เปลี่ยนเมืองที่เป็นมิตรนักปั่น-คนเดินเท้า
เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และไต้หวัน ได้รับการขนานนามจากคนทั่วโลกว่าเป็นเมืองจักรยาน ผู้คนนิยมใช้จักรยานเป็นพาหนะ ในการเดินทาง เพราะรัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงและต้องการลดปริมาณคาร์บอนที่ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมมีการออกแบบผังเมืองรองรับนักปั่นและคนเดินเท้าให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัย
หันกลับมาประเทศไทย เห็นได้ชัดทั้งสภาพแวดล้อม ถนนหนทางไม่เอื้ออำนวยกับการเดินและปั่นๆ ผิวจราจรขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ แล้วยังเสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชน ปัญหาสำคัญที่ทำให้ไปไม่ถึงฝันคือความไม่ปลอดภัยและไร้สิ่งอำนวยความสะดวกนั่นเอง
น่าสนใจเมื่อสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานอื่นๆ กว่า 15 องค์กร ร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจนรัฐบาลได้บรรจุการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ขณะเดียวกันก็วิจัยรวบรวมข้อมูลวิชาการเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนการทำงานตามเป้าหมาย
ล่าสุด มีการจัดประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ "ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน" ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเท้า ทางข้าม และทางจักรยานในพื้นที่สามารถเชื่อมต่อกันได้
ผศ.ดร.ปุณยนุช รุธิรโก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ผู้จัดทำรายงานการวิจัยโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า งานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นจากการดูงานต้นแบบของ สสส.ที่ได้มีการรณรงค์ให้มีการเดินและการปั่นจักรยาน ทำให้มีแนวคิดขับเคลื่อนให้คนสนใจเดินและปั่นจักรยาน แต่การใช้จักรยานในบ้านเราหรือการเดินทางเท้าก็ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นที่มาของสมมติฐานงานวิจัย
จากผลการวิจัยนี้ พบว่า 1.สภาพปัจจุบัน ของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ใช้ทางเท้า ได้แก่ บาทวิถี ทาง ม้าลาย สัญญาณไฟจราจร สะพานลอย และศาลาที่พักริมทาง/ศาลาที่พักสำหรับรอรถประจำทาง ได้พบปัญหาการรุกล้ำบาทวิถี ทางม้าลายมองไม่เห็น ไม่มีไฟสัญญาณจราจรสำหรับคนข้าม ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ เป็นต้น 2.สภาพปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้จักรยานพบว่ามีจำนวนจุดจอดจักรยานไม่ทั่วพื้นที่และถนนแบ่งสำหรับปั่นจักรยานมีไม่ทั่ว
3.พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้ทาง เท้าต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดิน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเดินในชีวิตประจำวันมากที่สุด คือ ทางม้าลาย รองลงมา ไฟส่องสว่าง และป้ายเตือนอันตราย ส่วนการตัดสินใจเดินเกิดจากการคำนึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเดินมากที่สุด 4.พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้ทางเท้า ต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปั่นจักรยาน พบว่า ต้อง การแสงไฟส่องสว่างมากที่สุด รองลงมาที่จอดจักรยาน ป้ายเตือนอันตราย และสัญญาณไฟจราจร 5.แนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานนั้นควรมีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แก้ไขปัญหาการรุกล้ำบาทวิถีอย่างเป็นรูปธรรมรวมถึงส่งเสริมรณรงค์ให้เห็นประโยชน์ของการเดินและการปั่นจักรยานเป็นต้น
"ผลวิจัยชี้ด้วยว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัด สินใจใช้วิธีการเดินเท้าและปั่นการจักรยาน คือ ต้องมีความปลอดภัย มีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ"ผศ.ดร.ปุณยนุชกล่าว
ส่วนภาคปฏิบัติงานในพื้นที่ พรเทพ ดิษยบุตร เลขาธิการสมาพันธ์ผู้ใช้จักรยานและการเดิน (ภาคใต้ตอนบน) เล่าว่า เป็นคนชอบปั่นจักรยานจึงเกิดแนวคิดทำอย่างไรให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สามารถเดินและใช้จักรยานได้อย่างปลอดภัยรวมถึงเป็นส่วนหนึ่งบนท้องถนนร่วมกับยานพาหนะอื่นๆที่สำคัญคือต้องเกิดความยั่งยืน
"การทำโครงการเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดินและการปั่นจักรยานให้ประชาชนสามารถเดินและปั่นจักรยานได้ ปัญหาอยู่ตรงที่จะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นเพื่อให้มีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าเกิดผลสำเร็จจึงต้องมีการร่วมมือกับหลายภาคส่วนที่เป็นองค์ประกอบของเมือง ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล ชุมชน และโรงเรียน ที่จะมาเป็นจุดเริ่มต้นช่วยผลักดันโครงการให้เกิดเป็นพื้นที่เดิน-ปั่นจักรยานได้อย่างปลอดภัย"พรเทพกล่าว
ทั้งนี้ ข้อมูลสอดคล้องกับรายงานของคณะทำงานตัวชี้วัด เดิน จักรยานเพื่อส่งเสริมชุมชนเมืองให้เอื้อต่อการเดินและใช้จักรยาน คือ 1.เมืองชุมชน 2.โรงเรียน ซึ่งมีกรอบหลักๆ ที่ร่างไว้ 5 ข้อ เพื่อให้พื้นที่ก้าวสู่เมืองเป็นมิตร ได้แก่ การจัดการด้านโครงสร้างให้เอื้อต่อการเดินและการปั่นจักรยาน, การบริหารจัดการเชิงโครงสร้าง ระบบ และกลไกการทำงาน โดยพื้นที่มีการกำหนดนโยบายและทำงานแบบบูรณาการ รวมถึงมีมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมส่งเสริมให้เกิดการเดินหรือใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ถัดมา จัดให้มีกิจกรรมในพื้นที่ปลุกกระแสสังคมและสร้างองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม ข้อสุดท้าย มีสุขภาวะและสุขภาพองค์รวมของโรงเรียนหรือเมืองที่ดีขึ้น
การผลักดันแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แต่หากมีทุกภาคส่วนร่วมมือกันทำให้เกิดความเป็นรูปธรรมให้ชุมชน เมือง หรือพื้นที่อื่นๆ ได้เห็นถึงประโยชน์และผลสำเร็จของงานเชื่อได้ว่าไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเดินและการใช้จักรยานมากขึ้นอย่างแน่นอน.
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/2625542
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ทางจักรยาน เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และไต้หวัน ได้รับการขนานนามจากคนทั่วโลกว่าเป็นเมืองจักรยาน ผู้คนนิยมใช้จักรยานเป็นพาหนะ ในการเดินทาง เพราะรัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงและต้องการลดปริมาณคาร์บอนที่ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมมีการออกแบบผังเมืองรองรับนักปั่นและคนเดินเท้าให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัย หันกลับมาประเทศไทย เห็นได้ชัดทั้งสภาพแวดล้อม ถนนหนทางไม่เอื้ออำนวยกับการเดินและปั่นๆ ผิวจราจรขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ แล้วยังเสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชน ปัญหาสำคัญที่ทำให้ไปไม่ถึงฝันคือความไม่ปลอดภัยและไร้สิ่งอำนวยความสะดวกนั่นเอง น่าสนใจเมื่อสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานอื่นๆ กว่า 15 องค์กร ร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจนรัฐบาลได้บรรจุการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ขณะเดียวกันก็วิจัยรวบรวมข้อมูลวิชาการเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนการทำงานตามเป้าหมาย ล่าสุด มีการจัดประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ "ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน" ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเท้า ทางข้าม และทางจักรยานในพื้นที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ผศ.ดร.ปุณยนุช รุธิรโก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ผู้จัดทำรายงานการวิจัยโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า งานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นจากการดูงานต้นแบบของ สสส.ที่ได้มีการรณรงค์ให้มีการเดินและการปั่นจักรยาน ทำให้มีแนวคิดขับเคลื่อนให้คนสนใจเดินและปั่นจักรยาน แต่การใช้จักรยานในบ้านเราหรือการเดินทางเท้าก็ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นที่มาของสมมติฐานงานวิจัย จากผลการวิจัยนี้ พบว่า 1.สภาพปัจจุบัน ของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ใช้ทางเท้า ได้แก่ บาทวิถี ทาง ม้าลาย สัญญาณไฟจราจร สะพานลอย และศาลาที่พักริมทาง/ศาลาที่พักสำหรับรอรถประจำทาง ได้พบปัญหาการรุกล้ำบาทวิถี ทางม้าลายมองไม่เห็น ไม่มีไฟสัญญาณจราจรสำหรับคนข้าม ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ เป็นต้น 2.สภาพปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้จักรยานพบว่ามีจำนวนจุดจอดจักรยานไม่ทั่วพื้นที่และถนนแบ่งสำหรับปั่นจักรยานมีไม่ทั่ว 3.พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้ทาง เท้าต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดิน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเดินในชีวิตประจำวันมากที่สุด คือ ทางม้าลาย รองลงมา ไฟส่องสว่าง และป้ายเตือนอันตราย ส่วนการตัดสินใจเดินเกิดจากการคำนึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเดินมากที่สุด 4.พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้ทางเท้า ต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปั่นจักรยาน พบว่า ต้อง การแสงไฟส่องสว่างมากที่สุด รองลงมาที่จอดจักรยาน ป้ายเตือนอันตราย และสัญญาณไฟจราจร 5.แนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานนั้นควรมีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แก้ไขปัญหาการรุกล้ำบาทวิถีอย่างเป็นรูปธรรมรวมถึงส่งเสริมรณรงค์ให้เห็นประโยชน์ของการเดินและการปั่นจักรยานเป็นต้น "ผลวิจัยชี้ด้วยว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัด สินใจใช้วิธีการเดินเท้าและปั่นการจักรยาน คือ ต้องมีความปลอดภัย มีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ"ผศ.ดร.ปุณยนุชกล่าว ส่วนภาคปฏิบัติงานในพื้นที่ พรเทพ ดิษยบุตร เลขาธิการสมาพันธ์ผู้ใช้จักรยานและการเดิน (ภาคใต้ตอนบน) เล่าว่า เป็นคนชอบปั่นจักรยานจึงเกิดแนวคิดทำอย่างไรให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สามารถเดินและใช้จักรยานได้อย่างปลอดภัยรวมถึงเป็นส่วนหนึ่งบนท้องถนนร่วมกับยานพาหนะอื่นๆที่สำคัญคือต้องเกิดความยั่งยืน "การทำโครงการเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดินและการปั่นจักรยานให้ประชาชนสามารถเดินและปั่นจักรยานได้ ปัญหาอยู่ตรงที่จะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นเพื่อให้มีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าเกิดผลสำเร็จจึงต้องมีการร่วมมือกับหลายภาคส่วนที่เป็นองค์ประกอบของเมือง ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล ชุมชน และโรงเรียน ที่จะมาเป็นจุดเริ่มต้นช่วยผลักดันโครงการให้เกิดเป็นพื้นที่เดิน-ปั่นจักรยานได้อย่างปลอดภัย"พรเทพกล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลสอดคล้องกับรายงานของคณะทำงานตัวชี้วัด เดิน จักรยานเพื่อส่งเสริมชุมชนเมืองให้เอื้อต่อการเดินและใช้จักรยาน คือ 1.เมืองชุมชน 2.โรงเรียน ซึ่งมีกรอบหลักๆ ที่ร่างไว้ 5 ข้อ เพื่อให้พื้นที่ก้าวสู่เมืองเป็นมิตร ได้แก่ การจัดการด้านโครงสร้างให้เอื้อต่อการเดินและการปั่นจักรยาน, การบริหารจัดการเชิงโครงสร้าง ระบบ และกลไกการทำงาน โดยพื้นที่มีการกำหนดนโยบายและทำงานแบบบูรณาการ รวมถึงมีมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมส่งเสริมให้เกิดการเดินหรือใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ถัดมา จัดให้มีกิจกรรมในพื้นที่ปลุกกระแสสังคมและสร้างองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม ข้อสุดท้าย มีสุขภาวะและสุขภาพองค์รวมของโรงเรียนหรือเมืองที่ดีขึ้น การผลักดันแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แต่หากมีทุกภาคส่วนร่วมมือกันทำให้เกิดความเป็นรูปธรรมให้ชุมชน เมือง หรือพื้นที่อื่นๆ ได้เห็นถึงประโยชน์และผลสำเร็จของงานเชื่อได้ว่าไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเดินและการใช้จักรยานมากขึ้นอย่างแน่นอน. ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/2625542
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)