ขาเทียม 'รู้สึกได้' ความหวังใหม่ผู้พิการ
„สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ว่า ศาสตราจารย์อูเบอร์ต เอกเกอร์ จากมหาวิทยาลัยลินซ์ในออสเตรีย เผยความสำเร็จในการคิดค้นขาเทียมที่ทำให้ผู้สวมใส่สามารถรับรู้ความรู้สึกของขาส่วนที่เสียไปได้ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
การทำงานของสิ่งประดิษฐ์นี้ เป็นกระบวนการทำงาน 2 ทาง เริ่มจากการรื้อและเชื่อมต่อส่วนปลายของเส้นประสาทเท้าที่ยังหลงเหลือจากตอขาของผู้ป่วย ไปยังเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์ดีที่ต้นขา โดยจัดวางให้อยู่ใกล้ผิวหนังด้านบนมากที่สุด จากนั้นจึงติดตั้งเซนเซอร์รับสัญญาณ 6 ตัวที่พื้นเท้าของขาเทียม โดยอุปกรณ์ขาเทียมที่ใช้เป็นแบบที่มีน้ำหนักเบา และเชื่อมต่อตัวรับสัญญาณนั้นไปยังตัวกระตุ้นบริเวณเบ้าของขาเทียมซึ่งเป็นส่วนที่รองรับตอขา และเมื่อผู้ใช้ลงน้ำหนักในการก้าวเดิน สัญญาณจากพื้นเท้าขาเทียมจะถูกส่งไปยังสมอง
ศ.เอกเกอร์ อธิบายว่า โดยปกติแล้ว ตัวรับสิ่งเร้าบริเวณผิวหนังที่เท้าจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณนี้ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะไป จะไม่มีตัวรับสิ่งเร้านั้น แต่เส้นประสาทก็ยังคงอยู่ เพียงแต่ไม่ได้รับการกระตุ้นเท่านั้น เมื่อปี 2553 เอกเกอร์เคยนำเสนอแขนเทียมที่ควบคุมได้โดยสมอง ซึ่งสามารถควบคุมได้โดยใช้ประสาทสั่งการซึ่งปกติแล้วจะเชื่อมต่อกับอวัยวะ ในกรณีนี้มีหลักการทำงานที่คล้ายกัน เพียงแต่เป็นกรบวนการย้อนกลับที่ส่งข้อมูลจากอวัยวะไปยังสมองแทน
ผู้ที่เข้ารับการทดลองครั้งนี้ คือ นายโวล์ฟกัง แร็งเกอร์ อดีตครูชาวออสเตรียวัย 54 ปี สูญเสียขาขวาจากลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะสมองขาดเลือด จากการทดลองใช้ขาเทียมใหม่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แร็งเกอร์เผยว่า เขารู้สึกราวกับว่ากลับมามีเท้าจริงอีกครั้ง เขาไม่ลื่นล้มบนน้ำแข็งอีกแล้ว และยังสามารถบอกได้ถึงความแตกต่างของพื้นผิวที่เขาเหยียบลงไป ไม่ว่าจะเป็นกรวด คอนกรีต หญ้า หรือทราย
นอกจากนี้ อีกหนึ่งคุณสมบัติพิเศษของขาเทียมไฮเทคนี้ คือกำจัดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่า ความรู้สึกปวดปลายต่อตอขา ซึ่งเป็นความเจ็บปวดที่เกิดจากการที่สมองเพิ่มการรับรู้ในระดับที่เข้มข้นขึ้น เพื่อควานหาการส่งสัญญาณจากอวัยวะที่หายไป
พฤติกรรมดังกล่าวของสมองทำให้การรับความรู้สึกบริเวณตอขาเป็นไปในระดับที่รุนแรงกว่าปกติ บวกกับประสบการณ์จากการสูญเสียอวัยวะที่ตอกย้ำความทรงจำที่เจ็บปวด ซึ่งการเชื่อมต่อการรับรู้ของเส้นประสาทด้วยสิ่งประดิษฐ์นี้ เป็นการเติมเต็มช่องว่าง และทำให้สมองกลับมารับรู้ข้อมูลตามจริงอีกครั้ง
ทั้งนี้ เอกเกอร์หวังว่าเขาจะได้รับการสนับสนุนจากบริษัทที่สนใจ เพื่อช่วยในการผลิต และทำให้ราคาต้นทุนของขาเทียมนี้ลดลง ราคาของขาเทียมไฮเท็คในขณะนี้อยู่ระหว่าง 10,000 - 30,000 ยูโร (ประมาณ 375,600 - 1,100,000 บาท) โดยเขาเชื่อว่ามันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียอวัยวะให้ดีขึ้น และกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขอีกครั้งเพราะว่าคนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนป่วยเพียงแค่มีส่วนที่ขาดหายไปเท่านั้นเอง.“
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/foreign/326903 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
„สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ว่า ศาสตราจารย์อูเบอร์ต เอกเกอร์ จากมหาวิทยาลัยลินซ์ในออสเตรีย เผยความสำเร็จในการคิดค้นขาเทียมที่ทำให้ผู้สวมใส่สามารถรับรู้ความรู้สึกของขาส่วนที่เสียไปได้ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน คนพิการขาขาด ทดลองใส่ขาเทียม การทำงานของสิ่งประดิษฐ์นี้ เป็นกระบวนการทำงาน 2 ทาง เริ่มจากการรื้อและเชื่อมต่อส่วนปลายของเส้นประสาทเท้าที่ยังหลงเหลือจากตอขาของผู้ป่วย ไปยังเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์ดีที่ต้นขา โดยจัดวางให้อยู่ใกล้ผิวหนังด้านบนมากที่สุด จากนั้นจึงติดตั้งเซนเซอร์รับสัญญาณ 6 ตัวที่พื้นเท้าของขาเทียม โดยอุปกรณ์ขาเทียมที่ใช้เป็นแบบที่มีน้ำหนักเบา และเชื่อมต่อตัวรับสัญญาณนั้นไปยังตัวกระตุ้นบริเวณเบ้าของขาเทียมซึ่งเป็นส่วนที่รองรับตอขา และเมื่อผู้ใช้ลงน้ำหนักในการก้าวเดิน สัญญาณจากพื้นเท้าขาเทียมจะถูกส่งไปยังสมอง ศ.เอกเกอร์ อธิบายว่า โดยปกติแล้ว ตัวรับสิ่งเร้าบริเวณผิวหนังที่เท้าจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณนี้ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะไป จะไม่มีตัวรับสิ่งเร้านั้น แต่เส้นประสาทก็ยังคงอยู่ เพียงแต่ไม่ได้รับการกระตุ้นเท่านั้น เมื่อปี 2553 เอกเกอร์เคยนำเสนอแขนเทียมที่ควบคุมได้โดยสมอง ซึ่งสามารถควบคุมได้โดยใช้ประสาทสั่งการซึ่งปกติแล้วจะเชื่อมต่อกับอวัยวะ ในกรณีนี้มีหลักการทำงานที่คล้ายกัน เพียงแต่เป็นกรบวนการย้อนกลับที่ส่งข้อมูลจากอวัยวะไปยังสมองแทน ผู้ที่เข้ารับการทดลองครั้งนี้ คือ นายโวล์ฟกัง แร็งเกอร์ อดีตครูชาวออสเตรียวัย 54 ปี สูญเสียขาขวาจากลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะสมองขาดเลือด จากการทดลองใช้ขาเทียมใหม่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แร็งเกอร์เผยว่า เขารู้สึกราวกับว่ากลับมามีเท้าจริงอีกครั้ง เขาไม่ลื่นล้มบนน้ำแข็งอีกแล้ว และยังสามารถบอกได้ถึงความแตกต่างของพื้นผิวที่เขาเหยียบลงไป ไม่ว่าจะเป็นกรวด คอนกรีต หญ้า หรือทราย นอกจากนี้ อีกหนึ่งคุณสมบัติพิเศษของขาเทียมไฮเทคนี้ คือกำจัดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่า ความรู้สึกปวดปลายต่อตอขา ซึ่งเป็นความเจ็บปวดที่เกิดจากการที่สมองเพิ่มการรับรู้ในระดับที่เข้มข้นขึ้น เพื่อควานหาการส่งสัญญาณจากอวัยวะที่หายไป พฤติกรรมดังกล่าวของสมองทำให้การรับความรู้สึกบริเวณตอขาเป็นไปในระดับที่รุนแรงกว่าปกติ บวกกับประสบการณ์จากการสูญเสียอวัยวะที่ตอกย้ำความทรงจำที่เจ็บปวด ซึ่งการเชื่อมต่อการรับรู้ของเส้นประสาทด้วยสิ่งประดิษฐ์นี้ เป็นการเติมเต็มช่องว่าง และทำให้สมองกลับมารับรู้ข้อมูลตามจริงอีกครั้ง ทั้งนี้ เอกเกอร์หวังว่าเขาจะได้รับการสนับสนุนจากบริษัทที่สนใจ เพื่อช่วยในการผลิต และทำให้ราคาต้นทุนของขาเทียมนี้ลดลง ราคาของขาเทียมไฮเท็คในขณะนี้อยู่ระหว่าง 10,000 - 30,000 ยูโร (ประมาณ 375,600 - 1,100,000 บาท) โดยเขาเชื่อว่ามันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียอวัยวะให้ดีขึ้น และกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขอีกครั้งเพราะว่าคนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนป่วยเพียงแค่มีส่วนที่ขาดหายไปเท่านั้นเอง.“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/foreign/326903
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)