ขสมก.ปัดซื้อรถเมล์ไร้บันไดที่ทุกคนใช้ได้สะดวก ปลอดภัย นัดเสวนาสัปดาห์หน้า
วันนี้ 25 ต.ค. 56 เวลา 13.00 น. “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” นำโดยเครือข่ายคนพิการได้ไปร่วมชุมนุมกันที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. กระทรวงคมนาคม รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องโครงการจัดซื้อรถโดยสาร (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน
ภาคีฯ เครือข่ายคนพิการ และผู้ใช้บริการรถเมล์ เสนอให้ ขสมก.ซื้อรถเมล์แบบไร้บันได (ชานต่ำ) และใช้ทางลาด เพื่อให้ทุกคนเดินหรือใช้เก้าอี้เข็น ขึ้น - ลง รถเมล์ได้โดยสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว นอกจากนั้นรถเมล์ไร้บันได ยังมีน้ำหนักเบา ลดการใช้เชื้อเพลิง เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมและต่างประเทศนิยมใช้อย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้ ภาคีฯ ได้ยืนยันเสนอแนะ ดังกล่าวในการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างขอบเขตของงาน (TOR) ของโครงการฯ ตั้งแต่ ฉบับ 1 - 5 แต่ ขสมก.ปฏิเสธกรดำเนินการตามข้อเสนอแนะ กล่าวคือ ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์ที่มีบันไดสูง ก้าวขึ้นลำบาก สุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ มีอันตรายถึงชีวิต รวมถึงใช้เชื้อเพลิงมาก เพิ่มภาวะโลกร้อน และทั่วโลกทยอยปลดระวางรถเมล์มีบันไดหมดแล้ว
เวลา 13.00 น. “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงได้ร่วมชุมนุมกันที่บริเวณ ขสมก. เพื่อเรียกร้องให้ คณะกรรมการ ขสมก. ซึ่งกำลังประชุมอยู่ให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ โดยผู้ร่วมชุมนุมจะรอจนกว่า คณะกรรมการ ขสมก. ลงมติ “ซื้อรถเมล์ที่สะดวก ปลอดภัย ไร้มลพิษ ที่ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” อย่างเท่าเทียมกัน
ระหว่างรอคณะกรรมการ ขสมก.ประชุม ผู้นำคนพิการ เช่น นาวาอากาศโท ภราดร คุ้มทรัพย์ นายสัมฤทธิ์ ชาภิรมย์ นายภพต์ เทพาสิต นางสาวอาภาณี มิตรทอง และนางสาวสุรีพร ยุพา มิยาโมโต้ เป็นต้น ได้หมุนเวียนกันกล่าวปราศรัยต่อผู้ร่วมชุมนุม ถึงความสำคัญของความต้องการจำเป็นใช้บริการรถเมล์สาธารณะต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพราะค่าใช้จ่ายในการใช้รถแท็กซี่มีราคาสูงมาก ตลอดจนอันตรายที่เกิดจากการใช้รถเมล์ที่มีบันได โดยเปรียบเทียบกับการใช้รถเมล์ไร้บันไดที่สะดวก และมีความปลอดภัยสูง
เวลา 14.40 น. นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ออกจากห้องประชุม มาเจรจากับผู้ร่วมชุมนุม ผู้แทนภาคีฯ ได้ร่วมกันชี้แจงว่า ความต้องการใช้รถเมล์ไร้บันได ไม่ได้เป็นของกลุ่มคนพิการเท่านั้น แต่เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคนทุกกลุ่มในสังคมที่มีข้อจำกัดในการก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วยอ่อนแรง ผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หญิงตั้งครรภ์ เด็กนักเรียน ผู้เข็นเก้ากี้เข็นเด็กอ่อน และคนพิการประเภทต่างๆ รวมถึงคนที่ใช้เก้าอี้เข็น เป็นต้น ภาคีฯ จึงเสนอให้ ขสมก.ซื้อรถเมล์ไร้บันไดที่ทุกคนใช้ได้สะดวกและปลอดภัยอย่างเสมอภาคกันตามสิทธิของพลเมือง นอกจากนั้นเมื่อคนพิการใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ คนพิการก็ไม่ต้องใช้แท็กซี่ทุกครั้งที่เดินทางอย่างที่เป็นในปัจจุบันซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
นายโอภาส แจ้งว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่าง ขอบเขตของงาน ฉบับที่ 5 ตามข้อเสนอแนะของภาคีฯ โดยในระหว่างสัปดาห์หน้า ขสมก.จะจัดประชาพิจารณ์ หรือเสวนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนต่อร่าง ขอบเขตงานฯ ฉบับที่ 5 ฉะนั้น ขอให้ผู้แทนภาคีฯ เข้าร่วมเสวนา และให้ข้อเสนอแนะด้วย
หลังการชี้แจงซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 นาที นายโอภาส ได้กลับไป ส่วนผู้ร่วมชุมนุมได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ก่อนแยกย้ายกลับบ้าน โดยนางสาวอาภาณีในฐานะผู้แทนภาคีฯ ได้แถลงจุดยืนของภาคีฯรวมทั้งเครือข่ายคนพิการ ว่า ผู้แทนภาคีฯ จะเข้าร่วมประชุมประชาวิจารณ์หรือเสวนา ที่ ขสมก.จะจัดในสัปดาห์หน้า และหาก ขสมก.ยังยืนยันที่จะซื้อรถมีบันไดที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และทำให้คนหลายกลุ่มโดยเฉพาะคนใช้เก้าอี้เข็นไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ ภาคีฯ จะเดินหน้าฟ้องศาลปกครอง ในกรณีที่ ขสมก.ใช้เงินภาษีราษฎรซื้อรถเมล์บริการสาธารณะที่อาจทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมถึง เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มประชาชนที่มีข้อจำกัดในการใช้รถเมล์มีบันได เป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้
ขอบคุณ : ข่าวและภาพจากศูนย์การดำรงชีวิตอิสระจังหวัดนนทบุรี
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รวมภาพ“ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. วันนี้ 25 ต.ค. 56 เวลา 13.00 น. “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” นำโดยเครือข่ายคนพิการได้ไปร่วมชุมนุมกันที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. กระทรวงคมนาคม รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องโครงการจัดซื้อรถโดยสาร (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก.ภาคีฯ เครือข่ายคนพิการ และผู้ใช้บริการรถเมล์ เสนอให้ ขสมก.ซื้อรถเมล์แบบไร้บันได (ชานต่ำ) และใช้ทางลาด เพื่อให้ทุกคนเดินหรือใช้เก้าอี้เข็น ขึ้น - ลง รถเมล์ได้โดยสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว นอกจากนั้นรถเมล์ไร้บันได ยังมีน้ำหนักเบา ลดการใช้เชื้อเพลิง เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมและต่างประเทศนิยมใช้อย่างแพร่หลาย ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก.ทั้งนี้ ภาคีฯ ได้ยืนยันเสนอแนะ ดังกล่าวในการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างขอบเขตของงาน (TOR) ของโครงการฯ ตั้งแต่ ฉบับ 1 - 5 แต่ ขสมก.ปฏิเสธกรดำเนินการตามข้อเสนอแนะ กล่าวคือ ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์ที่มีบันไดสูง ก้าวขึ้นลำบาก สุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ มีอันตรายถึงชีวิต รวมถึงใช้เชื้อเพลิงมาก เพิ่มภาวะโลกร้อน และทั่วโลกทยอยปลดระวางรถเมล์มีบันไดหมดแล้ว “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. เวลา 13.00 น. “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงได้ร่วมชุมนุมกันที่บริเวณ ขสมก. เพื่อเรียกร้องให้ คณะกรรมการ ขสมก. ซึ่งกำลังประชุมอยู่ให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ โดยผู้ร่วมชุมนุมจะรอจนกว่า คณะกรรมการ ขสมก. ลงมติ “ซื้อรถเมล์ที่สะดวก ปลอดภัย ไร้มลพิษ ที่ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” อย่างเท่าเทียมกัน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก.ระหว่างรอคณะกรรมการ ขสมก.ประชุม ผู้นำคนพิการ เช่น นาวาอากาศโท ภราดร คุ้มทรัพย์ นายสัมฤทธิ์ ชาภิรมย์ นายภพต์ เทพาสิต นางสาวอาภาณี มิตรทอง และนางสาวสุรีพร ยุพา มิยาโมโต้ เป็นต้น ได้หมุนเวียนกันกล่าวปราศรัยต่อผู้ร่วมชุมนุม ถึงความสำคัญของความต้องการจำเป็นใช้บริการรถเมล์สาธารณะต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพราะค่าใช้จ่ายในการใช้รถแท็กซี่มีราคาสูงมาก ตลอดจนอันตรายที่เกิดจากการใช้รถเมล์ที่มีบันได โดยเปรียบเทียบกับการใช้รถเมล์ไร้บันไดที่สะดวก และมีความปลอดภัยสูง นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ออกจากห้องประชุม มาเจรจากับผู้ร่วมชุมนุม เวลา 14.40 น. นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ออกจากห้องประชุม มาเจรจากับผู้ร่วมชุมนุม ผู้แทนภาคีฯ ได้ร่วมกันชี้แจงว่า ความต้องการใช้รถเมล์ไร้บันได ไม่ได้เป็นของกลุ่มคนพิการเท่านั้น แต่เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคนทุกกลุ่มในสังคมที่มีข้อจำกัดในการก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วยอ่อนแรง ผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หญิงตั้งครรภ์ เด็กนักเรียน ผู้เข็นเก้ากี้เข็นเด็กอ่อน และคนพิการประเภทต่างๆ รวมถึงคนที่ใช้เก้าอี้เข็น เป็นต้น ภาคีฯ จึงเสนอให้ ขสมก.ซื้อรถเมล์ไร้บันไดที่ทุกคนใช้ได้สะดวกและปลอดภัยอย่างเสมอภาคกันตามสิทธิของพลเมือง นอกจากนั้นเมื่อคนพิการใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ คนพิการก็ไม่ต้องใช้แท็กซี่ทุกครั้งที่เดินทางอย่างที่เป็นในปัจจุบันซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก นายโอภาส แจ้งว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่าง ขอบเขตของงาน ฉบับที่ 5 ตามข้อเสนอแนะของภาคีฯ โดยในระหว่างสัปดาห์หน้า ขสมก.จะจัดประชาพิจารณ์ หรือเสวนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนต่อร่าง ขอบเขตงานฯ ฉบับที่ 5 ฉะนั้น ขอให้ผู้แทนภาคีฯ เข้าร่วมเสวนา และให้ข้อเสนอแนะด้วย หลังการชี้แจงซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 นาที นายโอภาส ได้กลับไป ส่วนผู้ร่วมชุมนุมได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ก่อนแยกย้ายกลับบ้าน โดยนางสาวอาภาณีในฐานะผู้แทนภาคีฯ ได้แถลงจุดยืนของภาคีฯรวมทั้งเครือข่ายคนพิการ ว่า ผู้แทนภาคีฯ จะเข้าร่วมประชุมประชาวิจารณ์หรือเสวนา ที่ ขสมก.จะจัดในสัปดาห์หน้า และหาก ขสมก.ยังยืนยันที่จะซื้อรถมีบันไดที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และทำให้คนหลายกลุ่มโดยเฉพาะคนใช้เก้าอี้เข็นไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ ภาคีฯ จะเดินหน้าฟ้องศาลปกครอง ในกรณีที่ ขสมก.ใช้เงินภาษีราษฎรซื้อรถเมล์บริการสาธารณะที่อาจทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมถึง เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มประชาชนที่มีข้อจำกัดในการใช้รถเมล์มีบันได เป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ ขอบคุณ : ข่าวและภาพจากศูนย์การดำรงชีวิตอิสระจังหวัดนนทบุรี
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)