มหาวิทยาลัยเทนเนสซีเพิ่มบริการรถรับ-ส่งนักศึกษาพิการ
เมื่อ ๑๗ ก.ย.๒๕๕๖ ที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ลินด์ เซ ลี ขวา นักศึกษาใน วิชาคณิตศาสตร์และภาษาสเปน ได้นำเสนอเอกสารรายงานข้อคิดเห็น ที่รวบรวมจากการสำรวจบริการรถรับ-ส่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่มีความพิการ
"ฉันเป็นผู้ใช้รถเข็นตัวเอง และเห็นว่ามีหลายวิธีที่มหาวิทยาลัยสามารถปรับปรุงวิธีปฏิบัติต่อคนพิการ" ลี กล่าว
คณะกรรมการดำเนินการชุมชนกล่าวถึงสิ่งที่พวกเขาพบว่า เป็นเรื่องที่ความเสี่ยงมากที่สุด ในการใช้บริการรถรับ-ส่งในเมืองนอกซ์วิล ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่ไม่มีบริการรถรับจ้าง (แท้กซี่)โดยเฉพาะสำหรับคนพิการ นักศึกษาพิการจะต้องใช้รถตู้ หรือรถเมล์ ที่ต้องจองอย่างน้อยสามวัน ทำให้การจัดตารางเวลาทำงานและเรียนยุ่งยากมาก
นอกเหนือจากความไม่สะดวก รถเมล์เหล่านี้ก่อให้เกิดความความเสี่ยงมาก สมาชิกคนหนึ่ง ระบุว่า ทันทีที่เธอเข้าไปในรถเมล์ ยังไม่ทันล็อกรถเข็น จึงลื่นไถลข้ามไปในทางเดินระหว่างที่นั่ง นักศึกษาอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า เธอไม่ได้ใช้รถเมล์ตั้งแต่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับลิฟท์ที่ยกรถเข็นคนพิการเข้ารถเมล์ ฉะนั้น จึงควรปรับปรุงบริการรถเมล์สาธารณะในเมืองน็อกซ์วีล ที่บริการคนทั่วไปให้อำนวยความสะดวกสำหรับ นักศึกษาที่พิการ รวมทั้งปรับปรุงทางเดินเท้า และทางลาดให้ดีขึ้นโดยใช้การออกแบบที่ทุกคนใช้ร่วมกันได้
"ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือการขาดความรู้ หรือขาดการสื่อสารเกี่ยวกับปัญหา แต่หลังจากที่ทุกคนเข้าใจ ชัดเจน ก็ต้องการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยให้คนพิการมีส่วนร่วมคิดและดำเนินการด้วย" เพื่อให้ “สภาพแวดล้อมไม่เป็นอุปสรรคต่อคนพิการ แต่ เป็นมิตรกับคนพิการ” กล่าวคือ คนพิการสามารถใช้สภาพแวดล้อมและรถเมล์ร่วมกับคนทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการปรับแก้มักช้ามาก เพราะคนไม่พิการเติบโตขึ้นโดยไม่เคยเรียนรู้ว่าคนอื่นที่มีความพิการต้องเผชิญปัญหาจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคอย่างไร
เรียบเรียงจาก Disability transportation increases on campus By Bradi Musil, Contributor
Published: Thu Sep 19, 2013
ขอบคุณ... http://utdailybeacon.com/news/2013/sep/19/disability-transportation-increases-campus/
(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๖ ต.ค.๕๖)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ลินด์ เซ ลี ขวา นักศึกษาใน วิชาคณิตศาสตร์และภาษาสเปน ได้นำเสนอเอกสารรายงานข้อคิดเห็น ที่รวบรวมจากการสำรวจบริการรถรับ-ส่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เมื่อ ๑๗ ก.ย.๒๕๕๖ ที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ลินด์ เซ ลี ขวา นักศึกษาใน วิชาคณิตศาสตร์และภาษาสเปน ได้นำเสนอเอกสารรายงานข้อคิดเห็น ที่รวบรวมจากการสำรวจบริการรถรับ-ส่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่มีความพิการ "ฉันเป็นผู้ใช้รถเข็นตัวเอง และเห็นว่ามีหลายวิธีที่มหาวิทยาลัยสามารถปรับปรุงวิธีปฏิบัติต่อคนพิการ" ลี กล่าว คณะกรรมการดำเนินการชุมชนกล่าวถึงสิ่งที่พวกเขาพบว่า เป็นเรื่องที่ความเสี่ยงมากที่สุด ในการใช้บริการรถรับ-ส่งในเมืองนอกซ์วิล ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่ไม่มีบริการรถรับจ้าง (แท้กซี่)โดยเฉพาะสำหรับคนพิการ นักศึกษาพิการจะต้องใช้รถตู้ หรือรถเมล์ ที่ต้องจองอย่างน้อยสามวัน ทำให้การจัดตารางเวลาทำงานและเรียนยุ่งยากมาก รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้ นอกเหนือจากความไม่สะดวก รถเมล์เหล่านี้ก่อให้เกิดความความเสี่ยงมาก สมาชิกคนหนึ่ง ระบุว่า ทันทีที่เธอเข้าไปในรถเมล์ ยังไม่ทันล็อกรถเข็น จึงลื่นไถลข้ามไปในทางเดินระหว่างที่นั่ง นักศึกษาอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า เธอไม่ได้ใช้รถเมล์ตั้งแต่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับลิฟท์ที่ยกรถเข็นคนพิการเข้ารถเมล์ ฉะนั้น จึงควรปรับปรุงบริการรถเมล์สาธารณะในเมืองน็อกซ์วีล ที่บริการคนทั่วไปให้อำนวยความสะดวกสำหรับ นักศึกษาที่พิการ รวมทั้งปรับปรุงทางเดินเท้า และทางลาดให้ดีขึ้นโดยใช้การออกแบบที่ทุกคนใช้ร่วมกันได้ "ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือการขาดความรู้ หรือขาดการสื่อสารเกี่ยวกับปัญหา แต่หลังจากที่ทุกคนเข้าใจ ชัดเจน ก็ต้องการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยให้คนพิการมีส่วนร่วมคิดและดำเนินการด้วย" เพื่อให้ “สภาพแวดล้อมไม่เป็นอุปสรรคต่อคนพิการ แต่ เป็นมิตรกับคนพิการ” กล่าวคือ คนพิการสามารถใช้สภาพแวดล้อมและรถเมล์ร่วมกับคนทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการปรับแก้มักช้ามาก เพราะคนไม่พิการเติบโตขึ้นโดยไม่เคยเรียนรู้ว่าคนอื่นที่มีความพิการต้องเผชิญปัญหาจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคอย่างไร เรียบเรียงจาก Disability transportation increases on campus By Bradi Musil, Contributor Published: Thu Sep 19, 2013 ขอบคุณ...http://utdailybeacon.com/news/2013/sep/19/disability-transportation-increases-campus/ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๖ ต.ค.๕๖)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)