เพจรถเมล์ไทย ชวนวิเคราะห์ มุมต่าง “รถเมล์ประชาชน ทุกคนใช้ได้ทุกคัน”

แสดงความคิดเห็น

มาตามที่เคยบอกเอาไว้ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ทำไมผมไม่เห็นด้วย กับแนวคิดสร้างแลมป์สำหรับรถวีลแชร์คนพิการที่ป้ายรถเมล์ของคนกลุ่มหนึ่ง

ก่อนอื่น มาดูเหตุผลของต้นตำรับแนวคิดนี้ ทำไมเขาถึงนำเสนออย่างนี้ เริ่มแรกเขาเห็นข่าวลงเรื่องกลุ่มคนพิการ เรียกร้องเกี่ยวกับรถเมล์พื้นต่ำในรถร้อน ดังที่ได้เป็นข่าวเมื่อไม่นานนี้เอง พวกเราก็เห็นตำตาด้วย สำหรับผม ผมเห็นด้วยกับการใช้รถเมล์พื้นต่ำหรือกึ่งพื้นต่ำ ทุกคนได้ประโยชน์จากตรงนี่

ผมเข้าใจในเจตนาของเขา ที่ต้องการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในสิ่งที่กลุ่มคนพิการเรียกร้อง ให้ท่านรัฐมนตรีดู เขาโพสต์ลงบนหน้าเพจ รมต.ชัชชาติเมื่อ 31 ต.ค.56 ว่า "วิธีแก้ปัญหารถเมล์ให้รองรับคนพิการ โดยไม่ต้องซื้อรถเมล์พื้นต่ำ ทำทางลาดที่ป้ายรถเมล์ วิธีนี้จะทำให้รัฐได้รถเมล์พื้นสูงไว้ลุยน้ำท่วม ส่วนคนพิการก็ได้ทางลาด อำนวยความสะดวกเหมือนเดิมครับ" (ผมแคปหน้านั้นไว้แล้ว ไม่ต้องเข้าไปแก้หรอก)

สื่อประชาสัมพันธ์   เพจรถเมล์ไทย ชวนวิเคราะห์ มุมต่าง   “รถเมล์ประชาชน ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” ผมอ่านแล้ว ผมไม่เห็นด้วยนะ แม้ว่าจะเป็นแนวที่คิดที่แก้ไขข้อเรียกร้องของกลุ่มคนพิการ เพื่อให้รัฐมีรถพื้นสูงลุยน้ำท่วมตามที่เขาให้เหตุผลข้างต้น ผมมีเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับเขาดังต่อไปนี้ครับ 1. ลักษณะทางกาย ภาพของฟุตบาทมีความ หลากหลาย มีทั้งกว้างทั้งแคบ ป้ายรถเมล์ที่ทางเท้าแคบๆ อย่างป้ายจรัญฯ 62 หรือไม่มีทางเท้าอย่าง ถ.ชักพระที่สาย 79 วิ่งผ่าน จะสร้างได้อย่างไร? 2. แน่ใจแล้วหรือว่าทางลาดที่ว่าจะไม่ไปบังประตูตึกแถว ร้านค้าที่อยู่บริเวณป้ายรถเมล์ 3. ทางลาดตรงนี้ เอาไว้เฉพาะคนพิการที่ใช้รถเข็นใช่หรือไม่? ส่วนคนทั่วไปก็ตะกายขึ้นบันไดรถเมล์พื้นสูง บันไดสองขั้นเหมือนเดิมใช่หรือไม่? ถ้าใช่...มันเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเอาเสียเลย เพราะมีสักกี่คนที่ใช้รถเข็นขึ้นแลมป์นี้ สู้ทำแป้นยกในรถเมล์พื้นต่ำไม่ดีกว่าหรือ ที่เปิดใช้เมื่อมีรถเข็นขึ้นมาบนรถเมล์ พอรถเข็นคนพิการไม่ได้ขึ้นรถ ก็พับเก็บไว้ในรถ แถมคนทั่วไป ก็ไม่ได้ใช้สอยแลมป์นี้ให้คุ้มค่าอีกต่างหาก ถ้าจะทำให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ควรทำทางลาด ทำชานชาลาแบบรถ BRT ยังจะดีกว่า ที่ทุกคนใช้ได้ แต่แล้วมันจะมีความยุ่งยากข้อต่อมา 4. ในเมื่อบอกว่ารถเมล์พื้นต่ำไม่ต้องซื้อ ใช้รถเมล์พื้นสูงนี่แหละ แล้วดัดแปลงประตูเอา ผมว่าแนวคิดของเขาไปได้มาจากรถเมล์สาย 39 ที่ใช้ลิฟต์ยกวีลแชร์ ซึ่งกลุ่มคนพิการคงได้เห็นแบบนั้นไปแล้ว เพียงแต่แนวคิดนี้ เปลี่ยนจากลิฟต์เป็นแป้นยกขนาดเล็กที่พาดระหว่างรถกับชานชาลาทางลาด ถามว่าจะเอางบที่ไหนมาดัดแปลงประตูรถให้เป็นแบบนั้น ยิ่งเป็นรถร่วม เขาจะให้ความร่วมมือตรงนี้รึเปล่า กล้าไหมที่จะเอาเงินไปสนับสนุนการดัดแปลงประตูแบบนั้น ใช้กับรถเมล์ทุกคัน ผมมองว่าสุดท้ายประชาชนก็ตะกายขึ้นรถเมล์พื้นสูงอยู่ดี จะบอกให้เอาบุญนะว่า รถยิ่งพื้นต่ำเท่าไหร่ เวลาในการก้าวขึ้นรถยิ่งน้อยลง และในอนาคตประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น รถเมล์พื้นต่ำยิ่งจำเป็นต่อคนสูงอายุในอนาคตข้างหน้าอีกด้วย (ซึ่งคนใน ขสมก. บางคน ก็ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับรถพื้นต่ำสักที และไม่ยอมรับรถพื้นต่ำ เพราะชอบรถพื้นเสมอกันทั้งคัน) 5. ป้ายรถเมล์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นคนดูแล กทม. ต้องสร้างทางลาดเหล่านี้ ประมาณ 2 พันกว่าป้ายทั่วกรุงเทพ แต่ประทานโทษ รถเมล์วิ่งไปในเขตปริมณฑลด้วย เทศบาล อบต. อบจ. ต้องสร้างด้วยนะ ไม่รู้ว่าปริมณฑลมีอีกกี่ป้าย ที่จะต้องสร้าง ถามว่าท้องถิ่นในเขตปริมณฑล ดูแลทางลาดได้ดีเท่า กทม. รึเปล่า? จะปล่อยให้ทางลาดมีหญ้าปกคลุมรึเปล่า 6. ทางลาดนี้ เหมือนฝนตกไม่ทั่วฟ้า ถ้าเอากันจริงๆ ใน กทม. บางป้ายไม่มีรถเมล์ผ่าน บางป้ายมีแค่สายเดียว แต่ไม่ใช่รถ ขสมก. เช่น ถ.สายไหม มีสาย 1009 คนพิการใช้ทางลาดตรงนี้ไม่ได้อยู่ดี ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องใช้ เสียเวลาสำรวจอีกว่าป้ายไหนมีรถเมล์ผ่าน ถึงจะสร้างทางลาดได้ เผลอๆ สร้างทางลาดที่ป้ายรถเมล์แล้วไม่มีคนใช้ จะว่าอย่างไร? พอออกไปชานเมือง ต้องมาดูอีกว่ามีรถเมล์สายไหนวิ่งมาถึงบ้าง ทำทางลาดสุดที่ป้ายไหน...โอย ดูวุ่นวายแท้ 7. มูลค่าการก่อสร้างทางลาด สูงกว่าลิฟต์ยกกับแป้นยก ทางลาดที่นึง เอาแบบอย่างดีตาม รพ. ในงานวิจัยชิ้นนึง บอกว่าใช้งบไป 2.38 แสนบาท แป้นยกแบบใช้คนยก ไม่มีกลไกไฟฟ้าตัวละ 3 หมื่น ลิฟต์ยกตัวละแสน คิดดูละกันว่าอันไหนลงทุนคุ้มกว่ากัน? 8. ทางลาดมันใช้ได้แต่รถเมล์ ส่วนรถตู้ แท็กซี่ รถเมล์ชานเมือง รถ บขส. ใช้ทางลาดไม่ได้ ในเมื่อใช้ไม่ได้ จะสร้างทำไมล่ะ เช่นทำลางลาดที่ปากน้ำ คนพิการบอกว่า กูนั่งสาย 102 142 508 511 536 ได้ แต่กูขึ้นสาย 365 1141 ไม่ได้ เพราะไม่มีประตูรองรับทางลาดนี้ 9. ปัญหาการจอดรถชิดป้าย ติดทางเท้า ยังทำกันไม่ได้ นับประสาอะไรกับการขับชิดทางลาด แน่นอนว่าเกิดช่องว่างระหว่างรถกับชานชาลาทางลาดที่มากกว่าปกติ จนรถเข็นไม่สามารถใช้บริการได้ ไหนจะจอดรถให้ตรงกับทางลาดอีก 10. แน่ใจนะว่าทางลาดไม่ไปกีดขวางคนอื่นที่ยืนรอรถเมล์หรือสัญจรบนทางเท้าหรือทางจักรยานบนฟุตบาท 11. ตามที่สมาชิกเพจท่านหนึ่งบอกมาว่าทางลาดแบบนี้ เข็นวีลแชร์เองอันตราย หากไม่มีใครมายืนรอรถเมล์ที่ป้ายเลย ผมขอเสริมว่า สุดท้ายรถเข็นต้องลงมารอหน้าทางลาเ เพื่อให้คนอื่นกรือคนขับเข็นขึ้นไป ซึ่งมันเสียเวลามาก 12. ทางลาดแบบนี้ เท่ากับลดโอกาส ลดทางเลือกในการขึ้นลงรถเมล์ของคนพิการ เพราะต้องลงตามจุดที่กำหนด ที่สร้างเอาไว้ ลงที่อื่นไม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นรถพื้นต่ำ เป็นการเปิดโอกาสให้คนพิการ มีโอกาสขึ้นลงรถได้สะดวกกว่าทางลาดแบบนี้ 13. เรื่องน้ำท่วมเนี่ย มันเป็นเรื่องของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริการจัดการน้ำ ส่วนรถเมล์มีหน้าที่วิ่งให้บริการผู้โดยสาร ถามว่าปีนึงน้ำท่วมกี่หน? แล้วพอน้ำท่วมสูงมากๆ เข้า รถเมล์วิ่งได้มั้ยล่ะ? 14. มั่นใจมากแค่ไหนว่าแนวคิดนี้จะได้ผลในทางปฏิบัติ? ผมดูแล้วเป็นไปได้ยาก

ผมมี 14 ข้อ 14 เหตุผล ที่ว่าผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดภาพข้างบนนี้ ผมมองว่าไอ้ภาพล่างน่ะ มันเป็นไปได้มากที่สุด ผมเลยฝากให้ทุกท่านพิจารณาดูเอาเถิดว่า สิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยกับเขา ผมพูดจริงมั้ยล่ะ

…โดย วิญญูชนพึงพิจารณา

RotMaeThai.com รถเมล์ไทย.คอม

ขอบคุณ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=572547462816216&set=a.123450674392566.21701.119187461485554&type=1&ref=nf (ขนาดไฟล์: 0 )

( รถเมล์ไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ย.56 )

ที่มา: รถเมล์ไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 24/11/2556 เวลา 02:12:05 ดูภาพสไลด์โชว์   เพจรถเมล์ไทย ชวนวิเคราะห์ มุมต่าง   “รถเมล์ประชาชน ทุกคนใช้ได้ทุกคัน”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

มาตามที่เคยบอกเอาไว้ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ทำไมผมไม่เห็นด้วย กับแนวคิดสร้างแลมป์สำหรับรถวีลแชร์คนพิการที่ป้ายรถเมล์ของคนกลุ่มหนึ่ง ก่อนอื่น มาดูเหตุผลของต้นตำรับแนวคิดนี้ ทำไมเขาถึงนำเสนออย่างนี้ เริ่มแรกเขาเห็นข่าวลงเรื่องกลุ่มคนพิการ เรียกร้องเกี่ยวกับรถเมล์พื้นต่ำในรถร้อน ดังที่ได้เป็นข่าวเมื่อไม่นานนี้เอง พวกเราก็เห็นตำตาด้วย สำหรับผม ผมเห็นด้วยกับการใช้รถเมล์พื้นต่ำหรือกึ่งพื้นต่ำ ทุกคนได้ประโยชน์จากตรงนี่ ผมเข้าใจในเจตนาของเขา ที่ต้องการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในสิ่งที่กลุ่มคนพิการเรียกร้อง ให้ท่านรัฐมนตรีดู เขาโพสต์ลงบนหน้าเพจ รมต.ชัชชาติเมื่อ 31 ต.ค.56 ว่า "วิธีแก้ปัญหารถเมล์ให้รองรับคนพิการ โดยไม่ต้องซื้อรถเมล์พื้นต่ำ ทำทางลาดที่ป้ายรถเมล์ วิธีนี้จะทำให้รัฐได้รถเมล์พื้นสูงไว้ลุยน้ำท่วม ส่วนคนพิการก็ได้ทางลาด อำนวยความสะดวกเหมือนเดิมครับ" (ผมแคปหน้านั้นไว้แล้ว ไม่ต้องเข้าไปแก้หรอก) สื่อประชาสัมพันธ์ เพจรถเมล์ไทย ชวนวิเคราะห์ มุมต่าง “รถเมล์ประชาชน ทุกคนใช้ได้ทุกคัน”ผมอ่านแล้ว ผมไม่เห็นด้วยนะ แม้ว่าจะเป็นแนวที่คิดที่แก้ไขข้อเรียกร้องของกลุ่มคนพิการ เพื่อให้รัฐมีรถพื้นสูงลุยน้ำท่วมตามที่เขาให้เหตุผลข้างต้น ผมมีเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับเขาดังต่อไปนี้ครับ 1. ลักษณะทางกาย ภาพของฟุตบาทมีความ หลากหลาย มีทั้งกว้างทั้งแคบ ป้ายรถเมล์ที่ทางเท้าแคบๆ อย่างป้ายจรัญฯ 62 หรือไม่มีทางเท้าอย่าง ถ.ชักพระที่สาย 79 วิ่งผ่าน จะสร้างได้อย่างไร? 2. แน่ใจแล้วหรือว่าทางลาดที่ว่าจะไม่ไปบังประตูตึกแถว ร้านค้าที่อยู่บริเวณป้ายรถเมล์ 3. ทางลาดตรงนี้ เอาไว้เฉพาะคนพิการที่ใช้รถเข็นใช่หรือไม่? ส่วนคนทั่วไปก็ตะกายขึ้นบันไดรถเมล์พื้นสูง บันไดสองขั้นเหมือนเดิมใช่หรือไม่? ถ้าใช่...มันเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเอาเสียเลย เพราะมีสักกี่คนที่ใช้รถเข็นขึ้นแลมป์นี้ สู้ทำแป้นยกในรถเมล์พื้นต่ำไม่ดีกว่าหรือ ที่เปิดใช้เมื่อมีรถเข็นขึ้นมาบนรถเมล์ พอรถเข็นคนพิการไม่ได้ขึ้นรถ ก็พับเก็บไว้ในรถ แถมคนทั่วไป ก็ไม่ได้ใช้สอยแลมป์นี้ให้คุ้มค่าอีกต่างหาก ถ้าจะทำให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ควรทำทางลาด ทำชานชาลาแบบรถ BRT ยังจะดีกว่า ที่ทุกคนใช้ได้ แต่แล้วมันจะมีความยุ่งยากข้อต่อมา 4. ในเมื่อบอกว่ารถเมล์พื้นต่ำไม่ต้องซื้อ ใช้รถเมล์พื้นสูงนี่แหละ แล้วดัดแปลงประตูเอา ผมว่าแนวคิดของเขาไปได้มาจากรถเมล์สาย 39 ที่ใช้ลิฟต์ยกวีลแชร์ ซึ่งกลุ่มคนพิการคงได้เห็นแบบนั้นไปแล้ว เพียงแต่แนวคิดนี้ เปลี่ยนจากลิฟต์เป็นแป้นยกขนาดเล็กที่พาดระหว่างรถกับชานชาลาทางลาด ถามว่าจะเอางบที่ไหนมาดัดแปลงประตูรถให้เป็นแบบนั้น ยิ่งเป็นรถร่วม เขาจะให้ความร่วมมือตรงนี้รึเปล่า กล้าไหมที่จะเอาเงินไปสนับสนุนการดัดแปลงประตูแบบนั้น ใช้กับรถเมล์ทุกคัน ผมมองว่าสุดท้ายประชาชนก็ตะกายขึ้นรถเมล์พื้นสูงอยู่ดี จะบอกให้เอาบุญนะว่า รถยิ่งพื้นต่ำเท่าไหร่ เวลาในการก้าวขึ้นรถยิ่งน้อยลง และในอนาคตประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น รถเมล์พื้นต่ำยิ่งจำเป็นต่อคนสูงอายุในอนาคตข้างหน้าอีกด้วย (ซึ่งคนใน ขสมก. บางคน ก็ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับรถพื้นต่ำสักที และไม่ยอมรับรถพื้นต่ำ เพราะชอบรถพื้นเสมอกันทั้งคัน) 5. ป้ายรถเมล์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นคนดูแล กทม. ต้องสร้างทางลาดเหล่านี้ ประมาณ 2 พันกว่าป้ายทั่วกรุงเทพ แต่ประทานโทษ รถเมล์วิ่งไปในเขตปริมณฑลด้วย เทศบาล อบต. อบจ. ต้องสร้างด้วยนะ ไม่รู้ว่าปริมณฑลมีอีกกี่ป้าย ที่จะต้องสร้าง ถามว่าท้องถิ่นในเขตปริมณฑล ดูแลทางลาดได้ดีเท่า กทม. รึเปล่า? จะปล่อยให้ทางลาดมีหญ้าปกคลุมรึเปล่า 6. ทางลาดนี้ เหมือนฝนตกไม่ทั่วฟ้า ถ้าเอากันจริงๆ ใน กทม. บางป้ายไม่มีรถเมล์ผ่าน บางป้ายมีแค่สายเดียว แต่ไม่ใช่รถ ขสมก. เช่น ถ.สายไหม มีสาย 1009 คนพิการใช้ทางลาดตรงนี้ไม่ได้อยู่ดี ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องใช้ เสียเวลาสำรวจอีกว่าป้ายไหนมีรถเมล์ผ่าน ถึงจะสร้างทางลาดได้ เผลอๆ สร้างทางลาดที่ป้ายรถเมล์แล้วไม่มีคนใช้ จะว่าอย่างไร? พอออกไปชานเมือง ต้องมาดูอีกว่ามีรถเมล์สายไหนวิ่งมาถึงบ้าง ทำทางลาดสุดที่ป้ายไหน...โอย ดูวุ่นวายแท้ 7. มูลค่าการก่อสร้างทางลาด สูงกว่าลิฟต์ยกกับแป้นยก ทางลาดที่นึง เอาแบบอย่างดีตาม รพ. ในงานวิจัยชิ้นนึง บอกว่าใช้งบไป 2.38 แสนบาท แป้นยกแบบใช้คนยก ไม่มีกลไกไฟฟ้าตัวละ 3 หมื่น ลิฟต์ยกตัวละแสน คิดดูละกันว่าอันไหนลงทุนคุ้มกว่ากัน? 8. ทางลาดมันใช้ได้แต่รถเมล์ ส่วนรถตู้ แท็กซี่ รถเมล์ชานเมือง รถ บขส. ใช้ทางลาดไม่ได้ ในเมื่อใช้ไม่ได้ จะสร้างทำไมล่ะ เช่นทำลางลาดที่ปากน้ำ คนพิการบอกว่า กูนั่งสาย 102 142 508 511 536 ได้ แต่กูขึ้นสาย 365 1141 ไม่ได้ เพราะไม่มีประตูรองรับทางลาดนี้ 9. ปัญหาการจอดรถชิดป้าย ติดทางเท้า ยังทำกันไม่ได้ นับประสาอะไรกับการขับชิดทางลาด แน่นอนว่าเกิดช่องว่างระหว่างรถกับชานชาลาทางลาดที่มากกว่าปกติ จนรถเข็นไม่สามารถใช้บริการได้ ไหนจะจอดรถให้ตรงกับทางลาดอีก 10. แน่ใจนะว่าทางลาดไม่ไปกีดขวางคนอื่นที่ยืนรอรถเมล์หรือสัญจรบนทางเท้าหรือทางจักรยานบนฟุตบาท 11. ตามที่สมาชิกเพจท่านหนึ่งบอกมาว่าทางลาดแบบนี้ เข็นวีลแชร์เองอันตราย หากไม่มีใครมายืนรอรถเมล์ที่ป้ายเลย ผมขอเสริมว่า สุดท้ายรถเข็นต้องลงมารอหน้าทางลาเ เพื่อให้คนอื่นกรือคนขับเข็นขึ้นไป ซึ่งมันเสียเวลามาก 12. ทางลาดแบบนี้ เท่ากับลดโอกาส ลดทางเลือกในการขึ้นลงรถเมล์ของคนพิการ เพราะต้องลงตามจุดที่กำหนด ที่สร้างเอาไว้ ลงที่อื่นไม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นรถพื้นต่ำ เป็นการเปิดโอกาสให้คนพิการ มีโอกาสขึ้นลงรถได้สะดวกกว่าทางลาดแบบนี้ 13. เรื่องน้ำท่วมเนี่ย มันเป็นเรื่องของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริการจัดการน้ำ ส่วนรถเมล์มีหน้าที่วิ่งให้บริการผู้โดยสาร ถามว่าปีนึงน้ำท่วมกี่หน? แล้วพอน้ำท่วมสูงมากๆ เข้า รถเมล์วิ่งได้มั้ยล่ะ? 14. มั่นใจมากแค่ไหนว่าแนวคิดนี้จะได้ผลในทางปฏิบัติ? ผมดูแล้วเป็นไปได้ยาก ผมมี 14 ข้อ 14 เหตุผล ที่ว่าผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดภาพข้างบนนี้ ผมมองว่าไอ้ภาพล่างน่ะ มันเป็นไปได้มากที่สุด ผมเลยฝากให้ทุกท่านพิจารณาดูเอาเถิดว่า สิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยกับเขา ผมพูดจริงมั้ยล่ะ …โดย วิญญูชนพึงพิจารณา RotMaeThai.com รถเมล์ไทย.คอม ขอบคุณ… https://www.facebook.com/photo.php?fbid=572547462816216&set=a.123450674392566.21701.119187461485554&type=1&ref=nf ( รถเมล์ไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...