เจ๋ง! มศว สร้างเครื่องดนตรีไทยสำหรับเด็กพิเศษช่วยเสริมพัฒนาการ
นางสาวเทพิกา รอดสการ อาจารย์สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า จากงานวิจัยระดับปริญญาเอกในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการสร้างสรรค์ชุดอุปกรณ์ดนตรีแบบประสมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญา โดยได้แรงบันดาลใจมาจากมีโอกาสได้ไปจัดกิจกรรมให้เด็กที่โรงเรียนปัญญาวุฒิ กร อยู่ในการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมป์ เมื่อเข้าไปจัดกิจกรรมพบว่า เครื่องดนตรีไทย และเครื่องดนตรีจากต่างประเทศที่นำเข้ามาจัดกิจกรรมมีข้อจำกัด โดยขนาดของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นใหญ่เกินตัวเด็ก และเด็กในกลุ่มนี้มีข้อจำกัดทางด้านเรียนรู้ หากเจอลูกระนาดที่มีขนาดใหญ่ ลูกระนาดมีจำนวนตัวโน๊ตเยอะ เด็กจำไม่ได้ ส่วนซอที่เล่นกันก็มีขนาดใหญ่เกินไปที่เด็กจะใช้แรงกดได้ มันยากเกินไปที่เด็กจะใช้แรงกด จากปัญหานี้ทำให้อยากทำเครื่องดนตรีขึ้นมาสักชุดเพื่อให้เด็กที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญามีโอกาสได้เล่นดนตรี เพราะดนตรี ช่วยส่งเสริม พัฒนาศักยภาพและสติปัญญาของเด็กได้
“เครื่องดนตรีที่คิดขึ้นมานี้ พัฒนามาจากเครื่องดนตรีไทย เนื่องจากตัวเองเรียนดนตรีไทยมา เครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นให้เด็กๆ นั้นเป็นประเภท เครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า และเพิ่มเครื่องดนตรีเขย่า และใช้วิธีกดปุ่มต่างๆ เข้ามา นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดเรื่องของเล่นเข้ามาประกอบการสร้างชุดดนตรี มีผู้เล่นประกอบวงดนตรีทั้งสิ้น 18 คน เครื่องดนตรีเน้นสีสันสดใส ดึงดูดความสนใจของเด็ก พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ความสัมพันธ์ระหว่างแขนซ้ายแขนขวาและสมอง นอกจากนี้ได้แต่งเพลงใหม่ขึ้นมา 4 เพลงเพื่อให้เด็กๆ ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้ร่วมกันเล่น จะบรรเลงเพลงเดี่ยวหรือเล่นประกอบวงทั้ง 18 คน ได้การแต่งเพลงเพื่อให้เด็กกลุ่มนี้เล่นจะใช้หลักการแต่งเพลงไทย สำเนียงเพลงเป็นเพลงไทย ใช้โน้ตซ้ำๆ ย้ำๆ เพื่อให้เด็กจำ โน้ตเพลงได้ เด็กที่อยู่ในกลุ่มการวิจัยต้องมีไอคิวประมาณ 50-70 มีอายุประมาณ 8-10 ขวบ ซึ่งอายุของเด็กกลุ่มนี้จะเทียบเท่ากับเด็กวัย 4 - 5 ขวบในกลุ่มเด็กปกติ” นางสาวเทพิกา กล่าว
นางสาวเทพิกา กล่าวอีกว่า ประโยชน์ ของงานวิจัยหวังไว้ว่าอยากให้ความรู้ด้านดนตรีไทยลงไปสู่การเรียนการสอนใน กลุ่มเด็กพิเศษ ซึ่งงานวิจัยนี้เน้นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เพราะดนตรีสามารถพัฒนาเด็กๆ ได้ครบส่วนไม่ว่าจะด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ตลอดถึงประโยชน์ด้านดนตรีไทยที่นำมาใช้กับเด็กยังมีน้อยมาก โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ยังมีให้เห็นน้อยมาก ในวันที่ อังคาร 25 กุมภาพันธ์ 2557 จะมีงานเสนอผลงานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์ชุดอุปกรณ์ดนตรีแบบประสมสำหรับ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จัดขึ้น ที่ มศว ประสานมิตร ณอาคารนวัตกรรมศ.ดร.สาโรช บัวศรี (ชั้น 5)
ขอบคุณ http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000022237 (ขนาดไฟล์: 164)
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นางสาวเทพิกา รอดสการ อาจารย์สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า จากงานวิจัยระดับปริญญาเอกในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการสร้างสรรค์ชุดอุปกรณ์ดนตรีแบบประสมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญา โดยได้แรงบันดาลใจมาจากมีโอกาสได้ไปจัดกิจกรรมให้เด็กที่โรงเรียนปัญญาวุฒิ กร อยู่ในการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมป์ เมื่อเข้าไปจัดกิจกรรมพบว่า เครื่องดนตรีไทย และเครื่องดนตรีจากต่างประเทศที่นำเข้ามาจัดกิจกรรมมีข้อจำกัด โดยขนาดของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นใหญ่เกินตัวเด็ก และเด็กในกลุ่มนี้มีข้อจำกัดทางด้านเรียนรู้ หากเจอลูกระนาดที่มีขนาดใหญ่ ลูกระนาดมีจำนวนตัวโน๊ตเยอะ เด็กจำไม่ได้ ส่วนซอที่เล่นกันก็มีขนาดใหญ่เกินไปที่เด็กจะใช้แรงกดได้ มันยากเกินไปที่เด็กจะใช้แรงกด จากปัญหานี้ทำให้อยากทำเครื่องดนตรีขึ้นมาสักชุดเพื่อให้เด็กที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญามีโอกาสได้เล่นดนตรี เพราะดนตรี ช่วยส่งเสริม พัฒนาศักยภาพและสติปัญญาของเด็กได้ “เครื่องดนตรีที่คิดขึ้นมานี้ พัฒนามาจากเครื่องดนตรีไทย เนื่องจากตัวเองเรียนดนตรีไทยมา เครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นให้เด็กๆ นั้นเป็นประเภท เครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า และเพิ่มเครื่องดนตรีเขย่า และใช้วิธีกดปุ่มต่างๆ เข้ามา นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดเรื่องของเล่นเข้ามาประกอบการสร้างชุดดนตรี มีผู้เล่นประกอบวงดนตรีทั้งสิ้น 18 คน เครื่องดนตรีเน้นสีสันสดใส ดึงดูดความสนใจของเด็ก พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ความสัมพันธ์ระหว่างแขนซ้ายแขนขวาและสมอง นอกจากนี้ได้แต่งเพลงใหม่ขึ้นมา 4 เพลงเพื่อให้เด็กๆ ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้ร่วมกันเล่น จะบรรเลงเพลงเดี่ยวหรือเล่นประกอบวงทั้ง 18 คน ได้การแต่งเพลงเพื่อให้เด็กกลุ่มนี้เล่นจะใช้หลักการแต่งเพลงไทย สำเนียงเพลงเป็นเพลงไทย ใช้โน้ตซ้ำๆ ย้ำๆ เพื่อให้เด็กจำ โน้ตเพลงได้ เด็กที่อยู่ในกลุ่มการวิจัยต้องมีไอคิวประมาณ 50-70 มีอายุประมาณ 8-10 ขวบ ซึ่งอายุของเด็กกลุ่มนี้จะเทียบเท่ากับเด็กวัย 4 - 5 ขวบในกลุ่มเด็กปกติ” นางสาวเทพิกา กล่าว นางสาวเทพิกา กล่าวอีกว่า ประโยชน์ ของงานวิจัยหวังไว้ว่าอยากให้ความรู้ด้านดนตรีไทยลงไปสู่การเรียนการสอนใน กลุ่มเด็กพิเศษ ซึ่งงานวิจัยนี้เน้นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เพราะดนตรีสามารถพัฒนาเด็กๆ ได้ครบส่วนไม่ว่าจะด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ตลอดถึงประโยชน์ด้านดนตรีไทยที่นำมาใช้กับเด็กยังมีน้อยมาก โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ยังมีให้เห็นน้อยมาก ในวันที่ อังคาร 25 กุมภาพันธ์ 2557 จะมีงานเสนอผลงานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์ชุดอุปกรณ์ดนตรีแบบประสมสำหรับ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จัดขึ้น ที่ มศว ประสานมิตร ณอาคารนวัตกรรมศ.ดร.สาโรช บัวศรี (ชั้น 5) ขอบคุณ http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000022237 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)