๑๐๘ เหตุผล....ที่ ขสมก.ต้องซื้อรถเมล์ NGV “แบบชานต่ำ/ไร้บันได”
นับแต่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) กระทรวงคมนาคม ได้ ประกาศ ร่างขอบเขตของงาน (TOR ) ฉบับที่ ๑ – ๔ ของ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้จัดซื้อในวงเงิน ๑๓,๑๖๒.๒ ล้านบาท ประชาชนกลุ่มต่างๆ อันประกอบด้วย เครือข่ายผู้สูงอายุ ผู้บริโภค นักวิชาการ ผู้มีจิตอาสา ผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งชาติทุกแห่ง สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการไทยและเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระทั่วประเทศ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย กลุ่มมนุษย์ล้อนานาชาติ และเครือข่ายคนพิการ เป็นต้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มกรีนพีซ (ทำหน้าที่พิทักษ์โลก ธรรมชาติ และส่งเสริมสันติภาพ) และ กลุ่ม Change.org (เว็บไซต์ที่เปิดพื้นที่ให้คนทุกคนสามารถเริ่มเรื่องรณรงค์ของตัวเอง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม ) และกลุ่มทนายความมนุษย์ล้อ เป็นต้น ได้รวมตัวกันเป็น “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” และพร้อมใจกันยื่น ข้อเสนอแนะให้ ขสมก.ซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน เป็น “แบบชานต่ำ” หรือ “รถเมล์ที่ไม่มีขั้นบันได” (มีทางลาดที่เลื่อนเข้าออกเพื่อเชื่อมทางออกประตูรถเมล์กับทางเดินเท้า )
ต่อไปนี้ คือ เหตุผลบางประการของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่เสนอให้ใช้ “รถเมล์ชานต่ำ/ไร้บันได”
ผศ.ดร.โอภาส ปัญญา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา – รถเมล์ชานต่ำหรือรถเมล์ที่ไม่มีขั้นบันไดได้รับการศึกษาวิจัยในหลายประเทศ และพบว่า รถเมล์ชานต่ำเป็นการออกแบบที่มุ่งเพื่อประหยัดพลังงาน จึงเป็นรถเมล์ที่มีน้ำหนักเบากว่ารถเมล์ชานสูงหรือรถที่มีขั้นบันได ดังนั้น “รถเมล์ชานต่ำ จึงเป็นรถที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง(พลังงาน) ลดปัญหาโลกร้อน และลดปัญหาถนนชำรุดได้เป็นอย่างดี” ปัจจุบันเป็นมาตรฐานสากลของรถโดยสารสาธารณะในเมือง ต่างประเทศจึงนิยมใช้รถเมล์ชานต่ำ
ดร.กมลพรรณ พันพึ่ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พว.) กระทรวง วิทยาศาสตร์ – การให้บริการรถเมล์ชานต่ำซึ่งประชาชนทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกันเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานสากล ส่งเสริมการเป็น “เมืองปลอดภัย” ให้บริการขนส่งสาธารณะที่ทันสมัยเข้าถึงประชาชนทุกคน และลดความเหลื่อมล้ำ
ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – การใช้รถเมล์ชานต่ำให้ความสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ในขณะที่รถเมล์ซึ่งมีขั้นบันไดมักเป็นเหตุให้ผู้โดยสารประสบอุบัติเหตุ เดือดร้อน และเสียหาย
นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ ทนายความมนุษย์ล้อ – การที่ ขสมก.ไม่อำนวยความสะดวกให้ทุกคนใช้รถเมล์ได้ทุกคัน เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖ ว่าด้วยเรื่อง... บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ...การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ...สิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ เป็นต้น
นายมณเฑียร บุญตัน กรรมการอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ สหประชาชาติ และสมาชิกวุฒิสภา ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งเป็นกฎหมายระดับนานาชาติที่กำหนดเรื่อง การห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่การซื้อรถเมล์แบบมีขั้นบันได จะทำให้ประชาชนจำนวนมากใช้รถเมล์ไม่ได้ หรือสุ่มเสี่ยงต่อความเดือดร้อน และเสียหายจากอุบัติเหตุ นับเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำความเสียชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย
นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน HRC 24 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ““สำหรับผู้พิการดิฉันได้สนับสนุนนโยบาย และการปฏิบัติการให้ดำเนินการตามมาตรฐานสากลเพื่อคนพิการ (Universal Design) เพื่อลดอุปสรรคทางกายภาพ ผู้พิการต้องสามารถเข้าถึงบริการการเดินทางที่เท่าเทียม ตลอดจนสิทธิประโยชน์ทางสังคม และการสร้างรายได้” ฉะนั้น หาก ขสมก. ไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ นโยบาย และนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตามคำกล่าวของผู้นำรัฐบาล ย่อมเป็นการสร้างความเสื่อมเสียเกียรติภูมิของชาติไทยในการดูแลประชาชนไม่เท่าเทียมกันตามหลักสากล และผู้นำรัฐบาลไม่สามารถนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
นายวิเชียร หัสถาดล อุปนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย – ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ฉะนั้น การซื้อรถชานต่ำจะอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุซึ่งแพทย์ระบุว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาในการเดินเพราะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ให้สามารถขึ้นรถเมล์ที่มีขั้นบันไดได้ แต่สามารถใช้รถชานต่ำได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และไม่เสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุ
นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระจังหวัดนนทบุรี – รถเมล์ชานต่ำจะช่วยคนที่ไม่สามารถก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ หรือสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ผู้อ่อนแรง สตรีนุ่งกระโปรงสั้น สตรีใส่ส้นสูง คนที่ถือสิ่งของสัมภาระมาก และคนพิการ เป็นต้น ได้ใช้บริการรถเมล์ชานต่ำเดินทางไปศึกษา ประกอบอาชีพ ร่วมกิจกรรมทางสังคม ฯลฯ อันเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้รถรับจ้าง พัฒนาการพึ่งพาตนเอง และส่งเสริมการดำรงชีวิตอิสระ
รถเมล์ชานต่ำ – ไม่มีขั้นบันได ใช้ทางลาด เดินขึ้น - ลงรถได้โดยสะดวก ปลอดภัย ใช้ได้ทุกคน ลดการใช้เชื้อเพลิง เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม
รถเมล์มีบันไดที่ทั่วโลกทะยอยปลดระวาง – ก้าวขึ้นบันไดรถลำบาก สุ่มเสี่ยงอุบัติภัย อันตรายถึงชีวิต ใช้เชื้อเพลิงมาก เพิ่มภาวะโลกร้อน
ท่าน....ต้องการรถเมล์แบบไหน??
(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๗ ต.ค.๕๖)
1 คนพิการ 17/10/2556 05:02:31
เอาอะไรกับนักการเมืองไทย พวกนี้พูดไว้ก่อนทำไม่ได้ก็ขอให้ได้พูดเพื่อจะได้เลือก แต่ทำได้ไม่ได้เขาไม่เดือดร้อนหรอก ขนาดเงินเบี้ยคนพิการเคยบอกจะเพิ่มแล้วก็ทำเมินไม่ใส่ใจเลย รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับคนพิการน้อยมาก เหมือนทำเพราะถูกกดดันทางสังคมให้ต้องทำทั้งที่จริงแล้วเขาไม่ได้อยากทำ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ซื้อรถเมล์ NGV แบบชานต่ำ นับแต่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) กระทรวงคมนาคม ได้ ประกาศ ร่างขอบเขตของงาน (TOR ) ฉบับที่ ๑ – ๔ ของ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้จัดซื้อในวงเงิน ๑๓,๑๖๒.๒ ล้านบาท ประชาชนกลุ่มต่างๆ อันประกอบด้วย เครือข่ายผู้สูงอายุ ผู้บริโภค นักวิชาการ ผู้มีจิตอาสา ผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งชาติทุกแห่ง สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการไทยและเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระทั่วประเทศ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย กลุ่มมนุษย์ล้อนานาชาติ และเครือข่ายคนพิการ เป็นต้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มกรีนพีซ (ทำหน้าที่พิทักษ์โลก ธรรมชาติ และส่งเสริมสันติภาพ) และ กลุ่ม Change.org (เว็บไซต์ที่เปิดพื้นที่ให้คนทุกคนสามารถเริ่มเรื่องรณรงค์ของตัวเอง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม ) และกลุ่มทนายความมนุษย์ล้อ เป็นต้น ได้รวมตัวกันเป็น “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” และพร้อมใจกันยื่น ข้อเสนอแนะให้ ขสมก.ซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน เป็น “แบบชานต่ำ” หรือ “รถเมล์ที่ไม่มีขั้นบันได” (มีทางลาดที่เลื่อนเข้าออกเพื่อเชื่อมทางออกประตูรถเมล์กับทางเดินเท้า ) ต่อไปนี้ คือ เหตุผลบางประการของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่เสนอให้ใช้ “รถเมล์ชานต่ำ/ไร้บันได” ผศ.ดร.โอภาส ปัญญา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา ผศ.ดร.โอภาส ปัญญา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา – รถเมล์ชานต่ำหรือรถเมล์ที่ไม่มีขั้นบันไดได้รับการศึกษาวิจัยในหลายประเทศ และพบว่า รถเมล์ชานต่ำเป็นการออกแบบที่มุ่งเพื่อประหยัดพลังงาน จึงเป็นรถเมล์ที่มีน้ำหนักเบากว่ารถเมล์ชานสูงหรือรถที่มีขั้นบันได ดังนั้น “รถเมล์ชานต่ำ จึงเป็นรถที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง(พลังงาน) ลดปัญหาโลกร้อน และลดปัญหาถนนชำรุดได้เป็นอย่างดี” ปัจจุบันเป็นมาตรฐานสากลของรถโดยสารสาธารณะในเมือง ต่างประเทศจึงนิยมใช้รถเมล์ชานต่ำ ดร.กมลพรรณ พันพึ่ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พว.) กระทรวง วิทยาศาสตร์ ดร.กมลพรรณ พันพึ่ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พว.) กระทรวง วิทยาศาสตร์ – การให้บริการรถเมล์ชานต่ำซึ่งประชาชนทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกันเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานสากล ส่งเสริมการเป็น “เมืองปลอดภัย” ให้บริการขนส่งสาธารณะที่ทันสมัยเข้าถึงประชาชนทุกคน และลดความเหลื่อมล้ำ ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – การใช้รถเมล์ชานต่ำให้ความสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ในขณะที่รถเมล์ซึ่งมีขั้นบันไดมักเป็นเหตุให้ผู้โดยสารประสบอุบัติเหตุ เดือดร้อน และเสียหาย นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ ทนายความมนุษย์ล้อ นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ ทนายความมนุษย์ล้อ – การที่ ขสมก.ไม่อำนวยความสะดวกให้ทุกคนใช้รถเมล์ได้ทุกคัน เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖ ว่าด้วยเรื่อง... บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ...การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ...สิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ เป็นต้น นายมณเฑียร บุญตัน กรรมการอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ สหประชาชาติ และสมาชิกวุฒิสภา นายมณเฑียร บุญตัน กรรมการอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ สหประชาชาติ และสมาชิกวุฒิสภา ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งเป็นกฎหมายระดับนานาชาติที่กำหนดเรื่อง การห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่การซื้อรถเมล์แบบมีขั้นบันได จะทำให้ประชาชนจำนวนมากใช้รถเมล์ไม่ได้ หรือสุ่มเสี่ยงต่อความเดือดร้อน และเสียหายจากอุบัติเหตุ นับเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำความเสียชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน HRC 24 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ““สำหรับผู้พิการดิฉันได้สนับสนุนนโยบาย และการปฏิบัติการให้ดำเนินการตามมาตรฐานสากลเพื่อคนพิการ (Universal Design) เพื่อลดอุปสรรคทางกายภาพ ผู้พิการต้องสามารถเข้าถึงบริการการเดินทางที่เท่าเทียม ตลอดจนสิทธิประโยชน์ทางสังคม และการสร้างรายได้” ฉะนั้น หาก ขสมก. ไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ นโยบาย และนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตามคำกล่าวของผู้นำรัฐบาล ย่อมเป็นการสร้างความเสื่อมเสียเกียรติภูมิของชาติไทยในการดูแลประชาชนไม่เท่าเทียมกันตามหลักสากล และผู้นำรัฐบาลไม่สามารถนำนโยบายสู่การปฏิบัติ นายวิเชียร หัสถาดล อุปนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย นายวิเชียร หัสถาดล อุปนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย – ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ฉะนั้น การซื้อรถชานต่ำจะอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุซึ่งแพทย์ระบุว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาในการเดินเพราะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ให้สามารถขึ้นรถเมล์ที่มีขั้นบันไดได้ แต่สามารถใช้รถชานต่ำได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และไม่เสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุ นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระจังหวัดนนทบุรี นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระจังหวัดนนทบุรี – รถเมล์ชานต่ำจะช่วยคนที่ไม่สามารถก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ หรือสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ผู้อ่อนแรง สตรีนุ่งกระโปรงสั้น สตรีใส่ส้นสูง คนที่ถือสิ่งของสัมภาระมาก และคนพิการ เป็นต้น ได้ใช้บริการรถเมล์ชานต่ำเดินทางไปศึกษา ประกอบอาชีพ ร่วมกิจกรรมทางสังคม ฯลฯ อันเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้รถรับจ้าง พัฒนาการพึ่งพาตนเอง และส่งเสริมการดำรงชีวิตอิสระ รถเมล์ชานต่ำ – ไม่มีขั้นบันได ใช้ทางลาด เดินขึ้น - ลงรถได้โดยสะดวก ปลอดภัย ใช้ได้ทุกคน ลดการใช้เชื้อเพลิง เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม รถเมล์มีบันไดที่ทั่วโลกทะยอยปลดระวาง – ก้าวขึ้นบันไดรถลำบาก สุ่มเสี่ยงอุบัติภัย อันตรายถึงชีวิต ใช้เชื้อเพลิงมาก เพิ่มภาวะโลกร้อน ท่าน....ต้องการรถเมล์แบบไหน?? (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๗ ต.ค.๕๖)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)