอ่านหนังสือใน “ส้วม” เป็นที่สุด และชื่นชอบกับการใช้เวลานานเป็นชั่วโมงทำภารกิจส่วนตัวใน “ส้วม” ยิ่งศึกษาก็ยิ่งตระหนักว่า “ส้วม” เป็นห้องที่สำคัญที่สุดในบ้านไม่น้อยหน้าห้องนอน ห้องรับแขกและห้องครัว ทั้งยังสะท้อนถึง “วิถี” แห่งการ “กินดีอยู่ดี” ที่ถูก “สุขลักษณะ” และสะท้อนให้เห็นถึงความ “ศิวิไลซ์” ของคนในชาติ โมเดลส้วมกตัญญู นอกจากนั้น จากการศึกษาของผมก็พบตัวเลขที่น่าตกใจมากครับว่า ในประเทศของเราในปัจจุบันมี “ส้วม” อยู่ทั้งสิ้น 17.5 ล้านส้วม และประมาณ 13.933 ล้านส้วม นั้นจำเป็นต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ที่ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต้องรวมกันต้องแก้ไข ลึกๆ ก็ภูมิใจไม่ได้ครับว่าผมเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ “การเดินทางหมื่นลี้ก็ย่อมต้องมีลี้แรกเสมอ” ก็ต้องมีใครสักคนที่ทำหน้าที่ในการออกแบบ “ส้วม” ที่เป็น “ต้นแบบ” ในครั้งนี้ ที่เป็นภาระอันหนักอึ้งที่จะต้องทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยให้ลงลึกไปถึง “แก่น” ว่าแท้จริงแล้วคนไทยต้องการ “ส้วม” แบบใดและควรจะมีองค์ประกอบอย่างไรและจะทำอย่างไรดีกับ “ส้วมนั่งยอง” ที่มีอยู่ทั่วประเทศนับสิบล้านส้วมและจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงใดที่ไม่เกินความสามารถของคนเหล่านี้ ในสัปดาห์นี้ผมขอทิ้งข้อคิดไว้เพียงแค่นี้ ไว้อีกสองสัปดาห์หน้ามาดูกันว่า “ส้วมกตัญญู” ในฝันของผมนั้นจะมีรูปแบบอย่างไร ซึ่งผมเชื่อว่าน่าจะเป็น “ส้วม” ในลักษณะ “ไฮบริดจ์” ลูกผสม ระหว่าง “ส้วมนั่งราบแบบไฮโซ” และ “ส้วมนั่งยองแบบโลว์โซ” ต้องผสานกันแบบกลมกลืน เพราะจากการศึกษาค้นพบว่าคนในชนบทถ้าหากนั่ง “ส้วมนั่งราบ” จะถ่ายไม่ออกจะเกิดอาการท้องผูก เพราะชินกับการนั่ง “ส้วมยอง”มาแต่กำเนิดครับ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนักเพราะเดิมพันด้วยการ “กินดีอยู่ดี” ของคนในชาติ โดยผมฝันไว้ว่า “ส้วมกตัญญู” ที่ออกแบบแล้วเสร็จจะเป็น “ส้วมสบาย” แบบสุดๆ ถึงขนาดนั่งหลับคาส้วมได้เลยทีเดียว และจะต้องเป็น “ส้วม” ที่ “หากไม่เข้าก็ไม่ออก” และ “พอเข้าไปแล้วก็ไม่อยากออก” ก็อยากให้แฟนๆ ชาว “คนรักบ้าน” ติดตามการพัฒนาการของรูปแบบ “ส้วมกตัญญู” ต่อไปครับ และในใจลึกๆ ก็ภูมิใจที่ได้มีโอกาสทำงานออกแบบชิ้นสำคัญนี้ครับ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130914/168111/บานไม่บานส้วมกตัญญู.html#.Ujau_X9HWzs คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...