คนพิการต่างจังหวัด....มีสิทธิขึ้นรถเมล์ไหม???

แสดงความคิดเห็น

รถสองแถวเล็ก

เมื่อองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ ปี พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นปีคนพิการสากล ประเทศไทยได้ร่วมประกาศด้วย พร้อมทั้ง ส่งผู้นำคนพิการไทยเข้าร่วมประชุมนานาชาติในต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสให้คนพิการไทยได้เรียนรู้มากมาย โดยเฉพาะ เรื่อง ความพิการ คนพิการ และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการซึ่งในสมัยนั้น แบ่งเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ นั่นหมายความว่า วิถีชีวิตคนพิการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงหากคนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้ง ๔ ด้าน อย่างทันสมัย ถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละคน กล่าวคือ ข้อจำกัดต่างๆ อันเกิดจากลักษณะความพิการแต่ละประเภทจะลดน้อยลง ความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองมีมากขึ้น ตลอดจน สามารถเรียนหนังสือ ร่วมกิจกรรมทางสังคม และประกอบอาชีพ ซึ่งนำไปสู่ ความสามารถพึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตอิสระ นอกจากนั้น ประเด็นสำคัญที่ผู้นำคนพิการได้เรียนรู้ และนำมาขับเคลื่อนในประเทศไทย ได้แก่ หลักคิดที่ว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด คือ การกำหนดในกฎหมายให้คนพิการมี “สิทธิ” ได้รับบริการสาธารณะเหล่านั้น

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้

การที่กลุ่มคนพิการริเริ่มรณรงค์ขอใช้สิทธิพลเมืองในการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อการดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง นับเป็นเรื่องยากที่สังคม หรือแม้แต่คนพิการ และครอบครัวจะเข้าใจ เพราะสังคมเคยชินกับการมองว่า คนพิการเป็นผู้ป่วย ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ น่าสงสาร เรียนไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ครอบครัวต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูคนพิการตลอดชีวิต และสิ่งที่คนในสังคมจะช่วยคนพิการได้ คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือ โดยการให้ทาน เลี้ยงอาหาร และบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น

แต่คณะผู้นำคนพิการก็ไม่ย่อท้อ ร่วมกันรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ผู้นำรัฐบาล นักการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกด้าน โดยจริงจัง ต่อเนื่อง และเหน็ดเหนื่อย โดยใช้เวลาถึง เกือบ ๑๐ ปี จึงมีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับคนพิการฉบับแรก คือ “พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔”

สิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่สุดในครั้งนั้น คือ การรณรงค์ให้มีกฎหมายว่าด้วยสิทธิคนพิการฉบับแรก เกิดจากคนพิการแต่ละประเภทที่รวมตัวกันในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ กลุ่มคนพิการบางประเภทก้าวหน้าถึงขั้นตั้งสมาคม เมื่อคนพิการแต่ละประเภทตั้งสมาคมสำเร็จ ผู้นำคนพิการทั้งคนต่างจังหวัด และคนพิการกรุงเทพฯ ก็ร่วมใจกันก่อตั้ง “สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย” และจัดประชุมสภาฯ ที่จังหวัดต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคโดยหมุนเวียนกันไป

ฉะนั้น เพื่อนพิการต่างจังหวัด ที่ถามมา ๒ คำถาม ว่า ในขณะที่ผู้นำคนพิการในกรุงเทพฯกำลังรณรงค์คุ้มครองสิทธิพลเมืองในการใช้บริการรถเมล์หรือรถโดยสารประจำทางสาธารณะ คนพิการต่างจังหวัดช่วยอะไรได้บ้างไหม และ คนพิการต่างจังหวัดมีโอกาสใช้รถเมล์ซึ่งมีทางลาดเลื่อนเข้าออกเชื่อมระหว่างประตูรถกับทางเดินเท้าไหม

ตอบได้เลย ว่า โดยวัฒนธรรมของคนพิการไทย คนพิการต่างจังหวัดกับคนพิการกรุงเทพฯมีความยึดโยงกันอย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่เริ่มมีการรวมตัวกลุ่มคนพิการแต่ละประเภทดังกล่าวข้างต้น แม้กระทั่ง เมื่อคนพิการทุกประเภทรวมตัวกันเป็นสภาฯ ก็พยายามพัฒนาโครงสร้างให้มีการเชื่อมโยงจากส่วนกลางสู่แต่ละจังหวัด นอกจากนั้น ในการจัดกิจกรรมใดๆ เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิต สภาฯ ก็ดำเนินการ ๒ ทาง ทางหนึ่ง คือ ผู้นำคนพิการส่วนกลางนำวิทยากรไปให้ความรู้ / ฝึกอบรมแก่คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ อาสาสมัครช่วยคนพิการ และบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับภาค และระดับจังหวัด ส่วนอีกทางหนึ่ง คือ สภาฯ เชิญผู้นำคนพิการต่างจังหวัดเข้าไปประชุม / ฝึกอบรมในกรุงเทพฯ หรือปริมณฑล

ชาวบ้านตามชนบท ใช้บริการรถสองแถวเล็ก ฉะนั้น ต่อคำถามที่ ๑ ตอบได้ว่า....ขอเชิญเพื่อนพิการต่างจังหวัดร่วมสนับสนุน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ซึ่งประกอบด้วยองค์กรเครือข่ายของกลุ่มคนต่างๆ รวมทั้งเครือข่ายคนพิการ และผู้สนับสนุนแนวคิด “ซื้อรถเมล์สาธารณะโดยใช้ภาษีของประชาชน ...ทุกคนต้องใช้ได้ทุกคัน” โดยการประสานกับสมาคมของแต่ละประเภทความพิการ เพื่อร่วมลงชื่อเป็นผู้สนับสนุน หรือเป็นผู้ร่วมฟ้องต่อศาลปกครองโดยมอบฉันทะให้ผู้นำหรือกรรมการของสมาคมเป็นผู้แทนร่วมฟ้องร้องกับผู้แทนของสภาฯ ทั้งนี้ มีคณะทนายความจิตอาสาที่จะช่วยดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย

ต่อคำถามที่ ๒ ที่ว่า คนพิการต่างจังหวัดจะมีโอกาสใช้รถเมล์หรือไม่....นั่นเป็นความคาดหวังที่คนพิการทุกคนปรารถนาจะให้เกิดขึ้น คือ สานต่อเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนพิการทุกคน ดังนั้น คนพิการทุกกลุ่มในทุกจังหวัดจะต้องรวมตัวกัน และเริ่มรณรงค์อย่างจริงจัง เพื่อคุ้มครองสิทธิในการใช้บริการรถเมล์หรือบริการขนส่งมวลชนสาธารณะ รวมถึงบริการสาธารณะทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ตามสิทธิที่กำหนดอยู่ในกฎหมายคนพิการฉบับล่าสุด คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญ ข้อบัญญัติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ

อย่างไรก็ตาม แม้เครือข่ายคนพิการภายใต้โครงสร้างสภาฯ จะมีการเชื่อมประสานถ่ายทอดถึงกันในระดับจังหวัดทั้งด้านแนวคิด นโยบาย การบริหารจัดการ และการจัดทำโครงการ / กิจกรรม โดยใช้กลไกสนับสนุนต่างๆ เช่น คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้บริการคนพิการ รวมถึงศูนย์บริการคนพิการที่ดำเนินงานโดยองค์กรด้านคนพิการ เช่น ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ศูนย์บริการผู้ช่วยคนพิการ ศูนย์บริการล่ามภาษามือ เป็นต้น แต่ทุกฝ่ายต้องตระหนักว่า ในทุกจังหวัดรวมถึงกรุงเทพมหานคร ยังมีคนพิการจำนวนมากที่ด้อยโอกาส เช่น ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่มีรายได้ ไม่มีคนดูแล ถูกเลี้ยงอยู่แต่ในบ้านหรือสถานสงเคราะห์ ถูกทำร้าย ตลอดจน ยังมีคนพิการสูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ และคนพิการที่ต้องนอน “ติดเตียง” ตลอดเวลา เป็นต้น คนพิการเหล่านั้นมีสิทธิเท่าเทียมกับคนพิการ และคนทั่วไป แต่เขายังไม่สามารถเอื้อมถึง และใช้สิทธิประโยชน์ที่เขาพึงได้รับ

ชาวบ้านและคนพิการที่ชนบท

หนทางเดียวที่จะช่วยส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิคนพิการที่ด้อยโอกาสดังกล่าว ในทุกจังหวัด หรือในชุมชน สถานสงเคราะห์ สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ และเรือนจำ ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคแก่คนพิการทุกคน คือ ผู้นำคนพิการทุกระดับต้องร่วมกันรณรงค์อย่างมีประสิทธิภาพ จริงจัง และต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรของคนพิการ ( สมาคม ชมรม กลุ่ม ศูนย์ ฯลฯ ) องค์กรเพื่อคนพิการ ( มูลนิธิ ศูนย์ กลุ่ม ฯลฯ ) รวมถึง องค์กรต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน

การรณรงค์เพื่อให้“รถเมล์ภาษีประชาชน....ทุกคนใช้ได้ทุกคัน”...ต้องไม่หยุดลงเมื่อคนกรุงเทพฯใช้รถเมล์ได้ทุกคัน..นี่ เป็นเพียงการเริ่มต้นของการรณรงค์ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคนพิการในการใช้รถเมล์สาธารณะ .....ไม่ว่า....หนทางจะยาวไกลเพียงไร .....คนพิการทุกคนในประเทศไทยต้องเข้าถึง และใช้สิทธิประโยชน์ที่คนพิการกรุงเทพฯ/ผู้นำคนพิการได้รับทุกประการ โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น

ใครเห็นด้วย ??...ขอให้ยกมือขึ้น

ผู้ใส่ใจสนับสนุน “การดำรงชีวิตในสังคมอย่างเสมอภาคกันทุกคน” โปรดแสดงตนเป็นผู้ร่วมฟ้องร้อง หรือลงชื่อสนับสนุนกรณี “ซื้อรถเมล์สาธารณะโดยใช้ภาษีของประชาชน ...ทุกคนต้องใช้ได้ทุกคัน” ที่ ....สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย cpdtthailand@gmail.com โทร. ๐๒ ๓๕๔๔ ๒๖๐ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย teerayudth@hotmail.comโทร.๐๘๑-๘๖๙๙๗๑๘ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ samrits9@gmail.com โทร. ๐๓๘ ๗๑๖๒๔๗ – ๙ หรือ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย office@tddf.or.th โทร.๐๒ ๖๒๘ ๕๗๐๑

โดย พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

ที่มา: พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
วันที่โพสต์: 14/10/2556 เวลา 03:44:44 ดูภาพสไลด์โชว์ คนพิการต่างจังหวัด....มีสิทธิขึ้นรถเมล์ไหม???

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รถสองแถวเล็ก เมื่อองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ ปี พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นปีคนพิการสากล ประเทศไทยได้ร่วมประกาศด้วย พร้อมทั้ง ส่งผู้นำคนพิการไทยเข้าร่วมประชุมนานาชาติในต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสให้คนพิการไทยได้เรียนรู้มากมาย โดยเฉพาะ เรื่อง ความพิการ คนพิการ และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการซึ่งในสมัยนั้น แบ่งเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ นั่นหมายความว่า วิถีชีวิตคนพิการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงหากคนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้ง ๔ ด้าน อย่างทันสมัย ถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละคน กล่าวคือ ข้อจำกัดต่างๆ อันเกิดจากลักษณะความพิการแต่ละประเภทจะลดน้อยลง ความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองมีมากขึ้น ตลอดจน สามารถเรียนหนังสือ ร่วมกิจกรรมทางสังคม และประกอบอาชีพ ซึ่งนำไปสู่ ความสามารถพึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตอิสระ นอกจากนั้น ประเด็นสำคัญที่ผู้นำคนพิการได้เรียนรู้ และนำมาขับเคลื่อนในประเทศไทย ได้แก่ หลักคิดที่ว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด คือ การกำหนดในกฎหมายให้คนพิการมี “สิทธิ” ได้รับบริการสาธารณะเหล่านั้น ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้ การที่กลุ่มคนพิการริเริ่มรณรงค์ขอใช้สิทธิพลเมืองในการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อการดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง นับเป็นเรื่องยากที่สังคม หรือแม้แต่คนพิการ และครอบครัวจะเข้าใจ เพราะสังคมเคยชินกับการมองว่า คนพิการเป็นผู้ป่วย ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ น่าสงสาร เรียนไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ครอบครัวต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูคนพิการตลอดชีวิต และสิ่งที่คนในสังคมจะช่วยคนพิการได้ คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือ โดยการให้ทาน เลี้ยงอาหาร และบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น แต่คณะผู้นำคนพิการก็ไม่ย่อท้อ ร่วมกันรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ผู้นำรัฐบาล นักการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกด้าน โดยจริงจัง ต่อเนื่อง และเหน็ดเหนื่อย โดยใช้เวลาถึง เกือบ ๑๐ ปี จึงมีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับคนพิการฉบับแรก คือ “พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔” สิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่สุดในครั้งนั้น คือ การรณรงค์ให้มีกฎหมายว่าด้วยสิทธิคนพิการฉบับแรก เกิดจากคนพิการแต่ละประเภทที่รวมตัวกันในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ กลุ่มคนพิการบางประเภทก้าวหน้าถึงขั้นตั้งสมาคม เมื่อคนพิการแต่ละประเภทตั้งสมาคมสำเร็จ ผู้นำคนพิการทั้งคนต่างจังหวัด และคนพิการกรุงเทพฯ ก็ร่วมใจกันก่อตั้ง “สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย” และจัดประชุมสภาฯ ที่จังหวัดต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคโดยหมุนเวียนกันไป ฉะนั้น เพื่อนพิการต่างจังหวัด ที่ถามมา ๒ คำถาม ว่า ในขณะที่ผู้นำคนพิการในกรุงเทพฯกำลังรณรงค์คุ้มครองสิทธิพลเมืองในการใช้บริการรถเมล์หรือรถโดยสารประจำทางสาธารณะ คนพิการต่างจังหวัดช่วยอะไรได้บ้างไหม และ คนพิการต่างจังหวัดมีโอกาสใช้รถเมล์ซึ่งมีทางลาดเลื่อนเข้าออกเชื่อมระหว่างประตูรถกับทางเดินเท้าไหม ตอบได้เลย ว่า โดยวัฒนธรรมของคนพิการไทย คนพิการต่างจังหวัดกับคนพิการกรุงเทพฯมีความยึดโยงกันอย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่เริ่มมีการรวมตัวกลุ่มคนพิการแต่ละประเภทดังกล่าวข้างต้น แม้กระทั่ง เมื่อคนพิการทุกประเภทรวมตัวกันเป็นสภาฯ ก็พยายามพัฒนาโครงสร้างให้มีการเชื่อมโยงจากส่วนกลางสู่แต่ละจังหวัด นอกจากนั้น ในการจัดกิจกรรมใดๆ เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิต สภาฯ ก็ดำเนินการ ๒ ทาง ทางหนึ่ง คือ ผู้นำคนพิการส่วนกลางนำวิทยากรไปให้ความรู้ / ฝึกอบรมแก่คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ อาสาสมัครช่วยคนพิการ และบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับภาค และระดับจังหวัด ส่วนอีกทางหนึ่ง คือ สภาฯ เชิญผู้นำคนพิการต่างจังหวัดเข้าไปประชุม / ฝึกอบรมในกรุงเทพฯ หรือปริมณฑล ชาวบ้านตามชนบท ใช้บริการรถสองแถวเล็กฉะนั้น ต่อคำถามที่ ๑ ตอบได้ว่า....ขอเชิญเพื่อนพิการต่างจังหวัดร่วมสนับสนุน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ซึ่งประกอบด้วยองค์กรเครือข่ายของกลุ่มคนต่างๆ รวมทั้งเครือข่ายคนพิการ และผู้สนับสนุนแนวคิด “ซื้อรถเมล์สาธารณะโดยใช้ภาษีของประชาชน ...ทุกคนต้องใช้ได้ทุกคัน” โดยการประสานกับสมาคมของแต่ละประเภทความพิการ เพื่อร่วมลงชื่อเป็นผู้สนับสนุน หรือเป็นผู้ร่วมฟ้องต่อศาลปกครองโดยมอบฉันทะให้ผู้นำหรือกรรมการของสมาคมเป็นผู้แทนร่วมฟ้องร้องกับผู้แทนของสภาฯ ทั้งนี้ มีคณะทนายความจิตอาสาที่จะช่วยดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย ต่อคำถามที่ ๒ ที่ว่า คนพิการต่างจังหวัดจะมีโอกาสใช้รถเมล์หรือไม่....นั่นเป็นความคาดหวังที่คนพิการทุกคนปรารถนาจะให้เกิดขึ้น คือ สานต่อเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนพิการทุกคน ดังนั้น คนพิการทุกกลุ่มในทุกจังหวัดจะต้องรวมตัวกัน และเริ่มรณรงค์อย่างจริงจัง เพื่อคุ้มครองสิทธิในการใช้บริการรถเมล์หรือบริการขนส่งมวลชนสาธารณะ รวมถึงบริการสาธารณะทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ตามสิทธิที่กำหนดอยู่ในกฎหมายคนพิการฉบับล่าสุด คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญ ข้อบัญญัติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ อย่างไรก็ตาม แม้เครือข่ายคนพิการภายใต้โครงสร้างสภาฯ จะมีการเชื่อมประสานถ่ายทอดถึงกันในระดับจังหวัดทั้งด้านแนวคิด นโยบาย การบริหารจัดการ และการจัดทำโครงการ / กิจกรรม โดยใช้กลไกสนับสนุนต่างๆ เช่น คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้บริการคนพิการ รวมถึงศูนย์บริการคนพิการที่ดำเนินงานโดยองค์กรด้านคนพิการ เช่น ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ศูนย์บริการผู้ช่วยคนพิการ ศูนย์บริการล่ามภาษามือ เป็นต้น แต่ทุกฝ่ายต้องตระหนักว่า ในทุกจังหวัดรวมถึงกรุงเทพมหานคร ยังมีคนพิการจำนวนมากที่ด้อยโอกาส เช่น ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่มีรายได้ ไม่มีคนดูแล ถูกเลี้ยงอยู่แต่ในบ้านหรือสถานสงเคราะห์ ถูกทำร้าย ตลอดจน ยังมีคนพิการสูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ และคนพิการที่ต้องนอน “ติดเตียง” ตลอดเวลา เป็นต้น คนพิการเหล่านั้นมีสิทธิเท่าเทียมกับคนพิการ และคนทั่วไป แต่เขายังไม่สามารถเอื้อมถึง และใช้สิทธิประโยชน์ที่เขาพึงได้รับ ชาวบ้านและคนพิการที่ชนบท หนทางเดียวที่จะช่วยส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิคนพิการที่ด้อยโอกาสดังกล่าว ในทุกจังหวัด หรือในชุมชน สถานสงเคราะห์ สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ และเรือนจำ ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคแก่คนพิการทุกคน คือ ผู้นำคนพิการทุกระดับต้องร่วมกันรณรงค์อย่างมีประสิทธิภาพ จริงจัง และต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรของคนพิการ ( สมาคม ชมรม กลุ่ม ศูนย์ ฯลฯ ) องค์กรเพื่อคนพิการ ( มูลนิธิ ศูนย์ กลุ่ม ฯลฯ ) รวมถึง องค์กรต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน การรณรงค์เพื่อให้“รถเมล์ภาษีประชาชน....ทุกคนใช้ได้ทุกคัน”...ต้องไม่หยุดลงเมื่อคนกรุงเทพฯใช้รถเมล์ได้ทุกคัน..นี่ เป็นเพียงการเริ่มต้นของการรณรงค์ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคนพิการในการใช้รถเมล์สาธารณะ .....ไม่ว่า....หนทางจะยาวไกลเพียงไร .....คนพิการทุกคนในประเทศไทยต้องเข้าถึง และใช้สิทธิประโยชน์ที่คนพิการกรุงเทพฯ/ผู้นำคนพิการได้รับทุกประการ โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น ใครเห็นด้วย ??...ขอให้ยกมือขึ้น ผู้ใส่ใจสนับสนุน “การดำรงชีวิตในสังคมอย่างเสมอภาคกันทุกคน” โปรดแสดงตนเป็นผู้ร่วมฟ้องร้อง หรือลงชื่อสนับสนุนกรณี “ซื้อรถเมล์สาธารณะโดยใช้ภาษีของประชาชน ...ทุกคนต้องใช้ได้ทุกคัน” ที่ ....สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย cpdtthailand@gmail.com โทร. ๐๒ ๓๕๔๔ ๒๖๐ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย teerayudth@hotmail.comโทร.๐๘๑-๘๖๙๙๗๑๘ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ samrits9@gmail.com โทร. ๐๓๘ ๗๑๖๒๔๗ – ๙ หรือ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย office@tddf.or.th โทร.๐๒ ๖๒๘ ๕๗๐๑ โดย พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...