'บุญธาตุ'แนะบังคับใช้กม.จ้างงานให้'คนพิการ'มีศักดิ์ศรีเท่าคนปกติ

แสดงความคิดเห็น

ผู้เข้าร่วม เวทีสาธารณะ เรือง "ม.33ให้สิทธิในการจ้างงานคนพิการแค่ไหน"

เมื่อวันที่ 23 ก.ย.58 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดเวทีสาธารณะ เรือง "ม.33 ให้สิทธิในการจ้างงานคนพิการแค่ไหน" โดย นายแท้จริง ศิริพานิช กรรมการ กสม.เป็นประธานในการเปิดเสวนาดังกล่าว ซึ่งมี นายบุญธาตุ โสภา กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , นายธวัชชัย เลขสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดระบบแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน , นายภัทรพันธ์ กฤษณา เลขานุการคณะกรรมการบริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย , นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ มูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อพัฒนาคนพิการไทย , นายรุ่งโรจน์ ตันติเวชอภิกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเบทาโกรจำกัด(มหาชน)ร่วมอภิปราย

นายบุญธาตุ โสภา กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

โดย นายบุญธาตุ กล่าวตอนหนึ่งว่า กฎหมายฉบับนี้แก้ไขมาสองครั้งแล้ว เราถือว่าการจ้างคนพิการเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อต้องการให้คนพิการอยู่ในสังคมเหมือนคนทั่วไป และมีสิทธิเท่าเทียมกับคนปกติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพราะสามารถหาเงินเลี้ยงตัวเองได้ และมีศักดิ์ศรีเทียบเท่าคนอื่นๆ ทั้งนี้ มีข้อกำหนดคุณสมบัติว่าจะต้องจบปริญญาตรีถึงจะจ้างงาน แต่ส่วนมากคนพิการมีส่วนน้อยมากทีจะได้เรียนหนังสือ และที่สำคัญคนพิการยังไม่กระตือรือร้นที่จะเข้าทำงาน แต่กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดขึ้นมาแล้วว่าให้คนพิการสามารถเรียนได้ มีทุนสำหรับคนพิการแล้ว และยังมีคนพิการที่ถูกหลอก ซึ่งเมื่อไปตรวจสอบไม่มีตัวตนจริง มีเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ส่วนอุปสรรคของนายจ้างที่มีอคติต่อคนพิการ คือ คิดเพียงอย่างเดียวว่าคนพิการทำงานไม่ได้เหมือนคนปกติซึ่งเราต้องช่วยเปิดอุดมคติเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม คนพิการที่จดทะเบียน คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 1.7 ล้านคน วัยแรงงาน 6 แสนคน แต่มีงานทำ 3 แสนคน ว่างงาน 3 แสนคน และไม่สามารถทำงานได้ (ป่วยติดเตียง)1แสนคนทั้งนี้เราควรทำให้เห็นว่ามาตรา33ส่งผลดีผลเสียให้กับคนพิการและนายจ้างอย่างไร

ด้าน นายรุ่งโรจน์ กล่าวในองค์กรต้นแบบที่รับคนพิการเข้าทำงาน ว่า ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 33 , 34 , 35 เปิดโอกาสให้คนพิการเข้าทำงานได้ ถือเป็นการพัฒนาตัวคนพิการเอง แต่เป็นข้อจำกัดในการเดินทางไปทำงานของคนพิการ คือ อุปสรรค์ในเรื่องของการเดินทางไปทำงาน รูปแบบตัวอาคารที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น จึงเห็นว่ารูปแบบการจ้างงานแนวใหม่จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนพิการ ซึ่งหากบริษัทที่ต้องการขับเคลื่อนงานด้านสังคม สามารถจ้างงานคนพิการในชุมชนได้ นอกจากนี้ ยังทำให้คนพิการได้รู้จักกันและพัฒนาศักยภาพของตนเองซึ่งถือว่าเป็นโอกาสดีของบริษัทที่จะรับคนพิการเข้าทำงาน

นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ มูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อพัฒนาคนพิการไทย

ขณะที่ นายสุภรธรรม กล่าวว่า เจตนารมณ์เพื่อพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นของคนพิการ ซึ่งคนปกติสามารถทำได้ทำไมคนพิการจะทำไม่ได้ โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับการบังคับใช้ ม.33 เพราะจะให้หลักประกันกับคนพิการที่จะมีความก้าวหน้าในอาชีพมากกว่า การจ้างงานใน มาตรา 35 เนื่องจากการกำกับดูแลตรวจสอบเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้ผู้พิการถูกลิดรอนสิทธิ ดังนั้น จึงเสนอแนวทาง 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.จะจ้างงานให้สมบูรณ์แบบผู้บริหารองค์จะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะจ้างคนพิการที่มีคุณค่า 2.ลักษณะงานที่มีคุณค่า หากจ้างงานคนพิการโดยไม่ต้องทำอะไรมาก ถือว่าเป็นการลดประสิทธิภาพคนพิการ หากบริษัทไปใช้ ม.35 คนพิการจะถูกลิดรอนสิทธิมากขึ้น ทั้งนี้ จะต้องจ้างตามกฎหมาย 3.จะต้องมีระบบสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล และจัดการกับผู้ที่แสวงผลจากคนพิการ และ 4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ต้องดึงภาคเอกชน ภาควิชาการ สมคมผู้พิการ เข้ามาร่วมทำงานเพื่อสามารถควบคุมตรวจสอบข้อมูลการจ้างงานของบริษัทเอกชนได้

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/ryt9/2257846

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 24/09/2558 เวลา 13:51:11 ดูภาพสไลด์โชว์ 'บุญธาตุ'แนะบังคับใช้กม.จ้างงานให้'คนพิการ'มีศักดิ์ศรีเท่าคนปกติ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้เข้าร่วม เวทีสาธารณะ เรือง "ม.33ให้สิทธิในการจ้างงานคนพิการแค่ไหน" เมื่อวันที่ 23 ก.ย.58 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดเวทีสาธารณะ เรือง "ม.33 ให้สิทธิในการจ้างงานคนพิการแค่ไหน" โดย นายแท้จริง ศิริพานิช กรรมการ กสม.เป็นประธานในการเปิดเสวนาดังกล่าว ซึ่งมี นายบุญธาตุ โสภา กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , นายธวัชชัย เลขสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดระบบแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน , นายภัทรพันธ์ กฤษณา เลขานุการคณะกรรมการบริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย , นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ มูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อพัฒนาคนพิการไทย , นายรุ่งโรจน์ ตันติเวชอภิกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเบทาโกรจำกัด(มหาชน)ร่วมอภิปราย นายบุญธาตุ โสภา กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย นายบุญธาตุ กล่าวตอนหนึ่งว่า กฎหมายฉบับนี้แก้ไขมาสองครั้งแล้ว เราถือว่าการจ้างคนพิการเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อต้องการให้คนพิการอยู่ในสังคมเหมือนคนทั่วไป และมีสิทธิเท่าเทียมกับคนปกติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพราะสามารถหาเงินเลี้ยงตัวเองได้ และมีศักดิ์ศรีเทียบเท่าคนอื่นๆ ทั้งนี้ มีข้อกำหนดคุณสมบัติว่าจะต้องจบปริญญาตรีถึงจะจ้างงาน แต่ส่วนมากคนพิการมีส่วนน้อยมากทีจะได้เรียนหนังสือ และที่สำคัญคนพิการยังไม่กระตือรือร้นที่จะเข้าทำงาน แต่กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดขึ้นมาแล้วว่าให้คนพิการสามารถเรียนได้ มีทุนสำหรับคนพิการแล้ว และยังมีคนพิการที่ถูกหลอก ซึ่งเมื่อไปตรวจสอบไม่มีตัวตนจริง มีเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ส่วนอุปสรรคของนายจ้างที่มีอคติต่อคนพิการ คือ คิดเพียงอย่างเดียวว่าคนพิการทำงานไม่ได้เหมือนคนปกติซึ่งเราต้องช่วยเปิดอุดมคติเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม คนพิการที่จดทะเบียน คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 1.7 ล้านคน วัยแรงงาน 6 แสนคน แต่มีงานทำ 3 แสนคน ว่างงาน 3 แสนคน และไม่สามารถทำงานได้ (ป่วยติดเตียง)1แสนคนทั้งนี้เราควรทำให้เห็นว่ามาตรา33ส่งผลดีผลเสียให้กับคนพิการและนายจ้างอย่างไร ด้าน นายรุ่งโรจน์ กล่าวในองค์กรต้นแบบที่รับคนพิการเข้าทำงาน ว่า ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 33 , 34 , 35 เปิดโอกาสให้คนพิการเข้าทำงานได้ ถือเป็นการพัฒนาตัวคนพิการเอง แต่เป็นข้อจำกัดในการเดินทางไปทำงานของคนพิการ คือ อุปสรรค์ในเรื่องของการเดินทางไปทำงาน รูปแบบตัวอาคารที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น จึงเห็นว่ารูปแบบการจ้างงานแนวใหม่จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนพิการ ซึ่งหากบริษัทที่ต้องการขับเคลื่อนงานด้านสังคม สามารถจ้างงานคนพิการในชุมชนได้ นอกจากนี้ ยังทำให้คนพิการได้รู้จักกันและพัฒนาศักยภาพของตนเองซึ่งถือว่าเป็นโอกาสดีของบริษัทที่จะรับคนพิการเข้าทำงาน นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ มูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อพัฒนาคนพิการไทย ขณะที่ นายสุภรธรรม กล่าวว่า เจตนารมณ์เพื่อพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นของคนพิการ ซึ่งคนปกติสามารถทำได้ทำไมคนพิการจะทำไม่ได้ โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับการบังคับใช้ ม.33 เพราะจะให้หลักประกันกับคนพิการที่จะมีความก้าวหน้าในอาชีพมากกว่า การจ้างงานใน มาตรา 35 เนื่องจากการกำกับดูแลตรวจสอบเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้ผู้พิการถูกลิดรอนสิทธิ ดังนั้น จึงเสนอแนวทาง 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.จะจ้างงานให้สมบูรณ์แบบผู้บริหารองค์จะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะจ้างคนพิการที่มีคุณค่า 2.ลักษณะงานที่มีคุณค่า หากจ้างงานคนพิการโดยไม่ต้องทำอะไรมาก ถือว่าเป็นการลดประสิทธิภาพคนพิการ หากบริษัทไปใช้ ม.35 คนพิการจะถูกลิดรอนสิทธิมากขึ้น ทั้งนี้ จะต้องจ้างตามกฎหมาย 3.จะต้องมีระบบสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล และจัดการกับผู้ที่แสวงผลจากคนพิการ และ 4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ต้องดึงภาคเอกชน ภาควิชาการ สมคมผู้พิการ เข้ามาร่วมทำงานเพื่อสามารถควบคุมตรวจสอบข้อมูลการจ้างงานของบริษัทเอกชนได้ ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/ryt9/2257846

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...