อุปกรณ์ยกอัตโนมัติเคลื่อนย้ายคนแก่-ผู้พิการฝีมือเด็กไทย

แสดงความคิดเห็น

น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ และ อุปกรณ์ยกอัตโนมัติ Home-Auto Lifting System เพราะการเดินทางของผู้ป่วย ผู้พิการหรือผู้สูงวัยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ เป็นเรื่องลำบาก โอกาสในการออกไปพบปะผู้คนภายนอกจึงมีน้อย ทีมนักศึกษาธรรมศาสตร์จึงพัฒนาอุปกรณ์ยกอัตโนมัติที่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักได้ถึง120กิโลกรัมโดยใช้ผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียว

อุปกรณ์ยกอัตโนมัติ Home-Auto Lifting System เป็นผลงานของทีมนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งออกแบบให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวช่วงขาได้ลำบาก และรองรับน้ำหนักได้ถึง120กิโลกรัมโดยให้ใช้ได้ทั้งในบ้านและรถยนต์เพื่อนำผู้ป่วยออกจากบ้าน

น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ นักศึกษาปี 4 ภาควิชาเครื่องกล สมาชิกทีมผู้พัฒนา อธิบายว่าอุปกรณ์จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนฐาน และ ส่วนชุดยก โดยส่วนฐานมี 2 แบบคือ ฐานที่ใช้กับล้อรถยนต์ที่ออกแบบให้ปรับตามความกว้าง-ยาวของขนาดล้อแต่ละแบบได้ ทำให้ปรับใช้ชุดยกกับรถยนต์ได้หลายคัน ต่างจากชุดยกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้องติดตั้งที่ใช้ได้กับรถยนต์เฉพาะคันเท่านั้น และฐานสำหรับใช้ภายในบ้าน โดยชุดยกสามารถถอดไปใช้กับฐานทั้งสองแบบ ชมคลิป เครื่องยกผู้ป่วย คลิก http://www.youtube.com/watchv=FLoTNDvYsTY (ขนาดไฟล์: 0 )

ในส่วนของชุดยกซึ่งมีอุปกรณ์รองรับผู้ป่วยนั้น ทีมพัฒนาออกแบบให้หมุนได้อิสระและควบคุมการยกขึ้น-ยกลงด้วยรีโมตคอนโทรล ซึ่งการพัฒนาอุปกรณ์ชุดนี้ทีมนักศึกษาได้ใช้ต้นแบบจากอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน ที่นำเข้าจากต่างประเทศและติดตั้งตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ เป็นต้นแบบในการพัฒนา และแก้จุดด้อยของเครื่องเหล่านั้นที่มีน้ำหนักมากและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ขณะที้ชุดยกของทีมนักศึกษามีน้ำหนักเพียง15กิโลกรัมและผลิตขึ้นจากเหล็กไร้สนิม

ทางด้าน ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (CED2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงข้อจำกัดของการต่อยอดสิ่งแระดิษฐ์เหล่านี้สู่เชิงพาณิชย์ว่า ผู้ประกอบการมักไม่สนใจลงทุนผลิตอุปกรณ์เหล่านี้เอง ทางศูนย์จึงมีแนวคิดที่จะตั้งบริษัท โดยร่วมมือกับอีกหลายมหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ เพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณ์ชย์โดยมีห้องปฏิบัติการของนักศึกษาเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนา

ชมคลิป อธิบายการใช้งาน…คลิก http://www.youtube.com/watchv=_vxcnISMPpA (ขนาดไฟล์: 0 ) แนวคิดในการตั้งบริษัทดังกล่าว ผศ.ดร.บรรยงค์ อธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ไม่ต้องการแสวงกำไร แต่ต้องการให้คนที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ เข้าถึงได้ในราคาไม่สูงไม่มาก ภายใต้วิสัยทัศน์ “ทั่วถึง เข้าถึงยั่งยืน”ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการรับใช้สังคมตามแนวคิดของมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ผลงานยกอัตโนมัติดังกล่าวยังได้รับรางวัลอันดับ 2 ประเภทการนำเสนอดีเด่น ผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ในการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการแล ผู้สูงอายุในงานประชุม วิชาการนานาชาติ i-CREATe ที่จัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้เมื่อปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา

อุปกรณ์ควบคุมการขึ้น-ลงของชุดยก ที่ควบคุมด้วยรีโมตคอนโทรล สำหรับงานประชุมวิชาการ i-CREATe นั้นเป็นโครงการความร่วมมือไทย-สิงคโปร์ ตามประราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมฟื้นฟู สมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ รวมถึงประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้อง โดยปีนี้ ไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และศูนย์เทคโนโลยีบำบัดโรค ช่วยเหลือและฟื้นฟูสมรรถภาพสิงคโปร์ (START) ร่วมกับหน่วยงานของเกาหลีใต้เพื่อจัดงานประชุมปีที่ 7 ขึ้นที่เกาหลีใต้

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspxNewsID=9560000134667 (ขนาดไฟล์: 276)

ASTV ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ต.ค.56

ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 29/10/2556 เวลา 04:46:55 ดูภาพสไลด์โชว์ อุปกรณ์ยกอัตโนมัติเคลื่อนย้ายคนแก่-ผู้พิการฝีมือเด็กไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ และ อุปกรณ์ยกอัตโนมัติ Home-Auto Lifting Systemเพราะการเดินทางของผู้ป่วย ผู้พิการหรือผู้สูงวัยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ เป็นเรื่องลำบาก โอกาสในการออกไปพบปะผู้คนภายนอกจึงมีน้อย ทีมนักศึกษาธรรมศาสตร์จึงพัฒนาอุปกรณ์ยกอัตโนมัติที่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักได้ถึง120กิโลกรัมโดยใช้ผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียว อุปกรณ์ยกอัตโนมัติ Home-Auto Lifting System เป็นผลงานของทีมนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งออกแบบให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวช่วงขาได้ลำบาก และรองรับน้ำหนักได้ถึง120กิโลกรัมโดยให้ใช้ได้ทั้งในบ้านและรถยนต์เพื่อนำผู้ป่วยออกจากบ้าน น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ นักศึกษาปี 4 ภาควิชาเครื่องกล สมาชิกทีมผู้พัฒนา อธิบายว่าอุปกรณ์จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนฐาน และ ส่วนชุดยก โดยส่วนฐานมี 2 แบบคือ ฐานที่ใช้กับล้อรถยนต์ที่ออกแบบให้ปรับตามความกว้าง-ยาวของขนาดล้อแต่ละแบบได้ ทำให้ปรับใช้ชุดยกกับรถยนต์ได้หลายคัน ต่างจากชุดยกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้องติดตั้งที่ใช้ได้กับรถยนต์เฉพาะคันเท่านั้น และฐานสำหรับใช้ภายในบ้าน โดยชุดยกสามารถถอดไปใช้กับฐานทั้งสองแบบ ชมคลิป เครื่องยกผู้ป่วย คลิก http://www.youtube.com/watchv=FLoTNDvYsTY ในส่วนของชุดยกซึ่งมีอุปกรณ์รองรับผู้ป่วยนั้น ทีมพัฒนาออกแบบให้หมุนได้อิสระและควบคุมการยกขึ้น-ยกลงด้วยรีโมตคอนโทรล ซึ่งการพัฒนาอุปกรณ์ชุดนี้ทีมนักศึกษาได้ใช้ต้นแบบจากอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน ที่นำเข้าจากต่างประเทศและติดตั้งตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ เป็นต้นแบบในการพัฒนา และแก้จุดด้อยของเครื่องเหล่านั้นที่มีน้ำหนักมากและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ขณะที้ชุดยกของทีมนักศึกษามีน้ำหนักเพียง15กิโลกรัมและผลิตขึ้นจากเหล็กไร้สนิม ทางด้าน ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (CED2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงข้อจำกัดของการต่อยอดสิ่งแระดิษฐ์เหล่านี้สู่เชิงพาณิชย์ว่า ผู้ประกอบการมักไม่สนใจลงทุนผลิตอุปกรณ์เหล่านี้เอง ทางศูนย์จึงมีแนวคิดที่จะตั้งบริษัท โดยร่วมมือกับอีกหลายมหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ เพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณ์ชย์โดยมีห้องปฏิบัติการของนักศึกษาเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนา ชมคลิป อธิบายการใช้งาน…คลิก http://www.youtube.com/watchv=_vxcnISMPpAแนวคิดในการตั้งบริษัทดังกล่าว ผศ.ดร.บรรยงค์ อธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ไม่ต้องการแสวงกำไร แต่ต้องการให้คนที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ เข้าถึงได้ในราคาไม่สูงไม่มาก ภายใต้วิสัยทัศน์ “ทั่วถึง เข้าถึงยั่งยืน”ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการรับใช้สังคมตามแนวคิดของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ผลงานยกอัตโนมัติดังกล่าวยังได้รับรางวัลอันดับ 2 ประเภทการนำเสนอดีเด่น ผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ในการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการแล ผู้สูงอายุในงานประชุม วิชาการนานาชาติ i-CREATe ที่จัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้เมื่อปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา อุปกรณ์ควบคุมการขึ้น-ลงของชุดยก ที่ควบคุมด้วยรีโมตคอนโทรล สำหรับงานประชุมวิชาการ i-CREATe นั้นเป็นโครงการความร่วมมือไทย-สิงคโปร์ ตามประราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมฟื้นฟู สมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ รวมถึงประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้อง โดยปีนี้ ไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และศูนย์เทคโนโลยีบำบัดโรค ช่วยเหลือและฟื้นฟูสมรรถภาพสิงคโปร์ (START) ร่วมกับหน่วยงานของเกาหลีใต้เพื่อจัดงานประชุมปีที่ 7 ขึ้นที่เกาหลีใต้ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspxNewsID=9560000134667 ASTV ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...