กทม.เร่งรื้อตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายทั่วกรุงเทพฯ นำร่อง 6 เส้นทาง
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อร่วมดำเนินการรื้อย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะ บริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 เส้นทางนำร่องที่กรุงเทพมหานครจะดำเนินการจัดระเบียบรื้อถอนตู้โทรศัพท์สาธารณะ โดยในวันนี้ได้ดำเนินการรื้อย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะบนถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ต่อเนื่องถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ถึงสถานีขนส่งสายใต้เก่า ระยะทาง 2.79 กิโลเมตร ซึ่งจากการสำรวจร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานเจ้าของตู้โทรศัพท์ สาธารณะเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 ที่ผ่านมาเส้นทางดังกล่าวมีตู้โทรศัพท์ทั้งหมด จำนวน 142 ตู้ แบ่งเป็นตู้โทรศัพท์ของ บมจ.ทีโอที 108 ตู้ และ บมจ.ทรูฯ 34 ตู้ และเป็นตู้ที่ทำการรื้อย้าย จำนวน 92 ตู้
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการสำรวจเดิมในพื้นที่กรุงเทพฯ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะทั้งที่ขออนุญาตถูกต้องและไม่ถูกต้องกว่า 33,882 ตู้ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการรื้อถอนตู้ที่ติดตั้งโดยไม่ได้ขออนุญาตรวมถึง ติดตั้งกีดขวางทางสัญจรของประชาชนไปแล้วกว่า 15,184 ตู้ คงเหลือที่จะต้องทำการรื้อถอนอีกประมาณ 12,324 ตู้ ซึ่งกรุงเทพมหานครจะร่วมกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เร่งดำเนินการรื้อถอนตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายบนถนนสายสำคัญๆ โดยกำหนดเส้นทางนำร่อง 6 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องถนนบรมราชชนนี ถนนพหลโยธิน ถนนสุขุมวิท ถนนราชดำเนินกลาง ถนนรามคำแหง และถนนสุขสวัสดิ์ เพื่อเป็นการจัดระเบียบทางเท้าตามนโยบายคืนทางเท้าอำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชน คาดว่าจะทำการรื้อถอนให้แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ และในส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการจัดระเบียบต่อไป
กรุงเทพมหานครได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผู้ใช้ทางเท้า ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Online) และช่องทางการร้องเรียนอื่นๆ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องตู้โทรศัพท์สาธารณะบนทางเท้าเป็นจำนวนมาก อาทิ การติดตั้งตู้โทรศัพท์กีดขวางทางเดินเท้า ตู้โทรศัพท์มีสภาพที่ชำรุดและสกปรกจนไม่สามารถใช้การได้ ตู้โทรศัพท์ไม่มีเครื่องโทรศัพท์ในการใช้งานประกอบกับมีการโฆษณาที่ไม่ถูก ต้อง และการรื้อตัวตู้โทรศัพท์โดยทิ้งฐานคอนกรีตของตู้ไว้ทำให้กีดขวางการสัญจร อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้สัญจรบนทางเท้าได้ ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดระเบียบตู้โทรศัพท์มาโดยตลอด แต่ก็ประสบปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงานเขตพื้นที่ตามพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 เพื่อใช้ในการต่อสู้คดีในชั้นศาล ปัญหาด้านสถานที่ในการจัดเก็บรักษาของกลางหลังจากที่สำนักงานเขตได้ดำเนิน การรื้อถอนตู้โทรศัพท์ อีกทั้งสำนักงานเขตขาดบุคลากรในการรื้อถอนตู้โทรศัพท์ซึ่งมีจำนวนมากในพื้นที่เขตรับผิดชอบ
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบตู้โทรศัพท์สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2546 และในปี 2554 คณะทำงานจัดระเบียบตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ไม่ได้รับอนุญาต ได้กำหนดมาตรการและวิธีดำเนินการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาตู้โทรศัพท์ที่ไม่ ได้รับอนุญาตเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ 3 แนวทาง ดังนี้ 1.ตู้โทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่แล้วมีป้ายโฆษณาติด ตั้งในผนังตู้โทรศัพท์ถือว่าไม่ถูกต้อง โดยให้รื้อเฉพาะป้ายโฆษณา 2.ตู้โทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาตมีโฆษณาควบคู่กับตู้ เช่น ป้ายตัวอักษรวิ่ง ถือว่าเป็นตู้โทรศัพท์ที่ผิดกฎหมาย ให้รื้อทั้งตู้ และ 3. ตู้โทรศัพท์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถือว่าเป็นตู้โทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายและผิด ต่อประกาศกรุงเทพมหานครฯ ให้รื้อทั้งหมด
propertychannelnews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อร่วมดำเนินการรื้อย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะ บริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 เส้นทางนำร่องที่กรุงเทพมหานครจะดำเนินการจัดระเบียบรื้อถอนตู้โทรศัพท์สาธารณะ โดยในวันนี้ได้ดำเนินการรื้อย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะบนถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ต่อเนื่องถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ถึงสถานีขนส่งสายใต้เก่า ระยะทาง 2.79 กิโลเมตร ซึ่งจากการสำรวจร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานเจ้าของตู้โทรศัพท์ สาธารณะเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 ที่ผ่านมาเส้นทางดังกล่าวมีตู้โทรศัพท์ทั้งหมด จำนวน 142 ตู้ แบ่งเป็นตู้โทรศัพท์ของ บมจ.ทีโอที 108 ตู้ และ บมจ.ทรูฯ 34 ตู้ และเป็นตู้ที่ทำการรื้อย้าย จำนวน 92 ตู้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการสำรวจเดิมในพื้นที่กรุงเทพฯ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะทั้งที่ขออนุญาตถูกต้องและไม่ถูกต้องกว่า 33,882 ตู้ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการรื้อถอนตู้ที่ติดตั้งโดยไม่ได้ขออนุญาตรวมถึง ติดตั้งกีดขวางทางสัญจรของประชาชนไปแล้วกว่า 15,184 ตู้ คงเหลือที่จะต้องทำการรื้อถอนอีกประมาณ 12,324 ตู้ ซึ่งกรุงเทพมหานครจะร่วมกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เร่งดำเนินการรื้อถอนตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายบนถนนสายสำคัญๆ โดยกำหนดเส้นทางนำร่อง 6 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องถนนบรมราชชนนี ถนนพหลโยธิน ถนนสุขุมวิท ถนนราชดำเนินกลาง ถนนรามคำแหง และถนนสุขสวัสดิ์ เพื่อเป็นการจัดระเบียบทางเท้าตามนโยบายคืนทางเท้าอำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชน คาดว่าจะทำการรื้อถอนให้แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ และในส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการจัดระเบียบต่อไป กรุงเทพมหานครได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผู้ใช้ทางเท้า ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Online) และช่องทางการร้องเรียนอื่นๆ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องตู้โทรศัพท์สาธารณะบนทางเท้าเป็นจำนวนมาก อาทิ การติดตั้งตู้โทรศัพท์กีดขวางทางเดินเท้า ตู้โทรศัพท์มีสภาพที่ชำรุดและสกปรกจนไม่สามารถใช้การได้ ตู้โทรศัพท์ไม่มีเครื่องโทรศัพท์ในการใช้งานประกอบกับมีการโฆษณาที่ไม่ถูก ต้อง และการรื้อตัวตู้โทรศัพท์โดยทิ้งฐานคอนกรีตของตู้ไว้ทำให้กีดขวางการสัญจร อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้สัญจรบนทางเท้าได้ ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดระเบียบตู้โทรศัพท์มาโดยตลอด แต่ก็ประสบปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงานเขตพื้นที่ตามพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 เพื่อใช้ในการต่อสู้คดีในชั้นศาล ปัญหาด้านสถานที่ในการจัดเก็บรักษาของกลางหลังจากที่สำนักงานเขตได้ดำเนิน การรื้อถอนตู้โทรศัพท์ อีกทั้งสำนักงานเขตขาดบุคลากรในการรื้อถอนตู้โทรศัพท์ซึ่งมีจำนวนมากในพื้นที่เขตรับผิดชอบ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบตู้โทรศัพท์สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2546 และในปี 2554 คณะทำงานจัดระเบียบตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ไม่ได้รับอนุญาต ได้กำหนดมาตรการและวิธีดำเนินการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาตู้โทรศัพท์ที่ไม่ ได้รับอนุญาตเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ 3 แนวทาง ดังนี้ 1.ตู้โทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่แล้วมีป้ายโฆษณาติด ตั้งในผนังตู้โทรศัพท์ถือว่าไม่ถูกต้อง โดยให้รื้อเฉพาะป้ายโฆษณา 2.ตู้โทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาตมีโฆษณาควบคู่กับตู้ เช่น ป้ายตัวอักษรวิ่ง ถือว่าเป็นตู้โทรศัพท์ที่ผิดกฎหมาย ให้รื้อทั้งตู้ และ 3. ตู้โทรศัพท์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถือว่าเป็นตู้โทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายและผิด ต่อประกาศกรุงเทพมหานครฯ ให้รื้อทั้งหมด ขอบคุณ... http://www.propertychannelnews.com/breaking-news/กทม.เร่งรื้อตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายทั่วกรุงเทพฯ-นำร่อง-6-เส้นทาง-/13075/ propertychannelnews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)