แอพพลิเคชั่น'Autistic'สื่อเรียนรู้ยุคไอที ตอบโจทย์พัฒนาการเพื่อเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

ภาพ โลโก้true

สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางสำคัญของเด็กๆ ทุกคนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กพิเศษ ในเด็กปกติการกระตุ้นพัฒนาการด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตอบสนองได้ แต่สำหรับเด็กพิการซึ่งมีความบกพร่อง พัฒนาการและศักยภาพไม่เป็นไปตามวัย ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อต่างๆ มาประกอบการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสนใจ และส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิต ประจำวัน

เด็กออทิสติกหรือเด็กพิเศษ เป็นบุคคลซึ่งมีปัญหาด้านการสื่อสาร สังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ในประเทศไทยมีบุคคลผู้เป็นออทิสติกเกือบ 400,000 คน ในการดูแลคนกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่เพียงแค่การยอมรับ แต่จะต้องเข้าใจปัญหาของเด็ก และพยายามอดทนอย่างหนักที่จะฝึกเด็กให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปด้วยกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ภาพ นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย

ปัจจุบัน ทรู คอร์ปอเรชั่น และมูลนิธิออทิสติกไทย ได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น "Autistic Application" ขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ และส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติกหรือเด็กพิเศษ รวมทั้งจัดโครงการส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครอง ครูและอาสาสมัคร ในการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษ เพื่อให้ความรู้ การฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน และการใช้ Application เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติก แก่สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม (ไทย) ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ

ภาพ โลโก้มูลนิธิออทิสติกไทย

นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวว่า โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออติสติกและเด็กพิเศษ หรือแอพพลิเคชั่นออทิสติก (Autistic Application ) ได้รับการพัฒนาโดยทรู คอร์ปอเรชั่น เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาของเด็กพิเศษ อีกทั้งสื่อการเรียนรู้โดยเฉพาะการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับเด็กพิเศษใน ประเทศไทยยังไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่ในต่างประเทศมีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทแท็บเล็ตมาช่วยในการ เรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติกอย่างแพร่หลาย จึงทำการพัฒนาเกิดเป็นแอพพิเคชั่นที่ใช้งานผ่านแท็บเล็ตสำหรับเด็กพิเศษขึ้น มา

โดยขณะนี้แอพพลิเคชั่นถูกพัฒนาออกมา 3 ตัว คือ Daily Tasks, Trace & Share และ Communications สำหรับ Daily Tasks เป็นแอพพลิเคชั่นสอนใช้ชีวิตประจำวัน อย่างการอาบน้ำ แปรงฟัน สระผม โดยยกสถานการณ์ตัวอย่างคล้ายๆ กันมา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซ้ำๆ เช่น การที่เด็กในเกมกินแตงโมก็ต้องมาแปรงฟัน กินข้าวแล้วก็ต้องมาแปรงฟัน เป็นต้น เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ด้านการแปรงฟัน วิธีแปรงฟัน เป็นการส่งเสริมให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพ่อแม่

ภาพ หน้าจอแอพพลิเคชั่นDaily Tasks

Trace & Share เป็นแอพพลิเคชั่นที่ส่งเสริมการใช้นิ้วมือ ใช้ลีลามือ จะมีตัวการ์ตูนและช่อง ให้ผู้เล่นลากพาตัวการ์ตูนไปตามช่องให้ถึงจุดหมาย เมื่อทำภารกิจสำเร็จก็จะมีสัญลักษณ์รูปมือขึ้นมา ให้ผู้เล่นแบ่งให้คนข้างๆ เล่นด้วย เป็นการสอนเรื่องการแบ่งปัน รวมทั้งเป็นการฝึกให้เด็กใช้สัมผัสกล้ามเนื้อมือ ฝึกสมาธิ Communications เป็นแอพพลิเคชั่น ที่ส่งเสริมการใช้ภาษา ด้วยการมีช่อง 3 ช่องที่มีรูปช่องแรกแทนตัวเด็ก ช่องที่สองแทนกริยา และช่องที่สามแทนสิ่งที่เป็นกรรม เมื่อเลือกครบสามสิ่ง กดใช้โปรแกรมจะมีเสียงคำอ่านขึ้นมาให้ผู้เล่นออกเสียงตาม หรือใช้สื่อสารกับบุคคลรอบข้างได้ แอพนี้จะช่วยให้เด็กมีการสื่อสารกับเราให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งจากการทดลองนำแอพทั้ง 3 ไปทดลองใช้กับเด็กพิเศษพบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้และการสื่อสารที่ ดีขึ้น

ความแตกต่างและความเหมือนสำหรับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ในเด็กพิเศษ กับเด็กปกติก็คือ ความละเอียดของการสัมผัสบนแอพเพราะเด็กปกติที่มีกำลังกล้ามเนื้อ ในการสัมผัสย่อมเป็นปกติ แต่กับเด็กพิเศษบางคนก็ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือให้ออกแรง จังหวะในการลากนิ้วได้ ทางแอพจึงออกแบบให้สามารถตอบสนองต่อน้ำหนักมือได้ไวยิ่งขึ้น ส่วนความเหมือนของแอพเพื่อการเรียนรู้ก็คือ การออกแบบให้มีสีสันสวยงาม ดนตรีไพเราะดึงดูดให้เด็กเล่น และสื่อด้วยรูปภาพที่เข้าใจได้ง่าย เรียนรู้ที่จะเล่นและปฏิบัติตาม

ภาพ เด็กออทิสติกเล่นแท็ปเล็ตแอพพลิเคชั่น'Autistic'

ส่วนโครงการส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครอง ครูและอาสาสมัคร ในการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษ เพื่อให้ความรู้ การฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน และการใช้ True Application เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เด็กและบุคคลออทิสติก แก่สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม (ไทย) ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก จ.เชียงราย ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี จ.ชลบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ จ.นครราชสีมา ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช จ.ภูเก็ต ที่จะจัดนำร่องในเดือนมีนาคมนั้น เพราะเราเล็งเห็นว่าการใช้แอพเรียนรู้ต้องใช้ให้ถูกวิธี และต้องควบคู่กับการใช้สื่อทั่วไปด้วย โดยเฉพาะสื่อของจริงไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ คน สัตว์ สถานที่ ซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และแอพพลิเคชั่นนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการในเบื้องต้นเท่า นั้น

สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่วิตกในเรื่องไม่มีแท็บเล็ต และไม่มีกำลังซื้อ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทยบอกว่า ทาง พ.ร.บ.ของคนพิการสามารถมีสิทธิในการเข้าถึงเครื่องมือที่เป็นสาธารณะ ดังนั้นจึงสามารถขอยืมแท็บเล็ตได้ที่พัฒนาสังคมจังหวัด หรือเด็กพิเศษที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการก็ขอยืมผ่าน ระบบโรงเรียน โดยระยะเวลาในการยืมได้ 1 ปี แล้วนำมาคืน แต่จำนวนแท็บเล็ตในตอนนี้ยังมีจำนวนจำกัดถ้าเทียบกับปริมาณของคนที่เป็นออ ทิสติก ทางมูลนิธิออทิสติกไทยจึงมีโครงการขอเปิดรับบริจาคแท็บเล็ตเก่าที่ยังใช้ได้ เพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้สำหรับน้องๆ ผู้ด้อยโอกาส

ผู้สนใจ ติดตามตารางการอบรมโครงการส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครอง ครูและอาสาสมัคร ในการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษได้ ที่ www.autisticthai.com มูลนิธิออทิสติกไทย หรือโทร 0-2411-2899, 08-6021-0605 ไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม สนใจ และสามารถ download แอพพลิเคชั่นบนแทบเล็ต พิมพ์ autistic thai ได้ทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอส และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/tpd/1844421

(ryt9ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57)

ที่มา: ryt9ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 26/02/2557 เวลา 04:03:48 ดูภาพสไลด์โชว์ แอพพลิเคชั่น'Autistic'สื่อเรียนรู้ยุคไอที ตอบโจทย์พัฒนาการเพื่อเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพ โลโก้true สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางสำคัญของเด็กๆ ทุกคนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กพิเศษ ในเด็กปกติการกระตุ้นพัฒนาการด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตอบสนองได้ แต่สำหรับเด็กพิการซึ่งมีความบกพร่อง พัฒนาการและศักยภาพไม่เป็นไปตามวัย ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อต่างๆ มาประกอบการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสนใจ และส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิต ประจำวัน เด็กออทิสติกหรือเด็กพิเศษ เป็นบุคคลซึ่งมีปัญหาด้านการสื่อสาร สังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ในประเทศไทยมีบุคคลผู้เป็นออทิสติกเกือบ 400,000 คน ในการดูแลคนกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่เพียงแค่การยอมรับ แต่จะต้องเข้าใจปัญหาของเด็ก และพยายามอดทนอย่างหนักที่จะฝึกเด็กให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปด้วยกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภาพ นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย ปัจจุบัน ทรู คอร์ปอเรชั่น และมูลนิธิออทิสติกไทย ได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น "Autistic Application" ขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ และส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติกหรือเด็กพิเศษ รวมทั้งจัดโครงการส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครอง ครูและอาสาสมัคร ในการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษ เพื่อให้ความรู้ การฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน และการใช้ Application เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติก แก่สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม (ไทย) ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ ภาพ โลโก้มูลนิธิออทิสติกไทย นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวว่า โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออติสติกและเด็กพิเศษ หรือแอพพลิเคชั่นออทิสติก (Autistic Application ) ได้รับการพัฒนาโดยทรู คอร์ปอเรชั่น เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาของเด็กพิเศษ อีกทั้งสื่อการเรียนรู้โดยเฉพาะการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับเด็กพิเศษใน ประเทศไทยยังไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่ในต่างประเทศมีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทแท็บเล็ตมาช่วยในการ เรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติกอย่างแพร่หลาย จึงทำการพัฒนาเกิดเป็นแอพพิเคชั่นที่ใช้งานผ่านแท็บเล็ตสำหรับเด็กพิเศษขึ้น มา โดยขณะนี้แอพพลิเคชั่นถูกพัฒนาออกมา 3 ตัว คือ Daily Tasks, Trace & Share และ Communications สำหรับ Daily Tasks เป็นแอพพลิเคชั่นสอนใช้ชีวิตประจำวัน อย่างการอาบน้ำ แปรงฟัน สระผม โดยยกสถานการณ์ตัวอย่างคล้ายๆ กันมา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซ้ำๆ เช่น การที่เด็กในเกมกินแตงโมก็ต้องมาแปรงฟัน กินข้าวแล้วก็ต้องมาแปรงฟัน เป็นต้น เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ด้านการแปรงฟัน วิธีแปรงฟัน เป็นการส่งเสริมให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพ่อแม่ ภาพ หน้าจอแอพพลิเคชั่นDaily Tasks Trace & Share เป็นแอพพลิเคชั่นที่ส่งเสริมการใช้นิ้วมือ ใช้ลีลามือ จะมีตัวการ์ตูนและช่อง ให้ผู้เล่นลากพาตัวการ์ตูนไปตามช่องให้ถึงจุดหมาย เมื่อทำภารกิจสำเร็จก็จะมีสัญลักษณ์รูปมือขึ้นมา ให้ผู้เล่นแบ่งให้คนข้างๆ เล่นด้วย เป็นการสอนเรื่องการแบ่งปัน รวมทั้งเป็นการฝึกให้เด็กใช้สัมผัสกล้ามเนื้อมือ ฝึกสมาธิ Communications เป็นแอพพลิเคชั่น ที่ส่งเสริมการใช้ภาษา ด้วยการมีช่อง 3 ช่องที่มีรูปช่องแรกแทนตัวเด็ก ช่องที่สองแทนกริยา และช่องที่สามแทนสิ่งที่เป็นกรรม เมื่อเลือกครบสามสิ่ง กดใช้โปรแกรมจะมีเสียงคำอ่านขึ้นมาให้ผู้เล่นออกเสียงตาม หรือใช้สื่อสารกับบุคคลรอบข้างได้ แอพนี้จะช่วยให้เด็กมีการสื่อสารกับเราให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งจากการทดลองนำแอพทั้ง 3 ไปทดลองใช้กับเด็กพิเศษพบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้และการสื่อสารที่ ดีขึ้น ความแตกต่างและความเหมือนสำหรับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ในเด็กพิเศษ กับเด็กปกติก็คือ ความละเอียดของการสัมผัสบนแอพเพราะเด็กปกติที่มีกำลังกล้ามเนื้อ ในการสัมผัสย่อมเป็นปกติ แต่กับเด็กพิเศษบางคนก็ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือให้ออกแรง จังหวะในการลากนิ้วได้ ทางแอพจึงออกแบบให้สามารถตอบสนองต่อน้ำหนักมือได้ไวยิ่งขึ้น ส่วนความเหมือนของแอพเพื่อการเรียนรู้ก็คือ การออกแบบให้มีสีสันสวยงาม ดนตรีไพเราะดึงดูดให้เด็กเล่น และสื่อด้วยรูปภาพที่เข้าใจได้ง่าย เรียนรู้ที่จะเล่นและปฏิบัติตาม ภาพ เด็กออทิสติกเล่นแท็ปเล็ตแอพพลิเคชั่น\'Autistic\' ส่วนโครงการส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครอง ครูและอาสาสมัคร ในการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษ เพื่อให้ความรู้ การฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน และการใช้ True Application เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เด็กและบุคคลออทิสติก แก่สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม (ไทย) ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก จ.เชียงราย ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี จ.ชลบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ จ.นครราชสีมา ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช จ.ภูเก็ต ที่จะจัดนำร่องในเดือนมีนาคมนั้น เพราะเราเล็งเห็นว่าการใช้แอพเรียนรู้ต้องใช้ให้ถูกวิธี และต้องควบคู่กับการใช้สื่อทั่วไปด้วย โดยเฉพาะสื่อของจริงไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ คน สัตว์ สถานที่ ซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และแอพพลิเคชั่นนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการในเบื้องต้นเท่า นั้น สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่วิตกในเรื่องไม่มีแท็บเล็ต และไม่มีกำลังซื้อ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทยบอกว่า ทาง พ.ร.บ.ของคนพิการสามารถมีสิทธิในการเข้าถึงเครื่องมือที่เป็นสาธารณะ ดังนั้นจึงสามารถขอยืมแท็บเล็ตได้ที่พัฒนาสังคมจังหวัด หรือเด็กพิเศษที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการก็ขอยืมผ่าน ระบบโรงเรียน โดยระยะเวลาในการยืมได้ 1 ปี แล้วนำมาคืน แต่จำนวนแท็บเล็ตในตอนนี้ยังมีจำนวนจำกัดถ้าเทียบกับปริมาณของคนที่เป็นออ ทิสติก ทางมูลนิธิออทิสติกไทยจึงมีโครงการขอเปิดรับบริจาคแท็บเล็ตเก่าที่ยังใช้ได้ เพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้สำหรับน้องๆ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สนใจ ติดตามตารางการอบรมโครงการส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครอง ครูและอาสาสมัคร ในการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษได้ ที่ www.autisticthai.com มูลนิธิออทิสติกไทย หรือโทร 0-2411-2899, 08-6021-0605 ไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม สนใจ และสามารถ download แอพพลิเคชั่นบนแทบเล็ต พิมพ์ autistic thai ได้ทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอส และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/tpd/1844421 (ryt9ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...