“บางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล” สู่เมืองต้นแบบอารยสถาปัตย์เพื่อคนทุกวัย

แสดงความคิดเห็น

โดย กฤษนะ ละไล

เมื่อวันอังคารที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา เครือข่ายบางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล นำโดย คุณกุลวดี ศิริภัทร ตัวแทนภาคเอกชนจากโรงเรียนนานาชาติบางกอกพัฒนา ในฐานะประธานเครือข่าย พร้อมด้วย คุณผาสุข ลัดพลี ผช.ผู้อำนวยการเขตบางนา พ.ต.ท.เดโช โสสุวรรณากุล รองผู้กำกับฝ่ายปราบปราม สน.บางนา และคุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล รวมถึงผู้แทนอาคารเซ็นทรัลบางนา ได้ร่วมกันลงพื้นที่ครั้งแรก ในโครงการบางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล เพื่อสำรวจ และให้ข้อแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาอารยสถาปัตย์สำหรับคนทุกวัยในย่านบางนา ช่วง กม.3-4 ซึ่งมีตึกอาคารศูนย์การค้า และอาคารสำนักงานต่างๆ ตั้งอยู่มากมาย

กฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล  ร่วมกันลงพื้นที่ครั้งแรก ในโครงการบางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล

ตึกอาคารส่วนใหญ่ในย่านดังกล่าวมักสร้างขึ้นก่อนที่กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ.2548 จึงทำให้ตึกอาคารหลายแห่งยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นอารยสถาปัตย์สำหรับคนทั้งมวล หรือบางแห่งอาจมี แต่มีเฉพาะบางจุด ยังไม่เชื่อมโยง และยังมีไม่ทั่วถึงเพียงพอการสำรวจเริ่มจากฟุตบาททางเท้าและทางรถเข็น ป้ายรถเมล์ ตึกอาคาร สถานที่ต่างๆ จากนั้นมาร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ และผู้ที่ใช้รถเข็น ซึ่งรวมถึงนักท่องเที่ยวที่ลากกระเป๋าเดินทางด้วย

“เรามาร่วมปรึกษาหารือกัน และขอความร่วมมือจากเจ้าของตึกอาคาร รวมถึงปรึกษากับผู้บริหารเขตบางนา กทม. ว่าจะช่วยกันทำตรงไหน อย่างไรบ้าง เพื่อให้ย่านบางนาเป็นต้นแบบในการปรับปรุงพัฒนาอารยสถาปัตย์ที่เชื่อมโยงทั่วถึงกัน เช่น การปรับปรุงฟุตบาททางเท้าให้มีทางลาดเชื่อมโยงไปยังตึกอาคาร สถานที่ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการทำทางลาดด้านหน้าตึกอาคารต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนที่ใช้รถเข็น ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พักฟื้นสุขภาพ ผู้พิการ และครอบครัวที่มีเด็กเล็กต้องใช้รถเข็น” คุณกุลวดีกล่าว

ส่วนคุณกฤษนะมองว่า โครงการบางนา FD โมเดล ช่วยตอบโจทย์การเตรียมสภาพแวดล้อมที่รองรับสังคมผู้สูงวัย คืนความสุขให้แก่คนทุกวัย ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเพื่อคนทั้งมวล และร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เพราะเรื่องอารยสถาปัตย์ หรือเฟรนด์ลี่ดีไซน์ ถือเป็นนวัตกรรมทางความคิด และจิตใจ เป็นนวัตกรรมทางจิตวิญญานแห่งยุคสมัยภายหลังการสำรวจ ทางเครือข่ายบางนา FD โมเดล ได้หารือถึงแนวทางและข้อเสนอในการปรับปรุงพื้นที่ต้นแบบในเบื้องต้น ดังนี้

1.ขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจเอกชนเจ้าของตึกอาคารในย่านดังกล่าว โดยเฉพาะศูนย์การค้าเซ็นทรัลบางนา ให้ช่วยทำทางลาด 2-3 จุด ที่ด้านหน้าอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนที่ใช้รถเข็น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้พิการ อีกทั้งเพื่อเป็นการเชื่อมต่อจากป้ายรถเมล์ชานต่ำ และรองรับสถานีรถไฟฟ้าสายบางนาสุวรรณภูมิในอนาคต ซึ่งถ้าทำเฟรนด์ลี่ดีไซน์เสร็จแล้ว คนที่ใช้รถเข็น หรือมนุษย์ล้อ ทั้งคนแก่ คนพิการ ครอบครัวที่มีเด็กเล็กใช้รถเข็น ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มีกระเป๋าลาก จะได้สามารถเดินทางโดยสารรถเมล์หรือรถไฟฟ้า หรือจะมาแท็กซี่ ก็สามารถลงรถจากด้านหน้าอาคารเข้ามาห้างและตึกอาคารต่างๆที่มีทางลาดด้านหน้าได้เลย (ปัจจุบัน ทางลาดในตึกอาคารส่วนใหญ่ มักมีอยู่ด้านหลัง)

ร่วมกันลงพื้นที่ครั้งแรก ในโครงการบางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล เพื่อสำรวจ และให้ข้อแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาอารยสถาปัตย์สำหรับคนทุกวัยในย่านบางนา ช่วง กม.3-4

2.ขอให้สำนักงานเขตบางนา ช่วยประสานและดำเนินการปรับปรุงฟุตบาททางเท้า รองรับการใช้งานของคนทุกวัย โดยเฉพาะคนที่ใช้รถเข็นจะได้สามารถใช้บริการได้สะดวก ปลอดภัย ด้วยการทำทางลาดมาตรฐาน คือ ไม่ชัน ไม่แคบ เชื่อมโยงทุกจุด ไปได้ทุกที่ และทำฝาปิดท่อระบายน้ำใหม่ ไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้ที่ใช้รถเข็น 3.ขอความร่วมมือจากทุกตึกอาคาร และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันปรับปรุงและลงมือสร้างทำอารยสถาปัตย์ให้เชื่อมโยงถึงกัน สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นสากลโลก และให้ดูสะอาด สวยงามโดย เฟส 1 คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน จากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2560 ที่จะเริ่มพัฒนาให้มีเฟรนด์ลี่ดีไซน์ คือ มีการออกแบบ และปรับปรุงสร้างทำตึกอาคาร สถานที่ ทางเดินเท้า เพื่อให้คนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ได้ สะดวก ทันสมัย ปลอดภัย เป็นมิตรกับคนทุกวัย และเพื่อคนทั้งมวล

Friendly Design (เฟรนด์ลี่ ดีไซน์) หมายถึง หลักการออกแบบบ้านเมือง ตึกอาคาร สถานที่ ระบบขนส่งมวลชน ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ตลอดจนบริการสาธารณะต่างๆ ที่เป็นสากล ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นมิตรกับคนทั้งมวล ให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสุขภาพร่างกายใช้ประโยชน์ได้ เข้าถึงได้ สะดวก ปลอดภัยยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือมีแอพพลิเคชั่นรองรับการใช้งานของคนตาบอด หรือคนหูหนวก, ตึกอาคารมีทางลาดที่มาตรฐาน คือไม่ชัน ไม่แคบ ไม่ลื่น มีราวกันตก และทางลาดต้องมีเชื่อมโยงไปได้ทั่วทุกจุดที่สำคัญคือ ตึกอาคาร สถานที่ต่างๆ ต้องมีทางลาดทั้งด้านหน้า และด้านหลัง หรือทุกจุดทางเข้าออก และมีห้องสุขาสำหรับคนที่ใช้รถเข็น มีประตูกว้าง 90-100 เซนติเมตร บานเลื่อน พื้นที่ภายในห้องน้ำกว้างพอที่จะให้รถเข็นหมุนตัวเองได้ มีราวจับกันล้ม เป็นต้น

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/ent/271132 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 เม.ย.60
วันที่โพสต์: 27/04/2560 เวลา 10:37:52 ดูภาพสไลด์โชว์ “บางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล” สู่เมืองต้นแบบอารยสถาปัตย์เพื่อคนทุกวัย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย กฤษนะ ละไล เมื่อวันอังคารที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา เครือข่ายบางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล นำโดย คุณกุลวดี ศิริภัทร ตัวแทนภาคเอกชนจากโรงเรียนนานาชาติบางกอกพัฒนา ในฐานะประธานเครือข่าย พร้อมด้วย คุณผาสุข ลัดพลี ผช.ผู้อำนวยการเขตบางนา พ.ต.ท.เดโช โสสุวรรณากุล รองผู้กำกับฝ่ายปราบปราม สน.บางนา และคุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล รวมถึงผู้แทนอาคารเซ็นทรัลบางนา ได้ร่วมกันลงพื้นที่ครั้งแรก ในโครงการบางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล เพื่อสำรวจ และให้ข้อแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาอารยสถาปัตย์สำหรับคนทุกวัยในย่านบางนา ช่วง กม.3-4 ซึ่งมีตึกอาคารศูนย์การค้า และอาคารสำนักงานต่างๆ ตั้งอยู่มากมาย กฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล ร่วมกันลงพื้นที่ครั้งแรก ในโครงการบางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล ตึกอาคารส่วนใหญ่ในย่านดังกล่าวมักสร้างขึ้นก่อนที่กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ.2548 จึงทำให้ตึกอาคารหลายแห่งยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นอารยสถาปัตย์สำหรับคนทั้งมวล หรือบางแห่งอาจมี แต่มีเฉพาะบางจุด ยังไม่เชื่อมโยง และยังมีไม่ทั่วถึงเพียงพอการสำรวจเริ่มจากฟุตบาททางเท้าและทางรถเข็น ป้ายรถเมล์ ตึกอาคาร สถานที่ต่างๆ จากนั้นมาร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ และผู้ที่ใช้รถเข็น ซึ่งรวมถึงนักท่องเที่ยวที่ลากกระเป๋าเดินทางด้วย “เรามาร่วมปรึกษาหารือกัน และขอความร่วมมือจากเจ้าของตึกอาคาร รวมถึงปรึกษากับผู้บริหารเขตบางนา กทม. ว่าจะช่วยกันทำตรงไหน อย่างไรบ้าง เพื่อให้ย่านบางนาเป็นต้นแบบในการปรับปรุงพัฒนาอารยสถาปัตย์ที่เชื่อมโยงทั่วถึงกัน เช่น การปรับปรุงฟุตบาททางเท้าให้มีทางลาดเชื่อมโยงไปยังตึกอาคาร สถานที่ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการทำทางลาดด้านหน้าตึกอาคารต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนที่ใช้รถเข็น ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พักฟื้นสุขภาพ ผู้พิการ และครอบครัวที่มีเด็กเล็กต้องใช้รถเข็น” คุณกุลวดีกล่าว ส่วนคุณกฤษนะมองว่า โครงการบางนา FD โมเดล ช่วยตอบโจทย์การเตรียมสภาพแวดล้อมที่รองรับสังคมผู้สูงวัย คืนความสุขให้แก่คนทุกวัย ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเพื่อคนทั้งมวล และร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เพราะเรื่องอารยสถาปัตย์ หรือเฟรนด์ลี่ดีไซน์ ถือเป็นนวัตกรรมทางความคิด และจิตใจ เป็นนวัตกรรมทางจิตวิญญานแห่งยุคสมัยภายหลังการสำรวจ ทางเครือข่ายบางนา FD โมเดล ได้หารือถึงแนวทางและข้อเสนอในการปรับปรุงพื้นที่ต้นแบบในเบื้องต้น ดังนี้ 1.ขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจเอกชนเจ้าของตึกอาคารในย่านดังกล่าว โดยเฉพาะศูนย์การค้าเซ็นทรัลบางนา ให้ช่วยทำทางลาด 2-3 จุด ที่ด้านหน้าอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนที่ใช้รถเข็น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้พิการ อีกทั้งเพื่อเป็นการเชื่อมต่อจากป้ายรถเมล์ชานต่ำ และรองรับสถานีรถไฟฟ้าสายบางนาสุวรรณภูมิในอนาคต ซึ่งถ้าทำเฟรนด์ลี่ดีไซน์เสร็จแล้ว คนที่ใช้รถเข็น หรือมนุษย์ล้อ ทั้งคนแก่ คนพิการ ครอบครัวที่มีเด็กเล็กใช้รถเข็น ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มีกระเป๋าลาก จะได้สามารถเดินทางโดยสารรถเมล์หรือรถไฟฟ้า หรือจะมาแท็กซี่ ก็สามารถลงรถจากด้านหน้าอาคารเข้ามาห้างและตึกอาคารต่างๆที่มีทางลาดด้านหน้าได้เลย (ปัจจุบัน ทางลาดในตึกอาคารส่วนใหญ่ มักมีอยู่ด้านหลัง) ร่วมกันลงพื้นที่ครั้งแรก ในโครงการบางนา เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ โมเดล เพื่อสำรวจ และให้ข้อแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาอารยสถาปัตย์สำหรับคนทุกวัยในย่านบางนา ช่วง กม.3-4 2.ขอให้สำนักงานเขตบางนา ช่วยประสานและดำเนินการปรับปรุงฟุตบาททางเท้า รองรับการใช้งานของคนทุกวัย โดยเฉพาะคนที่ใช้รถเข็นจะได้สามารถใช้บริการได้สะดวก ปลอดภัย ด้วยการทำทางลาดมาตรฐาน คือ ไม่ชัน ไม่แคบ เชื่อมโยงทุกจุด ไปได้ทุกที่ และทำฝาปิดท่อระบายน้ำใหม่ ไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้ที่ใช้รถเข็น 3.ขอความร่วมมือจากทุกตึกอาคาร และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันปรับปรุงและลงมือสร้างทำอารยสถาปัตย์ให้เชื่อมโยงถึงกัน สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นสากลโลก และให้ดูสะอาด สวยงามโดย เฟส 1 คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน จากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2560 ที่จะเริ่มพัฒนาให้มีเฟรนด์ลี่ดีไซน์ คือ มีการออกแบบ และปรับปรุงสร้างทำตึกอาคาร สถานที่ ทางเดินเท้า เพื่อให้คนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ได้ สะดวก ทันสมัย ปลอดภัย เป็นมิตรกับคนทุกวัย และเพื่อคนทั้งมวล Friendly Design (เฟรนด์ลี่ ดีไซน์) หมายถึง หลักการออกแบบบ้านเมือง ตึกอาคาร สถานที่ ระบบขนส่งมวลชน ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ตลอดจนบริการสาธารณะต่างๆ ที่เป็นสากล ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นมิตรกับคนทั้งมวล ให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสุขภาพร่างกายใช้ประโยชน์ได้ เข้าถึงได้ สะดวก ปลอดภัยยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือมีแอพพลิเคชั่นรองรับการใช้งานของคนตาบอด หรือคนหูหนวก, ตึกอาคารมีทางลาดที่มาตรฐาน คือไม่ชัน ไม่แคบ ไม่ลื่น มีราวกันตก และทางลาดต้องมีเชื่อมโยงไปได้ทั่วทุกจุดที่สำคัญคือ ตึกอาคาร สถานที่ต่างๆ ต้องมีทางลาดทั้งด้านหน้า และด้านหลัง หรือทุกจุดทางเข้าออก และมีห้องสุขาสำหรับคนที่ใช้รถเข็น มีประตูกว้าง 90-100 เซนติเมตร บานเลื่อน พื้นที่ภายในห้องน้ำกว้างพอที่จะให้รถเข็นหมุนตัวเองได้ มีราวจับกันล้ม เป็นต้น ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/ent/271132

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...