เครือข่ายคนพิการ รุดพบประธานบอร์ดชาติ เร่งเจรจา ขสมก. แก้ TOR จัดซื้อรถเมล์ใหม่ ห้ามเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 14.00 น. เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ ห้องปกรณ์ อังสุสิงห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในโอกาสที่มาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยเครือข่ายคนพิการขอให้คณะกรรมการส่งเสริมฯ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ช่วยประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ทบทวนร่างขอบเขตของงาน (TOR) โครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทางดังกล่าวใหม่ พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบาย ๓ ข้อ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ คือ

๑. ขอให้ ขสมก. กำหนดให้มีการจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภทในโครงการจัดซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน เพื่อให้ทุกคน รวมทั้งคนพิการทุกประเภทสามารถใช้รถเมล์ดังกล่าวได้ทุกคัน

๒. ขอให้ ขสมก. ยกเลิกการติดตั้งลิฟต์ที่รถเมล์ เนื่องจากใช้ได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นเท่านั้น ราคาแพง ใช้เวลาขึ้น - ลงรถเมล์หลายนาที และต้องมีระบบดูแลรักษาอย่างดี

๓. ขอให้ ขสมก. กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะทั่วไปของรถเมล์ ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน ให้มีโครงสร้างเป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ (No Step Bus) พร้อมทั้งมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า - ออก บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถซึ่งมีราคาถูก ใช้งานง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษามาก และใช้เวลาน้อยในการขึ้น - ลงรถเมล์ เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน คนเจ็บป่วย คนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง และผู้หญิงใส่กระโปรงสั้น / รองเท้าส้นสูง เป็นต้น ขึ้น – ลงรถเมล์ได้โดยสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ซึ่งช่วยป้องกันคนพิการตกเป็นจำเลยของสังคมเพราะใช้เวลามากในการขึ้นรถเมล์

๔. ขอให้ ขสมก. พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่าง TOR และมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าวทุกขั้นตอน เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่โดยภาษีของประชาชน ทุกคนสามารถขึ้นได้ทุกคัน

นายภพต์ เทภาสิต นายกสมาคมคนพิการนนทบุรี กล่าวว่า การออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของคนพิการในเรื่องการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. โดยการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติชาติ เกิดขึ้นเนื่องจาก ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ในสังคมยังมีเจตคติที่ไม่ถูกต้องต่อคนพิการและความพิการ มองคนพิการว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอ เป็นภาระ ด้อยโอกาส และไม่สามารถสร้างผลผลิตให้กับสังคม/ประเทศชาติได้ จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ช่วยเหลือตามที่รัฐหรือผู้ที่มีอำนาจจัดให้เท่านั้น รวมถึง มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการว่าเป็นปัญหาเชิงปัจเจก เป็นปัญหาของคนชายขอบที่เข้าไม่ถึงโอกาสเพราะปัจจัยส่วนบุคคล คนพิการจึงเป็นกลุ่มคนกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกลืมจากสังคม ถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งที่ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ให้หลักประกันเรื่องความเสมอภาค/ความเท่าเทียมกันของบุคคลไว้ และใน ม.๑๕ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๕๖ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเรื่องคนพิการ ยังห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ อีกด้วย

เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ต่อกรณีที่ ขสมก. ออกร่างทีโออาร์ ๒ ฉบับ กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเฉพาะในรถปรับอากาศ ส่วนรถเมล์ธรรมดาคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม เข้าข่ายการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ซึ่งไม่ใช่กรณี “ลืม” นึกถึงคนพิการ แต่น่าจะเป็นกรณี “ไม่ใส่ใจ” คนพิการมากกว่า เพราะทางเครือข่ายฯได้เกาะติดสถานการณ์และแสดงจุดยืนเรื่องนี้กับ ขสมก. มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ส่วนที่ ขสมก. เลือกใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ แทนการใช้ทางลาด เนื่องจาก ขสมก. ยืนยันที่จะใช้รถเมล์พื้นสูงแบบเดิม แทนรถเมล์ชานต่ำ หรือ “โลวฟลอร์บัส”ตามข้อเสนอของเครือข่ายฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องรถชานต่ำไม่สามารถใช้ได้หากเกิดน้ำท่วม ซึ่งฟังไม่ขึ้น เพราะรัฐบาลมีแผนที่จะจ้างเอกชนทำแผนบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคต ที่สำคัญ น้ำไม่ได้ท่วมทุกวัน ถ้าน้ำท่วมจริงรถเมล์ติดลิฟต์ก็ไม่สามารถใช้งานได้อยู่ดี และคนพิการที่ใช้รถเข็นคงไม่มารอขึ้นรถเมล์หากน้ำท่วมถึงระดับรถเมล์วิ่งไม่ได้ ต่อกรณีนี้ จึงไม่แน่ใจว่า ขสมก. มีธงอยู่แล้ว หรือมีการ “รับใบสั่ง” ใครมาหรือไม่ ทั้งที่ทราบดีว่า “รถเมล์ชานต่ำ” เป็นรถที่ถูกออกแบบตามแนวคิด การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม ( Universal Design : UD ) เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ คนเจ็บป่วย และคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง สามารถขึ้น-ลงรถเมล์ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว

เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายภพต์ กล่าวทิ้งท้ายว่า คนพิการ ไม่ต้องการ “รถติดลิฟต์” ซึ่งเป็นเรื่องที่ ขสมก. คิดให้และตัดสินใจแทนคนพิการ ทั้งนี้ นอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพง และทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยใช่เหตุแล้ว “ลิฟต์” ไม่ใช่ความต้องการของคนพิการ เพราะการขึ้น - ลง “รถลิฟต์” แต่ละครั้งใช้เวลานาน ซึ่งกระทบกับผู้ใช้รถเมล์ที่ต้องรอนาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ทุกคนต่างเร่งรีบเดินทาง หากมีคนพิการออกมาใช้บริการรถเมล์จำนวนมาก จะทำให้คนพิการตกเป็น “จำเลย” ของสังคมโดยไม่เจตนา นอกจากนั้น “รถติดลิฟต์” อำนวยความสะดวกได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็นเท่านั้น ขณะที่ “รถเมล์ชานต่ำ” สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการทุกประเภทได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนตาบอด คนหูหนวก คนพิการทางสมอง/สติปัญญา รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม หรือ กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรือเครื่องช่วยเดินแบบมีล้อ ก็สามารถใช้รถเมล์ชานต่ำร่วมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย จึงขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้โปรดทบทวนสเปครถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่อีกครั้งหนึ่ง

นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวสั้น ๆ ว่า ตนรับทราบและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายคนพิการ เบื้องต้นจะให้ พก. ช่วยรวบรวมข้อมูลและรายเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว เพื่อปรึกษาหารือกับกระทรวงคมนาคมชั้นหนึ่งก่อน หากได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบโดยเร็ว.( ขอบคุณ ...เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ ก.ย.๕๖)

ที่มา: เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ ก.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 20/09/2556 เวลา 06:26:06 ดูภาพสไลด์โชว์ เครือข่ายคนพิการ รุดพบประธานบอร์ดชาติ เร่งเจรจา ขสมก. แก้ TOR จัดซื้อรถเมล์ใหม่ ห้ามเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ

1 พวงแก้ว กิจธรรม 20/09/2556 06:26:06

ขอบคุณนะคะ คุณคนพิการที่ติดตามข่าว "รถเมล์ชานต่ำ" ของเรา เหตุผลหนึ่งที่ ขสมก.อ้างในการไม่ซื้อรถชานต่ำ คือ ทางลาดที่เลื่อนออกจากพื้นรถอาจเชื่อมต่อกับทางเดินเท้าที่มัขอบและความสูงต่ำหลากหลาย เครือข่ายคนพิการจึงเข้าห่รือกรุงเทพมหานคร ซึ่งรับปากว่าจะจัดทำแผนปรับทางเดินเท้าเพื่อรองรับทางลาดรถเมล์ชานต่ำ เพื่อเป็นที่คนใช้เก้าอี้เข็นรอ และลงจากรถเมล์ ส่วนทางข้ามถนนจะกำหนดระยะห่างให้เหมาะสมพร้อมทั้งทำทางลาดสำหรับเก้าอี้เข็น ทำสัญญานเสียงสำหรับคนตาบอด และสัญญานไฟสำหรับคนตาบอด....อ๊ะ...อ๊ะ อยากถามล่ะซีว่า เมื่อไรจะเริ่มทำ และเมื่อไรจะเสร็จ....รอสักครู่ค่ะ ผู้นำคนพิการกำลังช่วยทำแผน...และพวกเรา รวมทั้งคุณคนพิการ ก็ช่วยกันติดตามดูนะคะ ...เราต้องมีโอกาสได้ใช้แน่ๆ ค่ะ ...ถ้ามีความคืบหน้า จะรีบส่งข่าวนะคะ...แต่ตอนนี้ ช่วยกันลุ้น "รถเมล์ชานต่ำ" ก่อนนะคะ....ขอบคุณค่ะ

2 คนพิการ 20/09/2556 03:29:38

เห็นด้วยอย่างยิ่ง รถเมล์ชานต่ำน่าใช้และคงสะดวกขึ้นเยอะ แต่อย่าลืมสนใจแต่รถแล้วถามว่า การที่จะขึ้นลงหรือต่อรถอีกฝั่งถนนนึงจะทำไงบ้าง เช่นถ้าเราจะข้ามถนนไปขึ้นรถฝั่งตรงข้าม เราจะข้ามยังไงถ้ารถเมล์สะดวกขึ้นแต่เราไม่สามารถข้ามถนนด้วยความปลอดภัยก็เท่านั้นเอง ต้องทำทางข้ามคนพิการในทุกจุดที่ไม่ต้องขึ้นสะพานลอยคนนั่งรถเข็นหรือคนขาไม่ดีจะได้ข้ามได้แต่ต้องกันพวกคนปรกติมาใช้ร่วมด้วย เพราะสังคมคนปรกติมักง่ายเยอะ

อยากให้มีทางข้ามที่สะดวกๆด้วยนะครับ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 14.00 น. เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ ห้องปกรณ์ อังสุสิงห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในโอกาสที่มาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยเครือข่ายคนพิการขอให้คณะกรรมการส่งเสริมฯ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ช่วยประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ทบทวนร่างขอบเขตของงาน (TOR) โครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทางดังกล่าวใหม่ พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบาย ๓ ข้อ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ คือ ๑. ขอให้ ขสมก. กำหนดให้มีการจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภทในโครงการจัดซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน เพื่อให้ทุกคน รวมทั้งคนพิการทุกประเภทสามารถใช้รถเมล์ดังกล่าวได้ทุกคัน ๒. ขอให้ ขสมก. ยกเลิกการติดตั้งลิฟต์ที่รถเมล์ เนื่องจากใช้ได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นเท่านั้น ราคาแพง ใช้เวลาขึ้น - ลงรถเมล์หลายนาที และต้องมีระบบดูแลรักษาอย่างดี ๓. ขอให้ ขสมก. กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะทั่วไปของรถเมล์ ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน ให้มีโครงสร้างเป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ (No Step Bus) พร้อมทั้งมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า - ออก บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถซึ่งมีราคาถูก ใช้งานง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษามาก และใช้เวลาน้อยในการขึ้น - ลงรถเมล์ เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน คนเจ็บป่วย คนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง และผู้หญิงใส่กระโปรงสั้น / รองเท้าส้นสูง เป็นต้น ขึ้น – ลงรถเมล์ได้โดยสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ซึ่งช่วยป้องกันคนพิการตกเป็นจำเลยของสังคมเพราะใช้เวลามากในการขึ้นรถเมล์ ๔. ขอให้ ขสมก. พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่าง TOR และมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าวทุกขั้นตอน เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่โดยภาษีของประชาชน ทุกคนสามารถขึ้นได้ทุกคัน นายภพต์ เทภาสิต นายกสมาคมคนพิการนนทบุรี กล่าวว่า การออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของคนพิการในเรื่องการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. โดยการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติชาติ เกิดขึ้นเนื่องจาก ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ในสังคมยังมีเจตคติที่ไม่ถูกต้องต่อคนพิการและความพิการ มองคนพิการว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอ เป็นภาระ ด้อยโอกาส และไม่สามารถสร้างผลผลิตให้กับสังคม/ประเทศชาติได้ จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ช่วยเหลือตามที่รัฐหรือผู้ที่มีอำนาจจัดให้เท่านั้น รวมถึง มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการว่าเป็นปัญหาเชิงปัจเจก เป็นปัญหาของคนชายขอบที่เข้าไม่ถึงโอกาสเพราะปัจจัยส่วนบุคคล คนพิการจึงเป็นกลุ่มคนกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกลืมจากสังคม ถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งที่ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ให้หลักประกันเรื่องความเสมอภาค/ความเท่าเทียมกันของบุคคลไว้ และใน ม.๑๕ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๕๖ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเรื่องคนพิการ ยังห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ อีกด้วย เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต่อกรณีที่ ขสมก. ออกร่างทีโออาร์ ๒ ฉบับ กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเฉพาะในรถปรับอากาศ ส่วนรถเมล์ธรรมดาคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม เข้าข่ายการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ซึ่งไม่ใช่กรณี “ลืม” นึกถึงคนพิการ แต่น่าจะเป็นกรณี “ไม่ใส่ใจ” คนพิการมากกว่า เพราะทางเครือข่ายฯได้เกาะติดสถานการณ์และแสดงจุดยืนเรื่องนี้กับ ขสมก. มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ส่วนที่ ขสมก. เลือกใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ แทนการใช้ทางลาด เนื่องจาก ขสมก. ยืนยันที่จะใช้รถเมล์พื้นสูงแบบเดิม แทนรถเมล์ชานต่ำ หรือ “โลวฟลอร์บัส”ตามข้อเสนอของเครือข่ายฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องรถชานต่ำไม่สามารถใช้ได้หากเกิดน้ำท่วม ซึ่งฟังไม่ขึ้น เพราะรัฐบาลมีแผนที่จะจ้างเอกชนทำแผนบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคต ที่สำคัญ น้ำไม่ได้ท่วมทุกวัน ถ้าน้ำท่วมจริงรถเมล์ติดลิฟต์ก็ไม่สามารถใช้งานได้อยู่ดี และคนพิการที่ใช้รถเข็นคงไม่มารอขึ้นรถเมล์หากน้ำท่วมถึงระดับรถเมล์วิ่งไม่ได้ ต่อกรณีนี้ จึงไม่แน่ใจว่า ขสมก. มีธงอยู่แล้ว หรือมีการ “รับใบสั่ง” ใครมาหรือไม่ ทั้งที่ทราบดีว่า “รถเมล์ชานต่ำ” เป็นรถที่ถูกออกแบบตามแนวคิด การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม ( Universal Design : UD ) เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ คนเจ็บป่วย และคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง สามารถขึ้น-ลงรถเมล์ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายภพต์ กล่าวทิ้งท้ายว่า คนพิการ ไม่ต้องการ “รถติดลิฟต์” ซึ่งเป็นเรื่องที่ ขสมก. คิดให้และตัดสินใจแทนคนพิการ ทั้งนี้ นอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพง และทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยใช่เหตุแล้ว “ลิฟต์” ไม่ใช่ความต้องการของคนพิการ เพราะการขึ้น - ลง “รถลิฟต์” แต่ละครั้งใช้เวลานาน ซึ่งกระทบกับผู้ใช้รถเมล์ที่ต้องรอนาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ทุกคนต่างเร่งรีบเดินทาง หากมีคนพิการออกมาใช้บริการรถเมล์จำนวนมาก จะทำให้คนพิการตกเป็น “จำเลย” ของสังคมโดยไม่เจตนา นอกจากนั้น “รถติดลิฟต์” อำนวยความสะดวกได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็นเท่านั้น ขณะที่ “รถเมล์ชานต่ำ” สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการทุกประเภทได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนตาบอด คนหูหนวก คนพิการทางสมอง/สติปัญญา รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม หรือ กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรือเครื่องช่วยเดินแบบมีล้อ ก็สามารถใช้รถเมล์ชานต่ำร่วมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย จึงขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้โปรดทบทวนสเปครถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่อีกครั้งหนึ่ง นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวสั้น ๆ ว่า ตนรับทราบและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายคนพิการ เบื้องต้นจะให้ พก. ช่วยรวบรวมข้อมูลและรายเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว เพื่อปรึกษาหารือกับกระทรวงคมนาคมชั้นหนึ่งก่อน หากได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบโดยเร็ว.( ขอบคุณ ...เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ ก.ย.๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...