พบคนไทยพิการขาจากเบาหวานมากกว่าอุบัติเหตุ
นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการ “เข้าสิทธิสร้างโอกาสคนพิการสู่สังคม” พร้อมมอบอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการแก่ผู้พิการ 50 คน และชมการผลิตขาเทียมของรถโมบายเคลื่อนที่ พร้อมเปิดเผยข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ล่าสุดพบประเทศไทยมีผู้พิการขาขาด 46,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการจากการป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ต้องตัดขาทิ้ง รองลงมาเป็นอุบัติเหตุ แต่มีผู้ที่ต้องถูกตัดขา 3,500 คน ทั้งนี้ จากการสำรวจล่าสุดพบว่า เหลือผู้พิการอีก 19,310 คน ยังไม่ได้รับขาเทียม การรับขาเทียมจะทำให้ผู้พิการสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ช่วยเหลือตนเอง อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ทั้งนี้ ตั้งเป้าในปี 2559 จัดทำขาเทียมให้กับผู้พิการครบทั้งหมด 100% โดยใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท สำหรับหน่วยงานที่ร่วมผลิตขาเทียม นอกจากสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 101 แห่งแล้ว ยังมีหน่วยงานภายนอกอีก 21 แห่ง ใช้งบประมาณผลิตขาเทียมข้างละ 30,000 บาท
น.ส.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือน้องธันย์ กล่าวว่า ใช้ขาเทียมมา 2 ปีแล้ว เข้าใจความรู้สึกของผู้ที่ต้องใช้ขาเทียมว่าต้องมีความอดทน รวมทั้งยังมีปัญหาแผลกดทับที่ขา แต่ก็ขอให้กำลังใจทุกคนที่เป็นผู้พิการให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างเข้มแข็ง. -
ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=5236e4e8150ba08c110001cd#.Uje-Jn-kPZ4
สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการ “เข้าสิทธิสร้างโอกาสคนพิการสู่สังคม” พร้อมมอบอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการแก่ผู้พิการ 50 คน และชมการผลิตขาเทียมของรถโมบายเคลื่อนที่ พร้อมเปิดเผยข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ล่าสุดพบประเทศไทยมีผู้พิการขาขาด 46,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการจากการป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ต้องตัดขาทิ้ง รองลงมาเป็นอุบัติเหตุ แต่มีผู้ที่ต้องถูกตัดขา 3,500 คน ทั้งนี้ จากการสำรวจล่าสุดพบว่า เหลือผู้พิการอีก 19,310 คน ยังไม่ได้รับขาเทียม การรับขาเทียมจะทำให้ผู้พิการสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ช่วยเหลือตนเอง อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ทั้งนี้ ตั้งเป้าในปี 2559 จัดทำขาเทียมให้กับผู้พิการครบทั้งหมด 100% โดยใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท สำหรับหน่วยงานที่ร่วมผลิตขาเทียม นอกจากสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 101 แห่งแล้ว ยังมีหน่วยงานภายนอกอีก 21 แห่ง ใช้งบประมาณผลิตขาเทียมข้างละ 30,000 บาท น.ส.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือน้องธันย์ กล่าวว่า ใช้ขาเทียมมา 2 ปีแล้ว เข้าใจความรู้สึกของผู้ที่ต้องใช้ขาเทียมว่าต้องมีความอดทน รวมทั้งยังมีปัญหาแผลกดทับที่ขา แต่ก็ขอให้กำลังใจทุกคนที่เป็นผู้พิการให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างเข้มแข็ง. - ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=5236e4e8150ba08c110001cd#.Uje-Jn-kPZ4 สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)