หุ่นยนต์ฟื้นฟูสภาพ
ในสถานการณ์ปัจจุบันจำนวนประชากรในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพทำให้คนไทยอายุยืนขึ้น โดยพบว่าจำนวนของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มี 9.5 ล้านคน จากประชากรไทย 64.6 ล้านคน ซึ่งอัตราส่วนของผู้สูงอายุนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี โรคในกลุ่มของภาวะเสื่อมของร่างกายจากอายุที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสื่อมของหลอดเลือดทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจขาดเลือด การเสื่อมของข้อเข่า ข้อตะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลังอันอาจทำให้เกิดภาวะอ่อนเเรงของกล้ามเนื้อ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งการเดิน การเคลื่อนย้ายตัวรวมถึงดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนมีข้อจำกัดเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และครอบครัว
การรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาโดยเฉพาะ เกิดจากสาเหตุทางระบบประสาทซึ่งทำให้มีภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่รุนแรง ในบางรายไม่สามารถขยับหรือลงน้ำหนักที่ขาได้ จำเป็นจะต้องมีนักกายภาพผู้ชำนาญในการฝึกอย่างน้อย 2-3 คน เพื่อพยุงเดินและคอยพยุงช่วยขยับขาให้เป็นไปตามการเดินที่เหมาะสม ข้อจำกัดของการฝึกแบบดั้งเดิมคือ ระยะเวลาที่สามารถฝึกผู้ป่วยต่อเนื่องนั้นไม่เพียงพอ เกิดความเบื่อหน่ายขาดแรงจูงใจในการฝึกเนื่องจากไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ระหว่างการฝึก ขาดความคงที่ของความเร็วและแรงพยุงในการฝึกเดิน และการล้ากล้ามเนื้อของผู้ป่วยและนักกายภาพผู้ฝึกอีกด้วย
ทางโรงพยาบาลพญาไท 1 ได้เล็งเห็นความสำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงได้นำหุ่นยนต์ฟื้นฟู สมรรถภาพการเดินรุ่นล่าสุดซึ่งเป็นหุ่นยนต์ฝึกเดินอันทันสมัย มีความปลอดภัย ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขและเป็นที่แพร่หลายในสถาบันทางการแพทย์ ชั้นนำในต่างประเทศ
การทำงานของหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพ การเดินนั้นจะประกอบด้วย ชุดอุปกรณ์พยุงส่วนลำตัวเพื่อรับน้ำหนักตัวของผู้ฝึก หุ่นยนต์ฝึกเดินซึ่งจะช่วยในการพยุงให้เกิดการเคลื่อนไหวข้อตะโพกและเข่า ให้ใกล้เคียงการเดินปกติโดยการฝึกให้เกิดการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นั้นจะสามารถกระตุ้นย้อนกลับไปยังสมองให้มีการรับข้อมูลและส่งสัญญาณประสาท กระตุ้นสั่งการเพื่อฟื้นฟูการทำงานของสมองหรือระบบประสาทได้ดียิ่งขึ้น ลดภาวะเกร็งของกล้ามเนื้อจากการขยับเคลื่อนไหวข้อ ส่วนหน้าจอแสดงผลของเครื่องสามารถแสดงภาพเกมซึ่งกำหนดสถานการณ์จำลองให้ผู้ฝึกออกแรงกล้ามเนื้อ หรือสร้างทักษะที่ต้องการฝึก อีกทั้งยังสร้างแรงจูงใจ และความเพลิดเพลินในการฝึก จอแสดงผลที่ 2 สามารถกำหนดจังหวะการเดิน แรงพยุงของหุ่นยนต์ขา และลำตัว ให้เหมาะสมเฉพาะผู้ฝึกแต่ละรายอีกทั้งยังสามารถติดตามความก้าวหน้าในการฝึก ได้อีกด้วย นอกจากนี้การฝึกโดยหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินนั้นยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ มีภาวะอ่อนแรงได้ออกกำลังกายชนิดแอโรบิก ซึ่งหากได้ฝึกอย่างสม่ำเสมอจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และป้องกันภาวะกระดูกพรุนจากการขาดการลงน้ำหนักที่กระดูกได้อีกด้วย นอกจากหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินแล้วยังมีหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการใช้ งานแขนและมือที่สามารถช่วยในการฝึกผู้ที่มีภาวะอ่อนแรงหรือการควบคุมการ เคลื่อนไหวของมือและแขนผิดปกติ โดยใช้หลักการของแขนหุ่นยนต์ที่สามารถช่วยพยุงแขน ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวและฝึกตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ โดยมีเกมที่มีความหลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะที่ต้องการฝึกซึ่งมีความแตกต่าง กัน และช่วยสร้างแรงจูงใจในการฝึกการใช้งานแขนและมือให้มีความน่าสนใจสามารถฝึก ต่อเนื่องได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
เครื่องหุ่นยนต์ ฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งสองเครื่องนี้สามารถใช้ได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลาย อาทิ โรคหลอดเลือดในสมอง การได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ผู้ได้รับบาดเจ็บบริเวณสมอง โรคพาร์กินสัน เป็นต้น ก่อนเข้ารับการฟื้นฟูผู้ป่วยควรได้รับการตรวจคัดกรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความพร้อมและวางแผนการฟื้นฟูร่วมกับนักกายภาพบำบัดหรือนัก กิจกรรมบำบัดที่ผ่านการฝึกอบรมการใช้เครื่องหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อ ประสิทธิผลในการฟื้นฟูผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพ อย่างไรก็ตามการฝึกด้วยหุ่นยนต์นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่วมกับการฝึกประเภทอื่น ๆ เช่น การฝึกเพื่อบริหารข้อป้องกันภาวะข้อยึดติดและลดการเกร็งของกล้ามเนื้อการออก กำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกการทรงตัว เป็นต้น
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยนั้นจำเป็นต้องมีความต่อเนื่องสามารถปรับเปลี่ยนแนว ทางการฝึกตามศักยภาพและเป้าหมายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยรายบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปกติ หรือใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุดรวมถึงการกลับสู่ครอบครัวและสังคมได้อย่าง มีความสุข
ข้อมูลจาก แพทย์หญิงวรรณวดี ลักษณ์สุรพันธ์ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 1 หรือเว็บไซต์ http://www.phyathai.com (ขนาดไฟล์: 167)
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การทดลองใช้งานหุ่นยนต์ฟื้นฟูสภาพ ในสถานการณ์ปัจจุบันจำนวนประชากรในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพทำให้คนไทยอายุยืนขึ้น โดยพบว่าจำนวนของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มี 9.5 ล้านคน จากประชากรไทย 64.6 ล้านคน ซึ่งอัตราส่วนของผู้สูงอายุนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี โรคในกลุ่มของภาวะเสื่อมของร่างกายจากอายุที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสื่อมของหลอดเลือดทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจขาดเลือด การเสื่อมของข้อเข่า ข้อตะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลังอันอาจทำให้เกิดภาวะอ่อนเเรงของกล้ามเนื้อ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งการเดิน การเคลื่อนย้ายตัวรวมถึงดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนมีข้อจำกัดเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และครอบครัว การรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาโดยเฉพาะ เกิดจากสาเหตุทางระบบประสาทซึ่งทำให้มีภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่รุนแรง ในบางรายไม่สามารถขยับหรือลงน้ำหนักที่ขาได้ จำเป็นจะต้องมีนักกายภาพผู้ชำนาญในการฝึกอย่างน้อย 2-3 คน เพื่อพยุงเดินและคอยพยุงช่วยขยับขาให้เป็นไปตามการเดินที่เหมาะสม ข้อจำกัดของการฝึกแบบดั้งเดิมคือ ระยะเวลาที่สามารถฝึกผู้ป่วยต่อเนื่องนั้นไม่เพียงพอ เกิดความเบื่อหน่ายขาดแรงจูงใจในการฝึกเนื่องจากไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ระหว่างการฝึก ขาดความคงที่ของความเร็วและแรงพยุงในการฝึกเดิน และการล้ากล้ามเนื้อของผู้ป่วยและนักกายภาพผู้ฝึกอีกด้วย ทางโรงพยาบาลพญาไท 1 ได้เล็งเห็นความสำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงได้นำหุ่นยนต์ฟื้นฟู สมรรถภาพการเดินรุ่นล่าสุดซึ่งเป็นหุ่นยนต์ฝึกเดินอันทันสมัย มีความปลอดภัย ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขและเป็นที่แพร่หลายในสถาบันทางการแพทย์ ชั้นนำในต่างประเทศ ผู้สูงอายุทดลองใช้งานหุ่นยนต์ฟื้นฟูสภาพ การทำงานของหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพ การเดินนั้นจะประกอบด้วย ชุดอุปกรณ์พยุงส่วนลำตัวเพื่อรับน้ำหนักตัวของผู้ฝึก หุ่นยนต์ฝึกเดินซึ่งจะช่วยในการพยุงให้เกิดการเคลื่อนไหวข้อตะโพกและเข่า ให้ใกล้เคียงการเดินปกติโดยการฝึกให้เกิดการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นั้นจะสามารถกระตุ้นย้อนกลับไปยังสมองให้มีการรับข้อมูลและส่งสัญญาณประสาท กระตุ้นสั่งการเพื่อฟื้นฟูการทำงานของสมองหรือระบบประสาทได้ดียิ่งขึ้น ลดภาวะเกร็งของกล้ามเนื้อจากการขยับเคลื่อนไหวข้อ ส่วนหน้าจอแสดงผลของเครื่องสามารถแสดงภาพเกมซึ่งกำหนดสถานการณ์จำลองให้ผู้ฝึกออกแรงกล้ามเนื้อ หรือสร้างทักษะที่ต้องการฝึก อีกทั้งยังสร้างแรงจูงใจ และความเพลิดเพลินในการฝึก จอแสดงผลที่ 2 สามารถกำหนดจังหวะการเดิน แรงพยุงของหุ่นยนต์ขา และลำตัว ให้เหมาะสมเฉพาะผู้ฝึกแต่ละรายอีกทั้งยังสามารถติดตามความก้าวหน้าในการฝึก ได้อีกด้วย นอกจากนี้การฝึกโดยหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินนั้นยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ มีภาวะอ่อนแรงได้ออกกำลังกายชนิดแอโรบิก ซึ่งหากได้ฝึกอย่างสม่ำเสมอจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และป้องกันภาวะกระดูกพรุนจากการขาดการลงน้ำหนักที่กระดูกได้อีกด้วย นอกจากหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินแล้วยังมีหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการใช้ งานแขนและมือที่สามารถช่วยในการฝึกผู้ที่มีภาวะอ่อนแรงหรือการควบคุมการ เคลื่อนไหวของมือและแขนผิดปกติ โดยใช้หลักการของแขนหุ่นยนต์ที่สามารถช่วยพยุงแขน ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวและฝึกตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ โดยมีเกมที่มีความหลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะที่ต้องการฝึกซึ่งมีความแตกต่าง กัน และช่วยสร้างแรงจูงใจในการฝึกการใช้งานแขนและมือให้มีความน่าสนใจสามารถฝึก ต่อเนื่องได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เครื่องหุ่นยนต์ ฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งสองเครื่องนี้สามารถใช้ได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลาย อาทิ โรคหลอดเลือดในสมอง การได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ผู้ได้รับบาดเจ็บบริเวณสมอง โรคพาร์กินสัน เป็นต้น ก่อนเข้ารับการฟื้นฟูผู้ป่วยควรได้รับการตรวจคัดกรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความพร้อมและวางแผนการฟื้นฟูร่วมกับนักกายภาพบำบัดหรือนัก กิจกรรมบำบัดที่ผ่านการฝึกอบรมการใช้เครื่องหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อ ประสิทธิผลในการฟื้นฟูผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพ อย่างไรก็ตามการฝึกด้วยหุ่นยนต์นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่วมกับการฝึกประเภทอื่น ๆ เช่น การฝึกเพื่อบริหารข้อป้องกันภาวะข้อยึดติดและลดการเกร็งของกล้ามเนื้อการออก กำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกการทรงตัว เป็นต้น การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยนั้นจำเป็นต้องมีความต่อเนื่องสามารถปรับเปลี่ยนแนว ทางการฝึกตามศักยภาพและเป้าหมายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยรายบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปกติ หรือใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุดรวมถึงการกลับสู่ครอบครัวและสังคมได้อย่าง มีความสุข ข้อมูลจาก แพทย์หญิงวรรณวดี ลักษณ์สุรพันธ์ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 1 หรือเว็บไซต์ http://www.phyathai.com นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/209705/_หุ่นยนต์ฟื้นฟูสภาพ_+%3A+ชีวิตและสุขภาพ เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)