"กทม." รับลูกปรับถนน แก้โจทย์รถเมล์ชานต่ำ
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมหารือกับตัวแทนสมาคมมูลนิธิเพื่อคนพิการ และตัวแทนเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนขึ้นได้ทุกคัน ถึงกรณีที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้มีโครงการจัดซื้อรถเมล์แบบมีบันไดสูง และติดลิฟต์แทนระบบรถเมล์แบบชานต่ำ เนื่องจากในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีถนนเป็นหลุมเป็นบ่อหรือคอสะพานไม่มีความลาดชัน ทำให้รถเมล์แบบชานต่ำต้องสะดุดเมื่อวิ่งผ่าน 11 จุด จนเป็นเหตุให้ตัวแทนผู้พิการร้องขอให้ กทม.พิจารณาปรับปรุงคอสะพาน รวมถึงถนนที่ชำรุดตามที่ ขสมก.ได้ทำการสำรวจ เพื่อให้สัมพันธ์กับรูปแบบของรถเมล์แบบชานต่ำ
"ยืนยันว่า กทม.พร้อมแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้อำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและประชาชนทุกคน ทั้งนี้ปัจจุบัน กทม.มีสะพานกว่า 1,500 แห่ง โดยสะพานที่ ขสมก.ระบุว่าเป็นปัญหาจนทำให้รถเมล์ชานต่ำวิ่งไม่ได้มีเพียง 11 จุด เท่านั้น ถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก อย่างไรก็ตาม กทม.สามารถแก้ไขได้อย่างแน่นอน" นายจุมพล กล่าวและว่า ถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้มาตรฐานตามหลักสากล แต่อาจมีบางพื้นที่ที่มีลักษณะดินอ่อนบ้าง แต่ กทม.ก็ได้บำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเรื่องดังกล่าว กทม.จะนัดหารือกับ ขสมก.เพื่อขอรับทราบแนวทางการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ต่อไป
นายจุมพลกล่าว อีกว่า ที่ผ่านมา กทม.ได้สนับสนุนในการเดินรถของ ขสมก.ทั้งการจัดทำป้ายจอดรถเมล์ประจำทางกว่า 4,000 ป้าย ศาลาที่พักริมทางกว่า 3,000 แห่ง ใช้งบประมาณในการดูแลรักษาปีละกว่า 200 ล้านบาท ในฐานะผู้ดูแลและบริการประชาชน กทม.พร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่ เพื่อทำให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งเด็ก คนชรา และคนพิการ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และ กทม.ก็มีโครงการเพื่อดูแลคนพิการ สร้างความเท่าเทียมกันในสังคมอยู่แล้วทั้งการปรับปรุงทางเท้า การติดตั้งลิฟต์โดยสารสำหรับคนพิการในสถานนีรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นต้น
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393820494
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมหารือกับตัวแทนสมาคมมูลนิธิเพื่อคนพิการ และตัวแทนเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนขึ้นได้ทุกคัน ถึงกรณีที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้มีโครงการจัดซื้อรถเมล์แบบมีบันไดสูง และติดลิฟต์แทนระบบรถเมล์แบบชานต่ำ เนื่องจากในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีถนนเป็นหลุมเป็นบ่อหรือคอสะพานไม่มีความลาดชัน ทำให้รถเมล์แบบชานต่ำต้องสะดุดเมื่อวิ่งผ่าน 11 จุด จนเป็นเหตุให้ตัวแทนผู้พิการร้องขอให้ กทม.พิจารณาปรับปรุงคอสะพาน รวมถึงถนนที่ชำรุดตามที่ ขสมก.ได้ทำการสำรวจ เพื่อให้สัมพันธ์กับรูปแบบของรถเมล์แบบชานต่ำ "ยืนยันว่า กทม.พร้อมแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้อำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและประชาชนทุกคน ทั้งนี้ปัจจุบัน กทม.มีสะพานกว่า 1,500 แห่ง โดยสะพานที่ ขสมก.ระบุว่าเป็นปัญหาจนทำให้รถเมล์ชานต่ำวิ่งไม่ได้มีเพียง 11 จุด เท่านั้น ถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก อย่างไรก็ตาม กทม.สามารถแก้ไขได้อย่างแน่นอน" นายจุมพล กล่าวและว่า ถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้มาตรฐานตามหลักสากล แต่อาจมีบางพื้นที่ที่มีลักษณะดินอ่อนบ้าง แต่ กทม.ก็ได้บำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเรื่องดังกล่าว กทม.จะนัดหารือกับ ขสมก.เพื่อขอรับทราบแนวทางการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ต่อไป นายจุมพลกล่าว อีกว่า ที่ผ่านมา กทม.ได้สนับสนุนในการเดินรถของ ขสมก.ทั้งการจัดทำป้ายจอดรถเมล์ประจำทางกว่า 4,000 ป้าย ศาลาที่พักริมทางกว่า 3,000 แห่ง ใช้งบประมาณในการดูแลรักษาปีละกว่า 200 ล้านบาท ในฐานะผู้ดูแลและบริการประชาชน กทม.พร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่ เพื่อทำให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งเด็ก คนชรา และคนพิการ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และ กทม.ก็มีโครงการเพื่อดูแลคนพิการ สร้างความเท่าเทียมกันในสังคมอยู่แล้วทั้งการปรับปรุงทางเท้า การติดตั้งลิฟต์โดยสารสำหรับคนพิการในสถานนีรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นต้น ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393820494 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)