พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับความจำเป็นเพื่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

แสดงความคิดเห็น

สถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ยังมีความเคลื่อนไหวจากองค์กรภาคประชาสังคม(NGO) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกมารณรงค์ปลุกกระแสให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามที่ปรากฏในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เวปไซต์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมชักชวนพี่น้องประชาชนเขียนข้อความในจดหมายสันติภาพหรือโปสการด์ส่งถึง องค์การสหประชาชาติและสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติคัดค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

โดยการเรียกร้องยกเลิกในครั้งนี้ ให้เหตุผลโดยรวมว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและ ทรัพย์สินต่อประชาชนได้ ขณะเดียวกันยังเอื้อให้เกิดเงื่อนไขการหล่อเลี้ยงวงจรความรุนแรง ที่มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ โดยปราศจากกลไกเอาผิดได้ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมไม่ต้องรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะมาตรา ๑๗ เนื่องจากมาตราดังกล่าวระบุว่า เจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งทางอาญาหรือทางวินัยแต่อย่างใด

แผนที่จังหวัดชายแดนใต้ ย้อนดู....มาตรา ๑๗ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ “พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนดนี้ ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฏหมายว่าด้วย ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”

พลโท อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้เน้นย้ำมาตลอดว่า “ผู้กระทำผิดต้องถูกดำเนินคดีและถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติงานภายใต้กรอบกฏหมายและไม่ละเมิดหลักสิทธิมนุษย ชน”

สำหรับขั้นตอนของเจ้าหน้าที่นั้น ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะมาตรา ๑๒ สรุปได้ว่า..การจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยจะต้องร้องขอต่อศาล เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้วมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวได้ไม่เกิน ๗ วัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะผู้กระทำผิดไม่ได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้เจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลาควบคุมต่อได้อีกคราวละ ๗ วัน แต่รวมแล้วไม่เกิน ๓๐ วัน เมื่อครบกำหนด หากต้องการควบคุมต่อไปให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา....จะเห็นได้ว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุนเฉินฯ มีข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตามที่กฏหมาย หากเห็นว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ละเมิดสิทธิมนุษยชน...ตามที่อ้าง

ฉะนั้นไม่ว่าจะรณรงค์คัดค้าน ยกเลิกหรือไม่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องมีคำถามจากผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงสะท้อนกลับอย่างหลากหลาย เช่น ฝ่ายรักษาความมั่นคงอาจจะบอกว่า ก็ขนาดประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้อยู่ก็ยังเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง ถ้าหากเลิกใช้จะเป็นอย่างไร หรือพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชาวไทยพุทธ กลุ่มครู หรือกลุ่มผู้สูญเสียจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มก่อความไม่สงบเขาจะปลอดภัยได้อย่างไรหากต้องยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ฉะนั้น จึงไม่ควรใช้วิธีรณรงค์ต่อต้านเพียงฝ่ายอย่างเดียว แต่ควรรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงบ้าง เช่น ชุมชนที่อาศัยในตัวเมืองยะลา ปัตตานี นราธิวาส ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า หรือการรวมตัวของกลุ่มชาวบ้านในหลายๆพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เรียกร้องไม่ให้ถอนทหารออกจากชุมชน รวมทั้งกลุ่มครูก็ต้องการให้ฝ่ายรักษาความมั่นคงเพิ่มมาตรการรักษาความ ปลอดภัยให้เข้มข้นกับพวกเขาด้วย หรือแม้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความมั่นคงของรัฐเองก็ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงแทบจะทุกวัน

ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะของการก่อการร้าย มีแนวร่วมขบวนการก่อการร้ายที่ชัดเจน ไม่ใช่อาชญากรรมทั่วไปที่จะใช้ประมวลกฏหมายอาญาคลี่คลายสถานการณ์ได้ จึงจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มความเข้มในการรักษาความปลอดภัยที่ต้องใช้กำลังพล เพื่อให้สามารถระดมกำลังพลจากหน่วยต่างๆ ทั้ง ทหาร ตำรวจและพลเรือน ให้มีสถานะเป็น "เจ้าพนักงาน" ในการประกอบกำลังเพื่อปฏิบัติภารกิจคุ้มครองความปลอดภัยชีวิต ทรัพย์สินและสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ หากเมื่อใดเลิกใช้กฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้เหลือเฉพาะแต่กฎหมายธรรมดา ฝ่ายที่จะใช้อำนาจตรวจค้นจับกุมได้ก็มีเพียงตำรวจกับศาลเท่านั้นเอง...ส่วน ทหารจะปฏิบัติการอะไรไม่ได้เลยแล้วกำลังตำรวจที่มีอยู่จะเพียงพอกับภารกิจที่รับผิดชอบได้หรือ

ไม่มีรัฐบาลชุดไหนอยากใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ถ้าเลิกได้คงเลิกไปนานแล้ว เพราะคงไม่มีใครอยากให้ประเทศชาติหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ภายใต้ ภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์ความไม่มั่นคง

นายชัยณรงค์กาพย์เกิดเรียบเรียง : ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า

ขอบคุณ... http://www.southpeace.go.th/column/column_550402_2.htm

southpeace.go.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56

ที่มา: southpeace.go.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 14/09/2556 เวลา 03:20:59 ดูภาพสไลด์โชว์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับความจำเป็นเพื่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ยังมีความเคลื่อนไหวจากองค์กรภาคประชาสังคม(NGO) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกมารณรงค์ปลุกกระแสให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามที่ปรากฏในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เวปไซต์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมชักชวนพี่น้องประชาชนเขียนข้อความในจดหมายสันติภาพหรือโปสการด์ส่งถึง องค์การสหประชาชาติและสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติคัดค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยการเรียกร้องยกเลิกในครั้งนี้ ให้เหตุผลโดยรวมว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและ ทรัพย์สินต่อประชาชนได้ ขณะเดียวกันยังเอื้อให้เกิดเงื่อนไขการหล่อเลี้ยงวงจรความรุนแรง ที่มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ โดยปราศจากกลไกเอาผิดได้ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมไม่ต้องรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะมาตรา ๑๗ เนื่องจากมาตราดังกล่าวระบุว่า เจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งทางอาญาหรือทางวินัยแต่อย่างใด แผนที่จังหวัดชายแดนใต้ ย้อนดู....มาตรา ๑๗ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ “พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนดนี้ ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฏหมายว่าด้วย ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่” พลโท อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้เน้นย้ำมาตลอดว่า “ผู้กระทำผิดต้องถูกดำเนินคดีและถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติงานภายใต้กรอบกฏหมายและไม่ละเมิดหลักสิทธิมนุษย ชน” สำหรับขั้นตอนของเจ้าหน้าที่นั้น ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะมาตรา ๑๒ สรุปได้ว่า..การจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยจะต้องร้องขอต่อศาล เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้วมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวได้ไม่เกิน ๗ วัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะผู้กระทำผิดไม่ได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้เจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลาควบคุมต่อได้อีกคราวละ ๗ วัน แต่รวมแล้วไม่เกิน ๓๐ วัน เมื่อครบกำหนด หากต้องการควบคุมต่อไปให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา....จะเห็นได้ว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุนเฉินฯ มีข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตามที่กฏหมาย หากเห็นว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ละเมิดสิทธิมนุษยชน...ตามที่อ้าง ฉะนั้นไม่ว่าจะรณรงค์คัดค้าน ยกเลิกหรือไม่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องมีคำถามจากผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงสะท้อนกลับอย่างหลากหลาย เช่น ฝ่ายรักษาความมั่นคงอาจจะบอกว่า ก็ขนาดประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้อยู่ก็ยังเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง ถ้าหากเลิกใช้จะเป็นอย่างไร หรือพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชาวไทยพุทธ กลุ่มครู หรือกลุ่มผู้สูญเสียจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มก่อความไม่สงบเขาจะปลอดภัยได้อย่างไรหากต้องยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉะนั้น จึงไม่ควรใช้วิธีรณรงค์ต่อต้านเพียงฝ่ายอย่างเดียว แต่ควรรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงบ้าง เช่น ชุมชนที่อาศัยในตัวเมืองยะลา ปัตตานี นราธิวาส ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า หรือการรวมตัวของกลุ่มชาวบ้านในหลายๆพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เรียกร้องไม่ให้ถอนทหารออกจากชุมชน รวมทั้งกลุ่มครูก็ต้องการให้ฝ่ายรักษาความมั่นคงเพิ่มมาตรการรักษาความ ปลอดภัยให้เข้มข้นกับพวกเขาด้วย หรือแม้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความมั่นคงของรัฐเองก็ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงแทบจะทุกวัน ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะของการก่อการร้าย มีแนวร่วมขบวนการก่อการร้ายที่ชัดเจน ไม่ใช่อาชญากรรมทั่วไปที่จะใช้ประมวลกฏหมายอาญาคลี่คลายสถานการณ์ได้ จึงจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มความเข้มในการรักษาความปลอดภัยที่ต้องใช้กำลังพล เพื่อให้สามารถระดมกำลังพลจากหน่วยต่างๆ ทั้ง ทหาร ตำรวจและพลเรือน ให้มีสถานะเป็น "เจ้าพนักงาน" ในการประกอบกำลังเพื่อปฏิบัติภารกิจคุ้มครองความปลอดภัยชีวิต ทรัพย์สินและสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ หากเมื่อใดเลิกใช้กฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้เหลือเฉพาะแต่กฎหมายธรรมดา ฝ่ายที่จะใช้อำนาจตรวจค้นจับกุมได้ก็มีเพียงตำรวจกับศาลเท่านั้นเอง...ส่วน ทหารจะปฏิบัติการอะไรไม่ได้เลยแล้วกำลังตำรวจที่มีอยู่จะเพียงพอกับภารกิจที่รับผิดชอบได้หรือ ไม่มีรัฐบาลชุดไหนอยากใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ถ้าเลิกได้คงเลิกไปนานแล้ว เพราะคงไม่มีใครอยากให้ประเทศชาติหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ภายใต้ ภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์ความไม่มั่นคง นายชัยณรงค์กาพย์เกิดเรียบเรียง : ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ขอบคุณ... http://www.southpeace.go.th/column/column_550402_2.htm southpeace.go.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...