คนพิการเซ็ง...ขสมก.แก้ตัวจะจัด “ประชาพิจารณ์” อีกครั้ง และจะเสนอ กก.ขสมก.เลิกซื้อรถเมล์ไม่ปลอดภัยให้คนไทยใช้
นับแต่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประกาศดำเนินงาน “โครงการจัดซื้อรถโดยสาร (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน” “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” อันประกอบด้วยเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย เครือข่ายกลุ่มหลากหลายทางเพศ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายจิตอาสาช่วยคนพิการ เครือข่ายมนุษย์ล้อเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการทั่วประเทศและ เครือข่ายทนายมนุษย์ล้อ เป็นต้น ได้ร่วมกันเสนอแนะให้ ขสมก.จัดซื้อรถเมล์ชานต่ำ หรือรถเมล์ไร้บันได ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในหลายประเทศ เนื่องจากมีผลการศึกษา พบว่า รถเมล์ไร้บันไดมีน้ำหนักเบา ใช้เชื้อเพลิงน้อย และที่สำคัญผู้โดยสารทุกกลุ่มคน รวมถึงคนที่มีข้อจำกัดในการใช้บันไดรถเมล์ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วยอ่อนแรง ผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หญิงตั้งครรภ์ เด็กนักเรียน ผู้เข็นเก้ากี้เข็นเด็กอ่อน และคนพิการประเภทต่างๆ รวมถึงคนที่ใช้เก้าอี้เข็นด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ทุกคนสามารถใช้ “รถเมล์ไร้บันได” ได้อย่างสะดวก และปลอดภัยเท่าเทียมกัน นอกจากนั้น การใช้รถเมล์ไร้บันได ยังไม่สิ้นเปลืองค่าเชื้อเพลิง ลดภาวะโลกร้อน และเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวคิดสากลที่ใช้กันทั่วโลก
แต่ ขสมก. ปฏิเสธการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลได้ ดังจะเห็นได้ว่า ในการประกาศรับความเห็น ต่อ ร่าง ขอบเขตของงาน (TOR) ของโครงการฯ ตั้งแต่ ฉบับ 1 - 5 ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์ที่มีบันได ซึ่งก้าวขึ้นลำบาก สุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ มีอันตรายถึงชีวิต รวมถึงใช้เชื้อเพลิงมาก และเพิ่มภาวะโลกร้อน ที่สำคัญ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ลดการใช้รถเมล์มีบันไดให้เหลือน้อยลงตามลำดับ พร้อมกันนั้น ก็มีข่าวการจัดซื้อรถเมล์ 3,183 คัน ไม่โปร่งใส และล็อคสเปกอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เมื่อวันที่ 25 ต.ค. “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนกลุ่มคนต่างๆ รวมประมาณ 70 คน จึงได้ไปยื่นข้อเสนอแนะซึ่งยืนยันข้อเสนอเดิม รวมทั้ง ยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนการซื้อรถเมล์ไม่มีบันไดมากกว่า 7,000 คน ต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นผู้รับข้อเสนอแนะและรายชื่อผู้สนับสนุน พร้อมทั้งแจ้งว่า ในระหว่างสัปดาห์หน้า (28 ต.ค. -1 พ.ย.56) ขสมก.จะจัดประชาพิจารณ์ หรือเสวนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนต่อร่าง ขอบเขตงานฯ ฉบับที่ 5 ฉะนั้น ขอให้ผู้แทนภาคีฯ เข้าร่วมเสวนา และให้ข้อเสนอแนะด้วย
เมื่อบ่ายวานนี้ 30 ต.ค. เวลาประมาณ 14.00 น.ภาคีฯ ได้รับแจ้งจากผู้สื่อข่าวคนหนึ่งว่า ขสมก. เชิญเข้าร่วมประชุม “ถาม-ตอบ” เรื่อง การจัดซื้อรถเมล์ 3,183 คัน ในวันที่ 31 ต.ค. เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ที่สำนักงาน ขสมก.ซึ่งจะจุได้ไม่เกิน 50 คน
ภาคีฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าการปฏิบัติดังกล่าวไม่ตรงกับข้อความที่นายโอกาสได้แจ้งต่อภาคีฯ ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น และเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง กล่าวคือ ไม่มีการแจ้งหรือเชิญผู้แทนภาคีฯ เป็นการจัดอย่างกะทันหัน และลุกลี้ลุกลน ตลอดจนไม่ได้จัดในรูปแบบประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
อย่างไรก็ตาม โดยที่ ภาคีฯ มีเจตนารมณ์ชัดเจนในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถเมล์ทุกคนให้สามารถใช้รถเมล์ได้อย่างสะดวก และปลอดภัย คณะผู้แทนภาคีฯ จึงได้เข้าร่วมการจัด “ถาม-ตอบ” ของ ขสมก. นำโดย ผู้แทนเครือข่ายต่างๆ ประมาณ 70 คน เช่น นายอุดมโชค ชูรัตน์ นายธีรยุทธ สุคนธวิท นางสาวอาภาณี มิตรทอง นายวันเสาร์ ไชยกุล นางสาวสุรีพร ยุพา และ นางสาววลัยพร พนมกุล เป็นต้น
ในห้องประชุม มีการถามหาเหตุผลที่ ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์มีบันไดซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับคนทุกเพศทุกวัยอยู่เนืองๆ และเป็นรถเมล์ที่คนซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้บันไดหลายกลุ่มดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ไม่สามารถใช้ได้ นอกจากนั้น รถเมล์มีบันไดยังใช้พลังงานเชื้อเพลิงมาก ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และไม่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตามการตอบของ ขสมก.ยังคงไม่ตรงคำถามเหมือนเคย ดังนั้น ภาคีฯ จึงเสนอ ขสมก.ให้จัดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายรวมไม่น้อยกว่า 100 คน รวมทั้ง ยืนยันข้อเสนอให้ซื้อรถเมล์ไร้บันได ที่ “ทุกคนใช้ได้อย่างสะดวก และปลอดภัยทุกคัน”
นายโอภาส รับปากว่าจะจัดประชาพิจารณ์อีกครั้ง พร้อมทั้ง จะเสนอคณะกรรมการ ขสมก.ให้พิจารณาจัดซื้อรถเมล์ไร้บันได หรือรถเมล์ชานต่ำต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผู้แทนภาคีฯ ยังคงย้ำว่า หาก ขสมก.ยืนยันที่จะซื้อรถเมล์มีบันไดที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และทำให้คนหลายกลุ่มโดยเฉพาะคนใช้เก้าอี้เข็นไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ ภาคีฯ จะดำเนินการฟ้องศาลปกครอง ในกรณีที่ขสมก.ใช้เงินภาษีราษฎรซื้อรถเมล์บริการสาธารณะที่อาจทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมถึง เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มประชาชนที่มีข้อจำกัดในการใช้รถเมล์มีบันได เป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้
ขอบคุณ : ข่าวและภาพจากศูนย์การดำรงชีวิตอิสระจังหวัดนนทบุรี
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลุ่มผู้พิการบุก ขสมก.ทวงขอใช้บริการรถเมล์ร้อนNGV นับแต่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประกาศดำเนินงาน “โครงการจัดซื้อรถโดยสาร (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน” “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” อันประกอบด้วยเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย เครือข่ายกลุ่มหลากหลายทางเพศ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายจิตอาสาช่วยคนพิการ เครือข่ายมนุษย์ล้อเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการทั่วประเทศและ เครือข่ายทนายมนุษย์ล้อ เป็นต้น ได้ร่วมกันเสนอแนะให้ ขสมก.จัดซื้อรถเมล์ชานต่ำ หรือรถเมล์ไร้บันได ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในหลายประเทศ เนื่องจากมีผลการศึกษา พบว่า รถเมล์ไร้บันไดมีน้ำหนักเบา ใช้เชื้อเพลิงน้อย และที่สำคัญผู้โดยสารทุกกลุ่มคน รวมถึงคนที่มีข้อจำกัดในการใช้บันไดรถเมล์ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วยอ่อนแรง ผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หญิงตั้งครรภ์ เด็กนักเรียน ผู้เข็นเก้ากี้เข็นเด็กอ่อน และคนพิการประเภทต่างๆ รวมถึงคนที่ใช้เก้าอี้เข็นด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ทุกคนสามารถใช้ “รถเมล์ไร้บันได” ได้อย่างสะดวก และปลอดภัยเท่าเทียมกัน นอกจากนั้น การใช้รถเมล์ไร้บันได ยังไม่สิ้นเปลืองค่าเชื้อเพลิง ลดภาวะโลกร้อน และเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวคิดสากลที่ใช้กันทั่วโลก กลุ่มผู้พิการบุก ขสมก.ทวงขอใช้บริการรถเมล์ร้อนNGV แต่ ขสมก. ปฏิเสธการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลได้ ดังจะเห็นได้ว่า ในการประกาศรับความเห็น ต่อ ร่าง ขอบเขตของงาน (TOR) ของโครงการฯ ตั้งแต่ ฉบับ 1 - 5 ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์ที่มีบันได ซึ่งก้าวขึ้นลำบาก สุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ มีอันตรายถึงชีวิต รวมถึงใช้เชื้อเพลิงมาก และเพิ่มภาวะโลกร้อน ที่สำคัญ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ลดการใช้รถเมล์มีบันไดให้เหลือน้อยลงตามลำดับ พร้อมกันนั้น ก็มีข่าวการจัดซื้อรถเมล์ 3,183 คัน ไม่โปร่งใส และล็อคสเปกอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้พิการบุก ขสมก.ทวงขอใช้บริการรถเมล์ร้อนNGV ดังนั้น เมื่อวันที่ 25 ต.ค. “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนกลุ่มคนต่างๆ รวมประมาณ 70 คน จึงได้ไปยื่นข้อเสนอแนะซึ่งยืนยันข้อเสนอเดิม รวมทั้ง ยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนการซื้อรถเมล์ไม่มีบันไดมากกว่า 7,000 คน ต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นผู้รับข้อเสนอแนะและรายชื่อผู้สนับสนุน พร้อมทั้งแจ้งว่า ในระหว่างสัปดาห์หน้า (28 ต.ค. -1 พ.ย.56) ขสมก.จะจัดประชาพิจารณ์ หรือเสวนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนต่อร่าง ขอบเขตงานฯ ฉบับที่ 5 ฉะนั้น ขอให้ผู้แทนภาคีฯ เข้าร่วมเสวนา และให้ข้อเสนอแนะด้วย กลุ่มผู้พิการบุก ขสมก.ทวงขอใช้บริการรถเมล์ร้อนNGV เมื่อบ่ายวานนี้ 30 ต.ค. เวลาประมาณ 14.00 น.ภาคีฯ ได้รับแจ้งจากผู้สื่อข่าวคนหนึ่งว่า ขสมก. เชิญเข้าร่วมประชุม “ถาม-ตอบ” เรื่อง การจัดซื้อรถเมล์ 3,183 คัน ในวันที่ 31 ต.ค. เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ที่สำนักงาน ขสมก.ซึ่งจะจุได้ไม่เกิน 50 คน ภาคีฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าการปฏิบัติดังกล่าวไม่ตรงกับข้อความที่นายโอกาสได้แจ้งต่อภาคีฯ ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น และเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง กล่าวคือ ไม่มีการแจ้งหรือเชิญผู้แทนภาคีฯ เป็นการจัดอย่างกะทันหัน และลุกลี้ลุกลน ตลอดจนไม่ได้จัดในรูปแบบประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน กลุ่มผู้พิการบุก ขสมก.ทวงขอใช้บริการรถเมล์ร้อนNGV อย่างไรก็ตาม โดยที่ ภาคีฯ มีเจตนารมณ์ชัดเจนในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถเมล์ทุกคนให้สามารถใช้รถเมล์ได้อย่างสะดวก และปลอดภัย คณะผู้แทนภาคีฯ จึงได้เข้าร่วมการจัด “ถาม-ตอบ” ของ ขสมก. นำโดย ผู้แทนเครือข่ายต่างๆ ประมาณ 70 คน เช่น นายอุดมโชค ชูรัตน์ นายธีรยุทธ สุคนธวิท นางสาวอาภาณี มิตรทอง นายวันเสาร์ ไชยกุล นางสาวสุรีพร ยุพา และ นางสาววลัยพร พนมกุล เป็นต้น ในห้องประชุม มีการถามหาเหตุผลที่ ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์มีบันไดซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับคนทุกเพศทุกวัยอยู่เนืองๆ และเป็นรถเมล์ที่คนซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้บันไดหลายกลุ่มดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ไม่สามารถใช้ได้ นอกจากนั้น รถเมล์มีบันไดยังใช้พลังงานเชื้อเพลิงมาก ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และไม่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตามการตอบของ ขสมก.ยังคงไม่ตรงคำถามเหมือนเคย ดังนั้น ภาคีฯ จึงเสนอ ขสมก.ให้จัดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายรวมไม่น้อยกว่า 100 คน รวมทั้ง ยืนยันข้อเสนอให้ซื้อรถเมล์ไร้บันได ที่ “ทุกคนใช้ได้อย่างสะดวก และปลอดภัยทุกคัน” นายโอภาส รับปากว่าจะจัดประชาพิจารณ์อีกครั้ง พร้อมทั้ง จะเสนอคณะกรรมการ ขสมก.ให้พิจารณาจัดซื้อรถเมล์ไร้บันได หรือรถเมล์ชานต่ำต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้แทนภาคีฯ ยังคงย้ำว่า หาก ขสมก.ยืนยันที่จะซื้อรถเมล์มีบันไดที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และทำให้คนหลายกลุ่มโดยเฉพาะคนใช้เก้าอี้เข็นไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ ภาคีฯ จะดำเนินการฟ้องศาลปกครอง ในกรณีที่ขสมก.ใช้เงินภาษีราษฎรซื้อรถเมล์บริการสาธารณะที่อาจทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมถึง เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มประชาชนที่มีข้อจำกัดในการใช้รถเมล์มีบันได เป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ ขอบคุณ : ข่าวและภาพจากศูนย์การดำรงชีวิตอิสระจังหวัดนนทบุรี
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)