ถกเถียงเรื่องยกเลิกที่นั่งพิเศษสำหรับสตรีมีครรภ์ คนชราและผู้พิการ
รถไฟฟ้าหรือรถโดยสารสาธารณะในไต้หวัน ต่างจัดที่นั่งสำรองสำหรับสตรีมีครรภ์ คนชราและผู้พิการ แม้จะไม่มีข้อกฎหมายบังคับให้สละที่นั่ง แต่การจะสละหรือไม่สละที่นั่งก็ก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันเป็นจำนวนมาก หลายวันก่อนมีวัยรุ่นทะเลาะกับคนชราเนื่องจากประเด็นดังกล่าว จนเป็นเหตุให้ประชาชนบางส่วนเสนอให้มีการยกเลิกที่นั่งสำรอง อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการไต้หวันออกมายืนยันแล้วว่าจะไม่มีการยกเลิกอย่างแน่นอน
ป้ายหลังที่นั่งพิเศษ (Priority Seat) สีน้ำเงินระบุว่า กรุณาให้สำรองที่นั่งกับผู้โดยสารสตรีมีครรภ์ คนชราและผู้พิการก่อน เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 18 มิ.ย.บนรถไฟฟ้าไทเป มีชายหนุ่มคนหนึ่งนั่งอยู่ในที่นั่งสำรองเพราะรู้สึกปวดท้อง ต่อมามีชายสูงอายุขึ้นมาอ้างว่าตนป่วย ขอให้ชายคนนั้นสละที่นั่งให้ จึงเกิดการถกเถียงกันระหว่างทั้งสองฝ่าย ชายสูงอายุจึงตบชายคนนั้น ผู้โดยสารที่อยู่ด้านข้างจึงช่วยกันห้าม ทำให้สังคมมีการถกเถียงกันอีกครั้งเกี่ยวกับที่นั่งสำรองพิเศษนี้ว่าควรจะยกเลิกหรือไม่
==ประชาชน==
ฉันไม่ควรให้คำจำกัดความที่แคบเกินไป
เช่นสำหรับเฉพาะผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์เท่านั้น
รถสาธารณะมีที่นั่งสำรองพิเศษ การไม่สละที่นั่งไม่ผิดกฎหมาย
มาตรา 53 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้พิการ ซึ่งกำหนดว่ารถขนส่งสาธารณะจะต้องมีที่นั่งพิเศษ (Priority Seat) แต่ไม่มีบทลงโทษสำหรับการไม่สละที่นั่ง ในอดีต เคยมีมติเสนอให้ยกเลิกที่นั่งสำรองนี้ แต่มีผู้คนมากกว่า 8,000 คน ร่วมลงชื่อขอให้มีการทบทวน
==ชิวไท่หยวน//รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ==
ไม่ยกเลิก (ที่นั่งสำรอง)
แต่เราจะศึกษาจากประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ
เหมือนกับที่นั่งสำรองในญี่ปุ่น
ที่อาจนำมาใช้ได้
กระทรวงสาธารณสุขยืนยัน ไม่ยกเลิกที่นั่งพิเศษ
สหพันธ์ผู้พิการระบุว่า ตู้โดยสารสำหรับสุภาพสตรีบนรถไฟไต้หวันและตู้โดยสารสำหรับครอบครัว ให้ใช้บริการตามความสมัครใจไม่ได้มีกฎเกณฑ์บังคับ แม้แต่ที่นั่งพิเศษบนรถไฟญี่ปุ่น ผู้โดยสารทั่วไปก็นั่งได้ แต่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งซ้ำๆ ก็เป็นประเด็นที่รัฐบาลควรพิจารณาอย่างรอบคอบ
ขอบคุณ... https://news.pts.org.tw/article/701085