ตีเนียนจอดรถ ที่จอดรถคนพิการ คนชรา ผิดกฎหมายหรือไม่?!
ปัจจุบันเราจะพบเห็น ที่จอดรถคนพิการ คนชรา ตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากตามระเบียบข้อบังคับของกฎกระทรวงว่าด้วยที่จอดรถ ระบุต้องกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2548 หมวด 4 ว่าด้วยเรื่อง ที่จอดรถ ระบุให้สถานที่สาธารณะต่างๆ เช่นห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ฯลฯ ต้องมี ที่จอดรถสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา ใกล้ทางเข้าออกอาคารให้มากที่สุด พร้อมติดตั้งสัญลักษณ์ของผู้พิการ ไว้อย่างชัดเจน
ตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงต้องการให้คนทุกคนทีความเสมอภาคในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่หย่อนความสามารถในการดูแลตัวเอง (ผู้พิการ, คนชราภาพ และผู้ทุพลภาพ) ให้บุคคลเหล่านี้สามารถอยู่ในสังคมได้ด้วยความเสมอภาค แต่เราก็มักจะเห็นพฤติกรรมของคนอวัยวะครบ 32ปกติ จอดรถในช่องสำหรับ จอดรถคนพิการ คนชราอยู่บ่อยๆ เช่นกัน แน่นอนว่าการที่คนปกติแย่งที่จอดรถสำหรับคนพิการเป็นสิ่งทีไม่ควรทำ เป็นการเบียดเบียนสิทธิ์ที่คนพิการควรได้รับ เเล้วเรืองนี้ผิดกฏหมายด้วยหรือไม่?
ในประเทศไทยไม่มีกฎหมายรองรับการจอดรถใน ที่จอดรถสำหรับคนพิการ คนชรา ผิดกฏหมาย เนื่องจากเครื่องหมายที่จอดสำหรับคนพิการไม่ใช่เครื่องหมายห้ามจอด แต่ถ้าหากเป็นที่ๆ ห้ามจอด มีป้ายหรือสัญลักษณ์จราจรห้ามจอดชัดเจนตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 57 หากฝ่าฝืนจอดก็จะมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
แม้การจอดรถใน ที่จอดรถคนพิการ คนชรา จะไม่ผิดกฏหมาย แต่ด้วยสามัญสำนึกของคนที่มีร่างกายปกติก็ไม่ควรมักง่ายเห็น ที่จอดรถคนพิการ คนชรา ว่างก็ตีเนียนนำรถเข้าไปจอด หรือหากพบเห็นคนปกติจอดรถใน ที่จอดรถคนพิการ คนชรา ควรเเจ้งเจ้าหน้าที่อาคาร สถานที่ เพื่อย้ายรถคันดังกล่าวออกจาก ที่จอดรถคนพิการ คนชรา ทันที