สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนสูงอายุ-คนพิการ

แสดงความคิดเห็น

คณะคนพิการนั่งรถเข็น

จากสถิติในปี 2556 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 8.1 ล้านคน และอายุ 80 ปีขึ้นไป ประมาณ 8 แสนคน เป็นผู้สูงอายุที่อยู่ใน กทม.529,304 คน และติดอันดับประเทศที่มีประชากรสูงอายุมากที่สุดในอาเซียน โดยคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีคนพิการใน กทม. 54,287 คน และผู้พิการทั่วประเทศ 1,405,973 คน

สิ่งที่ขาดแคลนในช่วงนี้คือสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุและคนพิการ ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม หน่วยงานภาครัฐ อย่างสำนักงานโยธา กทม. ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในระดับสากล เพื่อเปิดโลกทรรศน์ในการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ให้ได้มาตรฐานตามหลักสากล

ล่าสุด ผู้พิการเดินทางเข้าเยี่ยมข้อเรียกร้องให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยจัดรถเมล์อำนวยความสะดวก ที่จะต้องเป็นแบบชานต่ำตามมาตรฐานสากล สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ

ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธาเล่าถึงโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสรางสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุว่า เพื่อรณรงค์กระตุ้นเตือนให้ประชาชนในสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุในทุกพื้นที่ ทั้งพื้นที่สาธารณะ พื้นที่การค้า พื้นที่พักอยู่อาศัย และพื้นที่การจราจร เพื่อให้คนทุกกลุ่ม ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ให้ได้มาตรฐานตามหลักสากล Universal Design และปัจจุบันการออกแบบอาคารในกรุงเทพฯ ตลอดจนบริการสาธารณะต่างๆสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และผู้สูงอายุ ของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

กลุ่มผู้สูงอายุ

ทวีศักดิ์ เล่าว่า จึงเปิดเวทีระดมความเห็นจากนักออกแบบ ผู้พิการ เพื่อให้ออกแบบสอดคล้อง ตามหลักสากล 7 ประการ คือความเท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ใช้งานแสนสะดวก ปลอดภัยสวยงาม สื่อความหมายที่เข้าใจได้ การออกแบบที่ป้องกันความผิดพลาด ช่วยผ่อนแรงได้ และมีพื้นที่และขนาดที่เหมาะสมที่ผู้พิการจะเข้าและใช้งานได้

แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการตามหลักสากล มีการกำหนดไว้อยู่แล้ว เช่น ในพื้นที่สาธารณะ ช่องทางลาด ควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร ที่จอดรถสำหรับคนพิการ ควรอยู่ใกล้ทางเข้าอาคารมากที่สุด

ส่วนที่พักอาศัย เช่น บันไดและราวจับ ควรมีความกว้างที่เหมาะสม และที่ชานพักเพื่อให้คนพิการและผู้สูงอายุพักสวิตซ์และปลั๊กไฟ ควรติดในบริเวณที่ทุกคนสามารถเอื้อมปิดและเปิดได้ ขณะที่ศูนย์การค้า บริเวณทางเข้าไม่ควรมีสิงกีดขวาง มีความชันที่เหมาะสม ส่วนพื้นที่สัญจรภายในไม่ควรมีร้านค้ากีดขวางเส้นทาง เพื่อให้คนทุกกลุ่ม ทุกวัยทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และก่อให้เกิดสังคมแห่งความเสมอภาค

เสียงสำคัญคือ ผู้สูงอายุและคนพิการที่อยากเห็นสิ่งอำนวยความสะดวก ในสถานที่ที่คนสูงอายุและคนพิการจะไปใช้บริการอย่าง เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ สวนสาธารณะ

ภัทรพันธ์ กฤษณา กรรมการบริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย เล่าถึงสิ่งที่คนพิการอยากให้รัฐอำนวยความสะดวกคือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่คนพิการต้องไปใช้บริการจำนวนมาก และสถานที่คนพิการจะต้องไปใช้บริการ อาทิ โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ย่านสยามสแควร์ และห้างสรรพสินค้า

ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา

อีกอย่างหากมีประชุมหรือสัมมนาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ขอให้คนพิการมีส่วนร่วมด้วยถ้าพูดถึงภาพรวมแล้ว จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทุกที่ และจะต้องสำรวจว่าสถานที่แห่งไหนที่คนสูงอายุและคนพิการไปใช้บ่อยๆ

ด้าน สุดใจ เกิดสันติ ชาวบ้านอยู่แถวย่านบางกะปิ อายุ 75 ปี เล่าว่า เป็นชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งที่อยากจะเห็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุบ้าง ทุกคนต้องเป็นคนสูงอายุทั้งหมด อยากให้ทางภาครัฐเข้ามาช่วยดูและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างเช่นตามห้างสรรพสินค้ากับสวนสาธารณะ ที่คนสูงอายุจะไปใช้เป็นประจำก็ว่าได้ ความต้องการของคนสูงอายุและคนพิการ ก็เหมือนๆกับคนหนุ่มคนสาวทั่วไป : ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ

ขอบคุณ... มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ต.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 8/10/2556 เวลา 03:11:02 ดูภาพสไลด์โชว์ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนสูงอายุ-คนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คณะคนพิการนั่งรถเข็น จากสถิติในปี 2556 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 8.1 ล้านคน และอายุ 80 ปีขึ้นไป ประมาณ 8 แสนคน เป็นผู้สูงอายุที่อยู่ใน กทม.529,304 คน และติดอันดับประเทศที่มีประชากรสูงอายุมากที่สุดในอาเซียน โดยคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีคนพิการใน กทม. 54,287 คน และผู้พิการทั่วประเทศ 1,405,973 คน สิ่งที่ขาดแคลนในช่วงนี้คือสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุและคนพิการ ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม หน่วยงานภาครัฐ อย่างสำนักงานโยธา กทม. ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในระดับสากล เพื่อเปิดโลกทรรศน์ในการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ให้ได้มาตรฐานตามหลักสากล ล่าสุด ผู้พิการเดินทางเข้าเยี่ยมข้อเรียกร้องให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยจัดรถเมล์อำนวยความสะดวก ที่จะต้องเป็นแบบชานต่ำตามมาตรฐานสากล สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธาเล่าถึงโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสรางสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุว่า เพื่อรณรงค์กระตุ้นเตือนให้ประชาชนในสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุในทุกพื้นที่ ทั้งพื้นที่สาธารณะ พื้นที่การค้า พื้นที่พักอยู่อาศัย และพื้นที่การจราจร เพื่อให้คนทุกกลุ่ม ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ให้ได้มาตรฐานตามหลักสากล Universal Design และปัจจุบันการออกแบบอาคารในกรุงเทพฯ ตลอดจนบริการสาธารณะต่างๆสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และผู้สูงอายุ ของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล กลุ่มผู้สูงอายุ ทวีศักดิ์ เล่าว่า จึงเปิดเวทีระดมความเห็นจากนักออกแบบ ผู้พิการ เพื่อให้ออกแบบสอดคล้อง ตามหลักสากล 7 ประการ คือความเท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ใช้งานแสนสะดวก ปลอดภัยสวยงาม สื่อความหมายที่เข้าใจได้ การออกแบบที่ป้องกันความผิดพลาด ช่วยผ่อนแรงได้ และมีพื้นที่และขนาดที่เหมาะสมที่ผู้พิการจะเข้าและใช้งานได้ แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการตามหลักสากล มีการกำหนดไว้อยู่แล้ว เช่น ในพื้นที่สาธารณะ ช่องทางลาด ควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร ที่จอดรถสำหรับคนพิการ ควรอยู่ใกล้ทางเข้าอาคารมากที่สุด ส่วนที่พักอาศัย เช่น บันไดและราวจับ ควรมีความกว้างที่เหมาะสม และที่ชานพักเพื่อให้คนพิการและผู้สูงอายุพักสวิตซ์และปลั๊กไฟ ควรติดในบริเวณที่ทุกคนสามารถเอื้อมปิดและเปิดได้ ขณะที่ศูนย์การค้า บริเวณทางเข้าไม่ควรมีสิงกีดขวาง มีความชันที่เหมาะสม ส่วนพื้นที่สัญจรภายในไม่ควรมีร้านค้ากีดขวางเส้นทาง เพื่อให้คนทุกกลุ่ม ทุกวัยทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และก่อให้เกิดสังคมแห่งความเสมอภาค เสียงสำคัญคือ ผู้สูงอายุและคนพิการที่อยากเห็นสิ่งอำนวยความสะดวก ในสถานที่ที่คนสูงอายุและคนพิการจะไปใช้บริการอย่าง เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ สวนสาธารณะ ภัทรพันธ์ กฤษณา กรรมการบริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย เล่าถึงสิ่งที่คนพิการอยากให้รัฐอำนวยความสะดวกคือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่คนพิการต้องไปใช้บริการจำนวนมาก และสถานที่คนพิการจะต้องไปใช้บริการ อาทิ โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ย่านสยามสแควร์ และห้างสรรพสินค้า ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา อีกอย่างหากมีประชุมหรือสัมมนาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ขอให้คนพิการมีส่วนร่วมด้วยถ้าพูดถึงภาพรวมแล้ว จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทุกที่ และจะต้องสำรวจว่าสถานที่แห่งไหนที่คนสูงอายุและคนพิการไปใช้บ่อยๆ ด้าน สุดใจ เกิดสันติ ชาวบ้านอยู่แถวย่านบางกะปิ อายุ 75 ปี เล่าว่า เป็นชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งที่อยากจะเห็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุบ้าง ทุกคนต้องเป็นคนสูงอายุทั้งหมด อยากให้ทางภาครัฐเข้ามาช่วยดูและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างเช่นตามห้างสรรพสินค้ากับสวนสาธารณะ ที่คนสูงอายุจะไปใช้เป็นประจำก็ว่าได้ ความต้องการของคนสูงอายุและคนพิการ ก็เหมือนๆกับคนหนุ่มคนสาวทั่วไป : ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ ขอบคุณ... มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...