กฤษนะทัวร์ยกล้อ:'อารยสถาปัตย์รถเมล์ไทย'
'อารยสถาปัตย์รถเมล์ไทย' : คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย.. กฤษนะ ละไล เมืองไทยกำลังจะมีการปฏิวัติระบบขนส่งมวลชน ประเภทรถเมล์ ครั้งสำคัญในช่วงการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนภายในปีหน้า โดย ขสมก. หรือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กำลังได้ข้อสรุปในการเปิดประมูล และจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี หรือรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ จำนวน 3,183 คัน มูลค่า 13,162.2 ล้านบาท
นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการพัฒนาระบบรถเมล์ขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดความสะดวก และปลอดภัย สมดังคำขวัญของกระทรวงคมนาคมยุคใหม่ ที่เน้นว่า “สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนพิการ” ซึ่งก็ถือว่ามาถูกทางแล้ว เพราะถ้าเราทำระบบขนส่งมวลชนต่างๆให้คนพิการสามารถเข้าถึงได้ และใช้บริการได้โดยสะดวก และปลอดภัยแล้ว คนกลุ่มอื่นๆ ก็จะพลอยได้รับความ สะดวก และปลอดภัยไปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ตำรวจทหารผ่านศึก ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง ผู้ป่วยพักฟื้น รวมถึงสตรีมีครรภ์ และเด็กเล็ก
แต่ประเด็นปัญหาขณะนี้ อยู่ที่ว่า จำนวนรถเมล์เอ็นจีวีทั้ง 3,183 คัน ที่กำลังจะมีการจัดซื้อกันมานั้น ขสมก.ยอมให้ใช้แบบโลว์ฟลอร์ หรือเป็นรถเมล์แบบชานต่ำที่คนพิการ และผู้สูงอายุขึ้นลงได้สะดวกปลอดภัย เฉพาะรถเมล์แบบปรับอากาศ หรือรถ ปอ.จำนวน 1,524 คันเท่านั้น
ส่วนที่เหลืออีก 1,659 คัน ซึ่งเป็นรถเมล์แบบธรรมดา หรือรถเมล์ร้อนนั้น ขอให้เป็นแบบเดิม คือ เป็นรถเมล์แบบพื้นสูง มีบันได 3 ขั้น จะเดินขึ้นเดินลงก็ลำบาก และอันตราย มีหลายคนเคยก้าวตกบันไดรถเมล์จนกลายเป็นข่าวขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ มานักต่อนักแล้ว
แต่ที่ ขสมก.จะทำเพิ่มขึ้นมาสำหรับรถเมล์ร้อนล็อตใหม่ คือ การติดตั้งลิฟต์ขึ้นลงสำหรับให้บริการผู้สูงอายุ และผู้พิการ หรือผู้ที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ โดย ขสมก.อ้างว่า มีปัญหาเรื่องคอสะพานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 11 จุด ที่มีลักษณะสูงชัน ทำให้รถเมล์แบบชานต่ำวิ่งผ่านไม่ได้ จึงจำเป็นต้องใช้รถเมล์แบบพื้นสูงหนีน้ำท่วมกันต่อไป
เรื่องนี้กำลังเป็นที่จับจ้องมองดูกันอยู่ว่า สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังแท้จริง เพราะอะไรกันแน่? ทีแรก ขสมก.เคยอ้างว่าที่ต้องใช้รถเมล์พื้นสูงๆนั้น ก็เพื่อหนีน้ำท่วม แต่พอถูกโต้แย้งด้วยเหตุผลต่างๆ (เช่น น้ำท่วมใหญ่ 20-30 ปีมีมาหน ,ใจคอจะปล่อยให้กรุงเทพฯ ถูกน้ำท่วมถล่มยับแบบปี 54 กันอีกเหรอ ! งบ 3.5 แสนล้าน เอาไปทำอะไร?) ในที่สุด ก็ไม่มีข้ออ้างเรื่องน้ำท่วมอีกต่อไป
มาถึงเรื่องคอสะพาน ซึ่งได้เคยมีการพบปะหารือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานคร โดยรองผู้ว่าฝ่ายโยธาฯ คุณจุมพล สำเภาพล กับคุณนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก.เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยทาง กทม.ยืนยันว่า ปัญหาเรื่องคอสะพานสูงชัน สำรวจเบื้องต้นพบว่ามีอยู่ 7 จุด ที่อาจเป็นอุปสรรคในการใช้รถเมล์ชานต่ำ ซึ่ง กทม.โดยรองฯจุมพล ยืนยันว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยที่แก้ไขได้ไม่ยาก ใช้เวลาไม่นาน และพร้อมจะให้ความร่วมมือกับ ขสมก.อย่างเต็มที่เพื่อขจัดอุปสรรคต่างๆในการที่จะนำเอารถเมล์แบบชานต่ำมา ใช้ในเมืองไทยเหมือนในนานาอารยประเทศทั่วโลก
คุณนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการ ผอ.ขสมก. บอกว่า อาจเป็นไปได้ ที่ ขสมก.จะสั่งซื้อเฉพาะรถเมล์ปรับอากาศที่เป็นแบบชานต่ำทั้งหมด มาทดลองให้บริการก่อน ส่วนรถเมล์ร้อนที่ยังติดปัญหาเรื่องคอสะพาน อาจต้องใช้เวลาพิจารณาหาข้อสรุปกันอีกที
ขณะที่ คุณอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนขึ้นได้ทุกคัน มองว่า ถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยจะต้องมีระบบขนส่งมวลชนที่เป็นอารยสถาปัตย์ เอื้อต่อการเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ของคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับความสะดวก และปลอดภัยในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนทุกรูปแบบ
โดยเฉพาะรถเมล์เอ็นจีวีที่ ขสมก.กำลังจะนำมาให้บริการในกรุงเทพฯนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน เพราะนี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงบริการของรัฐ อีกทั้ง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ ขสมก.จะใช้รถเมล์ร้อนเป็นแบบมีบันไดสูงๆ เหมือนเดิม แม้จะมีการติดตั้งลิฟต์สำหรับใช้ขึ้นลงให้แทน แต่คนพิการมองว่า ไม่สะดวกในการใช้งาน การดูแลรักษายุ่งยากกว่ารถเมล์แบบชานต่ำที่ใช้ทางลาดเชื่อมไปที่ฟุตบาท ประหยัดงบประมาณได้มากกว่า
ที่สำคัญ คือ รถเมล์ติดลิฟต์นั้น ไม่เหมาะสมกับสภาพปัญหาการจราจรในกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้คนพิการ หรือคนที่ใช้ลิฟต์รถเมล์อาจจะตกเป็นจำเลยของสังคมได้ เหตุเพราะต้องใช้เวลาในการขึ้นลงพอสมควร ที่สุดแล้ว หาก ขสมก.ยังดึงดันจะให้รถเมล์ร้อนเป็นแบบพื้นสูงและติดลิฟต์แทนนั้น เครือข่ายคนพิการก็จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อไป และจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพื่อรถเมล์อารยสถาปัตย์ครั้งประวัติศาสตร์ของคนไทย
อย่างไรก็ตาม อารยสถาปัตย์รถเมล์เอ็นจีวี ในวันนี้ ถือว่าเดินมาได้ครึ่งทางแล้ว ส่วนปัญหาเรื่องรถเมล์ร้อน ที่ ขสมก.ยังยืนยันจะให้ติดลิฟต์ให้ได้ทุกคันนั้น ที่สุดแล้ว ผมเชื่อเหลือเกินว่า ด้วยกระแสสังคม และกระแสโลก โดยเฉพาะการอยากเห็นบ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อยากเห็นการปฏิรูประบบขนส่งมวลชนไทยให้เจริญก้าวหน้า พัฒนา และทันสมัย เพื่อนำไปสู่ความสะดวก ปลอดภัย ตามคำขวัญของกระทรวงคมนาคมยุคใหม่จริงๆ รถเมล์เอ็นจีวี ทั้ง 3,183 คัน ก็จะต้องเป็นแบบชานต่ำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรถร้อน หรือรถเย็น... เพราะรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ ทุกคันครับ
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140324/181485.html#.Uy-P3s7InZ4 (ขนาดไฟล์: 167)
(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มี.ค.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กฤษนะ ละไล และผู้ร่วมประชุมเรื่องการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน 'อารยสถาปัตย์รถเมล์ไทย' : คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย.. กฤษนะ ละไล เมืองไทยกำลังจะมีการปฏิวัติระบบขนส่งมวลชน ประเภทรถเมล์ ครั้งสำคัญในช่วงการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนภายในปีหน้า โดย ขสมก. หรือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กำลังได้ข้อสรุปในการเปิดประมูล และจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี หรือรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ จำนวน 3,183 คัน มูลค่า 13,162.2 ล้านบาท นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการพัฒนาระบบรถเมล์ขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดความสะดวก และปลอดภัย สมดังคำขวัญของกระทรวงคมนาคมยุคใหม่ ที่เน้นว่า “สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนพิการ” ซึ่งก็ถือว่ามาถูกทางแล้ว เพราะถ้าเราทำระบบขนส่งมวลชนต่างๆให้คนพิการสามารถเข้าถึงได้ และใช้บริการได้โดยสะดวก และปลอดภัยแล้ว คนกลุ่มอื่นๆ ก็จะพลอยได้รับความ สะดวก และปลอดภัยไปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ตำรวจทหารผ่านศึก ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง ผู้ป่วยพักฟื้น รวมถึงสตรีมีครรภ์ และเด็กเล็ก ภาพวาดการ์ตูนกฤษนะ ละไล ผู้ประกาศข่าวพิการนั่งรถเข็น แต่ประเด็นปัญหาขณะนี้ อยู่ที่ว่า จำนวนรถเมล์เอ็นจีวีทั้ง 3,183 คัน ที่กำลังจะมีการจัดซื้อกันมานั้น ขสมก.ยอมให้ใช้แบบโลว์ฟลอร์ หรือเป็นรถเมล์แบบชานต่ำที่คนพิการ และผู้สูงอายุขึ้นลงได้สะดวกปลอดภัย เฉพาะรถเมล์แบบปรับอากาศ หรือรถ ปอ.จำนวน 1,524 คันเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 1,659 คัน ซึ่งเป็นรถเมล์แบบธรรมดา หรือรถเมล์ร้อนนั้น ขอให้เป็นแบบเดิม คือ เป็นรถเมล์แบบพื้นสูง มีบันได 3 ขั้น จะเดินขึ้นเดินลงก็ลำบาก และอันตราย มีหลายคนเคยก้าวตกบันไดรถเมล์จนกลายเป็นข่าวขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ มานักต่อนักแล้ว แต่ที่ ขสมก.จะทำเพิ่มขึ้นมาสำหรับรถเมล์ร้อนล็อตใหม่ คือ การติดตั้งลิฟต์ขึ้นลงสำหรับให้บริการผู้สูงอายุ และผู้พิการ หรือผู้ที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ โดย ขสมก.อ้างว่า มีปัญหาเรื่องคอสะพานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 11 จุด ที่มีลักษณะสูงชัน ทำให้รถเมล์แบบชานต่ำวิ่งผ่านไม่ได้ จึงจำเป็นต้องใช้รถเมล์แบบพื้นสูงหนีน้ำท่วมกันต่อไป เรื่องนี้กำลังเป็นที่จับจ้องมองดูกันอยู่ว่า สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังแท้จริง เพราะอะไรกันแน่? ทีแรก ขสมก.เคยอ้างว่าที่ต้องใช้รถเมล์พื้นสูงๆนั้น ก็เพื่อหนีน้ำท่วม แต่พอถูกโต้แย้งด้วยเหตุผลต่างๆ (เช่น น้ำท่วมใหญ่ 20-30 ปีมีมาหน ,ใจคอจะปล่อยให้กรุงเทพฯ ถูกน้ำท่วมถล่มยับแบบปี 54 กันอีกเหรอ ! งบ 3.5 แสนล้าน เอาไปทำอะไร?) ในที่สุด ก็ไม่มีข้ออ้างเรื่องน้ำท่วมอีกต่อไป ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน มาถึงเรื่องคอสะพาน ซึ่งได้เคยมีการพบปะหารือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานคร โดยรองผู้ว่าฝ่ายโยธาฯ คุณจุมพล สำเภาพล กับคุณนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก.เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยทาง กทม.ยืนยันว่า ปัญหาเรื่องคอสะพานสูงชัน สำรวจเบื้องต้นพบว่ามีอยู่ 7 จุด ที่อาจเป็นอุปสรรคในการใช้รถเมล์ชานต่ำ ซึ่ง กทม.โดยรองฯจุมพล ยืนยันว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยที่แก้ไขได้ไม่ยาก ใช้เวลาไม่นาน และพร้อมจะให้ความร่วมมือกับ ขสมก.อย่างเต็มที่เพื่อขจัดอุปสรรคต่างๆในการที่จะนำเอารถเมล์แบบชานต่ำมา ใช้ในเมืองไทยเหมือนในนานาอารยประเทศทั่วโลก คุณนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการ ผอ.ขสมก. บอกว่า อาจเป็นไปได้ ที่ ขสมก.จะสั่งซื้อเฉพาะรถเมล์ปรับอากาศที่เป็นแบบชานต่ำทั้งหมด มาทดลองให้บริการก่อน ส่วนรถเมล์ร้อนที่ยังติดปัญหาเรื่องคอสะพาน อาจต้องใช้เวลาพิจารณาหาข้อสรุปกันอีกที ขณะที่ คุณอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนขึ้นได้ทุกคัน มองว่า ถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยจะต้องมีระบบขนส่งมวลชนที่เป็นอารยสถาปัตย์ เอื้อต่อการเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ของคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับความสะดวก และปลอดภัยในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนทุกรูปแบบ โดยเฉพาะรถเมล์เอ็นจีวีที่ ขสมก.กำลังจะนำมาให้บริการในกรุงเทพฯนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน เพราะนี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงบริการของรัฐ อีกทั้ง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ ขสมก.จะใช้รถเมล์ร้อนเป็นแบบมีบันไดสูงๆ เหมือนเดิม แม้จะมีการติดตั้งลิฟต์สำหรับใช้ขึ้นลงให้แทน แต่คนพิการมองว่า ไม่สะดวกในการใช้งาน การดูแลรักษายุ่งยากกว่ารถเมล์แบบชานต่ำที่ใช้ทางลาดเชื่อมไปที่ฟุตบาท ประหยัดงบประมาณได้มากกว่า ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน ที่สำคัญ คือ รถเมล์ติดลิฟต์นั้น ไม่เหมาะสมกับสภาพปัญหาการจราจรในกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้คนพิการ หรือคนที่ใช้ลิฟต์รถเมล์อาจจะตกเป็นจำเลยของสังคมได้ เหตุเพราะต้องใช้เวลาในการขึ้นลงพอสมควร ที่สุดแล้ว หาก ขสมก.ยังดึงดันจะให้รถเมล์ร้อนเป็นแบบพื้นสูงและติดลิฟต์แทนนั้น เครือข่ายคนพิการก็จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อไป และจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพื่อรถเมล์อารยสถาปัตย์ครั้งประวัติศาสตร์ของคนไทย อย่างไรก็ตาม อารยสถาปัตย์รถเมล์เอ็นจีวี ในวันนี้ ถือว่าเดินมาได้ครึ่งทางแล้ว ส่วนปัญหาเรื่องรถเมล์ร้อน ที่ ขสมก.ยังยืนยันจะให้ติดลิฟต์ให้ได้ทุกคันนั้น ที่สุดแล้ว ผมเชื่อเหลือเกินว่า ด้วยกระแสสังคม และกระแสโลก โดยเฉพาะการอยากเห็นบ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อยากเห็นการปฏิรูประบบขนส่งมวลชนไทยให้เจริญก้าวหน้า พัฒนา และทันสมัย เพื่อนำไปสู่ความสะดวก ปลอดภัย ตามคำขวัญของกระทรวงคมนาคมยุคใหม่จริงๆ รถเมล์เอ็นจีวี ทั้ง 3,183 คัน ก็จะต้องเป็นแบบชานต่ำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรถร้อน หรือรถเย็น... เพราะรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ ทุกคันครับ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140324/181485.html#.Uy-P3s7InZ4 (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มี.ค.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)