มาตรฐาน "ห้องน้ำสาธารณะญี่ปุ่น" บอกอะไรสังคมไทย

แสดงความคิดเห็น

อาจารย์วิว ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

"ประเทศไทยอาจไม่ได้จนจริง แต่ความเหลื่อมล้ำของเรากว้างมาก ทำให้คนที่ลำบาก คนพิการ คนจน คนชายขอบไม่เข้าถึงการพัฒนาเพราะการพัฒนากระจุกที่บางคน" "อาจารย์วิว" ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการ "ไอเดีย ยูนิต" (IDEaR UNIT) หรือ ศูนย์วิจัยและสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ชวนสำรวจห้องน้ำญี่ปุ่นแล้วย้อนมองสังคมไทย จริงเสมอไปหรือไม่ ไทยขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เพราะเราไม่ร่ำรวย

หลังเสร็จสิ้นภารกิจที่ประเทศญี่ปุ่นปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผู้อำนวยการไอเดียยูนิตบอก "วอยซ์ทีวี" ทันทีว่า เธอมีประสบการณ์ประทับใจเกี่ยวกับ "ยูนิเวอร์ซัล ดีไซน์" ของญี่ปุ่นมาแบ่งปันให้ฟังมากมาย อาจารย์วิวบอกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นเป็นทางเลือกตอบสนองความต้องการของคนหลายกลุ่ม ทั้งคนทั่วไป คนพิการ คนใช้รถเข็น คนตั้งครรภ์ คนมีลูกน้อย หรือกระทั่งคนใส่รองเท้าสูง เกิดจากฐานความคิดของชาวญี่ปุ่น เกี่ยวกับการใส่ใจเพื่อนมนุษย์ และการคำนึงถึงผู้อื่น ไม่เกี่ยวข้องเลย...กับการเป็นประเทศร่ำรวยหรือยากจน

"ไปถามเค้าว่าบริษัทไหนเชี่ยวชาญเรื่องยูดิเวอร์ซัลดีไซน์มั้ย เขางงแป๊บนึง...เขาบอกว่ายูนิเวอร์ซัลดีไซน์มีในทุกบริษัท เหมือนเราไปถามเค้าว่าบริษัทคุณมีคนออกแบบห้องน้ำเป็นมั้ย ซึ่งมันมีอยู่แล้วทุกบริษัท" บทสนทนาในประเด็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมเพื่อคนทุกกลุ่มระหว่างวอยซ์ทีวีกับนักวิชาการลงเอยที่ประเด็นซึ่งทั้งสองฝ่ายสนใจสอดคล้องกันเป็นพิเศษนั่นคือ การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกภายใน"ห้องน้ำสาธารณะ"

ภาพห้องน้ำในศูนย์ผู้อพยพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจังหวัดคุมะโมะโตะ

"ถ้าจะสังเกตให้ชัดคือในห้องน้ำบางประเทศ บางสังคม มองห้องน้ำเป็นพื้นที่ไม่ทำเงิน ไม่ทำรายได้ ต้องปิด ต้องแอบ เพราะเป็นที่ของเสีย ห้องน้ำควรแอบไว้ ไม่จำเป็น ทำห้องเล็กก็พอ กลับกันที่ญี่ปุ่น...ห้องน้ำเป็นหน้าเป็นตา คิดละเอียดมากๆ " อาจารย์วิวเริ่มต้นอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบภาพซึ่งเธอถ่ายไว้เอง ยกตัวอย่างเช่น ภาพห้องน้ำในศูนย์ผู้อพยพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจังหวัดคุมะโมะโตะ ซึ่งทำลายความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่อาศัย "ชั่วคราว" สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตั้งแต่ทางลาดสำหรับรถเข็นราวจับด้านหน้าอาคาร และประตูที่เปิดได้ง่าย ส่วนภายในครบครันไม่ต่างจากห้องน้ำคุณภาพดีในอาคารปลูกสร้างถาวร มีราวจับ โถปัสสาวะเตี้ย ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก ฯลฯ

"โถชักโครก" ผู้ที่เคยเดินทางไปญี่ปุ่นคุ้นเคยกันดี ทั้งระบบการชำระด้วยน้ำ โดยผู้ใช้งานไม่ต้องใช้มือสัมผัสร่างกายหลังเสร็จสิ้นธุระ (เว้นใช้ทิชชู่ทำความสะอาดเพิ่มเติม) ฝารองนั่งที่ปรับอุณหภูมิให้อุ่นเสมอ เหมาะสมกับอากาศหนาวเย็นในบางฤดู กระทั่งปุ่มเปิดเสียงดนตรีเพื่อกลบเสียงระหว่างทำกิจธุระ เหล่านี้คือตัวอย่างของการสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อตอบความต้องการที่หลากหลาย แน่นอนว่าความต้องการของคนบางกลุ่ม เช่น คนสูงอายุ คนพิการ คนใช้รถเข็น ฯลฯ ก็ถูกคำนึงพร้อมกันเป็นพื้นฐาน โดยไม่ถูกมองเป็นสิทธิพิเศษที่ต้องพิจารณาว่าควรได้รับหรือไม่

โถชักโครก

ดูๆแล้ว ความแตกต่างระหว่างห้องน้ำสาธารณะไทยกับญี่ปุ่น ไม่ได้อยู่ความครบครันของสิ่งอำนวยความสะดวก เพราะห้องน้ำหลายแห่งโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมืองของไทย ตลอดจนสถานีให้บริการน้ำมันตามถนนสายหลัก ก็ล้วนพัฒนาและพยายามตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน บางแห่งเรียกได้เต็มปากว่า สะอาด-หรูหรา แต่สิ่งที่นักวิชาการให้ความสนใจคือ การกระจายตัวของสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ที่จำกัดในพื้นที่บางแห่ง ต่างจากญี่ปุ่นที่สามารถพบเห็นมาตรฐานห้องน้ำ ทั้งในพื้นที่ชนบท กระทั่งศูนย์อพยพ

ผศ.อันธิกา บอกว่ามีสาเหตุหลักมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม "คุณอาจเคยเห็นห้องน้ำสุดหรูมากๆในเมืองไทย ก็มี มีโถทุกอย่างครบครัน ดีกว่าญี่ปุ่นก็มี แต่ความห่างชนชั้น ทำให้ความทั่วถึงไม่เกิดขึ้น ทำให้ภาพส่วนใหญ่ดูด้อยพัฒนา ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่น มีช่องว่างตรงนั้นน้อยกว่า ทำให้รัฐดูแลคนได้เท่าๆกัน อาจจะมีส้วมในห้างหรู แต่พี่ออกไปชนบท ก็มี อย่างน้อยส้วมมีชักโครก มีห้องน้ำสะอาด"

"ประเทศไทยอาจไม่ได้จนจริง แต่ความเหลื่อมล้ำของเรากว้างมาก ทำให้คนที่ลำบาก คนพิการ คนจน คนชายขอบ ไม่เข้าถึงการพัฒนา เพราะการพัฒนากระจุกที่บางคน" คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นเสมอในวงพูดคุย เรื่องการพัฒนายูนิเวอร์ซัลดีไซน์ คือ เป็นไปได้หรือที่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ถึงระดับประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น เพราะมีเงิน จึงสามารถสร้างทางเลือกให้ครอบคลุมคนที่มีความต้องการหลากหลายในสังคมได้มากกว่า มิใช่หรือ?

"คงไม่มีคำตอบใด คำตอบหนึ่ง ที่ทำให้ไทยตามญี่ปุ่นไม่ทัน หนึ่ง...จิตวิญญาณการต่อสู้ไม่เท่ากัน สอง...วิธีการคิดต่อเพื่อนมนุษย์ไม่เหมือนกัน เช่น ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เราอาจจะยังไม่ได้สอนเรื่องนี้เท่าไหร่ เราอาจจะสอนแต่เรื่องตัวเอง ให้เข้าใจตัวเอง แต่การคิดถึงคนอื่นทำให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น เริ่มจากเรื่องที่มองไม่เห็น เรื่องจิตใจ ไปจนถึงเรื่องบันได ทางลาด ห้องน้ำ ฯลฯ

เพราะฉะนั้น คงไม่ใช่แค่เรื่องเงินที่เอาไปลงทุน แต่คือวิธีคิด วิธีตัดสินใจ ว่าจะเอาเงินไปลงทุนหรือเปล่า สมมติว่ามีคนบอกว่า ไทยเป็นประเทศยากจน ก็เลยยังไม่มีห้องน้ำดีๆ เท่าญี่ปุ่น เราก็ต้องถามว่างบในบางกระทรวง เยอะมาก งบลับเยอะมาก เงินที่รัฐบาลจะเอาไปลงทุนมันเยอะมากเลย เราก็ไม่ได้จนนะ มันอยู่ที่ว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มากน้อยแค่ไหน"

อุปกรณ์สำหรับยืนเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องน้ำ โดยตัดปัญหาผู้ใช้งานไม่ต้องการให้เท้าสัมผัสกับพื้นโดยตรง

โถสุขภัณฑ์แบบซึมที่มักพบอย่างน้อย 1 ล็อคในห้องน้ำสาธารณะ สำหรับคนสูงอายุที่ไม่คุ้นกับชักโครก

อ่างล้างหน้าต่างระดับสำหรับเด็กและคนใช้รถเข็น พบบ่อยในห้างสรรพสินค้าไทย แต่พบไม่บ่อยในพื้นที่นอกเขตเมือง

ที่ล็อคบานประตูซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

แผนผังแสดงตำแหน่งห้องน้ำในอาคาร มีประโยชน์ต่อทุกคน ขณะเดียวกันอักษรเบรลล์ มีประโยชน์ต่อคนพิการทางสายตาด้วย

ขอบคุณ... http://news.voicetv.co.th/thailand/494965.html

ที่มา: news.voicetv.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 02 มิ.ย.60
วันที่โพสต์: 6/06/2560 เวลา 10:39:41 ดูภาพสไลด์โชว์ มาตรฐาน "ห้องน้ำสาธารณะญี่ปุ่น" บอกอะไรสังคมไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อาจารย์วิว ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) "ประเทศไทยอาจไม่ได้จนจริง แต่ความเหลื่อมล้ำของเรากว้างมาก ทำให้คนที่ลำบาก คนพิการ คนจน คนชายขอบไม่เข้าถึงการพัฒนาเพราะการพัฒนากระจุกที่บางคน" "อาจารย์วิว" ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการ "ไอเดีย ยูนิต" (IDEaR UNIT) หรือ ศูนย์วิจัยและสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ชวนสำรวจห้องน้ำญี่ปุ่นแล้วย้อนมองสังคมไทย จริงเสมอไปหรือไม่ ไทยขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เพราะเราไม่ร่ำรวย หลังเสร็จสิ้นภารกิจที่ประเทศญี่ปุ่นปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผู้อำนวยการไอเดียยูนิตบอก "วอยซ์ทีวี" ทันทีว่า เธอมีประสบการณ์ประทับใจเกี่ยวกับ "ยูนิเวอร์ซัล ดีไซน์" ของญี่ปุ่นมาแบ่งปันให้ฟังมากมาย อาจารย์วิวบอกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นเป็นทางเลือกตอบสนองความต้องการของคนหลายกลุ่ม ทั้งคนทั่วไป คนพิการ คนใช้รถเข็น คนตั้งครรภ์ คนมีลูกน้อย หรือกระทั่งคนใส่รองเท้าสูง เกิดจากฐานความคิดของชาวญี่ปุ่น เกี่ยวกับการใส่ใจเพื่อนมนุษย์ และการคำนึงถึงผู้อื่น ไม่เกี่ยวข้องเลย...กับการเป็นประเทศร่ำรวยหรือยากจน "ไปถามเค้าว่าบริษัทไหนเชี่ยวชาญเรื่องยูดิเวอร์ซัลดีไซน์มั้ย เขางงแป๊บนึง...เขาบอกว่ายูนิเวอร์ซัลดีไซน์มีในทุกบริษัท เหมือนเราไปถามเค้าว่าบริษัทคุณมีคนออกแบบห้องน้ำเป็นมั้ย ซึ่งมันมีอยู่แล้วทุกบริษัท" บทสนทนาในประเด็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมเพื่อคนทุกกลุ่มระหว่างวอยซ์ทีวีกับนักวิชาการลงเอยที่ประเด็นซึ่งทั้งสองฝ่ายสนใจสอดคล้องกันเป็นพิเศษนั่นคือ การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกภายใน"ห้องน้ำสาธารณะ" ภาพห้องน้ำในศูนย์ผู้อพยพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจังหวัดคุมะโมะโตะ "ถ้าจะสังเกตให้ชัดคือในห้องน้ำบางประเทศ บางสังคม มองห้องน้ำเป็นพื้นที่ไม่ทำเงิน ไม่ทำรายได้ ต้องปิด ต้องแอบ เพราะเป็นที่ของเสีย ห้องน้ำควรแอบไว้ ไม่จำเป็น ทำห้องเล็กก็พอ กลับกันที่ญี่ปุ่น...ห้องน้ำเป็นหน้าเป็นตา คิดละเอียดมากๆ " อาจารย์วิวเริ่มต้นอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบภาพซึ่งเธอถ่ายไว้เอง ยกตัวอย่างเช่น ภาพห้องน้ำในศูนย์ผู้อพยพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจังหวัดคุมะโมะโตะ ซึ่งทำลายความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่อาศัย "ชั่วคราว" สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตั้งแต่ทางลาดสำหรับรถเข็นราวจับด้านหน้าอาคาร และประตูที่เปิดได้ง่าย ส่วนภายในครบครันไม่ต่างจากห้องน้ำคุณภาพดีในอาคารปลูกสร้างถาวร มีราวจับ โถปัสสาวะเตี้ย ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก ฯลฯ "โถชักโครก" ผู้ที่เคยเดินทางไปญี่ปุ่นคุ้นเคยกันดี ทั้งระบบการชำระด้วยน้ำ โดยผู้ใช้งานไม่ต้องใช้มือสัมผัสร่างกายหลังเสร็จสิ้นธุระ (เว้นใช้ทิชชู่ทำความสะอาดเพิ่มเติม) ฝารองนั่งที่ปรับอุณหภูมิให้อุ่นเสมอ เหมาะสมกับอากาศหนาวเย็นในบางฤดู กระทั่งปุ่มเปิดเสียงดนตรีเพื่อกลบเสียงระหว่างทำกิจธุระ เหล่านี้คือตัวอย่างของการสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อตอบความต้องการที่หลากหลาย แน่นอนว่าความต้องการของคนบางกลุ่ม เช่น คนสูงอายุ คนพิการ คนใช้รถเข็น ฯลฯ ก็ถูกคำนึงพร้อมกันเป็นพื้นฐาน โดยไม่ถูกมองเป็นสิทธิพิเศษที่ต้องพิจารณาว่าควรได้รับหรือไม่ โถชักโครก ดูๆแล้ว ความแตกต่างระหว่างห้องน้ำสาธารณะไทยกับญี่ปุ่น ไม่ได้อยู่ความครบครันของสิ่งอำนวยความสะดวก เพราะห้องน้ำหลายแห่งโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมืองของไทย ตลอดจนสถานีให้บริการน้ำมันตามถนนสายหลัก ก็ล้วนพัฒนาและพยายามตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน บางแห่งเรียกได้เต็มปากว่า สะอาด-หรูหรา แต่สิ่งที่นักวิชาการให้ความสนใจคือ การกระจายตัวของสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ที่จำกัดในพื้นที่บางแห่ง ต่างจากญี่ปุ่นที่สามารถพบเห็นมาตรฐานห้องน้ำ ทั้งในพื้นที่ชนบท กระทั่งศูนย์อพยพ ผศ.อันธิกา บอกว่ามีสาเหตุหลักมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม "คุณอาจเคยเห็นห้องน้ำสุดหรูมากๆในเมืองไทย ก็มี มีโถทุกอย่างครบครัน ดีกว่าญี่ปุ่นก็มี แต่ความห่างชนชั้น ทำให้ความทั่วถึงไม่เกิดขึ้น ทำให้ภาพส่วนใหญ่ดูด้อยพัฒนา ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่น มีช่องว่างตรงนั้นน้อยกว่า ทำให้รัฐดูแลคนได้เท่าๆกัน อาจจะมีส้วมในห้างหรู แต่พี่ออกไปชนบท ก็มี อย่างน้อยส้วมมีชักโครก มีห้องน้ำสะอาด" "ประเทศไทยอาจไม่ได้จนจริง แต่ความเหลื่อมล้ำของเรากว้างมาก ทำให้คนที่ลำบาก คนพิการ คนจน คนชายขอบ ไม่เข้าถึงการพัฒนา เพราะการพัฒนากระจุกที่บางคน" คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นเสมอในวงพูดคุย เรื่องการพัฒนายูนิเวอร์ซัลดีไซน์ คือ เป็นไปได้หรือที่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ถึงระดับประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น เพราะมีเงิน จึงสามารถสร้างทางเลือกให้ครอบคลุมคนที่มีความต้องการหลากหลายในสังคมได้มากกว่า มิใช่หรือ? "คงไม่มีคำตอบใด คำตอบหนึ่ง ที่ทำให้ไทยตามญี่ปุ่นไม่ทัน หนึ่ง...จิตวิญญาณการต่อสู้ไม่เท่ากัน สอง...วิธีการคิดต่อเพื่อนมนุษย์ไม่เหมือนกัน เช่น ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เราอาจจะยังไม่ได้สอนเรื่องนี้เท่าไหร่ เราอาจจะสอนแต่เรื่องตัวเอง ให้เข้าใจตัวเอง แต่การคิดถึงคนอื่นทำให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น เริ่มจากเรื่องที่มองไม่เห็น เรื่องจิตใจ ไปจนถึงเรื่องบันได ทางลาด ห้องน้ำ ฯลฯ เพราะฉะนั้น คงไม่ใช่แค่เรื่องเงินที่เอาไปลงทุน แต่คือวิธีคิด วิธีตัดสินใจ ว่าจะเอาเงินไปลงทุนหรือเปล่า สมมติว่ามีคนบอกว่า ไทยเป็นประเทศยากจน ก็เลยยังไม่มีห้องน้ำดีๆ เท่าญี่ปุ่น เราก็ต้องถามว่างบในบางกระทรวง เยอะมาก งบลับเยอะมาก เงินที่รัฐบาลจะเอาไปลงทุนมันเยอะมากเลย เราก็ไม่ได้จนนะ มันอยู่ที่ว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มากน้อยแค่ไหน" อุปกรณ์สำหรับยืนเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องน้ำ โดยตัดปัญหาผู้ใช้งานไม่ต้องการให้เท้าสัมผัสกับพื้นโดยตรง โถสุขภัณฑ์แบบซึมที่มักพบอย่างน้อย 1 ล็อคในห้องน้ำสาธารณะ สำหรับคนสูงอายุที่ไม่คุ้นกับชักโครก อ่างล้างหน้าต่างระดับสำหรับเด็กและคนใช้รถเข็น พบบ่อยในห้างสรรพสินค้าไทย แต่พบไม่บ่อยในพื้นที่นอกเขตเมือง ที่ล็อคบานประตูซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แผนผังแสดงตำแหน่งห้องน้ำในอาคาร มีประโยชน์ต่อทุกคน ขณะเดียวกันอักษรเบรลล์ มีประโยชน์ต่อคนพิการทางสายตาด้วย ขอบคุณ... http://news.voicetv.co.th/thailand/494965.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...