“ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” พบ กมธ.ฯ รัฐธรรมนูญฯ
วันนี้ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๓๐ น. ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” อันประกอบด้วยเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย เครือข่ายกลุ่มหลากหลายทางเพศ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายจิตอาสาช่วยคนพิการ เครือข่ายมนุษย์ล้อเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการทั่วประเทศและเครือข่ายทนายมนุษย์ล้อ เป็นต้น นำโดยนายธีรยุทธ สุคนธวิท นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ นางอาภาณี มิตรทอง นายวันเสาร์ ไชยกุล และ นางสาววลัยพร พนมกุล ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารรถโดยสารประจำทาง(รถเมล์) โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนอ่อนแรง ผู้เจ็บป่วย สตรีใส่รองเท้าส้นสูง และพ่อแม่ที่มีลูกเล็กนั่งรถเข็นเด็ก เป็นต้น
หนังสือร้องเรียน ประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ ตามที่ ขสมก.ได้นำเสนอร่าง ขอบเขตของงาน (Term of reference : TOR ) โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ ๔ ( - ร่าง TOR WEB 4 - ) เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา และจะปิดรับประกาศในเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ได้เสนอและยืนยันให้มีการแก้ไขสาระสำคัญใน ร่าง ขอบเขตของงาโครงการจัดซื้อรถโดยสาร ( รถเมล์ ) ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ๒ ประการ ดังนี้
(๑) รถเมล์ใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ทั้งรถเมล์ปรับอากาศและรถเมล์ธรรมดา (รถเมล์ร้อน) จะต้องจัดให้มีระบบอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทุกคนในสังคม รวมถึงผู้สูงอายุ และคนพิการทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากรถเมล์ทุกคันได้อย่างปลอดภัย และสะดวก
(๒) รถเมล์ใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ทั้งรถเมล์ปรับอากาศและรถเมล์ธรรมดาจะต้องมีระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คนตาบอด และคนหูหนวกสามารถรับรู้และเข้าใจข้อมูลข่าวสารที่พนักงานบนรถเมล์สื่อสารกับผู้โดยสารทั่วไปอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ระบบเสียง และระบบตัวอักษรวิ่งบนป้ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือจอภาพ เพื่อแสดงข้อความหรือสัญลักษณ์ เช่น หมายเลขรถประจำทาง จุดหมายปลายทาง ชื่อป้ายจอดรถโดยสารป้ายถัดไป ประกาศกำหนดเวลาออกรถ ประกาศว่ารถถึงจุดหมายปลายทางแล้ว หรือประกาศเตือนภัยต่าง ๆ เป็นต้น
ข้อเสนอทั้ง ๒ ประการเป็นหัวใจหลักที่ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ขอนำเสนอให้ ขสมก. กำหนดไว้ในร่าง TOR พร้อมทั้ง กำหนดว่า การดำเนินการตามข้อเสนอทั้ง ๒ ข้อ ผู้โดยสารต้องใช้ได้อย่างทันที ที่ ขสมก. เริ่มใช้รถเมล์ซื้อใหม่ให้บริการผู้โดยสาร มีระบบอำนวยความสะดวกให้ “ประชาชนทุกคนใช้รถเมล์ได้ทุกคัน”
ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมาย ผลประโยชน์ และความปลอดภัยสูงสุดต่อประชาชนทุก/กลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนอ่อนแรง ผู้เจ็บป่วย สตรีใส่รองเท้าส้นสูง และพ่อแม่ที่มีลูกเล็กนั่งรถเข็นเด็ก เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลก (World Class Tourism Destination) ซึ่งการพัฒนาเมืองและบริการสาธารณะต่างๆ จะต้องมีการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design : UD) ที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม และบริการสาธารณะได้อย่างเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องของรถโดยสารที่ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการไปแล้วหลายครั้งต่อคณะกรรมการร่าง TOR โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่ได้รับการพิจารณา และการตอบรับจากคณะกรรมการชุดนี้แต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จาก TOR ครั้งที่ ๑ ถึง ๔ ยังไม่มีการปรับปรุงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในรถโดยสาร ซึ่งคนพิการเองได้เล็งเห็นเจตนาของ ขสมก. ที่จะไม่ปรับปรุงแก้ไข TOR ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด
เป็นที่แน่ชัดว่าการกำหนด TOR ฉบับนี้ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลหลายกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มคนพิการซึ่งมีข้อจำกัดในการขึ้นรถเมล์ และขัดต่อกฎหมายหลายฉบับ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ รวมทั้งพันธะสัญญาที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(CRPD) และยุทธศาสตร์อินชอน เป็นต้น
ดังนั้น ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงใคร่ขอความเป็นธรรมจากคณะ กรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ผ่านคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ เพื่อช่วยสอบถาม พิจารณา และหารือกับคณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก. เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ด้อยโอกาสในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะ ในประเทศไทยด้วย
อนึ่ง เวลา ๐๙.๓๐ น. วันนี้ ( ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๖) คณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ได้เชิญ ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ร่วมหารือกับคณะกรรมการจัดทำ TOR ของ ขสมก. ณ อาคารรัฐสภา
ขอบคุณ...มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๖ ต.ค.๕๖
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้ วันนี้ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๓๐ น. ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” อันประกอบด้วยเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย เครือข่ายกลุ่มหลากหลายทางเพศ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายจิตอาสาช่วยคนพิการ เครือข่ายมนุษย์ล้อเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการทั่วประเทศและเครือข่ายทนายมนุษย์ล้อ เป็นต้น นำโดยนายธีรยุทธ สุคนธวิท นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ นางอาภาณี มิตรทอง นายวันเสาร์ ไชยกุล และ นางสาววลัยพร พนมกุล ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารรถโดยสารประจำทาง(รถเมล์) โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนอ่อนแรง ผู้เจ็บป่วย สตรีใส่รองเท้าส้นสูง และพ่อแม่ที่มีลูกเล็กนั่งรถเข็นเด็ก เป็นต้น หนังสือร้องเรียน ประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ ตามที่ ขสมก.ได้นำเสนอร่าง ขอบเขตของงาน (Term of reference : TOR ) โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ ๔ ( - ร่าง TOR WEB 4 - ) เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา และจะปิดรับประกาศในเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ได้เสนอและยืนยันให้มีการแก้ไขสาระสำคัญใน ร่าง ขอบเขตของงาโครงการจัดซื้อรถโดยสาร ( รถเมล์ ) ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ๒ ประการ ดังนี้ (๑) รถเมล์ใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ทั้งรถเมล์ปรับอากาศและรถเมล์ธรรมดา (รถเมล์ร้อน) จะต้องจัดให้มีระบบอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทุกคนในสังคม รวมถึงผู้สูงอายุ และคนพิการทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากรถเมล์ทุกคันได้อย่างปลอดภัย และสะดวก (๒) รถเมล์ใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ทั้งรถเมล์ปรับอากาศและรถเมล์ธรรมดาจะต้องมีระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คนตาบอด และคนหูหนวกสามารถรับรู้และเข้าใจข้อมูลข่าวสารที่พนักงานบนรถเมล์สื่อสารกับผู้โดยสารทั่วไปอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ระบบเสียง และระบบตัวอักษรวิ่งบนป้ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือจอภาพ เพื่อแสดงข้อความหรือสัญลักษณ์ เช่น หมายเลขรถประจำทาง จุดหมายปลายทาง ชื่อป้ายจอดรถโดยสารป้ายถัดไป ประกาศกำหนดเวลาออกรถ ประกาศว่ารถถึงจุดหมายปลายทางแล้ว หรือประกาศเตือนภัยต่าง ๆ เป็นต้น ข้อเสนอทั้ง ๒ ประการเป็นหัวใจหลักที่ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ขอนำเสนอให้ ขสมก. กำหนดไว้ในร่าง TOR พร้อมทั้ง กำหนดว่า การดำเนินการตามข้อเสนอทั้ง ๒ ข้อ ผู้โดยสารต้องใช้ได้อย่างทันที ที่ ขสมก. เริ่มใช้รถเมล์ซื้อใหม่ให้บริการผู้โดยสาร มีระบบอำนวยความสะดวกให้ “ประชาชนทุกคนใช้รถเมล์ได้ทุกคัน” ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมาย ผลประโยชน์ และความปลอดภัยสูงสุดต่อประชาชนทุก/กลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนอ่อนแรง ผู้เจ็บป่วย สตรีใส่รองเท้าส้นสูง และพ่อแม่ที่มีลูกเล็กนั่งรถเข็นเด็ก เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลก (World Class Tourism Destination) ซึ่งการพัฒนาเมืองและบริการสาธารณะต่างๆ จะต้องมีการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design : UD) ที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม และบริการสาธารณะได้อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องของรถโดยสารที่ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการไปแล้วหลายครั้งต่อคณะกรรมการร่าง TOR โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่ได้รับการพิจารณา และการตอบรับจากคณะกรรมการชุดนี้แต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จาก TOR ครั้งที่ ๑ ถึง ๔ ยังไม่มีการปรับปรุงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในรถโดยสาร ซึ่งคนพิการเองได้เล็งเห็นเจตนาของ ขสมก. ที่จะไม่ปรับปรุงแก้ไข TOR ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด เป็นที่แน่ชัดว่าการกำหนด TOR ฉบับนี้ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลหลายกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มคนพิการซึ่งมีข้อจำกัดในการขึ้นรถเมล์ และขัดต่อกฎหมายหลายฉบับ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ รวมทั้งพันธะสัญญาที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(CRPD) และยุทธศาสตร์อินชอน เป็นต้น ดังนั้น ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงใคร่ขอความเป็นธรรมจากคณะ กรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ผ่านคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ เพื่อช่วยสอบถาม พิจารณา และหารือกับคณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก. เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ด้อยโอกาสในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะ ในประเทศไทยด้วย อนึ่ง เวลา ๐๙.๓๐ น. วันนี้ ( ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๖) คณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ได้เชิญ ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ร่วมหารือกับคณะกรรมการจัดทำ TOR ของ ขสมก. ณ อาคารรัฐสภา ขอบคุณ...มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๖ ต.ค.๕๖
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)