แอพพลิเคชั่น“Wheel-go-round” เพิ่มคุณภาพชีวิตมนุษย์ล้อ – กลางกระแส
กลุ่มผู้พิการในสังคมไทยถือว่าเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเข้าถึงสาธารณูปโภค พื้นฐานในสังคม ตามหลักรัฐธรรมนูญแต่พบว่าหลายสถานที่ขาดการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้วีลแชร์ หรือสัญลักษณ์สำหรับผู้พิการทางสายตา ต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นการผลักดันให้ภาครัฐผู้เสนอนโยบายรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจเอกชนหันมาใส่ใจสิ่งเล็กๆน้อย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดจึงได้เปิดตัว Application “Wheel-go-round”และทีมwheel-go-round ทีมMicrosoft Student Partner (พัฒนาแอพพลิเคชั่น) ภายใต้ “โครงการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น”
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม การให้บริการ รวมทั้งการปรับด้านความเชื่อและทัศนคติ เรื่องความแตกต่างในกลุ่มประชากร สังคมทุกภาคส่วนเริ่มมีแนวคิดเรื่องการเปิดพื้นที่การให้บริการในด้านต่างๆ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันในทุกกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุก็เช่นกัน ทุกคนต้องการความมีอิสระในการเดินทางและการใช้ชีวิตประจำวัน สสส ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องการมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสังคมเพื่อลดช่องว่างและเสริมสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพและการใช้ ชีวิตของคนกลุ่มนี้ เพื่อให้มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและสามารถเข้าถึงสิทธิในการดำรงชีวิตได้อย่าง เป็นรูปธรรมและเท่าเทียม เข้าใจในความแตกต่างของบุคคล อันจะนำไปสู่สังคมแห่งเท่าเทียม (Inclusive society) ของคนทุกกลุ่ม
“สสส.เล็งเห็นว่าโครงการนี้จะช่วยจุดประกายให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและ สิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้วีลแชร์ รวมถึงสร้างความตระหนักแก่สังคมให้เห็นถึงความสำคัญของ “การมีพื้นที่” ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค” ทพ.กฤษดา กล่าว
นางสาวศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ มีความยินดีที่ได้สนับสนุนและเห็นการพัฒนาที่ก้าวไปอีกขั้นของน้องๆ กลุ่ม Wheel-go-round โดยไมโครซอฟท์ ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Wheel-go-round บนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สามารถทราบและเข้าถึงข้อมูลการเดินทางไปในสถานที่ ต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยผ่านการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนอกจากผู้ใช้วีลแชร์แล้ว ข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถนำเสนอไปสู่ยังกลุ่มคนที่กว้างขึ้นและเข้าถึงได้ ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ทีม Microsoft Student Partners ยังได้อัพเดทเว็บไซต์ Wheel-Go- Round เพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถทราบและเข้าถึงข้อมูลการใช้รถเข็นและสามารถเดิน ทางไปในสถานที่ต่างๆ ได้สะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น นับเป็นการรวมพลังสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ มาร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อสังคมไทย”
“กลุ่ม Wheel-go-round เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้ร่วมโครงการ Innovate For Good ภายใต้ YouthSpark ซึ่งไมโครซอฟท์ร่วมกับสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สอ.ดย.) ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมีเยาวชนกว่า 100 คน จากทั่วประเทศเข้าร่วมงาน ในการเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสร้างความแตกต่างที่ดีขึ้น ให้เกิดขึ้นกับชุมชนของตนเอง”นางสาวศิริพร กล่าว
ด้านนางสาวลิปดา จารุเธียร ตัวแทนเยาวชนกลุ่ม Wheel-go-round กล่าวถึงที่มาของแอพพลิเคชั่นนี้ว่า ตนมีญาติที่ใช้วีลแชร์ จะพบปัญหาเรื่องการเดินทางอยู่บ่อยครั้ง จนได้มีโอกาสร่วมกับเพื่อน คิดค้นและต่อยอดปัญหาดังกล่าว ซึ่งการออกไปเรียนรู้ ไปสำรวจปัญหาจริงๆ เราได้ไปคุยกับกลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ที่อยู่ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระ กลุ่มนักกีฬาวีลแชร์ และกลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ที่ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านเป็นประจำ ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง พบว่าส่วนใหญ่เค้าก็มักจะไปแต่ที่เดิมๆ ที่เคยไปมาแล้ว หรือการจะไปที่ใหม่ๆ แต่ละครั้งก็มักจะสอบถามเพื่อนๆ มนุษย์ล้อกันเอง ยังไม่กล้าเสี่ยงที่จะออกไปเจอกับสภาพที่ไม่แน่นอนของสถานที่
“ในส่วนของแอพพลิเคชั่น เราได้มีโอกาสมาเข้า workshop innovate4good ของไมโครซอฟท์ในช่วงแรกที่กำลังพัฒนา จุดอ่อนที่เห็นจากการทดลองจาก facebook (www.fb.com/wheelgoround)คือการหาและส่งต่อข้อมูลการเข้าถึงสถานที่ต่างๆ ยังไม่มีประสิทธิภาพ เจนได้มีโอกาสรู้จักกับทีม Microsoft Student Partners โดยน้องๆ กลุ่มนี้ได้ช่วยเปิดมุมมองของเราให้กว้างขึ้น ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยในแต่ละขั้นตอนที่น้องๆทำมา เราได้นำไปให้ผู้ใช้วีลแชร์จริงๆทดลองใช้ เพื่อนำ feedback จากผู้ใช้งานจริงมาบอกต่อให้น้องๆได้ปรับปรุงแก้ไข จนได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้แอพพลิเคชั่นนี้”นางสาวลิปดา กล่าว
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/728/236123 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เปิดตัว Application “Wheel-go-round”และทีมwheel-go-round ทีมMicrosoft Student Partner (พัฒนาแอพพลิเคชั่น) ภายใต้ “โครงการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น” กลุ่มผู้พิการในสังคมไทยถือว่าเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเข้าถึงสาธารณูปโภค พื้นฐานในสังคม ตามหลักรัฐธรรมนูญแต่พบว่าหลายสถานที่ขาดการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้วีลแชร์ หรือสัญลักษณ์สำหรับผู้พิการทางสายตา ต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นการผลักดันให้ภาครัฐผู้เสนอนโยบายรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจเอกชนหันมาใส่ใจสิ่งเล็กๆน้อย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดจึงได้เปิดตัว Application “Wheel-go-round”และทีมwheel-go-round ทีมMicrosoft Student Partner (พัฒนาแอพพลิเคชั่น) ภายใต้ “โครงการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น” ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม การให้บริการ รวมทั้งการปรับด้านความเชื่อและทัศนคติ เรื่องความแตกต่างในกลุ่มประชากร สังคมทุกภาคส่วนเริ่มมีแนวคิดเรื่องการเปิดพื้นที่การให้บริการในด้านต่างๆ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันในทุกกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุก็เช่นกัน ทุกคนต้องการความมีอิสระในการเดินทางและการใช้ชีวิตประจำวัน สสส ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องการมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสังคมเพื่อลดช่องว่างและเสริมสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพและการใช้ ชีวิตของคนกลุ่มนี้ เพื่อให้มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและสามารถเข้าถึงสิทธิในการดำรงชีวิตได้อย่าง เป็นรูปธรรมและเท่าเทียม เข้าใจในความแตกต่างของบุคคล อันจะนำไปสู่สังคมแห่งเท่าเทียม (Inclusive society) ของคนทุกกลุ่ม “สสส.เล็งเห็นว่าโครงการนี้จะช่วยจุดประกายให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและ สิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้วีลแชร์ รวมถึงสร้างความตระหนักแก่สังคมให้เห็นถึงความสำคัญของ “การมีพื้นที่” ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค” ทพ.กฤษดา กล่าว คนพิการนั่งรถเข็นเข้าร่วมงาน เปิดตัว Application “Wheel-go-round”และทีมwheel-go-round ทีมMicrosoft Student Partner (พัฒนาแอพพลิเคชั่น) ภายใต้ “โครงการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น” นางสาวศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ มีความยินดีที่ได้สนับสนุนและเห็นการพัฒนาที่ก้าวไปอีกขั้นของน้องๆ กลุ่ม Wheel-go-round โดยไมโครซอฟท์ ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Wheel-go-round บนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สามารถทราบและเข้าถึงข้อมูลการเดินทางไปในสถานที่ ต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยผ่านการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนอกจากผู้ใช้วีลแชร์แล้ว ข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถนำเสนอไปสู่ยังกลุ่มคนที่กว้างขึ้นและเข้าถึงได้ ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ทีม Microsoft Student Partners ยังได้อัพเดทเว็บไซต์ Wheel-Go- Round เพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถทราบและเข้าถึงข้อมูลการใช้รถเข็นและสามารถเดิน ทางไปในสถานที่ต่างๆ ได้สะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น นับเป็นการรวมพลังสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ มาร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อสังคมไทย” “กลุ่ม Wheel-go-round เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้ร่วมโครงการ Innovate For Good ภายใต้ YouthSpark ซึ่งไมโครซอฟท์ร่วมกับสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สอ.ดย.) ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมีเยาวชนกว่า 100 คน จากทั่วประเทศเข้าร่วมงาน ในการเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสร้างความแตกต่างที่ดีขึ้น ให้เกิดขึ้นกับชุมชนของตนเอง”นางสาวศิริพร กล่าว ด้านนางสาวลิปดา จารุเธียร ตัวแทนเยาวชนกลุ่ม Wheel-go-round กล่าวถึงที่มาของแอพพลิเคชั่นนี้ว่า ตนมีญาติที่ใช้วีลแชร์ จะพบปัญหาเรื่องการเดินทางอยู่บ่อยครั้ง จนได้มีโอกาสร่วมกับเพื่อน คิดค้นและต่อยอดปัญหาดังกล่าว ซึ่งการออกไปเรียนรู้ ไปสำรวจปัญหาจริงๆ เราได้ไปคุยกับกลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ที่อยู่ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระ กลุ่มนักกีฬาวีลแชร์ และกลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ที่ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านเป็นประจำ ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง พบว่าส่วนใหญ่เค้าก็มักจะไปแต่ที่เดิมๆ ที่เคยไปมาแล้ว หรือการจะไปที่ใหม่ๆ แต่ละครั้งก็มักจะสอบถามเพื่อนๆ มนุษย์ล้อกันเอง ยังไม่กล้าเสี่ยงที่จะออกไปเจอกับสภาพที่ไม่แน่นอนของสถานที่ “ในส่วนของแอพพลิเคชั่น เราได้มีโอกาสมาเข้า workshop innovate4good ของไมโครซอฟท์ในช่วงแรกที่กำลังพัฒนา จุดอ่อนที่เห็นจากการทดลองจาก facebook (www.fb.com/wheelgoround)คือการหาและส่งต่อข้อมูลการเข้าถึงสถานที่ต่างๆ ยังไม่มีประสิทธิภาพ เจนได้มีโอกาสรู้จักกับทีม Microsoft Student Partners โดยน้องๆ กลุ่มนี้ได้ช่วยเปิดมุมมองของเราให้กว้างขึ้น ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยในแต่ละขั้นตอนที่น้องๆทำมา เราได้นำไปให้ผู้ใช้วีลแชร์จริงๆทดลองใช้ เพื่อนำ feedback จากผู้ใช้งานจริงมาบอกต่อให้น้องๆได้ปรับปรุงแก้ไข จนได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้แอพพลิเคชั่นนี้”นางสาวลิปดา กล่าว ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/728/236123 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)