ภาค ปชช.ขอร่วมแก้ กม.บัตรทอง วอน รมว.สธ.แจง รบ. หลัง รธน.จำกัดรักษาฟรีผู้ยากไร้

แสดงความคิดเห็น

ภาคประชาชนยื่นหนังสือ รมว.สธ.แสดงจุดยืนหนุนแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ

ภาคประชาชนยื่นหนังสือ รมว.สธ.แสดงจุดยืนหนุนแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ แต่ต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ไข พร้อมขอช่วยสื่อสารรัฐบาลเข้าใจระบบบัตรทอง หลังร่าง รธน.ฉบับใหม่ จำกัดสิทธิรักษาฟรีเฉพาะผู้ยากไร้

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศไทย ในฐานะแกนนำกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ พร้อมด้วยแกนนำเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน ได้แก่ เด็กหรือเยาวชน, สตรี, ผู้สูงอายุ, คนพิการหรือผู้ป่วยจิตเวช, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น, ผู้ใช้แรงงาน, ชุมชนแออัด, เกษตรกร และชนกลุ่มน้อย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เพื่อสนับสนุนการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ใช้มานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว ถือเป็นทิศทางที่ก้าวหน้า เพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพียงแต่ควรเป็นการปรับปรุงแก้ไขโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ในการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องไม่เปลี่ยนแปลงหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมาย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นกฎหมายที่อิงกับหลักสิทธิมนุษยชน มีเจตนารมณ์สำคัญที่มุ่งให้ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขอย่างเสมอภาค และสามารถเข้ารับบริการได้โดยไม่มีอุปสรรคกีดขวาง โดยเฉพาะอุปสรรคด้านการเงิน นอกจากนี้ประชาชนยังต้องไม่ล้มละลายจากการรักษา ทั้งนี้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีข้อมูลเพียงว่าระบบหลักประกันสุขภาพเป็นปัญหาด้านงบประมาณของประเทศ จึงสั่งให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในลักษณะการรวมศูนย์อำนาจ โดยไม่เปิดให้มีการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดความกังวลต่อการแก้ไขกฎหมายอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนได้ ดังนั้นกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ พร้อมด้วยเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน จึงขอเรียกร้องการดำเนินการแก้ไขกฎหมายดังนี้

1.ต้องเปิดรับฟังความเห็นประชาชน และให้มีตัวแทนประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย

2.ยืนยันเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เป็นการคุ้มครองสิทธิประชาชน เป็นสิทธิขึ้นพื้นฐาน จึงต้องจัดเป็นสวัสดิการถ้วนหน้าและไม่ทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึงการรับบริการ เพราะเหตุแห่งความยากจน การไม่มีรายได้และต้องกลายเป็นผู้รับการสงเคราะห์การรักษาไม่ใช่เป็นเพราะเป็นสิทธิพื้นฐานในการดำรงชีวิต

สำหรับในส่วนของการแก้ไขเนื้อหา พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ได้มีข้อเสนอให้ปรับปรุง อาทิ การให้คำนิยามบริการสาธารณสุขที่ต้องชัดเจน ครอบคลุมทั้งเรื่องบริการสุขภาพและสาธารณสุข, การยกเลิกเก็บเงินทุกครั้งที่เข้ารับบริการในมาตรา 5 โดยสนับสนุนการร่วมจ่ายในรูปแบบภาษี, ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการ 2 ชุด ตามมาตรา 13 และ 48 เพิ่มผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนโดยตรง และปรับผู้แทนสภาวิชาชีพไปอยู่ในกรรมการชุดควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และขยายการคุ้มครองสิทธิ์เมื่อได้รับความเสียหายให้ครอบคลุมผู้รับบริการ ตัดมาตรา 42 ที่เกี่ยวข้องกับการไล่เบี้ยผู้กระทำผิดในการทำให้เกิดความเสียหายขึ้น เป็นต้น

นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้ขอให้ รมว.สาธารณสุข แสดงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญที่มีการระบุการให้สิทธิรักษาพยาบาลในสถานบริการภาครัฐเฉพาะผู้ยากไร้ โดยอยากให้ท่านเป็นผู้สื่อสารกับรัฐบาลให้เข้าใจถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดสนับสนุนการบริการสุขภาพให้กับประชาชนเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และต้องไม่ทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากลายเป็นระบบที่อ่อนแอหรือเป็นบริการชั้นล่างสำหรับคนยากไร้

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000049750 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 พ.ค.59
วันที่โพสต์: 18/05/2559 เวลา 16:03:41 ดูภาพสไลด์โชว์ ภาค ปชช.ขอร่วมแก้ กม.บัตรทอง วอน รมว.สธ.แจง รบ. หลัง รธน.จำกัดรักษาฟรีผู้ยากไร้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาคประชาชนยื่นหนังสือ รมว.สธ.แสดงจุดยืนหนุนแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ภาคประชาชนยื่นหนังสือ รมว.สธ.แสดงจุดยืนหนุนแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ แต่ต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ไข พร้อมขอช่วยสื่อสารรัฐบาลเข้าใจระบบบัตรทอง หลังร่าง รธน.ฉบับใหม่ จำกัดสิทธิรักษาฟรีเฉพาะผู้ยากไร้ นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศไทย ในฐานะแกนนำกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ พร้อมด้วยแกนนำเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน ได้แก่ เด็กหรือเยาวชน, สตรี, ผู้สูงอายุ, คนพิการหรือผู้ป่วยจิตเวช, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น, ผู้ใช้แรงงาน, ชุมชนแออัด, เกษตรกร และชนกลุ่มน้อย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เพื่อสนับสนุนการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ใช้มานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว ถือเป็นทิศทางที่ก้าวหน้า เพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพียงแต่ควรเป็นการปรับปรุงแก้ไขโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ในการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องไม่เปลี่ยนแปลงหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมาย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นกฎหมายที่อิงกับหลักสิทธิมนุษยชน มีเจตนารมณ์สำคัญที่มุ่งให้ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขอย่างเสมอภาค และสามารถเข้ารับบริการได้โดยไม่มีอุปสรรคกีดขวาง โดยเฉพาะอุปสรรคด้านการเงิน นอกจากนี้ประชาชนยังต้องไม่ล้มละลายจากการรักษา ทั้งนี้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีข้อมูลเพียงว่าระบบหลักประกันสุขภาพเป็นปัญหาด้านงบประมาณของประเทศ จึงสั่งให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในลักษณะการรวมศูนย์อำนาจ โดยไม่เปิดให้มีการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดความกังวลต่อการแก้ไขกฎหมายอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนได้ ดังนั้นกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ พร้อมด้วยเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน จึงขอเรียกร้องการดำเนินการแก้ไขกฎหมายดังนี้ 1.ต้องเปิดรับฟังความเห็นประชาชน และให้มีตัวแทนประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย 2.ยืนยันเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เป็นการคุ้มครองสิทธิประชาชน เป็นสิทธิขึ้นพื้นฐาน จึงต้องจัดเป็นสวัสดิการถ้วนหน้าและไม่ทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึงการรับบริการ เพราะเหตุแห่งความยากจน การไม่มีรายได้และต้องกลายเป็นผู้รับการสงเคราะห์การรักษาไม่ใช่เป็นเพราะเป็นสิทธิพื้นฐานในการดำรงชีวิต สำหรับในส่วนของการแก้ไขเนื้อหา พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ได้มีข้อเสนอให้ปรับปรุง อาทิ การให้คำนิยามบริการสาธารณสุขที่ต้องชัดเจน ครอบคลุมทั้งเรื่องบริการสุขภาพและสาธารณสุข, การยกเลิกเก็บเงินทุกครั้งที่เข้ารับบริการในมาตรา 5 โดยสนับสนุนการร่วมจ่ายในรูปแบบภาษี, ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการ 2 ชุด ตามมาตรา 13 และ 48 เพิ่มผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนโดยตรง และปรับผู้แทนสภาวิชาชีพไปอยู่ในกรรมการชุดควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และขยายการคุ้มครองสิทธิ์เมื่อได้รับความเสียหายให้ครอบคลุมผู้รับบริการ ตัดมาตรา 42 ที่เกี่ยวข้องกับการไล่เบี้ยผู้กระทำผิดในการทำให้เกิดความเสียหายขึ้น เป็นต้น นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้ขอให้ รมว.สาธารณสุข แสดงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญที่มีการระบุการให้สิทธิรักษาพยาบาลในสถานบริการภาครัฐเฉพาะผู้ยากไร้ โดยอยากให้ท่านเป็นผู้สื่อสารกับรัฐบาลให้เข้าใจถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดสนับสนุนการบริการสุขภาพให้กับประชาชนเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และต้องไม่ทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากลายเป็นระบบที่อ่อนแอหรือเป็นบริการชั้นล่างสำหรับคนยากไร้ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000049750

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...