การร่วมฟ้องศาลปกครองกรณี ขสมก.เลือกปฏิบัติ ซื้อรถเมล์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับประชาชน

แสดงความคิดเห็น

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้

ประชาชนทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ โดยดำเนินการตามขั้นตอน และกำหนดเวลา ที่ศาลปกครองกำหนดอย่างถูกต้อง จากนั้น ศาลจะพิจารณาแบบไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีโดยใช้เอกสารเป็นหลัก

ในกรณี ที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)กระทรวงคมนาคม ได้ระบุในประกาศ ร่างขอบเขตของงาน (TOR ) ฉบับที่ ๔ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ครั้งที่ ๔ ” ว่า จากจำนวนรถเมล์ใหม่ที่ ขสมก.จะจัดซื้อ ๓,๑๘๓ คันนั้น ขสมก. จะจัดซื้อรถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว เพียง ๑,๕๒๔ คัน ส่วนรถเมล์ที่ ขสมก. จะซื้ออีกจำนวน ๑,๖๕๙ คัน มีลักษณะที่อาจจะไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิตของประชาชนหรือผู้โดยสาร และที่สำคัญ ประชาชนจำนวนมาก เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ใช้เก้าอี้เข็น เด็ก ผู้อ่อนแรง ผู้เจ็บป่วย และคนพิการ เป็นต้น ไม่สามารถใช้รถเมล์จำนวน ๑,๖๕๙ คัน และมีความเสี่ยงอย่างมากต่อความปลอดภัยของร่างกายและชีวิตในการพยายามที่จะใช้บริการโดยสารรถเมล์นั้น

โลโก้ศาลปกครอง

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น บ่งชี้ชัดเจนว่า ขสมก. กระทำการผิดกฎหมายอย่างน้อย ๒ ประเด็น ได้แก่ ๑)กระทำการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนจำนวนหนึ่ง เนื่องจากจัดซื้อรถเมล์สาธารณะที่ประชาชนไม่สามารถใช้ได้ทุกคันอย่างเท่าเทียมกัน และ ๒) กระทำการอันอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิต รวมถึง อาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อประชาชนผู้ใช้บริการรถเมล์สาธารณะ ตามสาระสำคัญในกฎหมาย ต่อไปนี้

๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

๒) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖

มาตรา ๑๕ การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนหรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะกระทำ มิได้

การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามวรรคหนึ่ง ให้หมาย ความรวมถึงการกระทำ หรืองดเว้นกระทำการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับเพราะเหตุแห่งความพิการด้วย

การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือประโยชน์สาธารณะสนับสนุนให้กระทำได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณี ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแต่ผู้กระทำการนั้น จะต้องจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา หรือรักษาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ แก่คนพิการตามความจำเป็นเท่าที่จะกระทำได้

มาตรา ๑๖ คนพิการที่ได้รับ หรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามมาตรา ๑๕ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

การร้องขอตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินให้แก่คนพิการที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้

มาตรา ๑๗ ในการใช้สิทธิตามมาตรา ๑๖ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้

การฟ้องคดีตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ไม่ว่าคนพิการเป็นผู้ฟ้องเองหรือองค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ฟ้อง แทน ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม

โลโก้คนพิการทุกประเภท

ดังนั้น คณะทำงาน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายประชาชนที่ใช้บริการรถเมล์สาธารณะกลุ่มต่างๆ เช่น เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้มีความหลากหลายทางเพศ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายสตรีพิการ และเครือข่ายคนพิการ เป็นต้น พร้อมทั้ง ทนายความจิตอาสา จึงเตรียมการยื่น “คำฟ้อง” ต่อศาลปกครอง ซึ่งระบุการกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวของ ขสมก. ทั้งนี้ ผู้ฟ้องคดีอาจเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคณะบุคคล โดยผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องคดีด้วยตนเองหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นยื่นฟ้องคดีแทนก็จะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมเรียกร้องความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกัน ในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะที่ซื้อโดยใช้ภาษีจากประชาชนทุกคน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงได้ขอให้ผู้นำเครือข่ายแต่ละกลุ่มทั่วประเทศ เป็นผู้รับมอบฉันทะในการฟ้องคดีจากสมาชิกของเครือข่าย หรือประชาชนทั่วไป ในกรณีผู้ฟ้องไม่สามารถลงลายมือชื่อในคำฟ้องได้ ผู้ฟ้องสามารถพิมพ์ลายนิ้วมือแทนได้

คณะทนายความจิตอาสาจะทำหน้าที่รวบรวมคำฟ้อง ใบมอบฉันทะ สำเนาบัตรประชาชนและสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการ และหลักฐานต่างๆ เป็นต้น ของผู้ร่วมฟ้องทุกคนซึ่งต่างคนก็ต่างได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำผิดกฎหมายของ ขสมก.ในกรณีเดียวกัน แล้วจึงรวมเอกสารเป็นฉบับเดียว พร้อมทั้งนำยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อยื่นคำฟ้องแล้ว ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และศาลจะนัดผู้ฟ้องเพื่อฟังผลการพิจารณาคดีต่อไป

ผู้สนใจติดต่อที่ สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย โทร. ๐๒ ๓๕๔๔ ๒๖๐ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย โทร.๐๘๑-๘๖๙๙๗๑๘ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โทร. ๐๓๘ ๗๑๖๒๔๗ – ๙ หรือ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย โทร.๐๒ ๖๒๘ ๕๗๐๑

(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ต.ค.๒๕๕๖)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ต.ค.๒๕๕๖
วันที่โพสต์: 9/10/2556 เวลา 05:17:43 ดูภาพสไลด์โชว์ การร่วมฟ้องศาลปกครองกรณี ขสมก.เลือกปฏิบัติ ซื้อรถเมล์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับประชาชน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้ ประชาชนทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ โดยดำเนินการตามขั้นตอน และกำหนดเวลา ที่ศาลปกครองกำหนดอย่างถูกต้อง จากนั้น ศาลจะพิจารณาแบบไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีโดยใช้เอกสารเป็นหลัก ในกรณี ที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)กระทรวงคมนาคม ได้ระบุในประกาศ ร่างขอบเขตของงาน (TOR ) ฉบับที่ ๔ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ครั้งที่ ๔ ” ว่า จากจำนวนรถเมล์ใหม่ที่ ขสมก.จะจัดซื้อ ๓,๑๘๓ คันนั้น ขสมก. จะจัดซื้อรถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว เพียง ๑,๕๒๔ คัน ส่วนรถเมล์ที่ ขสมก. จะซื้ออีกจำนวน ๑,๖๕๙ คัน มีลักษณะที่อาจจะไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิตของประชาชนหรือผู้โดยสาร และที่สำคัญ ประชาชนจำนวนมาก เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ใช้เก้าอี้เข็น เด็ก ผู้อ่อนแรง ผู้เจ็บป่วย และคนพิการ เป็นต้น ไม่สามารถใช้รถเมล์จำนวน ๑,๖๕๙ คัน และมีความเสี่ยงอย่างมากต่อความปลอดภัยของร่างกายและชีวิตในการพยายามที่จะใช้บริการโดยสารรถเมล์นั้น โลโก้ศาลปกครอง จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น บ่งชี้ชัดเจนว่า ขสมก. กระทำการผิดกฎหมายอย่างน้อย ๒ ประเด็น ได้แก่ ๑)กระทำการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนจำนวนหนึ่ง เนื่องจากจัดซื้อรถเมล์สาธารณะที่ประชาชนไม่สามารถใช้ได้ทุกคันอย่างเท่าเทียมกัน และ ๒) กระทำการอันอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิต รวมถึง อาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อประชาชนผู้ใช้บริการรถเมล์สาธารณะ ตามสาระสำคัญในกฎหมาย ต่อไปนี้ ๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม ๒) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖ มาตรา ๑๕ การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนหรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะกระทำ มิได้ การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามวรรคหนึ่ง ให้หมาย ความรวมถึงการกระทำ หรืองดเว้นกระทำการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับเพราะเหตุแห่งความพิการด้วย การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือประโยชน์สาธารณะสนับสนุนให้กระทำได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณี ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแต่ผู้กระทำการนั้น จะต้องจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา หรือรักษาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ แก่คนพิการตามความจำเป็นเท่าที่จะกระทำได้ มาตรา ๑๖ คนพิการที่ได้รับ หรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามมาตรา ๑๕ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด การร้องขอตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินให้แก่คนพิการที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้ มาตรา ๑๗ ในการใช้สิทธิตามมาตรา ๑๖ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้ การฟ้องคดีตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ไม่ว่าคนพิการเป็นผู้ฟ้องเองหรือองค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ฟ้อง แทน ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม โลโก้คนพิการทุกประเภท ดังนั้น คณะทำงาน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายประชาชนที่ใช้บริการรถเมล์สาธารณะกลุ่มต่างๆ เช่น เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้มีความหลากหลายทางเพศ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายสตรีพิการ และเครือข่ายคนพิการ เป็นต้น พร้อมทั้ง ทนายความจิตอาสา จึงเตรียมการยื่น “คำฟ้อง” ต่อศาลปกครอง ซึ่งระบุการกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวของ ขสมก. ทั้งนี้ ผู้ฟ้องคดีอาจเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคณะบุคคล โดยผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องคดีด้วยตนเองหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นยื่นฟ้องคดีแทนก็จะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมเรียกร้องความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกัน ในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะที่ซื้อโดยใช้ภาษีจากประชาชนทุกคน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงได้ขอให้ผู้นำเครือข่ายแต่ละกลุ่มทั่วประเทศ เป็นผู้รับมอบฉันทะในการฟ้องคดีจากสมาชิกของเครือข่าย หรือประชาชนทั่วไป ในกรณีผู้ฟ้องไม่สามารถลงลายมือชื่อในคำฟ้องได้ ผู้ฟ้องสามารถพิมพ์ลายนิ้วมือแทนได้ คณะทนายความจิตอาสาจะทำหน้าที่รวบรวมคำฟ้อง ใบมอบฉันทะ สำเนาบัตรประชาชนและสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการ และหลักฐานต่างๆ เป็นต้น ของผู้ร่วมฟ้องทุกคนซึ่งต่างคนก็ต่างได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำผิดกฎหมายของ ขสมก.ในกรณีเดียวกัน แล้วจึงรวมเอกสารเป็นฉบับเดียว พร้อมทั้งนำยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อยื่นคำฟ้องแล้ว ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และศาลจะนัดผู้ฟ้องเพื่อฟังผลการพิจารณาคดีต่อไป ผู้สนใจติดต่อที่ สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย โทร. ๐๒ ๓๕๔๔ ๒๖๐ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย โทร.๐๘๑-๘๖๙๙๗๑๘ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โทร. ๐๓๘ ๗๑๖๒๔๗ – ๙ หรือ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย โทร.๐๒ ๖๒๘ ๕๗๐๑ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ต.ค.๒๕๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...