รัฐบาลกู้เงิน ๒ ล้านล้านบาท กับ ขสมก.เลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารรถเมล์

แสดงความคิดเห็น

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้

ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. เป้าหมาย คือ การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ถนน และขนส่ง เชื่อมโยงทั่วประเทศ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย ๒. กู้เงินตราต่างประเทศในนามรัฐบาลเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ๓. กำหนดกรอบวงเงินสูงสุดสองล้านล้านบาท ภายในปี ๒๕๖๓

รถไฟรางเดี่ยวและรถไฟความเร็วสูง

เงินกู้ สองล้านล้านบาท จะใช้ดำเนินงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศอย่างครบวงจร เช่น ๑.ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนไปสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า โดย ๑.๑) พัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลักของประเทศ ๑.๒) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่ง และ ๑.๓) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตและฐานการส่งออกที่สำคัญของประเทศ ๒.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย ๒.๑) พัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดนและ ๒.๒) พัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค ๓.พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว ได้แก่ ๓.๑) พัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง และ ๓.๒) พัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ

รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้ารางคู่

สำหรับการก่อสร้างเพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ประกอบด้วย ๑.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเดินทางทางราง โดยก่อสร้าง รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง (สายกรุงเทพ - เชียงใหม่ สายกรุงเทพ - หนองคาย และสายกรุงเทพ – ปาดังเบซาร์)และรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ๒.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ โดยก่อสร้าง ท่าเรือ และสถานีขนส่งสินค้าทางลำน้ำ เป็นต้น ๓. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางถนน โดยการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ และทางหลวงพิเศษ Motorway ๔.พัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท ได้แก่ การเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุนและการขนส่ง เชื่อมต่อด้านการท่องเที่ยว เชื่อมระหว่างประเทศ ขยาย ๔ ช่องการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง บูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค ๕.จัดทำโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ๖.พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก และ๗. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านศุลกากร

เรือโดยสารข้ามฟาก และท่าเรือขนส่งสินค้า

โดยสรุป รัฐบาลจะกู้เงิน สองล้านล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเดินทาง และการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางราง ฉะนั้น ประชาชนหรือผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการสาธารณะของโครงการดังกล่าว ตลอดจน คนพิการ และประชาชนทุกกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ใช้เก้าอี้เข็น ตาบอด หูหนวก มีความบกพร่องทางสติปัญญา พฤติกรรม และการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้บริการสาธารณะ ขึ้นรถ ลงเรือ และเดินทาง ได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป จำเป็นต้องติดตามและศึกษาว่า ยานพาหนะ สภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ สถานีขนส่ง ถนน ทางเดินทาง ที่จอดรถ ที่จอดเรือ และอุปกรณ์ทุกประเภทที่จัดซื้อเพื่อใช้ในโครงการ ตลอดจนระบบการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง เรือ หรือ รถ เป็นต้น ได้ใช้การออกแบบที่เป็นธรรม เพื่อให้ทั้งประชาชน ผู้โดยสาร และผู้ใช้บริการทั่วไป รวมทั้งกลุ่มคนที่มีข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว สามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ ยานพาหนะ และบริการทุกรูปแบบ ฯลฯ อย่างเท่าเทียมกันทุกคนหรือไม่ หากโครงการฯ ไม่ให้บริการสาธารณะทั้งปวงอย่างเท่าเทียมกัน ประชาชนทุกคนจะต้องคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิในความเป็นพลเมืองของประเทศไทย โดยการเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากไม่ประสบผลสำเร็จ ก็จำเป็นต้องดำเนินการตามกฏหมายด้วยการฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครอง ในทำนองเดียวกับที่ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” กำลังทำความเข้าใจกับ ขสมก.อยู่ในขณะนี้

อันที่จริง “กระบวนการปฏิบัติการเพื่อการเดินทางของประชาชน....ทุกคนต้องใช้ทุกบริการสาธารณะได้อย่างเท่าเทียมกัน” อาจขับเคลื่อนได้โดยไม่ยากนัก หาก ขสมก. พยายามเรียนรู้ ทำความเข้าใจเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและความเท่าเทียมกันของประชาชนทุกคน พร้อมทั้ง ปรับ ร่างขอบเขตงาน ( TOR ) ฉบับที่ ๔ โดยกำหนดคุณสมบัติของรถเมล์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ติดมากับรถเมล์ ซึ่งกำลังจะซื้อใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ให้ทุกคนใช้ได้ทุกคัน ..... เมื่อ ขสมก.เข้าใจได้ ก็จะเป็นหน่วยงานต้นแบบให้หน่วยงานอื่นๆ ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศสามารถเข้าใจและดำเนินงานโดยตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และความเท่าเทียมเช่นเดียวกัน

ท่าเรือขนส่งและเก็บสินค้า

ฉะนั้น “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ขอเชิญทุกคนที่คิดเหมือนกันว่า “รถเมล์ที่ซื้อโดยใช้เงินภาษีของประชาชน ทุกคนต้องใช้ได้ทุกคัน” โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้อ่อนแรง เด็ก ผู้ใช้เก้าอี้เข็น และคนพิการ เป็นต้น .... ช่วยกันส่งอีเมล์ข้อเสนอแนะปรับแก้ TOR รถเมล์ 3,183 คัน ไปที่ขสมก.โดยดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือนำส่งข้อเสนอแนะที่.... http://www.tddf.or.th/uploadedfiles/2013-10-10__275__.doc (ขนาดไฟล์: 60928) (โปรดปรับตัวอักษรแดง ๕ แห่ง ตามชื่อบุคคล/องค์กร ที่นำส่ง) และอีเมล์ไปที่1348@bmta.co.th somsakna@bmta.co.th และ office@tddf.or.th โทรศัพท์: ๑๓๔๘ ภายในวันนี้….หมดกำหนดวันศุกร์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖

เชิญขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย โทร. ๐๒ ๓๕๔๔ ๒๖๐ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย โทร.๐๘๑-๘๖๙๙๗๑๘ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โทร. ๐๓๘ ๗๑๖๒๔๗ – ๙ หรือ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย โทร.๐๒ ๖๒๘ ๕๗๐๑

โดย พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

ที่มา: พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
วันที่โพสต์: 11/10/2556 เวลา 02:54:03 ดูภาพสไลด์โชว์ รัฐบาลกู้เงิน ๒ ล้านล้านบาท กับ ขสมก.เลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารรถเมล์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้ ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. เป้าหมาย คือ การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ถนน และขนส่ง เชื่อมโยงทั่วประเทศ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย ๒. กู้เงินตราต่างประเทศในนามรัฐบาลเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ๓. กำหนดกรอบวงเงินสูงสุดสองล้านล้านบาท ภายในปี ๒๕๖๓ รถไฟรางเดี่ยวและรถไฟความเร็วสูง เงินกู้ สองล้านล้านบาท จะใช้ดำเนินงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศอย่างครบวงจร เช่น ๑.ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนไปสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า โดย ๑.๑) พัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลักของประเทศ ๑.๒) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่ง และ ๑.๓) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตและฐานการส่งออกที่สำคัญของประเทศ ๒.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย ๒.๑) พัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดนและ ๒.๒) พัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค ๓.พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว ได้แก่ ๓.๑) พัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง และ ๓.๒) พัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้ารางคู่ สำหรับการก่อสร้างเพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ประกอบด้วย ๑.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเดินทางทางราง โดยก่อสร้าง รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง (สายกรุงเทพ - เชียงใหม่ สายกรุงเทพ - หนองคาย และสายกรุงเทพ – ปาดังเบซาร์)และรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ๒.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ โดยก่อสร้าง ท่าเรือ และสถานีขนส่งสินค้าทางลำน้ำ เป็นต้น ๓. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางถนน โดยการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ และทางหลวงพิเศษ Motorway ๔.พัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท ได้แก่ การเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุนและการขนส่ง เชื่อมต่อด้านการท่องเที่ยว เชื่อมระหว่างประเทศ ขยาย ๔ ช่องการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง บูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค ๕.จัดทำโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ๖.พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก และ๗. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านศุลกากร เรือโดยสารข้ามฟาก และท่าเรือขนส่งสินค้า โดยสรุป รัฐบาลจะกู้เงิน สองล้านล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเดินทาง และการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางราง ฉะนั้น ประชาชนหรือผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการสาธารณะของโครงการดังกล่าว ตลอดจน คนพิการ และประชาชนทุกกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ใช้เก้าอี้เข็น ตาบอด หูหนวก มีความบกพร่องทางสติปัญญา พฤติกรรม และการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้บริการสาธารณะ ขึ้นรถ ลงเรือ และเดินทาง ได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป จำเป็นต้องติดตามและศึกษาว่า ยานพาหนะ สภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ สถานีขนส่ง ถนน ทางเดินทาง ที่จอดรถ ที่จอดเรือ และอุปกรณ์ทุกประเภทที่จัดซื้อเพื่อใช้ในโครงการ ตลอดจนระบบการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง เรือ หรือ รถ เป็นต้น ได้ใช้การออกแบบที่เป็นธรรม เพื่อให้ทั้งประชาชน ผู้โดยสาร และผู้ใช้บริการทั่วไป รวมทั้งกลุ่มคนที่มีข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว สามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ ยานพาหนะ และบริการทุกรูปแบบ ฯลฯ อย่างเท่าเทียมกันทุกคนหรือไม่ หากโครงการฯ ไม่ให้บริการสาธารณะทั้งปวงอย่างเท่าเทียมกัน ประชาชนทุกคนจะต้องคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิในความเป็นพลเมืองของประเทศไทย โดยการเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากไม่ประสบผลสำเร็จ ก็จำเป็นต้องดำเนินการตามกฏหมายด้วยการฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครอง ในทำนองเดียวกับที่ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” กำลังทำความเข้าใจกับ ขสมก.อยู่ในขณะนี้ อันที่จริง “กระบวนการปฏิบัติการเพื่อการเดินทางของประชาชน....ทุกคนต้องใช้ทุกบริการสาธารณะได้อย่างเท่าเทียมกัน” อาจขับเคลื่อนได้โดยไม่ยากนัก หาก ขสมก. พยายามเรียนรู้ ทำความเข้าใจเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและความเท่าเทียมกันของประชาชนทุกคน พร้อมทั้ง ปรับ ร่างขอบเขตงาน ( TOR ) ฉบับที่ ๔ โดยกำหนดคุณสมบัติของรถเมล์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ติดมากับรถเมล์ ซึ่งกำลังจะซื้อใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ให้ทุกคนใช้ได้ทุกคัน ..... เมื่อ ขสมก.เข้าใจได้ ก็จะเป็นหน่วยงานต้นแบบให้หน่วยงานอื่นๆ ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศสามารถเข้าใจและดำเนินงานโดยตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และความเท่าเทียมเช่นเดียวกัน ท่าเรือขนส่งและเก็บสินค้า ฉะนั้น “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ขอเชิญทุกคนที่คิดเหมือนกันว่า “รถเมล์ที่ซื้อโดยใช้เงินภาษีของประชาชน ทุกคนต้องใช้ได้ทุกคัน” โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้อ่อนแรง เด็ก ผู้ใช้เก้าอี้เข็น และคนพิการ เป็นต้น .... ช่วยกันส่งอีเมล์ข้อเสนอแนะปรับแก้ TOR รถเมล์ 3,183 คัน ไปที่ขสมก.โดยดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือนำส่งข้อเสนอแนะที่.... http://www.tddf.or.th/uploadedfiles/2013-10-10__275__.doc(โปรดปรับตัวอักษรแดง ๕ แห่ง ตามชื่อบุคคล/องค์กร ที่นำส่ง) และอีเมล์ไปที่1348@bmta.co.th somsakna@bmta.co.th และ office@tddf.or.th โทรศัพท์: ๑๓๔๘ ภายในวันนี้….หมดกำหนดวันศุกร์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ เชิญขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย โทร. ๐๒ ๓๕๔๔ ๒๖๐ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย โทร.๐๘๑-๘๖๙๙๗๑๘ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โทร. ๐๓๘ ๗๑๖๒๔๗ – ๙ หรือ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย โทร.๐๒ ๖๒๘ ๕๗๐๑ โดย พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...