คนพิการร้อง กทม.ปรับคอสะพาน-พื้นถนนรองรับรถเมล์ชานต่ำ
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางชนิศฎ์สรฐ์ สืบสังข์ ผู้ช่วยปลัดกทม. รับฟังข้อเสนอจากกลุ่มคนพิการเรียกร้องรถเมล์อารยสถาปัตย์ใน กทม. นำโดย นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนขึ้นได้ทุกคัน และนายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการ จ.นนทบุรี เกี่ยวกับการขอให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงคอสะพานเพื่อให้รถเมล์ที่อำนวยความสะดวกแก่ทุกคนผ่านได้
เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำมาใช้เป็นเหตุผลในการนำรถเมล์แบบมีบันได และติดลิฟต์ยกเก้าอี้เข็นแทนระบบรถเมล์แบบไร้บันได หรือ ชานต่ำ จากการสำรวจของ ขสมก. พบว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 11 จุด ที่ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อหรือคอสะพานไม่มีความลาดชัน ทำให้รถเมล์แบบชานต่ำต้องสะดุดเมื่อวิ่งผ่านประกอบด้วย 1.เส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าบนถนนเพชรเกษม 2.สะพานข้ามคลองสามัคคีหน้าสถานีบริการธารทิพย์ 3.เส้นทางข้ามคลอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (แจ้งวัฒนะ) 4.ถนนประชาชื่นตัดถนนสามัคคี 5.ถนนยกระดับในถนนฟาร์มจระเข้ 6.บริเวณทางเลี้ยวซ้ายแยกดินแดง ถนนพระราม 9 7.สะพานคลองบางซื่อย่านสะพานควาย 8.สะพานคลองซุง ใต้สะพานพระราม 5 9.ถนนทหาร สะพานแดง บางซื่อ 10.คลองวัดสะพานสูง ถนนสามเสน บางลำพู และ 11.สะพานบนถนน กรุงเทพกรีฑา ตัดถนนลาดกระบัง
นายอุดมโชคกล่าวว่า กลุ่มคนพิการเรียกร้องรถเมล์อารยสถาปัตย์ใน กทม. เดินทางเข้าพบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริบัตร ผู้ว่าฯกทม. เพื่อขอให้ กทม.พิจารณาปรับปรุงคอสะพาน รวมถึงถนนที่ชำรุดตามที่ ขสมก.ได้ทำการสำรวจ 11 จุด โดยขอให้ กทม. ดำเนินการปรับปรุงนำร่องอย่างน้อย 1 แห่ง ภายในวันที่ 15 มีนาคม เพื่อทางกลุ่มฯ จะได้นำไปเสนอต่อ ขสมก.ในการพิจารณาการจัดซื้อรถเมล์แบบชานต่ำ มีทางลาด ไม่ต้องติดลิฟต์ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยใช้บริการได้สะดวก ปลอดภัย ก่อนที่ ขสมก.จะเปิดประมูลโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน มูลค่า 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรถร้อน 1,659 คัน รถ ปอ. 1,542 คัน โดยรถ ปอ.เป็นแบบชานต่ำ แต่ปัญหาคือ รถเมล์ร้อน ที่ ขสมก.อ้างว่าติดคอสะพานใน กทม. จึงจำเป็นต้องใช้รถเมล์แบบมีบันไดและติดลิฟต์ยกเก้าอี้เข็นแทน ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่าค่าใช้จ่ายสูงและการดูแลรักษายุ่งยาก
"ขอให้ กทม.แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมโดยมีผู้เกี่ยวข้อง อาทิ กทม. ขสมก. สมาชิกกลุ่มคนพิการเรียกร้องรถเมล์อารยสถาปัตย์ใน กทม. เพื่อร่วมกันทำงานสำรวจ แก้ไข ปรับปรุงเส้นทางต่างๆ ผลักดันให้ทุกเส้นทางสะดวก ปลอดภัย สำหรับทุกคนและทุกเพศวัย" นายอุดมโชคกล่าว
ด้านนางชนิศฎ์สรฐ์กล่าวว่า ในเบื้องต้นเห็นว่าไม่น่ามีปัญหาเนื่องจากผู้บริหาร กทม.มีนโยบายให้กรุงเทพฯเป็นเมืองแห่งโอกาสของทุกคน โดย 11 จุดที่ ขสมก.สำรวจมานั้น มีเพียง 6 จุด ที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ กทม.จึงได้มอบหมายให้ผู้ดูแลงานด้านวิศวกรรมโยธาลงพื้นที่เพื่อสำรวจโครงสร้างของถนนให้มีความสัมพันธ์กับรูปแบบของรถรถเมล์แบบชานต่ำ และจะเร่งนำข้อเสนอของกลุ่มฯ ไปรายงานต่อนายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯกทม. ซึ่งดูแลงานด้านการโยธาเพื่อนำเสนอผู้ว่าฯกทม.พิจารณาในระดับนโยบายต่อไป
( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โลโก้กรุงเทพมหานคร ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์ที่ทุกคนขึ้นได้ทุกคัน และโลโก้ ขสมก. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางชนิศฎ์สรฐ์ สืบสังข์ ผู้ช่วยปลัดกทม. รับฟังข้อเสนอจากกลุ่มคนพิการเรียกร้องรถเมล์อารยสถาปัตย์ใน กทม. นำโดย นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนขึ้นได้ทุกคัน และนายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการ จ.นนทบุรี เกี่ยวกับการขอให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงคอสะพานเพื่อให้รถเมล์ที่อำนวยความสะดวกแก่ทุกคนผ่านได้ นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนขึ้นได้ทุกคัน เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำมาใช้เป็นเหตุผลในการนำรถเมล์แบบมีบันได และติดลิฟต์ยกเก้าอี้เข็นแทนระบบรถเมล์แบบไร้บันได หรือ ชานต่ำ จากการสำรวจของ ขสมก. พบว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 11 จุด ที่ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อหรือคอสะพานไม่มีความลาดชัน ทำให้รถเมล์แบบชานต่ำต้องสะดุดเมื่อวิ่งผ่านประกอบด้วย 1.เส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าบนถนนเพชรเกษม 2.สะพานข้ามคลองสามัคคีหน้าสถานีบริการธารทิพย์ 3.เส้นทางข้ามคลอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (แจ้งวัฒนะ) 4.ถนนประชาชื่นตัดถนนสามัคคี 5.ถนนยกระดับในถนนฟาร์มจระเข้ 6.บริเวณทางเลี้ยวซ้ายแยกดินแดง ถนนพระราม 9 7.สะพานคลองบางซื่อย่านสะพานควาย 8.สะพานคลองซุง ใต้สะพานพระราม 5 9.ถนนทหาร สะพานแดง บางซื่อ 10.คลองวัดสะพานสูง ถนนสามเสน บางลำพู และ 11.สะพานบนถนน กรุงเทพกรีฑา ตัดถนนลาดกระบัง นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการ จ.นนทบุรี นายอุดมโชคกล่าวว่า กลุ่มคนพิการเรียกร้องรถเมล์อารยสถาปัตย์ใน กทม. เดินทางเข้าพบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริบัตร ผู้ว่าฯกทม. เพื่อขอให้ กทม.พิจารณาปรับปรุงคอสะพาน รวมถึงถนนที่ชำรุดตามที่ ขสมก.ได้ทำการสำรวจ 11 จุด โดยขอให้ กทม. ดำเนินการปรับปรุงนำร่องอย่างน้อย 1 แห่ง ภายในวันที่ 15 มีนาคม เพื่อทางกลุ่มฯ จะได้นำไปเสนอต่อ ขสมก.ในการพิจารณาการจัดซื้อรถเมล์แบบชานต่ำ มีทางลาด ไม่ต้องติดลิฟต์ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยใช้บริการได้สะดวก ปลอดภัย ก่อนที่ ขสมก.จะเปิดประมูลโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน มูลค่า 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรถร้อน 1,659 คัน รถ ปอ. 1,542 คัน โดยรถ ปอ.เป็นแบบชานต่ำ แต่ปัญหาคือ รถเมล์ร้อน ที่ ขสมก.อ้างว่าติดคอสะพานใน กทม. จึงจำเป็นต้องใช้รถเมล์แบบมีบันไดและติดลิฟต์ยกเก้าอี้เข็นแทน ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่าค่าใช้จ่ายสูงและการดูแลรักษายุ่งยาก "ขอให้ กทม.แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมโดยมีผู้เกี่ยวข้อง อาทิ กทม. ขสมก. สมาชิกกลุ่มคนพิการเรียกร้องรถเมล์อารยสถาปัตย์ใน กทม. เพื่อร่วมกันทำงานสำรวจ แก้ไข ปรับปรุงเส้นทางต่างๆ ผลักดันให้ทุกเส้นทางสะดวก ปลอดภัย สำหรับทุกคนและทุกเพศวัย" นายอุดมโชคกล่าว ภาพวาดการ์ตูนรถเมล์เพื่อทุกคน ด้านนางชนิศฎ์สรฐ์กล่าวว่า ในเบื้องต้นเห็นว่าไม่น่ามีปัญหาเนื่องจากผู้บริหาร กทม.มีนโยบายให้กรุงเทพฯเป็นเมืองแห่งโอกาสของทุกคน โดย 11 จุดที่ ขสมก.สำรวจมานั้น มีเพียง 6 จุด ที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ กทม.จึงได้มอบหมายให้ผู้ดูแลงานด้านวิศวกรรมโยธาลงพื้นที่เพื่อสำรวจโครงสร้างของถนนให้มีความสัมพันธ์กับรูปแบบของรถรถเมล์แบบชานต่ำ และจะเร่งนำข้อเสนอของกลุ่มฯ ไปรายงานต่อนายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯกทม. ซึ่งดูแลงานด้านการโยธาเพื่อนำเสนอผู้ว่าฯกทม.พิจารณาในระดับนโยบายต่อไป ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1392974623&grpid=03&catid=&subcatid= ( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)