วิจัยพบเกินครึ่งอยาก “เดิน-ปั่น” หากปลอดภัย คมนาคมเล็งปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 บรรจุแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - สิ่งอำนวยความสะดวก หนุนเดินทางไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง ก.คมนาคม เล็งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเอื้อคนเดินเท้า - จักรยาน ให้สะดวก ปลอดภัย เชื่อมระบบขนส่งสาธารณะ ผลวิจัยย้ำชัดเดิน - จักรยาน ช่วยลดมลพิษ ประหยัดน้ำมันเชิงเพลิง 2,900ล้านลิตรประหยัดงบ86,507ล้านบาทชี้เกินครึ่งอยากเดิน-ปั่นหากเดินทางปลอดภัยสะดวก
วันที่ (3 มี.ค.) ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการเดินและการจักรยานไทย และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัด การประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 “ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน” โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า ขอชื่นชมสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สสส. และหน่วยงานอื่นๆ กว่า 15 องค์กร ที่ช่วยกันขับเคลื่อนการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน จนได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง (Non-Motorized Transportation: NMT) ในส่วนของกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก มีความพร้อมในการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อคนเดินทางเท้าและทางจักรยานให้ความสะดวก สบาย และปลอดภัยเชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งสาธารณะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้
นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า การขับเคลื่อนให้เรื่องเดินเท้าและจักรยานเข้าสู่แผนพัฒนาประเทศได้สำเร็จนั้น เป็นพลังความร่วมมือทั้ง สสส. และพลังของภาคีและภาคส่วนต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนทำงานจริงจัง ทั้งในส่วนของพื้นที่ และระดับนโยบาย เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และการเดินทางสอดรับกับแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายของ สสส. ที่มีเป้าหมายเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม โดยเน้นส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุข - ภาวะที่ดี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการสาธารณะให้เอื้อต่อการเป็นเมืองสุขภาพดีและสนับสนุนให้บริษัท/องค์กรทุกภาคส่วนจัดพื้นที่และกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย
“การประชุมครั้งนี้ มีการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องเดินและการใช้จักรยานที่น่าสนใจ เช่น แอปพลิเคชันกฎหมายจราจรทางบกส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัย คนเดิน คนใช้จักรยาน ประเด็นคนพิการกับความพึงพอใจในความปลอดภัยในการใช้ทางเดินเท้า ประเด็นปัจจัยส่งเสริมให้เดิน ปั่นไปต่อรถไฟฟ้า กรณีศึกษา บางหว้า - ตลิ่งชัน ซึ่งจะเป็นการสร้างการรับรู้และเข้าใจเป็นพลังที่จะร่วมขับเคลื่อนเรื่องเดินและจักรยานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามแผนพัฒนาประเทศต่อไป”นพ.ไพโรจน์กล่าว
ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมืองควรให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ทางข้าม ทางเท้า และทางจักรยาน” ที่สามารถ “เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะ” ในเขตเมืองและการสร้างมาตรฐานและคุ้มครอง “ความปลอดภัยของผู้สัญจรทางเดินเท้า และผู้ใช้จักรยานในเขตเมือง” เพื่อเพิ่มสัดส่วนของการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในภาพรวม ทั้งนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะต่อไป ต้องคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม โดยเฉพาะ “กลุ่มคนพิการ และผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเดินและการจักรยานไทยและภาคส่วนต่างๆในการทำให้ระบบต่อไป
ด้าน นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ผู้อำนวยการสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า เดิน จักรยาน คือ การคมนาคมที่สะดวกที่สุด ราคาถูกที่สุด เข้าถึงทุกพื้นที่ได้ดีที่สุด เพื่อการตอบโจทย์ดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม สถาบันฯ เตรียมยกระดับการเดินและการใช้จักรยาน เป็นโหมดของการเดินทางคมนาคมขนส่งของเมือง/ชุมชน ซึ่งจะสัมฤทธิ์ผลนั้น ต้องอาศัยภาคส่วนต่างๆ ในเมือง/ชุมชนนั้นเป็นสำคัญ สถาบันฯ ยินดีและมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำงานกับท้องถิ่น โดยการเชื่อมประสานกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคนั้นๆ ด้านวิชาการ เพราะผู้บริหารเมืองที่มีวิสัยทัศน์ ต้องการข้อมูลเชิงวิชาการ และการสนับสนุนอย่างถูกต้องจากภาคประชาสังคมที่จะเปลี่ยนเมือง เปลี่ยนชุนชน ให้สามารถเดินและใช้จักรยานได้ ตนทำเรื่องคมนาคมขนส่งมาโดยตลอดอายุราชการ ซึ่งบางครั้งการทำงานจากระดับนโยบายความต้องการของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ไม่ค่อยสำเร็จ แต่มุมกลับตอนนี้ การทำงานของสถาบันฯ คือ การทำงานในเชิงบูรณาการงานเข้าด้วยกัน ซึ่งยาก แต่ท้าท้าย ผลที่เกิดขึ้นก็จะเกิดกับเมือง และชุมชนนั้น และจากงานวิจัยของสนข.ชี้ชัดว่า หากมีการส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ร่วมกับการปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการขนส่งอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (สิงหาคม 2557) พบว่า จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) 8.0 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt CO2e) หรือ 3,900 ktoe หรือสามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินได้ประมาณ 2,900 ล้านลิตร จะประหยัดงบได้ 86,507 ล้านบาท
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000022079 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 “ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน” แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 บรรจุแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - สิ่งอำนวยความสะดวก หนุนเดินทางไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง ก.คมนาคม เล็งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเอื้อคนเดินเท้า - จักรยาน ให้สะดวก ปลอดภัย เชื่อมระบบขนส่งสาธารณะ ผลวิจัยย้ำชัดเดิน - จักรยาน ช่วยลดมลพิษ ประหยัดน้ำมันเชิงเพลิง 2,900ล้านลิตรประหยัดงบ86,507ล้านบาทชี้เกินครึ่งอยากเดิน-ปั่นหากเดินทางปลอดภัยสะดวก วันที่ (3 มี.ค.) ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการเดินและการจักรยานไทย และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัด การประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 “ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน” โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า ขอชื่นชมสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สสส. และหน่วยงานอื่นๆ กว่า 15 องค์กร ที่ช่วยกันขับเคลื่อนการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน จนได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง (Non-Motorized Transportation: NMT) ในส่วนของกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก มีความพร้อมในการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อคนเดินทางเท้าและทางจักรยานให้ความสะดวก สบาย และปลอดภัยเชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งสาธารณะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า การขับเคลื่อนให้เรื่องเดินเท้าและจักรยานเข้าสู่แผนพัฒนาประเทศได้สำเร็จนั้น เป็นพลังความร่วมมือทั้ง สสส. และพลังของภาคีและภาคส่วนต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนทำงานจริงจัง ทั้งในส่วนของพื้นที่ และระดับนโยบาย เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และการเดินทางสอดรับกับแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายของ สสส. ที่มีเป้าหมายเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม โดยเน้นส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุข - ภาวะที่ดี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการสาธารณะให้เอื้อต่อการเป็นเมืองสุขภาพดีและสนับสนุนให้บริษัท/องค์กรทุกภาคส่วนจัดพื้นที่และกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย “การประชุมครั้งนี้ มีการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องเดินและการใช้จักรยานที่น่าสนใจ เช่น แอปพลิเคชันกฎหมายจราจรทางบกส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัย คนเดิน คนใช้จักรยาน ประเด็นคนพิการกับความพึงพอใจในความปลอดภัยในการใช้ทางเดินเท้า ประเด็นปัจจัยส่งเสริมให้เดิน ปั่นไปต่อรถไฟฟ้า กรณีศึกษา บางหว้า - ตลิ่งชัน ซึ่งจะเป็นการสร้างการรับรู้และเข้าใจเป็นพลังที่จะร่วมขับเคลื่อนเรื่องเดินและจักรยานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามแผนพัฒนาประเทศต่อไป”นพ.ไพโรจน์กล่าว ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมืองควรให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ทางข้าม ทางเท้า และทางจักรยาน” ที่สามารถ “เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะ” ในเขตเมืองและการสร้างมาตรฐานและคุ้มครอง “ความปลอดภัยของผู้สัญจรทางเดินเท้า และผู้ใช้จักรยานในเขตเมือง” เพื่อเพิ่มสัดส่วนของการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในภาพรวม ทั้งนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะต่อไป ต้องคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม โดยเฉพาะ “กลุ่มคนพิการ และผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเดินและการจักรยานไทยและภาคส่วนต่างๆในการทำให้ระบบต่อไป ด้าน นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ผู้อำนวยการสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า เดิน จักรยาน คือ การคมนาคมที่สะดวกที่สุด ราคาถูกที่สุด เข้าถึงทุกพื้นที่ได้ดีที่สุด เพื่อการตอบโจทย์ดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม สถาบันฯ เตรียมยกระดับการเดินและการใช้จักรยาน เป็นโหมดของการเดินทางคมนาคมขนส่งของเมือง/ชุมชน ซึ่งจะสัมฤทธิ์ผลนั้น ต้องอาศัยภาคส่วนต่างๆ ในเมือง/ชุมชนนั้นเป็นสำคัญ สถาบันฯ ยินดีและมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำงานกับท้องถิ่น โดยการเชื่อมประสานกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคนั้นๆ ด้านวิชาการ เพราะผู้บริหารเมืองที่มีวิสัยทัศน์ ต้องการข้อมูลเชิงวิชาการ และการสนับสนุนอย่างถูกต้องจากภาคประชาสังคมที่จะเปลี่ยนเมือง เปลี่ยนชุนชน ให้สามารถเดินและใช้จักรยานได้ ตนทำเรื่องคมนาคมขนส่งมาโดยตลอดอายุราชการ ซึ่งบางครั้งการทำงานจากระดับนโยบายความต้องการของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ไม่ค่อยสำเร็จ แต่มุมกลับตอนนี้ การทำงานของสถาบันฯ คือ การทำงานในเชิงบูรณาการงานเข้าด้วยกัน ซึ่งยาก แต่ท้าท้าย ผลที่เกิดขึ้นก็จะเกิดกับเมือง และชุมชนนั้น และจากงานวิจัยของสนข.ชี้ชัดว่า หากมีการส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ร่วมกับการปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการขนส่งอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (สิงหาคม 2557) พบว่า จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) 8.0 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt CO2e) หรือ 3,900 ktoe หรือสามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินได้ประมาณ 2,900 ล้านลิตร จะประหยัดงบได้ 86,507 ล้านบาท ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000022079
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)