ถ่านอัลคาไลน์ทำทางเดินผู้พิการ
7 สีช่วยแชร์วันนี้ มีการนำถ่านอัลคาไลน์เสื่อมสภาพมาสังเคราะห์ และนำไปทำเป็นทางเดินผู้พิการทางสายตา นอกจากจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาใช้ถนนอย่างปลอดภัยยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย คุณกุลธิดาพงษ์แจ่มมีรายงาน
สถานการณ์ขยะถ่านอัลคาไลน์ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ไทยมีการทิ้งถ่านอัลคาไลน์เสื่อมสภาพสูงถึง 200-300 ล้านตันต่อปี เพราะอายุการใช้งานสั้น และส่วนมากทิ้งรวมกับขยะชนิดอื่น ทำให้สารประกอบในถ่านอัลคาไลน์ ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อสุขอนามัยของประชาชน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าธนบุรี ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ช่วยกันตั้งกล่องรับบริจาคถ่านอัลคาไลน์เสื่อมสภาพ ภายใต้โครงการของ "ตาวิเศษ" ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี จนสามารถนำสารประกอบหลักในถ่านอัลคาไลน์มาสังเคราะห์และนำไปทำเป็นทางเดินให้แก่ผู้พิการทางสายตาที่มีมากกว่า180,000คนได้
ผงแม่เหล็กที่ว่านี้ ได้มาจากการนำถ่านอัลคาไลน์มาแกะเอาผงสังกะสีและแมงกานีสออก จากนั้นนำไปละลายในสายละลายกรด เติมผงแม่เหล็กสีฟ้า นำไปกรองน้ำให้เหลือเฉพาะผงแม่เหล็กแล้วนำไปบด ก็จะได้สารแม่เหล็กสังเคราะห์ นำไปผสมกับสีทาบ้านแล้วนำไปทาบนอิฐ ก็จะทำให้อิฐเกิดสนามแม่เหล็ก เมื่อผู้พิการทางสายตาใช้ไม้เท้าที่ปลายด้ามมีแผ่นเหล็ก แผ่นเหล็กแม่ทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็ก ก็จะส่งสัญญาณไปยังกล่องควบคุมตรงด้ามจับ โดยการสั่น และมีเสียงเตือน เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาเดินไปตามอิฐชนิดพิเศษนี้ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
ถ่านไฟฉายสองเอหนึ่งก้อน สามารถสังเคราะห์เป็นสารแม่เหล็กได้มากถึง 100 กรัม สามารถใช้ทาอิฐได้ถึง 10 ก้อน ส่วนอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี และสามารถทาสารแม่เหล็กทับเพื่อซ่อมแซมได้ องค์กรไหนสนใจอยากเข้าศึกษาดูงาน การแปรรูปถ่านอัลคาไลน์เป็นทางเดินผู้พิการ สามารถติดต่อได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาช่วยกันทิ้งถ่านอัลคาไลน์ให้ถูกวิธีเพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และยังได้ทำสิ่งดีๆ ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กล่องรับบริจาคถ่านอัลคาไลน์ 7 สีช่วยแชร์วันนี้ มีการนำถ่านอัลคาไลน์เสื่อมสภาพมาสังเคราะห์ และนำไปทำเป็นทางเดินผู้พิการทางสายตา นอกจากจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาใช้ถนนอย่างปลอดภัยยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย คุณกุลธิดาพงษ์แจ่มมีรายงาน สถานการณ์ขยะถ่านอัลคาไลน์ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ไทยมีการทิ้งถ่านอัลคาไลน์เสื่อมสภาพสูงถึง 200-300 ล้านตันต่อปี เพราะอายุการใช้งานสั้น และส่วนมากทิ้งรวมกับขยะชนิดอื่น ทำให้สารประกอบในถ่านอัลคาไลน์ ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อสุขอนามัยของประชาชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าธนบุรี ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ช่วยกันตั้งกล่องรับบริจาคถ่านอัลคาไลน์เสื่อมสภาพ ภายใต้โครงการของ "ตาวิเศษ" ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี จนสามารถนำสารประกอบหลักในถ่านอัลคาไลน์มาสังเคราะห์และนำไปทำเป็นทางเดินให้แก่ผู้พิการทางสายตาที่มีมากกว่า180,000คนได้ ผงแม่เหล็กที่ว่านี้ ได้มาจากการนำถ่านอัลคาไลน์มาแกะเอาผงสังกะสีและแมงกานีสออก จากนั้นนำไปละลายในสายละลายกรด เติมผงแม่เหล็กสีฟ้า นำไปกรองน้ำให้เหลือเฉพาะผงแม่เหล็กแล้วนำไปบด ก็จะได้สารแม่เหล็กสังเคราะห์ นำไปผสมกับสีทาบ้านแล้วนำไปทาบนอิฐ ก็จะทำให้อิฐเกิดสนามแม่เหล็ก เมื่อผู้พิการทางสายตาใช้ไม้เท้าที่ปลายด้ามมีแผ่นเหล็ก แผ่นเหล็กแม่ทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็ก ก็จะส่งสัญญาณไปยังกล่องควบคุมตรงด้ามจับ โดยการสั่น และมีเสียงเตือน เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาเดินไปตามอิฐชนิดพิเศษนี้ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย ถ่านไฟฉายสองเอหนึ่งก้อน สามารถสังเคราะห์เป็นสารแม่เหล็กได้มากถึง 100 กรัม สามารถใช้ทาอิฐได้ถึง 10 ก้อน ส่วนอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี และสามารถทาสารแม่เหล็กทับเพื่อซ่อมแซมได้ องค์กรไหนสนใจอยากเข้าศึกษาดูงาน การแปรรูปถ่านอัลคาไลน์เป็นทางเดินผู้พิการ สามารถติดต่อได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาช่วยกันทิ้งถ่านอัลคาไลน์ให้ถูกวิธีเพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และยังได้ทำสิ่งดีๆ ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขอบคุณ... http://news.ch7.com/detail/232171
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)