อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพา
คว้ารางวัลเหรียญเงิน ด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุจากเวทีการประกวดในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ไอ-ครีเอท 2013 กับอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพา หรือ Home-Auto Lifting System ผลงานของทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ สมาชิกทีมผู้พัฒนาฯ บอกว่า ปัจจุบันนี้มีผู้ที่มีปัญหาด้านการเดินเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายในการใช้ชีวิตประจำวันและไม่มีโอกาสออกไปพบปะผู้คนข้างนอก
ขณะเดียวกันอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ไม่สามารถใช้งานได้ทุกที่และมีราคาแพงเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว ทีมจึงได้ออกแบบ Home-Auto Lifting System ซึ่งเป็นอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาได้ มีน้ำหนักเบาเพียง 15 กิโลกรัม
สามารถใช้งานได้ทั้งในบ้าน นอกบ้านและรถยนต์ และรับน้ำหนักได้ถึง 120 กิโลกรัม น้องกรณพัฒน์ บอกว่า อุปกรณ์นี้ที่ทำมาจากสเตนเลสสตีล ตัวอุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นฐานซึ่งมีทั้งแบบฐานในบ้านและฐานในรถยนต์ และ ส่วนที่เป็นชุดยก
สำหรับฐานที่ใช้กับรถยนต์ได้ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายรูปตัวเอฟ เพื่อปรับขนาดความกว้างได้ตามขนาดล้อรถแต่ละแบบ แล้วจึงล็อกฐานไว้กับล้อรถ หลังจากนั้นก็นำส่วนของตัวยกมาเสียบไว้กับส่วนฐาน ส่วนการยกนั้นสามารถหมุนได้รอบทิศทาง เพื่อสะดวกในการใช้งานในที่แคบ และควบคุมการยกขึ้นลงจากรีโมต การออกแบบของเราเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เราออกแบบโดยใช้โซลิด เวิร์ก โปรแกรม ( Solid Work Program ) มาจำลอง เพื่อดูค่าความปลอดภัย ที่เหมาะสม
อีกทั้งยังใช้เวิร์กกิ้ง โมเดล โปรแกรม (Working Model Program) และแคลคูเลชั่น (Calculation) เพื่อคำนวณหาระยะในการติดตั้งชุดยก ที่สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ 120 กิโลกรัม น้องกรณพัฒน์ บอกอีกว่า จากการศึกษาการทำงานและการใช้งานของอุปกรณ์ที่นำเข้าจากเมืองนอกและอุปกรณ์ ที่มีอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ ๆ ล้วนแต่มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถพับเก็บได้ ไม่สามารถยกได้เนื่องจากมีน้ำหนักเยอะมาก ที่สำคัญมีราคาแพงเป็นแสน การใช้งานก็จำเป็นต้องดัดแปลงบ้านหรือรถ ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้เป็นจุด ๆ ที่ติดตั้งเท่านั้น แต่สำหรับอุปกรณ์นี้ ราคาต้นแบบ รวมแล้วไม่ถึง 2 หมื่นบาท โดยฐานที่ใช้กับรถประมาณ 3,000 บาท ฐานที่ใช้ในบ้านประมาณ 5,000 บาท และชุดยกประมาณ 10,000 บาท เรียกว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงในสังคมไทยปัจจุบัน. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=192641 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ย.56
1 แป๋ม 26/05/2562 19:09:00
สนใจเหมือนกันค่ะ อยากได้เบอร์ติดต่อค่ะ
2 นนท์ 1/03/2559 12:50:23
เครื่องนี้น่าใช้มากครับ ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บ และไม่ให้มีความรู้สึกว่าเป็นภาระกับคนอื่นมากไป
ต้องการซื้อไปใช้ติดต่อได้อย่างไรครับ
3 สิริธร 27/03/2557 11:54:25
สุดยอดนวัตกรรมเลยค่ะ ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ป่วยแลผู้ดูแล ราคาก้อถูกกว่าอุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่นำเข้าถึง 10 เท่าเลยทีเดียว
สนใจซื้อจะติดต่ออย่างไรค่ะ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ สมาชิกทีมผู้พัฒนาฯ คว้ารางวัลเหรียญเงิน ด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุจากเวทีการประกวดในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ไอ-ครีเอท 2013 กับอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพา หรือ Home-Auto Lifting System ผลงานของทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ สมาชิกทีมผู้พัฒนาฯ บอกว่า ปัจจุบันนี้มีผู้ที่มีปัญหาด้านการเดินเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายในการใช้ชีวิตประจำวันและไม่มีโอกาสออกไปพบปะผู้คนข้างนอก อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาขณะเดียวกันอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ไม่สามารถใช้งานได้ทุกที่และมีราคาแพงเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว ทีมจึงได้ออกแบบ Home-Auto Lifting System ซึ่งเป็นอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาได้ มีน้ำหนักเบาเพียง 15 กิโลกรัม สามารถใช้งานได้ทั้งในบ้าน นอกบ้านและรถยนต์ และรับน้ำหนักได้ถึง 120 กิโลกรัม น้องกรณพัฒน์ บอกว่า อุปกรณ์นี้ที่ทำมาจากสเตนเลสสตีล ตัวอุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นฐานซึ่งมีทั้งแบบฐานในบ้านและฐานในรถยนต์ และ ส่วนที่เป็นชุดยก สำหรับฐานที่ใช้กับรถยนต์ได้ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายรูปตัวเอฟ เพื่อปรับขนาดความกว้างได้ตามขนาดล้อรถแต่ละแบบ แล้วจึงล็อกฐานไว้กับล้อรถ หลังจากนั้นก็นำส่วนของตัวยกมาเสียบไว้กับส่วนฐาน ส่วนการยกนั้นสามารถหมุนได้รอบทิศทาง เพื่อสะดวกในการใช้งานในที่แคบ และควบคุมการยกขึ้นลงจากรีโมต การออกแบบของเราเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เราออกแบบโดยใช้โซลิด เวิร์ก โปรแกรม ( Solid Work Program ) มาจำลอง เพื่อดูค่าความปลอดภัย ที่เหมาะสม อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาอีกทั้งยังใช้เวิร์กกิ้ง โมเดล โปรแกรม (Working Model Program) และแคลคูเลชั่น (Calculation) เพื่อคำนวณหาระยะในการติดตั้งชุดยก ที่สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ 120 กิโลกรัม น้องกรณพัฒน์ บอกอีกว่า จากการศึกษาการทำงานและการใช้งานของอุปกรณ์ที่นำเข้าจากเมืองนอกและอุปกรณ์ ที่มีอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ ๆ ล้วนแต่มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถพับเก็บได้ ไม่สามารถยกได้เนื่องจากมีน้ำหนักเยอะมาก ที่สำคัญมีราคาแพงเป็นแสน การใช้งานก็จำเป็นต้องดัดแปลงบ้านหรือรถ ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้เป็นจุด ๆ ที่ติดตั้งเท่านั้น แต่สำหรับอุปกรณ์นี้ ราคาต้นแบบ รวมแล้วไม่ถึง 2 หมื่นบาท โดยฐานที่ใช้กับรถประมาณ 3,000 บาท ฐานที่ใช้ในบ้านประมาณ 5,000 บาท และชุดยกประมาณ 10,000 บาท เรียกว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงในสังคมไทยปัจจุบัน. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=192641 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)