กมธ.การพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา จัดเสวนา “รถเมล์ชานต่ำ : อนาคตระบบขนส่งสาธารณะสำหรับทุกคน”
คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ดำเนินงานโดย คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ จะจัดเสวนาเรื่อง “รถเมล์ชานต่ำ : อนาคตระบบขนส่งสาธารณะสำหรับทุกคน” วันศุกร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๔.๓๐ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ ห้องรับรอง ๑-๒ อาคารรัฐสภา ๒
สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ได้ติดตามกรณีที่ทุกคนต้องเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากบริการ อาคาร/สถานที่สาธารณะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการออกแบบที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน จึงมอบให้คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ พิจารณาศึกษาโครงการจัดซื้อรถเมล์ ๓,๑๘๓ คัน ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) ซึ่งพบว่าหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๖ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้จัดซื้อรถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) คณะกรรมาธิการและเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการจำนวนมากก็ได้เสนอแนะกับทางขสมก. ให้แก้ไขคุณลักษณะเฉพาะของรถเมล์ที่จะจัดซื้อครั้งใหม่ว่าควรอยู่ภายใต้แนวคิด“การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design หรือ UD)” กล่าวคือ เป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor Bus) หรือรถเมล์ไร้บันได (Non-step Bus) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ และมีทางลาดพาดเชื่อมระหว่างพื้นรถกับขอบทางเท้า เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีรถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ และบุคคลทั่วไปสามารถขึ้น-ลงรถได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
ตลอดระยะเวลา ๓-๔ เดือน ที่ผ่านมา มีคำถามมากมายเกิดขึ้นในสังคมไทยเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. ซึ่งคำถาม/ข้อสงสัยที่ถามกันมาก ได้แก่ รถเมล์โลว์ฟลอร์ หรือรถเมล์ชานต่ำ คืออะไร ? มีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร ? เหมือนหรือแตกต่างจากรถเมล์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันอย่างไร ? รถเมล์โลว์ฟลอร์สามารถนำมาวิ่งในประเทศไทยได้หรือไม่? คนพิการ และ/หรือผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์สามารถขึ้นรถเมล์ดังกล่าวได้จริงหรือ? เหตุใด ขสมก. จึงเลือกจัดระบบอำนวยความสะดวกแก่คนพิการเฉพาะในรถปรับอากาศ ทำไมรถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) ถึงไม่ให้ และที่สำคัญ คือ ถ้ารถเมล์ชานต่ำ ดีจริง ทำไม ขสมก.จึงไม่ยอมกำหนดสเปครถให้เป็น “รถเมล์ชานต่ำ” ทั้งหมดตามข้อเสนอแนะของเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ ซึ่งปัจจุบันได้ขยายเป็น ภาคีเครือข่ายประชาชน ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ที่กำลังเฝ้าระวังและรอคำตอบที่ชัดเจนจากผู้เกี่ยวข้องอยู่
ดังนั้นคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ จึงเห็นควรที่จะมีการเปิดเวทีเสวนา เรื่อง “รถเมล์ชานต่ำ : อนาคตระบบขนส่งสาธารณะสำหรับทุกคน” เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางในการสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคมเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะและประโยชน์ของ “รถเมล์ชานต่ำ” โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ คณะกรรมาธิการจึงเห็นควรให้มีการจัดเสวนาในครั้งนี้ขึ้น
สำหรับวัตถุประสงค์ของการเสวนาฯ มี ๓ ประการ ได้แก่ ๑. เพื่อให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจกับสังคม ในเรื่อง “รถเมล์ชานต่ำ” ทั้งด้านแนวคิดในการออกแบบ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และคุณลักษณะเฉพาะของตัวรถ ที่เอื้อต่อคนทุกกลุ่มในสังคม ๒.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเปิดมุมมองทางความคิดถึงคุณประโยชน์ของ “รถเมล์ชานต่ำ” ที่คนพิการ ผู้สูงอายุ และคนที่มีข้อจำกัดในการเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ ๓. เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่มีต่อโครงการจัดซื้อรถเมล์ ๓,๑๘๓ คัน ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
ผู้เข้าร่วมการเสวนา มีจำนวน ๗๐ คน ประกอบด้วย ๑. คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ๒. คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ๓. คณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ๔. ผู้แทนภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ๕. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ และหน่วยงานทางวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๖. ผู้แทนผู้ประกอบการ/บริษัทผู้ผลิตรถโดยสาร และ๗. แกนนำองค์กรด้านคนพิการ
กำหนดการจัดเสวนาฯ จะเริ่มด้วยการ กล่าวรายงานโดย นายมณเฑียร บุญตัน รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม ฯ วุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ กล่าวเปิดการเสวนาโดย นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ต่อจากนั้น จึงเป็นการเสวนา เรื่อง “รถเมล์ชานต่ำ : อนาคตระบบขนส่งสาธารณะสำหรับทุกคน” โดย นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอภาส ปัญญา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อม และทรัยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นายอรุณ ลีธนาโชค ผู้เชี่ยวชาญการประกอบตัวถังรถยนต์โดยสาร และนายทรงวิทย์ โควินทะสุต ฝ่ายประสานงานรัฐกิจ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินรายการโดยนายมณเฑียร บุญตัน และนายธีรยุทธ สุคนธวิท อนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ในช่วงท้าย เป็นการเปิดเวทีถาม-ตอบ และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึง สรุปการเสวนาโดยนายมณเฑียร บุญตัน
ขอบคุณ…ข่าวและภาพจาก ธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รายนามกล่าวรายงานผู้เข้าร่วมเสวนาฯ 1.นายมณเฑียร บุญตัน 2.นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง 3.นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ 4.นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน 5.ดร.โอภาส ปัญญา 6.นายโอภาส เพชรมุณี คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ดำเนินงานโดย คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ จะจัดเสวนาเรื่อง “รถเมล์ชานต่ำ : อนาคตระบบขนส่งสาธารณะสำหรับทุกคน” วันศุกร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๔.๓๐ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ ห้องรับรอง ๑-๒ อาคารรัฐสภา ๒ นายธีรยุทธ สุคนธวิท พร้อมกลุ่มผู้พิการบุก ขสมก.ทวงขอใช้บริการรถเมล์ร้อนNGV สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ได้ติดตามกรณีที่ทุกคนต้องเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากบริการ อาคาร/สถานที่สาธารณะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการออกแบบที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน จึงมอบให้คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ พิจารณาศึกษาโครงการจัดซื้อรถเมล์ ๓,๑๘๓ คัน ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) ซึ่งพบว่าหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๖ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้จัดซื้อรถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) คณะกรรมาธิการและเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการจำนวนมากก็ได้เสนอแนะกับทางขสมก. ให้แก้ไขคุณลักษณะเฉพาะของรถเมล์ที่จะจัดซื้อครั้งใหม่ว่าควรอยู่ภายใต้แนวคิด“การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design หรือ UD)” กล่าวคือ เป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor Bus) หรือรถเมล์ไร้บันได (Non-step Bus) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ และมีทางลาดพาดเชื่อมระหว่างพื้นรถกับขอบทางเท้า เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีรถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ และบุคคลทั่วไปสามารถขึ้น-ลงรถได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ตลอดระยะเวลา ๓-๔ เดือน ที่ผ่านมา มีคำถามมากมายเกิดขึ้นในสังคมไทยเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. ซึ่งคำถาม/ข้อสงสัยที่ถามกันมาก ได้แก่ รถเมล์โลว์ฟลอร์ หรือรถเมล์ชานต่ำ คืออะไร ? มีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร ? เหมือนหรือแตกต่างจากรถเมล์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันอย่างไร ? รถเมล์โลว์ฟลอร์สามารถนำมาวิ่งในประเทศไทยได้หรือไม่? คนพิการ และ/หรือผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์สามารถขึ้นรถเมล์ดังกล่าวได้จริงหรือ? เหตุใด ขสมก. จึงเลือกจัดระบบอำนวยความสะดวกแก่คนพิการเฉพาะในรถปรับอากาศ ทำไมรถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) ถึงไม่ให้ และที่สำคัญ คือ ถ้ารถเมล์ชานต่ำ ดีจริง ทำไม ขสมก.จึงไม่ยอมกำหนดสเปครถให้เป็น “รถเมล์ชานต่ำ” ทั้งหมดตามข้อเสนอแนะของเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ ซึ่งปัจจุบันได้ขยายเป็น ภาคีเครือข่ายประชาชน ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ที่กำลังเฝ้าระวังและรอคำตอบที่ชัดเจนจากผู้เกี่ยวข้องอยู่ บรรยากาศภายในห้องประชุม ขสมก.แถลงข่าว TOR รถโดยสาร NGV 3,183 คันดังนั้นคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ จึงเห็นควรที่จะมีการเปิดเวทีเสวนา เรื่อง “รถเมล์ชานต่ำ : อนาคตระบบขนส่งสาธารณะสำหรับทุกคน” เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางในการสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคมเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะและประโยชน์ของ “รถเมล์ชานต่ำ” โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ คณะกรรมาธิการจึงเห็นควรให้มีการจัดเสวนาในครั้งนี้ขึ้น กลุ่มคนกว่า 50 คนได้รวมตัวที่สำนักงาน ขสมก.เพื่อเรียกร้องให้ ขสมก.พิจารณาจัดรถพื้นต่ำไม่มีบันได สำหรับวัตถุประสงค์ของการเสวนาฯ มี ๓ ประการ ได้แก่ ๑. เพื่อให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจกับสังคม ในเรื่อง “รถเมล์ชานต่ำ” ทั้งด้านแนวคิดในการออกแบบ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และคุณลักษณะเฉพาะของตัวรถ ที่เอื้อต่อคนทุกกลุ่มในสังคม ๒.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเปิดมุมมองทางความคิดถึงคุณประโยชน์ของ “รถเมล์ชานต่ำ” ที่คนพิการ ผู้สูงอายุ และคนที่มีข้อจำกัดในการเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ ๓. เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่มีต่อโครงการจัดซื้อรถเมล์ ๓,๑๘๓ คัน ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ผู้เข้าร่วมการเสวนา มีจำนวน ๗๐ คน ประกอบด้วย ๑. คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ๒. คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ๓. คณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ๔. ผู้แทนภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ๕. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ และหน่วยงานทางวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๖. ผู้แทนผู้ประกอบการ/บริษัทผู้ผลิตรถโดยสาร และ๗. แกนนำองค์กรด้านคนพิการ กลุ่มคนกว่า 50 คนได้รวมตัวที่สำนักงาน ขสมก.เพื่อเรียกร้องให้ ขสมก.พิจารณาจัดรถพื้นต่ำไม่มีบันได กำหนดการจัดเสวนาฯ จะเริ่มด้วยการ กล่าวรายงานโดย นายมณเฑียร บุญตัน รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม ฯ วุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ กล่าวเปิดการเสวนาโดย นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ต่อจากนั้น จึงเป็นการเสวนา เรื่อง “รถเมล์ชานต่ำ : อนาคตระบบขนส่งสาธารณะสำหรับทุกคน” โดย นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอภาส ปัญญา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อม และทรัยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นายอรุณ ลีธนาโชค ผู้เชี่ยวชาญการประกอบตัวถังรถยนต์โดยสาร และนายทรงวิทย์ โควินทะสุต ฝ่ายประสานงานรัฐกิจ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินรายการโดยนายมณเฑียร บุญตัน และนายธีรยุทธ สุคนธวิท อนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ในช่วงท้าย เป็นการเปิดเวทีถาม-ตอบ และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึง สรุปการเสวนาโดยนายมณเฑียร บุญตัน ขอบคุณ…ข่าวและภาพจาก ธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)