การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลกับการฟ้องศาลปกครองกรณี ขสมก.เลือกปฏิบัติ

แสดงความคิดเห็น

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน

ความพยายามที่จะผลักดันให้มีการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล โดยกลุ่มคนต่างๆ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือ จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยก็ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม “การเลือกปฏิบัติ” ได้มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖ ดังนี้

๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

มาตรา ๕๔ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวย ความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

๒) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖

มาตรา ๑๕ การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนหรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะกระทำ มิได้

การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามวรรคหนึ่ง ให้หมาย ความรวมถึงการกระทำ หรืองดเว้นกระทำการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับเพราะเหตุแห่งความพิการด้วย

การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือประโยชน์สาธารณะสนับสนุนให้กระทำได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณี ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแต่ผู้กระทำการนั้น จะต้องจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา หรือรักษาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ แก่คนพิการตามความจำเป็นเท่าที่จะกระทำได้

มาตรา ๑๖ คนพิการที่ได้รับ หรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามมาตรา ๑๕ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

รถเมล์ชานต่ำ

การร้องขอตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินให้แก่คนพิการที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้

มาตรา ๑๗ ในการใช้สิทธิตามมาตรา ๑๖ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้

การฟ้องคดีตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ไม่ว่าคนพิการเป็นผู้ฟ้องเองหรือองค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ฟ้อง แทน ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม

นั่นหมายความ หากเกิดการเลือกปฏิบัติในกรณีใดๆ ต่อคนพิการ ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้อ้างอิงในการฟ้องร้องคดีต่อศาลได้เพื่อให้ศาลคุ้มครองสิทธิของคนพิการ

อย่างไรก็ตามการนิยามคำว่า “การเลือกปฏิบัติ” ในกฎหมายต่างๆ มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แม้เจตนารมณ์จะตรงกันก็ตาม

ในการยกร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล(ฉบับที่..) พ.ศ. ….โดย เครือข่ายคนพิการ ได้รวบรวมความหมายของการเลือกปฏิบัติในมิติต่างๆ และกำหนดนิยามไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ดังนี้

“การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม” หมายความว่า การกระทำการ งดเว้นกระทำการหรือการกำหนดแผนปฏิบัติการ ที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ หรือมีผลกระทบต่อสิทธิ หรือประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดในลักษณะที่แตกต่างไปจากผู้อื่น รวมถึงการปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือต่อบุคคลตามเหตุอันสมควรทั้งที่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ เพราะเหตุที่บุคคลนั้นมีความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการสภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การเลือกปฏิบัติให้หมายความรวมถึงการก่อกวน การคุกคาม หรือการชี้นำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ

ดังนั้น ผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่มีสิทธิเสนอคดีต่อศาลปกครองเพื่อรับความคุ้มครองจากศาล โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งต่างๆ แล้วแต่กรณี เช่น

- ขอให้ศาลให้เพิกถอนคำสั่งหรือยกเลิกแผนปฏิบัติการ ในส่วนที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

- ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งห้ามมิให้หน่วยงานหรือบุคคลใดกระทำการอันจะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

- ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งบังคับให้หน่วยงาน หรือบุคคลอื่นใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีที่การงดเว้นกระทำการเช่นว่านั้นเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

- ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แสดงสิทธิของผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือ ความเสียหายจากการที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมว่ามีอยู่อย่างไร

- ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้หน่วยงานหรือบุคคลใด ซึ่งกระทำการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมชดใช้ค่าเสียหาย

อนึ่ง แม้ว่า เครือข่ายคนพิการจะแสดงบทบาทประหนึ่งเป็นแกนนำในการติดตามการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. รวมถึงการเตรียมฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์ที่ประชาชนหลายกลุ่มใช้ไม่ได้ หรืออาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิตของประชาชนในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะ แต่เป้าหมายของการเรียกร้องให้ ขสมก.”ซื้อรถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” นั้น หมายรวมถึงประชาชนทุกคน คนทุกกลุ่ม รวมถึงคนที่มีข้อจำกัดในการใช้รถเมล์สาธารณะ

ประชาชนแย่งกันขึ้นรถเมล์

ในอนาคต เมื่อ ขสมก.มีความรู้ ความเข้าใจ และยึดการกระทำที่ไม่เลือกปฏิบัติ โดยซื้อรถเมล์สาธารณะรวมถึง จัดบริการสาธารณะต่างๆ ด้วยความตระหนักถึงสิทธิ และความเท่าเทียมกันของผู้โดยสารทุกคนตามกฎหมาย โดยเฉพาะในการใช้บริการสาธารณะที่สะดวก ปลอดภัย และไม่สร้างความเดือดร้อน หรือเสียหาย ต่อไป การซื้อรถเมล์ และจัดบริการสาธารณะโดยทุกหน่วยงาน และในทุกจังหวัดทั่วประเทศก็จะต้องยึดหลักสิทธิ และความเท่าเทียมเช่นเดียวกัน อันเป็นการสนองตอบต่อนโยบายปฏิรูปประเทศไทย เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย “การร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเท่าเทียมกัน” ....โดย พวงแก้ว กิจธรรม ( มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๐ ต.ค. ๒๕๕๖)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๐ ต.ค. ๒๕๕๖
วันที่โพสต์: 10/10/2556 เวลา 02:56:27 ดูภาพสไลด์โชว์ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลกับการฟ้องศาลปกครองกรณี ขสมก.เลือกปฏิบัติ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน ความพยายามที่จะผลักดันให้มีการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล โดยกลุ่มคนต่างๆ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือ จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยก็ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม “การเลือกปฏิบัติ” ได้มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖ ดังนี้ ๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม มาตรา ๕๔ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวย ความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ๒) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖ มาตรา ๑๕ การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนหรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะกระทำ มิได้ การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามวรรคหนึ่ง ให้หมาย ความรวมถึงการกระทำ หรืองดเว้นกระทำการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับเพราะเหตุแห่งความพิการด้วย การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือประโยชน์สาธารณะสนับสนุนให้กระทำได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณี ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแต่ผู้กระทำการนั้น จะต้องจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา หรือรักษาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ แก่คนพิการตามความจำเป็นเท่าที่จะกระทำได้ มาตรา ๑๖ คนพิการที่ได้รับ หรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามมาตรา ๑๕ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด รถเมล์ชานต่ำ การร้องขอตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินให้แก่คนพิการที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้ มาตรา ๑๗ ในการใช้สิทธิตามมาตรา ๑๖ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้ การฟ้องคดีตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ไม่ว่าคนพิการเป็นผู้ฟ้องเองหรือองค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ฟ้อง แทน ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม นั่นหมายความ หากเกิดการเลือกปฏิบัติในกรณีใดๆ ต่อคนพิการ ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้อ้างอิงในการฟ้องร้องคดีต่อศาลได้เพื่อให้ศาลคุ้มครองสิทธิของคนพิการ อย่างไรก็ตามการนิยามคำว่า “การเลือกปฏิบัติ” ในกฎหมายต่างๆ มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แม้เจตนารมณ์จะตรงกันก็ตาม ในการยกร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล(ฉบับที่..) พ.ศ. ….โดย เครือข่ายคนพิการ ได้รวบรวมความหมายของการเลือกปฏิบัติในมิติต่างๆ และกำหนดนิยามไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ดังนี้ “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม” หมายความว่า การกระทำการ งดเว้นกระทำการหรือการกำหนดแผนปฏิบัติการ ที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ หรือมีผลกระทบต่อสิทธิ หรือประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดในลักษณะที่แตกต่างไปจากผู้อื่น รวมถึงการปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือต่อบุคคลตามเหตุอันสมควรทั้งที่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ เพราะเหตุที่บุคคลนั้นมีความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการสภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การเลือกปฏิบัติให้หมายความรวมถึงการก่อกวน การคุกคาม หรือการชี้นำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ดังนั้น ผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่มีสิทธิเสนอคดีต่อศาลปกครองเพื่อรับความคุ้มครองจากศาล โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งต่างๆ แล้วแต่กรณี เช่น - ขอให้ศาลให้เพิกถอนคำสั่งหรือยกเลิกแผนปฏิบัติการ ในส่วนที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม - ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งห้ามมิให้หน่วยงานหรือบุคคลใดกระทำการอันจะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม - ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งบังคับให้หน่วยงาน หรือบุคคลอื่นใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีที่การงดเว้นกระทำการเช่นว่านั้นเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม - ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แสดงสิทธิของผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือ ความเสียหายจากการที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมว่ามีอยู่อย่างไร - ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้หน่วยงานหรือบุคคลใด ซึ่งกระทำการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมชดใช้ค่าเสียหาย อนึ่ง แม้ว่า เครือข่ายคนพิการจะแสดงบทบาทประหนึ่งเป็นแกนนำในการติดตามการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. รวมถึงการเตรียมฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์ที่ประชาชนหลายกลุ่มใช้ไม่ได้ หรืออาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิตของประชาชนในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะ แต่เป้าหมายของการเรียกร้องให้ ขสมก.”ซื้อรถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” นั้น หมายรวมถึงประชาชนทุกคน คนทุกกลุ่ม รวมถึงคนที่มีข้อจำกัดในการใช้รถเมล์สาธารณะ ประชาชนแย่งกันขึ้นรถเมล์ ในอนาคต เมื่อ ขสมก.มีความรู้ ความเข้าใจ และยึดการกระทำที่ไม่เลือกปฏิบัติ โดยซื้อรถเมล์สาธารณะรวมถึง จัดบริการสาธารณะต่างๆ ด้วยความตระหนักถึงสิทธิ และความเท่าเทียมกันของผู้โดยสารทุกคนตามกฎหมาย โดยเฉพาะในการใช้บริการสาธารณะที่สะดวก ปลอดภัย และไม่สร้างความเดือดร้อน หรือเสียหาย ต่อไป การซื้อรถเมล์ และจัดบริการสาธารณะโดยทุกหน่วยงาน และในทุกจังหวัดทั่วประเทศก็จะต้องยึดหลักสิทธิ และความเท่าเทียมเช่นเดียวกัน อันเป็นการสนองตอบต่อนโยบายปฏิรูปประเทศไทย เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย “การร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเท่าเทียมกัน” ....โดย พวงแก้ว กิจธรรม ( มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๐ ต.ค. ๒๕๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...