สิทธิของผู้พิการ
คนพิการในบ้านเมืองของเรามีอยู่ไม่น้อย สถิติที่มาจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศตีเลขกลม ๆ มีถึงหนึ่งล้านห้าแสนคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐)
อย่างไรถือว่าเป็นผู้ พิการ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ ตามมาตรา ๔ ท่านว่า หมายถึงคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย หรือทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือ ฉบับใหม่ล่าสุด พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านว่าในมาตรา ๔ เหมือนกันหมายถึงบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องในการเห็น ในการได้ยิน ...ฯลฯ...
ในทางปฏิบัติยังมีการกำหนดรายละเอียดของลักษณะที่จะถือว่า เป็นผู้พิการให้ชัดเจนลงไปอีก อย่างเช่น ผู้พิการทางสายตาถ้าตาบอดเพียงหนึ่งข้าง ตาเข ตาเหล่ สายตาสั้น ยาว หรือผู้ที่หูหนวก หูตึง ถ้าเป็นเพียงข้างเดียว ท่านว่าไม่เป็นผู้พิการตามกฎหมาย
ไม่นานมานี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิทธิผู้พิการ กระผมขอนำมารายงานท่านผู้อ่านเพื่อประโยชน์ของผู้พิการและผู้สูงวัยต่อไป อย่างกระผมด้วยครับ แหะ ๆ
คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีมีอยู่สามท่าน ท่านแรกขาทั้งสองข้างขาดแต่กำเนิด ส่วนอีกสองท่านขาทั้งสองข้างไม่มีความรู้สึกอันเกิดจากอุบัติเหตุไม่สามารถ เคลื่อนไหวได้
ทั้งสามท่านยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ ๒ ผู้อำนวยการสำนักโยธาที่ ๓ และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน)ที่ ๔ ต่อศาลปกครองว่าบริษัทผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้รับสัมปทานจาก กทม. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ให้ก่อสร้างโครงการขนส่งระบบมวลชนกรุงเทพมหานครและได้ก่อสร้างสถานีขนส่ง รวม ๒๓ สถานี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ มีหน้าที่ควบคุมตามสัญญาสัมปทานต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔
แต่ทว่ามีแค่ห้าสถานีเอง ที่มีบันไดเลื่อนไฟฟ้าและมีลิฟต์ในบางจุดแต่ไม่มีทางลาดในพื้นที่ต่างระดับ อีก ๑๘ สถานี ไม่ทำอะไรสักอย่างแบบว่าตาบอดหูหนวกขาพิการจัดเต็มมายังไง ก็ตัวใครตัวมันนะโยม
นอกจากนี้ยังไม่มีแผนผังหรือป้ายติดประกาศขนาดใหญ่และติดไฟให้คนสายตาเลือนรางเห็นชัดเจน ไม่มีป้ายบอกทางข้อมูลตารางการเดินรถเป็นตัวอักษรเบรลล์และตัวพิมพ์ใหญ่และอีกหลายสิ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้สำหรับผู้พิการก็ไม่ทำ ไปร้องขอและเข้าประชุมหลายครั้งเพื่อขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่จัดทำก็เงียบเฉย จึงมาฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง
ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯมิได้กำหนดรายละเอียดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ กฎและระเบียบที่เกี่ยวกับการนี้ออกมาภายหลังการทำสัญญาสัมปทานทั้งสิ้น
ในชั้นศาลปกครองสูงสุดมีประเด็นวินิจฉัยที่น่าสนใจดังนี้ขอรับ หนึ่ง ผู้ฟ้องคดีทั้งสามมีสิทธิฟ้อง ผอ.สำนักการโยธาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หรือไม่ ท่านว่าไม่มีสิทธิฟ้องเนื่องจากเป็นข้าราชการในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการกระทำของผู้ถูก ฟ้องคดีที่ ๓
สอง ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องในกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีหรือไม่ ท่านว่าคำฟ้องที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งไม่รับไว้พิจารณา เว้นแต่ศาลเห็นว่าเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม ศาลจะรับไว้พิจารณาก็ได้ คำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาให้เป็นที่สุด และคำสั่งดังกล่าวจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำสั่งรับคำฟ้องเป็นองค์คณะ ซึ่งในคดีนี้ปรากฏว่าศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาซึ่งกระทำโดยองค์คณะและได้ มีการวินิจฉัยว่า การยื่นฟ้องคดีนี้จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมคือคนพิการและผู้สูงอายุโดยทั่วไป คำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาจึงเป็นที่สุด
บริษัท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ต่อสู้ว่ามิได้เป็นหน่วยงานทางปกครองเนื่องจากมิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล หรือสั่งการของ กทม.และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ท่านว่าผู้ถูกฟ้อง คดีที่ ๔ แม้จะมิใช่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ...ฯลฯ...แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครโดยได้รับสัมปทาน จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่งมวลชนอันเป็นกิจการทางปกครองจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง
แล้ว กทม.โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ในการไม่ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการหรือไม่ เนื่องจากกฎและระเบียบต่าง ๆ ที่บังคับในเรื่องนี้ออกมาภายหลังการทำสัญญาสัมปทานนี้แล้วทั้งสิ้น
ท่านว่าเมื่อ กฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (๒๕๔๒) ออกตามความ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ กำหนดอาคารที่ต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการและ ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่ง มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ จึงไม่อาจใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานได้ (ภายหลังสัญญาสัมปทาน) แต่เมื่อ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯ ไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดไม่ให้ใช้บังคับกับอาคารสถานที่ยานพาหนะที่มีอยู่ก่อน เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม.ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว
ยังปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรายงานต่อเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแสดงว่าอยู่ในวิสัยของกทม.ที่จะดำเนินการได้
นอกจากนี้นับแต่วันที่กฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวได้บังคับใช้มาจนถึงวันที่ ผู้ฟ้องคดีทั้งสามยื่นฟ้องในคดีนี้เป็นระยะเวลากว่า ๖ ปีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จัดเพียงทางขึ้นลงเป็นบันไดเลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าและมีลิฟต์บางจุดเพียง ๕ สถานีจากจำนวน ๒๓ สถานีเท่านั้น
จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ พิพากษา กลับ เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกตามกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๕๐/๒๕๕๗)
กำลังสร้างอีกหลายสาย ไม่น่าจะมีคดีกันอีกนะขอรับ.
พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์
www.facebook.com/pisit polruckket (ขนาดไฟล์: 2959) อีเมล : pisit_polruckket@hotmail.com
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/319786 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กฎหมายข้างตัว คนพิการในบ้านเมืองของเรามีอยู่ไม่น้อย สถิติที่มาจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศตีเลขกลม ๆ มีถึงหนึ่งล้านห้าแสนคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐) อย่างไรถือว่าเป็นผู้ พิการ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ ตามมาตรา ๔ ท่านว่า หมายถึงคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย หรือทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือ ฉบับใหม่ล่าสุด พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านว่าในมาตรา ๔ เหมือนกันหมายถึงบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องในการเห็น ในการได้ยิน ...ฯลฯ... ในทางปฏิบัติยังมีการกำหนดรายละเอียดของลักษณะที่จะถือว่า เป็นผู้พิการให้ชัดเจนลงไปอีก อย่างเช่น ผู้พิการทางสายตาถ้าตาบอดเพียงหนึ่งข้าง ตาเข ตาเหล่ สายตาสั้น ยาว หรือผู้ที่หูหนวก หูตึง ถ้าเป็นเพียงข้างเดียว ท่านว่าไม่เป็นผู้พิการตามกฎหมาย ไม่นานมานี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิทธิผู้พิการ กระผมขอนำมารายงานท่านผู้อ่านเพื่อประโยชน์ของผู้พิการและผู้สูงวัยต่อไป อย่างกระผมด้วยครับ แหะ ๆ คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีมีอยู่สามท่าน ท่านแรกขาทั้งสองข้างขาดแต่กำเนิด ส่วนอีกสองท่านขาทั้งสองข้างไม่มีความรู้สึกอันเกิดจากอุบัติเหตุไม่สามารถ เคลื่อนไหวได้ ทั้งสามท่านยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ ๒ ผู้อำนวยการสำนักโยธาที่ ๓ และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน)ที่ ๔ ต่อศาลปกครองว่าบริษัทผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้รับสัมปทานจาก กทม. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ให้ก่อสร้างโครงการขนส่งระบบมวลชนกรุงเทพมหานครและได้ก่อสร้างสถานีขนส่ง รวม ๒๓ สถานี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ มีหน้าที่ควบคุมตามสัญญาสัมปทานต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ แต่ทว่ามีแค่ห้าสถานีเอง ที่มีบันไดเลื่อนไฟฟ้าและมีลิฟต์ในบางจุดแต่ไม่มีทางลาดในพื้นที่ต่างระดับ อีก ๑๘ สถานี ไม่ทำอะไรสักอย่างแบบว่าตาบอดหูหนวกขาพิการจัดเต็มมายังไง ก็ตัวใครตัวมันนะโยม นอกจากนี้ยังไม่มีแผนผังหรือป้ายติดประกาศขนาดใหญ่และติดไฟให้คนสายตาเลือนรางเห็นชัดเจน ไม่มีป้ายบอกทางข้อมูลตารางการเดินรถเป็นตัวอักษรเบรลล์และตัวพิมพ์ใหญ่และอีกหลายสิ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้สำหรับผู้พิการก็ไม่ทำ ไปร้องขอและเข้าประชุมหลายครั้งเพื่อขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่จัดทำก็เงียบเฉย จึงมาฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯมิได้กำหนดรายละเอียดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ กฎและระเบียบที่เกี่ยวกับการนี้ออกมาภายหลังการทำสัญญาสัมปทานทั้งสิ้น ในชั้นศาลปกครองสูงสุดมีประเด็นวินิจฉัยที่น่าสนใจดังนี้ขอรับ หนึ่ง ผู้ฟ้องคดีทั้งสามมีสิทธิฟ้อง ผอ.สำนักการโยธาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หรือไม่ ท่านว่าไม่มีสิทธิฟ้องเนื่องจากเป็นข้าราชการในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการกระทำของผู้ถูก ฟ้องคดีที่ ๓ สอง ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องในกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีหรือไม่ ท่านว่าคำฟ้องที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งไม่รับไว้พิจารณา เว้นแต่ศาลเห็นว่าเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม ศาลจะรับไว้พิจารณาก็ได้ คำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาให้เป็นที่สุด และคำสั่งดังกล่าวจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำสั่งรับคำฟ้องเป็นองค์คณะ ซึ่งในคดีนี้ปรากฏว่าศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาซึ่งกระทำโดยองค์คณะและได้ มีการวินิจฉัยว่า การยื่นฟ้องคดีนี้จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมคือคนพิการและผู้สูงอายุโดยทั่วไป คำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาจึงเป็นที่สุด บริษัท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ต่อสู้ว่ามิได้เป็นหน่วยงานทางปกครองเนื่องจากมิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล หรือสั่งการของ กทม.และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ท่านว่าผู้ถูกฟ้อง คดีที่ ๔ แม้จะมิใช่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ...ฯลฯ...แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครโดยได้รับสัมปทาน จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่งมวลชนอันเป็นกิจการทางปกครองจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง แล้ว กทม.โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ในการไม่ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการหรือไม่ เนื่องจากกฎและระเบียบต่าง ๆ ที่บังคับในเรื่องนี้ออกมาภายหลังการทำสัญญาสัมปทานนี้แล้วทั้งสิ้น ท่านว่าเมื่อ กฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (๒๕๔๒) ออกตามความ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ กำหนดอาคารที่ต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการและ ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่ง มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ จึงไม่อาจใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานได้ (ภายหลังสัญญาสัมปทาน) แต่เมื่อ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯ ไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดไม่ให้ใช้บังคับกับอาคารสถานที่ยานพาหนะที่มีอยู่ก่อน เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม.ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ยังปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรายงานต่อเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแสดงว่าอยู่ในวิสัยของกทม.ที่จะดำเนินการได้ นอกจากนี้นับแต่วันที่กฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวได้บังคับใช้มาจนถึงวันที่ ผู้ฟ้องคดีทั้งสามยื่นฟ้องในคดีนี้เป็นระยะเวลากว่า ๖ ปีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จัดเพียงทางขึ้นลงเป็นบันไดเลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าและมีลิฟต์บางจุดเพียง ๕ สถานีจากจำนวน ๒๓ สถานีเท่านั้น จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ พิพากษา กลับ เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกตามกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๕๐/๒๕๕๗) กำลังสร้างอีกหลายสาย ไม่น่าจะมีคดีกันอีกนะขอรับ. พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์ www.facebook.com/pisit polruckket อีเมล : pisit_polruckket@hotmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/319786
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)