พิมพ์หนังสือผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพิ่มโอกาสทางความรู้ผู้พิการทางสายตา
แพลตฟอร์มออนไลน์ พิมพ์หนังสือให้ผู้พิการทางสายตา ส่งผ่านองค์กรนำไปทำอักษรเบรลล์ เพื่อพัฒนาความรู้และการศึกษาให้เท่าเทียมและทั่วถึงสำหรับทุกคนในสังคม
จากข้อมูลจาก Accessibility Is Freedom พบว่า สถิติการเข้าถึงการศึกษาของผู้พิการในประเทศไทย มีดังนี้
ระดับประถมศึกษา มีจำนวน 1.3 ล้านคน
ระดับมัธยมศึกษา มีจำนวน 1.918 แสนคน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา มีจำนวน 4 หมื่นคน
ระดับอุดมศึกษา มีจำนวน 2.7 หมื่นคน
ไม่ระบุการศึกษา มีจำนวน 1.27 หมื่นคน
โดยระบุว่า การเดินทาง ขนส่งสาธารณะ อาคารสถานที่ ยังไม่เอื้ออำนวยเพียงพอให้กับคนพิการเข้าถึง ความรู้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่จะพาให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพให้ดียิ่งขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไปหรือผู้พิการทางสายตา ก็ต้องการความเท่าเทียมพื้นฐานนี้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้พิการทางสายที่มีความท้าทายในการมองเห็นทำให้การเข้าถึงข้อมูลด้วยการอ่านแบบปกติเป็นไปได้ยาก ต้องผ่านกระบวนการแปลงเป็นหนังสือเสียงหรือหนังสือภาษาเบรลล์ซึ่งต้องการอาสาสมัครจำนวนมากมาช่วยกัน ซึ่งโลกดิจิทัลเอื้อให้เกิดการสนับสนุนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยลดขั้นตอนและเครื่องมือ
แพลตฟอร์มที่เห็นความสำคัญของการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตทางปัญญานี้ ดำเนินการโดยกลุ่ม UNCOMMON VOLUNTEER ที่จัดกิจกรรมอาสาออนไลน์และลงพื้นที่ เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคน/องค์กร เข้ามามีส่วนร่วม ได้ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมมีระบบการจัดการข้อมูลการรับรองการเข้าร่วมที่น่าเชื่อถือ และทันสมัย
ผู้ที่สนใจและให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา สามารถเลือกพิมพ์หนังสือทางมือถือหรือคอมพิวเตอร์ จากนั้นทางแพลตฟอร์มจะส่งมอบให้กับหน่วยงานที่สอดคล้องกับการศึกษาของผู้พิการทางสายตา เพื่อส่งมอบ ให้นำไปจัดทำเป็นอักษรเบรลล์เป็นลำดับถัดไป เพื่อให้คนตาบอด สามารถพัฒนาความรู้เพื่อใช้พัฒนาด้านการศึกษาต่อไป ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีต่อหน้า
สร้างสรรค์สังคมที่ดีสำหรับทุกคนได้ด้วยการแบ่งปัน ทั้งยังได้เกียรติบัตรเป็นที่ระลึกรับรองให้อีกด้วย เปิดรับสมัครอาสาโดยยังไม่มีกำหนดเขตปิดรับสมัคร
โดยทาง เว็บไซต์ยังมีรูปแบบงานอาสาออฟไลน์และออนไลน์ อีกหลากหลายหัวข้อสำหรับผู้ที่สนใจแบ่งปันเวลา เพื่อช่วยพัฒนาเพื่อนมนุษย์ เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.uncommonunique.com/home-thai
ขอบคุณ... https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/829762