‘จุฑามาศ’ นางฟ้าภาษามือ เปิดโลกเงียบไร้พรมแดน

แสดงความคิดเห็น

“อ้อย” จุฑามาศ สุธนวัฒนาเจริญ ผู้เชี่ยวชาญภาษามือ สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย

ว่ากันว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์และศรีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาและเธอคนนั้นจะอยู่ในสถานภาพไหน ยากดีมีจนอย่างไร กฎหมายย่อมให้ความคุ้มครองทุกคนอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะผู้พิการด้วยแล้วต้องถือว่ากลุ่มคนเหล่านี้ยังขาดโอกาสในการเข้าถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในสังคม สิทธิข้อหนึ่งที่มีการพูดถึงมาก คือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน อาชีพล่ามภาษามือจึงเป็นการตอบโจทย์เพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้ได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสาร การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันรวมถึงการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ

“อ้อย” จุฑามาศ สุธนวัฒนาเจริญ ผู้เชี่ยวชาญภาษามือ สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย เป็นผู้หนึ่งที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงคนหูหนวก เพราะได้ทุ่มเทเกือบทั้งชีวิตให้กับอาชีพนี้ “อ้อย” จึงเข้าใจความรู้สึกของคนที่มีข้อจำกัดในการสื่อสารดีว่าจะรู้สึกเช่นไร

งานของ “อ้อย” เป็นเสมือนโซ่ข้อกลางที่เชื่อมโลกเงียบเข้ากับโลกข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การประกอบอาชีพ การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมถึงการแปลข่าวสารในรายการโทรทัศน์ด้วย ล่ามภาษามือมีหน้าที่หลัก ๆ ในการแปลภาษาพูด จากเสียงที่คนปกติได้ยิน ให้เป็นภาษามือ และแปลภาษามือจากคนหูหนวกเป็นภาษาพูด ให้คนสองกลุ่มเกิดการติดต่อสื่อสารกันได้

จริง ๆ อ้อยไม่ได้เรียนภาษามือมาโดยตรง แต่อาศัยเรียนรู้การใช้ภาษามือและวิธีสื่อสารกับคนหูหนวกเป็นประจำ พยายามเขียนสื่อสาร จดจำและฝึกศัพท์ภาษามือง่าย ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถสื่อสารได้แล้วค่อย ๆ พัฒนาภาษามือจนกลายมาเป็นล่ามภาษามือได้ในที่สุด

ที่เราทำงานมาถึงวันนี้ก็เพราะอยากช่วยเหลือ คิดว่าหากความรู้ความสามารถที่เรามีจะพอเป็นประโยชน์และช่วยให้คนหูหนวกได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้ มองว่าการทำงานที่มีส่วนช่วยพัฒนาคนให้มีโอกาส มีชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ

งานที่เข้ามาแต่ละวันมีความหลากหลายและยากง่ายต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหา และสถานการณ์ที่ทำการแปลแต่ละครั้ง ล่ามที่ดีจึงต้องพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อการพัฒนาตัวเอง การเป็นล่ามต้องทำงานกับภาษา และภาษามีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดขึ้นใหม่ได้เสมอ จึงต้องหมั่นเรียนรู้และทำความเข้าใจภาษามือใหม่ ๆ เพื่อให้การแปลของเรามีคุณภาพมากขึ้น

ก่อนจะจบการสนทนาขอฝากว่าอาชีพล่ามภาษามือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณค่าเช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ เรามีภาษามือเป็นสื่อในการให้ และการให้ที่สำคัญคือการให้ความรู้ (ข้อมูลข่าวสาร) ให้โอกาส ให้ความเสมอภาค ล่ามเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนหูหนวกให้สามารถดำรงชีวิตในสังคม ได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียมกัน.

‘จ๊อบแมน’

job_man28@yahoo.co.th

ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=219545

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มี.ค.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 4/03/2557 เวลา 04:05:23 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘จุฑามาศ’ นางฟ้าภาษามือ เปิดโลกเงียบไร้พรมแดน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

“อ้อย” จุฑามาศ สุธนวัฒนาเจริญ ผู้เชี่ยวชาญภาษามือ สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ว่ากันว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์และศรีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาและเธอคนนั้นจะอยู่ในสถานภาพไหน ยากดีมีจนอย่างไร กฎหมายย่อมให้ความคุ้มครองทุกคนอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะผู้พิการด้วยแล้วต้องถือว่ากลุ่มคนเหล่านี้ยังขาดโอกาสในการเข้าถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในสังคม สิทธิข้อหนึ่งที่มีการพูดถึงมาก คือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน อาชีพล่ามภาษามือจึงเป็นการตอบโจทย์เพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้ได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสาร การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันรวมถึงการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ “อ้อย” จุฑามาศ สุธนวัฒนาเจริญ ผู้เชี่ยวชาญภาษามือ สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย เป็นผู้หนึ่งที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงคนหูหนวก เพราะได้ทุ่มเทเกือบทั้งชีวิตให้กับอาชีพนี้ “อ้อย” จึงเข้าใจความรู้สึกของคนที่มีข้อจำกัดในการสื่อสารดีว่าจะรู้สึกเช่นไร งานของ “อ้อย” เป็นเสมือนโซ่ข้อกลางที่เชื่อมโลกเงียบเข้ากับโลกข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การประกอบอาชีพ การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมถึงการแปลข่าวสารในรายการโทรทัศน์ด้วย ล่ามภาษามือมีหน้าที่หลัก ๆ ในการแปลภาษาพูด จากเสียงที่คนปกติได้ยิน ให้เป็นภาษามือ และแปลภาษามือจากคนหูหนวกเป็นภาษาพูด ให้คนสองกลุ่มเกิดการติดต่อสื่อสารกันได้ จริง ๆ อ้อยไม่ได้เรียนภาษามือมาโดยตรง แต่อาศัยเรียนรู้การใช้ภาษามือและวิธีสื่อสารกับคนหูหนวกเป็นประจำ พยายามเขียนสื่อสาร จดจำและฝึกศัพท์ภาษามือง่าย ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถสื่อสารได้แล้วค่อย ๆ พัฒนาภาษามือจนกลายมาเป็นล่ามภาษามือได้ในที่สุด ที่เราทำงานมาถึงวันนี้ก็เพราะอยากช่วยเหลือ คิดว่าหากความรู้ความสามารถที่เรามีจะพอเป็นประโยชน์และช่วยให้คนหูหนวกได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้ มองว่าการทำงานที่มีส่วนช่วยพัฒนาคนให้มีโอกาส มีชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ งานที่เข้ามาแต่ละวันมีความหลากหลายและยากง่ายต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหา และสถานการณ์ที่ทำการแปลแต่ละครั้ง ล่ามที่ดีจึงต้องพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อการพัฒนาตัวเอง การเป็นล่ามต้องทำงานกับภาษา และภาษามีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดขึ้นใหม่ได้เสมอ จึงต้องหมั่นเรียนรู้และทำความเข้าใจภาษามือใหม่ ๆ เพื่อให้การแปลของเรามีคุณภาพมากขึ้น ก่อนจะจบการสนทนาขอฝากว่าอาชีพล่ามภาษามือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณค่าเช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ เรามีภาษามือเป็นสื่อในการให้ และการให้ที่สำคัญคือการให้ความรู้ (ข้อมูลข่าวสาร) ให้โอกาส ให้ความเสมอภาค ล่ามเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนหูหนวกให้สามารถดำรงชีวิตในสังคม ได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียมกัน. ‘จ๊อบแมน’ job_man28@yahoo.co.th ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=219545 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...