ฉลากยาเพื่อคนตาบอดฝีมือเด็ก มจธ.

แสดงความคิดเห็น

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขามีเดียอาตส์ กับผลงานฉลากยาเพื่อคนตาบอดฝีมือเด็ก มจธ.

อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยคนทั่วไปสามารถหยิบยาสามัญประจำบ้านมารักษาได้ แต่สำหรับผู้พิการทางสายตาถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย หากจะหยิบยามาดูแลรักษาด้วยตัวเอง เพราะหากหยิบยามาผิดก็อาจเป็นอันตรายต่อตนเองได้ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคนสายตาปกติในการจัดยามาให้

นักศึกษาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชามีเดียอาตส์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขามีเดียอาตส์ คือ น.ส.ธัชพรรณ จีนเวชศาสตร์ น.ส.ปพิชญา รอดแผ้วพาล และ น.ส.วรรณวดี เหลืองสุทธิพันธ์ ได้เห็นปัญหานี้และรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อสังคม และเพิ่มความสะดวกสบายในการบริการด้านเภสัชกรรมให้แก่ผู้พิการทางสายตามากขึ้น

ฉลากยาสามัญประจำบ้านสำหรับผู้พิการทางสายตา

ทั้งสองได้ผลิตผลงาน “การออกแบบฉลากยาสามัญประจำบ้านสำหรับผู้พิการทางสายตา” ซึ่ง ธัชพรรณ หนึ่งในทีมกล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า โดยปกติแล้วยาที่ผู้พิการทางสายตาสามารถทานเองได้ก็คือยาสามัญประจำบ้าน แต่ทุกครั้งจะต้องให้คนที่มีสายตาปกติหยิบให้ จึงคิดออกแบบฉลากยาที่ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกทานได้โดยการช่วยเหลือตัวเอง

“ผู้พิการทางสายตา หรือตาบอดมีทั้งบอดเลือนราง และบอดสนิท ซึ่งที่เรารู้กันคือคนเหล่านี้ต้องเรียนรู้การอ่านอักษรเบล แต่การอ่านอักษรเบรลนั้นไม่ง่ายนัก และยังมีคนตาบอดอีกมากที่ยังอ่านอักษรเบลไม่ออก ดังนั้น เราจึงทำฉลากยาขึ้นมาในรูปแบบสติกเกอร์ที่มีสัญลักษณ์ลายเส้นกราฟิกนูนแบบต่างๆ เพื่อนำไปแปะกับซองหรือขวดยาสามัญประจำบ้านแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกรับประทานยาได้ด้วยตัวเองจากการจำสัญลักษณ์นั้นๆ”

ทางด้าน ปพิชญา กล่าวเสริมว่า ออกแบบสัญลักษณ์ต่างๆ โดยนำหลักทฤษฎีทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์มาประยุกต์ใช้ โดยนำความหมายของเส้นมาโยงเข้ากับอาการเจ็บป่วย เช่น ยาแก้เมารถ ออกแบบฉลากที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบก้นหอย เป็นเส้นที่มีลักษณะหมุนวน สื่อถึงอาการวิงเวียนศีรษะ ยาแก้ลดไข้ ออกแบบฉลากยาที่มีลักษณะเป็นเส้นประมีความหมายถึงความไม่ต่อเนื่อง และความเครียด สื่อถึงอาการปวดหัว ตัวร้อน หรือคั่นเนื้อคั่นตัว และยาธาตุน้ำขาว ออกแบบฉลากให้มีลักษณะเป็นเส้นซิกแซ็ก เป็นเส้นที่มีความหมายไม่ราบเรียบ การเคลื่อนไหว ความรุนแรงสื่อถึงอาการปวดท้องหรือแสบท้อง

ฉลากยาสามัญประจำบ้านสำหรับผู้พิการทางสายตา

ส่วน วรรณวดี กล่าวทิ้งท้าย ว่า หลังจากออกแบบฉลากยาเรียบร้อยแล้ว ได้นำไปทดลองใช้กับผู้พิการทางสายตาในสถานที่ต่างๆ อาทิ โรงเรียนพระมหาไถ่ ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการที่บางขุนเทียนและนครปฐม เพื่อทดสอบเกี่ยวกับการใช้งาน 3 ส่วน คือ ความนูนของสัญลักษณ์เพื่อให้ง่ายต่อการสัมผัส ขนาดของเส้น และลักษณะของสัญลักษณ์ต่างๆ และเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำจึงมีการแบ่งยาสามัญประจำบ้านเป็น 4 หมวดที่สำคัญตามหลักเภสัชกรรม คือ ยาที่เกี่ยวกับอาการปวดท้อง การขับถ่าย กลุ่มยาบรรเทาอาการ และระบบทางเดินหายใจ โดยแบ่งเป็น 9 ตัวยาต่อ 1 หมวดหมู่ ซึ่งในอนาคตมีโครงการที่จะนำฉลากยาเหล่านี้ไปมอบให้กับผู้พิการทางสายตาทั้ง 3 แห่งที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000075559 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ค.58
วันที่โพสต์: 6/07/2558 เวลา 11:38:13 ดูภาพสไลด์โชว์ ฉลากยาเพื่อคนตาบอดฝีมือเด็ก มจธ.

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขามีเดียอาตส์ กับผลงานฉลากยาเพื่อคนตาบอดฝีมือเด็ก มจธ. อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยคนทั่วไปสามารถหยิบยาสามัญประจำบ้านมารักษาได้ แต่สำหรับผู้พิการทางสายตาถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย หากจะหยิบยามาดูแลรักษาด้วยตัวเอง เพราะหากหยิบยามาผิดก็อาจเป็นอันตรายต่อตนเองได้ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคนสายตาปกติในการจัดยามาให้ นักศึกษาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชามีเดียอาตส์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขามีเดียอาตส์ คือ น.ส.ธัชพรรณ จีนเวชศาสตร์ น.ส.ปพิชญา รอดแผ้วพาล และ น.ส.วรรณวดี เหลืองสุทธิพันธ์ ได้เห็นปัญหานี้และรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อสังคม และเพิ่มความสะดวกสบายในการบริการด้านเภสัชกรรมให้แก่ผู้พิการทางสายตามากขึ้น ฉลากยาสามัญประจำบ้านสำหรับผู้พิการทางสายตา ทั้งสองได้ผลิตผลงาน “การออกแบบฉลากยาสามัญประจำบ้านสำหรับผู้พิการทางสายตา” ซึ่ง ธัชพรรณ หนึ่งในทีมกล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า โดยปกติแล้วยาที่ผู้พิการทางสายตาสามารถทานเองได้ก็คือยาสามัญประจำบ้าน แต่ทุกครั้งจะต้องให้คนที่มีสายตาปกติหยิบให้ จึงคิดออกแบบฉลากยาที่ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกทานได้โดยการช่วยเหลือตัวเอง “ผู้พิการทางสายตา หรือตาบอดมีทั้งบอดเลือนราง และบอดสนิท ซึ่งที่เรารู้กันคือคนเหล่านี้ต้องเรียนรู้การอ่านอักษรเบล แต่การอ่านอักษรเบรลนั้นไม่ง่ายนัก และยังมีคนตาบอดอีกมากที่ยังอ่านอักษรเบลไม่ออก ดังนั้น เราจึงทำฉลากยาขึ้นมาในรูปแบบสติกเกอร์ที่มีสัญลักษณ์ลายเส้นกราฟิกนูนแบบต่างๆ เพื่อนำไปแปะกับซองหรือขวดยาสามัญประจำบ้านแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกรับประทานยาได้ด้วยตัวเองจากการจำสัญลักษณ์นั้นๆ” ทางด้าน ปพิชญา กล่าวเสริมว่า ออกแบบสัญลักษณ์ต่างๆ โดยนำหลักทฤษฎีทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์มาประยุกต์ใช้ โดยนำความหมายของเส้นมาโยงเข้ากับอาการเจ็บป่วย เช่น ยาแก้เมารถ ออกแบบฉลากที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบก้นหอย เป็นเส้นที่มีลักษณะหมุนวน สื่อถึงอาการวิงเวียนศีรษะ ยาแก้ลดไข้ ออกแบบฉลากยาที่มีลักษณะเป็นเส้นประมีความหมายถึงความไม่ต่อเนื่อง และความเครียด สื่อถึงอาการปวดหัว ตัวร้อน หรือคั่นเนื้อคั่นตัว และยาธาตุน้ำขาว ออกแบบฉลากให้มีลักษณะเป็นเส้นซิกแซ็ก เป็นเส้นที่มีความหมายไม่ราบเรียบ การเคลื่อนไหว ความรุนแรงสื่อถึงอาการปวดท้องหรือแสบท้อง ฉลากยาสามัญประจำบ้านสำหรับผู้พิการทางสายตา ส่วน วรรณวดี กล่าวทิ้งท้าย ว่า หลังจากออกแบบฉลากยาเรียบร้อยแล้ว ได้นำไปทดลองใช้กับผู้พิการทางสายตาในสถานที่ต่างๆ อาทิ โรงเรียนพระมหาไถ่ ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการที่บางขุนเทียนและนครปฐม เพื่อทดสอบเกี่ยวกับการใช้งาน 3 ส่วน คือ ความนูนของสัญลักษณ์เพื่อให้ง่ายต่อการสัมผัส ขนาดของเส้น และลักษณะของสัญลักษณ์ต่างๆ และเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำจึงมีการแบ่งยาสามัญประจำบ้านเป็น 4 หมวดที่สำคัญตามหลักเภสัชกรรม คือ ยาที่เกี่ยวกับอาการปวดท้อง การขับถ่าย กลุ่มยาบรรเทาอาการ และระบบทางเดินหายใจ โดยแบ่งเป็น 9 ตัวยาต่อ 1 หมวดหมู่ ซึ่งในอนาคตมีโครงการที่จะนำฉลากยาเหล่านี้ไปมอบให้กับผู้พิการทางสายตาทั้ง 3 แห่งที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000075559

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...