เล็งแก้ "พ.ร.บ.เงินทดแทน" เพิ่มสิทธิประโยชน์ลูกจ้าง
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.จะดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินทดแทน พ.ศ.2537 เพื่อให้บทบัญญัติเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เอื้อประโยชน์ต่อการให้ความคุ้มครองลูกจ้าง
"สำหรับสาระสำคัญที่จะแก้ไข เช่น ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย การกำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ค่าทำศพ ค่าทดแทน และเงินเพิ่มกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบหรือจ่ายไม่ครบจำนวน การยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทน การปรับเพิ่มค่าจัดการศพ การเพิ่มอัตราค่าทดแทนรายเดือน การเพิ่มระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ ฯลฯ ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง เห็นด้วยที่จะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ และครอบคลุมกลุ่มที่ได้รับการยกเว้น โดยเฉพาะลูกจ้างภาครัฐ พร้อมเสนอให้สัดส่วนของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่าเทียมกันทุกฝ่าย" นายอารักษ์กล่าว และว่า จากนี้ สปส.ต้องรวบรวมข้อเสนอแนะมาเทียบเคียงกับร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน (ฉบับแก้ไข) ที่ สปส.กำลังดำเนินการ ว่ามีส่วนใดที่เหมือนกันและต้องปรับเพิ่มอย่างไร ก่อนจะสรุปและนำเสนอนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิจารณา และผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371197618
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.จะดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินทดแทน พ.ศ.2537 เพื่อให้บทบัญญัติเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เอื้อประโยชน์ต่อการให้ความคุ้มครองลูกจ้าง "สำหรับสาระสำคัญที่จะแก้ไข เช่น ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย การกำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ค่าทำศพ ค่าทดแทน และเงินเพิ่มกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบหรือจ่ายไม่ครบจำนวน การยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทน การปรับเพิ่มค่าจัดการศพ การเพิ่มอัตราค่าทดแทนรายเดือน การเพิ่มระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ ฯลฯ ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง เห็นด้วยที่จะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ และครอบคลุมกลุ่มที่ได้รับการยกเว้น โดยเฉพาะลูกจ้างภาครัฐ พร้อมเสนอให้สัดส่วนของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่าเทียมกันทุกฝ่าย" นายอารักษ์กล่าว และว่า จากนี้ สปส.ต้องรวบรวมข้อเสนอแนะมาเทียบเคียงกับร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน (ฉบับแก้ไข) ที่ สปส.กำลังดำเนินการ ว่ามีส่วนใดที่เหมือนกันและต้องปรับเพิ่มอย่างไร ก่อนจะสรุปและนำเสนอนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิจารณา และผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371197618
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)