ขสมก.ยัน TOR6 รถร้อน NGV สู่การประกวดราคา โดยไม่ฟังเสียงเครือข่ายประชาชนฯ
เมื่อวานนี้ (29 ม.ค.57) นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้เชิญคณะคนพิการและสื่อมวลชนเข้าร่วมทดสอบการเดินรถโดยสารประจำทางแบบชานต่ำ ที่อู่บางเขน เขตการเดินทางที่1 โดยมีคนพิการกว่า 30 คน ร่วมทดสอบ ซึ่ง ขสมก.ได้จัดเตรียมรถเมล์แบบชานต่ำ (รถเมล์ไร้บันได) จำนวน 1 คัน และรถเมล์แบบพื้นสูงมีบันได 2 ขั้น ติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ จำนวน 1 คัน สำหรับวิ่งทดสอบตามจุดต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบว่ารถทั้งสองแบบมีปัญหาอุปสรรคในการเดินรถในสภาพถนนจริงหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะในจุดที่คาดว่าจะมีปัญหา เช่น พ้นผิวถนนไม่เรียบ คอสะพานลาดชัน ข้ามลูกระนาด หรือต้องวิ่งในถนนสายรองที่แคบเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำร่างทีโออาร์ต่อไป โดยการวิ่งทดสอบในวันนี้ ขสมก. มีการนำถุงทรายขึ้นไปถ่วงน้ำหนักบนรถด้วย เพื่อให้รถมีน้ำหนักใกล้เคียงกับการบรรทุกผู้โดยสาร จำนวน 60 คน หลังจากออกเดินทางจากอู่บางเขนไปถึงบริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 รถเมล์แบบชานต่ำคันที่ทดสอบเกิดถุงลมแตก เนื่องจากบรรทุกน้ำหนักเกิน ไม่สามารถวิ่งต่อได้และต้องหยุดทดสอบในที่สุด
นายนเรศ ได้กล่าวขอโทษคณะคนพิการและสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทดสอบทุกท่าน และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า จากการที่ ขสมก. ได้ทดสอบการเดินรถโดยสารประจำทางแบบชานต่ำบนถนนสายหลัก พบว่ารถเมล์ชานต่ำสามารถวิ่งให้บริการได้ไม่มีปัญหา แต่ในถนนสายรองในเส้นทางให้บริการของขสมก.บางจุด เช่น ที่สะพานข้ามคลองบางตลาด ถนนสามัคคี-ประชาชื่น สะพานข้ามคลองบางพูดถนนภายในเมืองทองธานี สะพานข้ามคลองก่อนเข้าสวนสยาม สะพานข้ามคลองปากทางเข้าวัดคู่สร้างทุ่งครุ สะพานเกษะโกมล ถนนพระราม 5 พบว่ารถเมล์ชานต่ำไม่สามารถวิ่งให้บริการได้ โดยท้องรถเมล์จะครูดไปกับคอสะพาน ดังนั้น ขสมก.จึงได้ข้อสรุปในการร่างทีโออาร์จัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน คือ ยืนยันกำหนดรูปแบบรถเมล์ปรับอากาศจำนวน 1,524 คัน เป็นรถแบบชานต่ำ ส่วนรถเมล์ธรรมดา 1,659 คัน จะเปิดกว้าง 2 แบบ คือ แบบแรกใครจะเสนอเป็นรถชานต่ำก็ได้โดยจะต้องมีทางลาดให้ผู้พิการใช้รถเข็นวีลแชร์ได้ หรือหากต้องการเสนอเป็นรถชานสูงจะต้องติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นวีลแชร์ให้ผู้พิการสามารถขึ้นใช้บริการได้ โดยในส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกประมาณ 2 แสนบาท ซึ่ง ขสมก.ยังยืนยันราคากลางรถโดยสารแบบธรรมดาที่มีลิฟต์ยก สำหรับผู้พิการยังยืนราคากลางเดิมที่ 3.8 ล้านบาท ส่วนรถที่เป็นรถโดยสารปรับอาการแบบชานต่ำสำหรับผู้พิการมีราคากลาง 4.5ล้านบาท โดย ขสมก.ก็จะกำหนดเส้นทางให้รถชานต่ำวิ่งในถนนสายหลักส่วนถนนสายรอง ที่ถนนมีความลาดชันมากนั้นก็จะใช้รถโดยสารแบบธรรมดาที่มีลิฟต์สำหรับผู้พิการแทน.
นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นคนพิการทางสายตา ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา ซึ่งเข้าร่วมทดสอบรถเมล์ชานต่ำ กล่าวว่า รู้สึกเสียดายที่การทดสอบการเดินรถโดยสารแบบชานต่ำบนถนนจริงในวันนี้ ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เพราะรถถุงลมแตกเสียก่อน ทำให้คณะคนพิการไม่ได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพถนนจริง และเสนอให้ดึงนักวิชาการเข้าร่วมทำการศึกษาวิจัยปัญหาอุปสรรคในการเดินรถเมล์แบบชานต่ำในสภาพถนนจริง เพื่อร่วมกันหาวิธีแก้ไขในจุดที่คาดว่าจะมีปัญหา นอกจากนี้ ตนยังยินดีรับที่จะประสานกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงพื้นผิวถนนบริเวณคอสะพานที่ลาดชันหรือทางเท้าบริเวณป้ายหยุดรถประจำทางให้เอื้อต่อการเดินรถโดยสารประจำทางแบบชานต่ำ และขอทำความเข้าใจกับสังคมอีกครั้งว่า คนพิการ ไม่ได้ต้องการรถเมล์สำหรับคนพิการ แต่ต้องการรถเมล์ที่ประชาชนทุกกลุ่มในสังคมสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ และกล่าวทิ้งท้ายว่า ถ้า ขสมก.จะให้เป็นรถเมล์แบบชานต่ำ ก็ต้องให้ทั้งหมด ถ้าไม่ให้ ก็ไม่ต้องให้เลย และให้ข้อเสนอแนะต่อกรณีนี้ว่า ปัญหาอยู่ที่ถนน/คอสะพาน ก็ให้แก้ที่ถนน/คอสะพาน ไม่ใช่ กลับไปใช้รถเมล์แบบพื้นสูงติดลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ เพราะคนพิการไม่ต้องการตกเป็นจำเลของสังคม
นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายประชาชน ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ได้ตั้งข้อสังเกตต่อการทดสอบรถเมล์ชานต่ำของ ขสมก. ในวันนี้ว่า รถเมล์ชานต่ำที่ ขสมก. เช่าจากเอกชนมาทดลองวิ่งเป็นรถชานต่ำ ที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ และ ขสมก.มีการนำถุงทรายไปถ่วงน้ำหนักไว้บนรถจำนวนมาก เมื่อรวมกับน้ำหนักตัวรถกว่า 12 ตัน กับ น้ำหนักผู้โดยสารพิการที่นั่งรถวีลแชร์กับคณะสื่อมวลชนเกือบ 40 คน จึงทำให้รถเมล์รับน้ำหนักไม่ไหว เส้นทางเดินรถที่ ขสมก. กำหนดในวันนี้ เป็นเส้นทางสายรอง ที่ ขสมก.นำรถไปทดลองวิ่งแล้วมีปัญหา เนื่องจากท้องรถเมล์จะติดคอสะพานนั้น ก็เป็นปัญหาเฉพาะจุดที่ต้องแก้ไขกันต่อไป โดยส่วนใหญ่เป็นถนนเข้าหมู่บ้านจัดสรรของเอกชนหรือการเคหะแห่งชาติ ซึ่งยังไม่ได้ปรับปรุงพ้นผิวบริเวณคอสะพานให้เหมาะกับการเดินรถโดยสารประจำทาง ในขณะที่ถนนสายหลักรถเมล์แบบชานต่ำสามารถวิ่งได้ตามปกติ เป็นการเอาปัญหาอันน้อยนิดและสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่น มาอ้างเพื่อจะหาทางย้อนกลับไปเอารถพื้นสูงให้ได้ ดังนั้น หาก ขสมก. จะเดินหน้าออกร่างทีโออาร์ 6 เพื่อเข้าสู่การประกวดราคาจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน โดยไม่คำนึงถึงข้อเรียกร้องของเครือข่ายฯ ก็คงต้องพึ่งศาลปกครองต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คลิก http://www.tddf.or.th/uploadedfiles/2014-01-30__329__.doc (ขนาดไฟล์: 340992)
ขอบคุณ...นายธีรยุทธ สุคนธวิท ประธานศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการ จังหวัดนนทบุรี
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คนพิการนั่งรถเข็นทดสอบใช้บริการรถเมล์สาธารณะแบบติดตั้งลิฟต์ยกรถ เมื่อวานนี้ (29 ม.ค.57) นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้เชิญคณะคนพิการและสื่อมวลชนเข้าร่วมทดสอบการเดินรถโดยสารประจำทางแบบชานต่ำ ที่อู่บางเขน เขตการเดินทางที่1 โดยมีคนพิการกว่า 30 คน ร่วมทดสอบ ซึ่ง ขสมก.ได้จัดเตรียมรถเมล์แบบชานต่ำ (รถเมล์ไร้บันได) จำนวน 1 คัน และรถเมล์แบบพื้นสูงมีบันได 2 ขั้น ติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ จำนวน 1 คัน สำหรับวิ่งทดสอบตามจุดต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบว่ารถทั้งสองแบบมีปัญหาอุปสรรคในการเดินรถในสภาพถนนจริงหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะในจุดที่คาดว่าจะมีปัญหา เช่น พ้นผิวถนนไม่เรียบ คอสะพานลาดชัน ข้ามลูกระนาด หรือต้องวิ่งในถนนสายรองที่แคบเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำร่างทีโออาร์ต่อไป โดยการวิ่งทดสอบในวันนี้ ขสมก. มีการนำถุงทรายขึ้นไปถ่วงน้ำหนักบนรถด้วย เพื่อให้รถมีน้ำหนักใกล้เคียงกับการบรรทุกผู้โดยสาร จำนวน 60 คน หลังจากออกเดินทางจากอู่บางเขนไปถึงบริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 รถเมล์แบบชานต่ำคันที่ทดสอบเกิดถุงลมแตก เนื่องจากบรรทุกน้ำหนักเกิน ไม่สามารถวิ่งต่อได้และต้องหยุดทดสอบในที่สุด นายนเรศ ได้กล่าวขอโทษคณะคนพิการและสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทดสอบทุกท่าน และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า จากการที่ ขสมก. ได้ทดสอบการเดินรถโดยสารประจำทางแบบชานต่ำบนถนนสายหลัก พบว่ารถเมล์ชานต่ำสามารถวิ่งให้บริการได้ไม่มีปัญหา แต่ในถนนสายรองในเส้นทางให้บริการของขสมก.บางจุด เช่น ที่สะพานข้ามคลองบางตลาด ถนนสามัคคี-ประชาชื่น สะพานข้ามคลองบางพูดถนนภายในเมืองทองธานี สะพานข้ามคลองก่อนเข้าสวนสยาม สะพานข้ามคลองปากทางเข้าวัดคู่สร้างทุ่งครุ สะพานเกษะโกมล ถนนพระราม 5 พบว่ารถเมล์ชานต่ำไม่สามารถวิ่งให้บริการได้ โดยท้องรถเมล์จะครูดไปกับคอสะพาน ดังนั้น ขสมก.จึงได้ข้อสรุปในการร่างทีโออาร์จัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน คือ ยืนยันกำหนดรูปแบบรถเมล์ปรับอากาศจำนวน 1,524 คัน เป็นรถแบบชานต่ำ ส่วนรถเมล์ธรรมดา 1,659 คัน จะเปิดกว้าง 2 แบบ คือ แบบแรกใครจะเสนอเป็นรถชานต่ำก็ได้โดยจะต้องมีทางลาดให้ผู้พิการใช้รถเข็นวีลแชร์ได้ หรือหากต้องการเสนอเป็นรถชานสูงจะต้องติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นวีลแชร์ให้ผู้พิการสามารถขึ้นใช้บริการได้ โดยในส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกประมาณ 2 แสนบาท ซึ่ง ขสมก.ยังยืนยันราคากลางรถโดยสารแบบธรรมดาที่มีลิฟต์ยก สำหรับผู้พิการยังยืนราคากลางเดิมที่ 3.8 ล้านบาท ส่วนรถที่เป็นรถโดยสารปรับอาการแบบชานต่ำสำหรับผู้พิการมีราคากลาง 4.5ล้านบาท โดย ขสมก.ก็จะกำหนดเส้นทางให้รถชานต่ำวิ่งในถนนสายหลักส่วนถนนสายรอง ที่ถนนมีความลาดชันมากนั้นก็จะใช้รถโดยสารแบบธรรมดาที่มีลิฟต์สำหรับผู้พิการแทน. นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นคนพิการทางสายตา ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา ซึ่งเข้าร่วมทดสอบรถเมล์ชานต่ำ กล่าวว่า รู้สึกเสียดายที่การทดสอบการเดินรถโดยสารแบบชานต่ำบนถนนจริงในวันนี้ ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เพราะรถถุงลมแตกเสียก่อน ทำให้คณะคนพิการไม่ได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพถนนจริง และเสนอให้ดึงนักวิชาการเข้าร่วมทำการศึกษาวิจัยปัญหาอุปสรรคในการเดินรถเมล์แบบชานต่ำในสภาพถนนจริง เพื่อร่วมกันหาวิธีแก้ไขในจุดที่คาดว่าจะมีปัญหา นอกจากนี้ ตนยังยินดีรับที่จะประสานกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงพื้นผิวถนนบริเวณคอสะพานที่ลาดชันหรือทางเท้าบริเวณป้ายหยุดรถประจำทางให้เอื้อต่อการเดินรถโดยสารประจำทางแบบชานต่ำ และขอทำความเข้าใจกับสังคมอีกครั้งว่า คนพิการ ไม่ได้ต้องการรถเมล์สำหรับคนพิการ แต่ต้องการรถเมล์ที่ประชาชนทุกกลุ่มในสังคมสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ และกล่าวทิ้งท้ายว่า ถ้า ขสมก.จะให้เป็นรถเมล์แบบชานต่ำ ก็ต้องให้ทั้งหมด ถ้าไม่ให้ ก็ไม่ต้องให้เลย และให้ข้อเสนอแนะต่อกรณีนี้ว่า ปัญหาอยู่ที่ถนน/คอสะพาน ก็ให้แก้ที่ถนน/คอสะพาน ไม่ใช่ กลับไปใช้รถเมล์แบบพื้นสูงติดลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ เพราะคนพิการไม่ต้องการตกเป็นจำเลของสังคม นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายประชาชน ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ได้ตั้งข้อสังเกตต่อการทดสอบรถเมล์ชานต่ำของ ขสมก. ในวันนี้ว่า รถเมล์ชานต่ำที่ ขสมก. เช่าจากเอกชนมาทดลองวิ่งเป็นรถชานต่ำ ที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ และ ขสมก.มีการนำถุงทรายไปถ่วงน้ำหนักไว้บนรถจำนวนมาก เมื่อรวมกับน้ำหนักตัวรถกว่า 12 ตัน กับ น้ำหนักผู้โดยสารพิการที่นั่งรถวีลแชร์กับคณะสื่อมวลชนเกือบ 40 คน จึงทำให้รถเมล์รับน้ำหนักไม่ไหว เส้นทางเดินรถที่ ขสมก. กำหนดในวันนี้ เป็นเส้นทางสายรอง ที่ ขสมก.นำรถไปทดลองวิ่งแล้วมีปัญหา เนื่องจากท้องรถเมล์จะติดคอสะพานนั้น ก็เป็นปัญหาเฉพาะจุดที่ต้องแก้ไขกันต่อไป โดยส่วนใหญ่เป็นถนนเข้าหมู่บ้านจัดสรรของเอกชนหรือการเคหะแห่งชาติ ซึ่งยังไม่ได้ปรับปรุงพ้นผิวบริเวณคอสะพานให้เหมาะกับการเดินรถโดยสารประจำทาง ในขณะที่ถนนสายหลักรถเมล์แบบชานต่ำสามารถวิ่งได้ตามปกติ เป็นการเอาปัญหาอันน้อยนิดและสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่น มาอ้างเพื่อจะหาทางย้อนกลับไปเอารถพื้นสูงให้ได้ ดังนั้น หาก ขสมก. จะเดินหน้าออกร่างทีโออาร์ 6 เพื่อเข้าสู่การประกวดราคาจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน โดยไม่คำนึงถึงข้อเรียกร้องของเครือข่ายฯ ก็คงต้องพึ่งศาลปกครองต่อไป อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คลิก http://www.tddf.or.th/uploadedfiles/2014-01-30__329__.doc ขอบคุณ...นายธีรยุทธ สุคนธวิท ประธานศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการ จังหวัดนนทบุรี
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)