ยูนิเซฟเรียกร้องสังคมเปิดโอกาสให้เด็กพิการมีส่วนร่วมมากขึ้น

แสดงความคิดเห็น

องค์การยูนิเซฟออกรายงานสภาวะเด็กโลกประจำปี 2556 ซึ่งปีนี้ว่าด้วยเรื่องเด็กพิการ (The State of the World’s Children – Children with Disabilities) และเรียกร้องให้สังคมยอมรับในความสามารถและศักยภาพของเด็กพิการ และเปิดโอกาสให้เด็กพิการได้มีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น

“เมื่อคุณมอง ที่ความพิการก่อนมองความสามารถของเด็ก นอกจากจะเป็นเรื่องที่ผิดต่อเด็กแล้ว ยังทำให้สังคมเสียโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากศักยภาพของเด็กพิการอีกด้วย เมื่อเด็กขาดโอกาสสังคมก็เสียประโยชน์ ฉะนั้นเมื่อเด็กได้รับโอกาส สังคมก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน” นายแอนโทนี่ เลค ผู้อำนวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟกล่าว

ในประเทศไทย จากการสำรวจความพิการ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีผู้พิการจำนวน 1.87 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด มีเด็กพิการอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มาจดทะเบียนคนพิการจำนวน 74,502 คน อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีเด็กพิการอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ลงทะเบียน เด็กพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือกลุ่มพิการทางสติปัญญา นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรที่พิการอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 24.3 ไม่ได้รับการศึกษา และมีประชากรพิการวัยแรงงาน เพียงร้อยละ 53.3 ที่มีงานทำ

รายงานสภาวะเด็กโลกปี 2556 ระบุว่า เด็กพิการมักเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลทางสุขภาพหรือไปโรงเรียนน้อยที่สุด และเสี่ยงต่อความรุนแรง การทารุณกรรม การถูกแสวงประโยชน์และถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เด็กพิการที่เข้าถึงยาก หรือที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในศูนย์ผู้พิการต่างๆ อันเป็นผลมาจากการถูกตีตราทางสังคม หรือการที่ครอบครัวไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลพวกเขาได้ ปัจจัยหลายอย่างนี้ทำให้เด็กพิการกลายเป็นกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสที่สุดในโลก กลุ่มหนึ่ง รายงานยังระบุอีกว่าเด็กพิการเพศหญิงมักได้รับอาหารและการดูแลน้อยกว่าเด็กพิการเพศชาย

รายงานฉบับนี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) และดำเนินการเพื่อประกันสิทธิของเด็กและคนพิการ ตลอดจนสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถเลี้ยงดูเด็กพิการได้ ที่ผ่านมา หนึ่งในสามของประเทศทั่วโลกยังไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของ คนพิการ สำหรับประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาฯ นี้แล้วเมื่อ พ.ศ. 2550

นอกจากนี้ รายงานเน้นถึงความสำคัญในการให้เด็กและผู้พิการมีส่วนร่วมในการออกแบบ โครงการและบริการต่างๆ สำหรับผู้พิการ อีกทั้งยังเรียกร้องให้ประชาชนทั่วไป ผู้บริหารประเทศ และหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน และสถานพยาบาล ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการด้วย

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/05/46971 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 2/06/2556 เวลา 03:13:58

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

องค์การยูนิเซฟออกรายงานสภาวะเด็กโลกประจำปี 2556 ซึ่งปีนี้ว่าด้วยเรื่องเด็กพิการ (The State of the World’s Children – Children with Disabilities) และเรียกร้องให้สังคมยอมรับในความสามารถและศักยภาพของเด็กพิการ และเปิดโอกาสให้เด็กพิการได้มีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น “เมื่อคุณมอง ที่ความพิการก่อนมองความสามารถของเด็ก นอกจากจะเป็นเรื่องที่ผิดต่อเด็กแล้ว ยังทำให้สังคมเสียโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากศักยภาพของเด็กพิการอีกด้วย เมื่อเด็กขาดโอกาสสังคมก็เสียประโยชน์ ฉะนั้นเมื่อเด็กได้รับโอกาส สังคมก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน” นายแอนโทนี่ เลค ผู้อำนวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟกล่าว ในประเทศไทย จากการสำรวจความพิการ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีผู้พิการจำนวน 1.87 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด มีเด็กพิการอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มาจดทะเบียนคนพิการจำนวน 74,502 คน อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีเด็กพิการอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ลงทะเบียน เด็กพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือกลุ่มพิการทางสติปัญญา นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรที่พิการอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 24.3 ไม่ได้รับการศึกษา และมีประชากรพิการวัยแรงงาน เพียงร้อยละ 53.3 ที่มีงานทำ รายงานสภาวะเด็กโลกปี 2556 ระบุว่า เด็กพิการมักเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลทางสุขภาพหรือไปโรงเรียนน้อยที่สุด และเสี่ยงต่อความรุนแรง การทารุณกรรม การถูกแสวงประโยชน์และถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เด็กพิการที่เข้าถึงยาก หรือที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในศูนย์ผู้พิการต่างๆ อันเป็นผลมาจากการถูกตีตราทางสังคม หรือการที่ครอบครัวไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลพวกเขาได้ ปัจจัยหลายอย่างนี้ทำให้เด็กพิการกลายเป็นกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสที่สุดในโลก กลุ่มหนึ่ง รายงานยังระบุอีกว่าเด็กพิการเพศหญิงมักได้รับอาหารและการดูแลน้อยกว่าเด็กพิการเพศชาย รายงานฉบับนี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) และดำเนินการเพื่อประกันสิทธิของเด็กและคนพิการ ตลอดจนสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถเลี้ยงดูเด็กพิการได้ ที่ผ่านมา หนึ่งในสามของประเทศทั่วโลกยังไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของ คนพิการ สำหรับประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาฯ นี้แล้วเมื่อ พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ รายงานเน้นถึงความสำคัญในการให้เด็กและผู้พิการมีส่วนร่วมในการออกแบบ โครงการและบริการต่างๆ สำหรับผู้พิการ อีกทั้งยังเรียกร้องให้ประชาชนทั่วไป ผู้บริหารประเทศ และหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน และสถานพยาบาล ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการด้วย ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/05/46971

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...