สมัครใจทะเลาะวิวาท ในกฎหมายไทยไม่มีจริง!
จากกรณีข่าวการทำร้ายร่างกายของผู้ชายกับผู้หญิงในการถอยรถตามคลิปที่ปรากฏในโลกออนไลน์ ชื่อเรื่อง “เขาว่าเขา (ใหญ่) แต่ต่อยผู้หญิง” เรื่องดังกล่าว ฝ่ายหญิงอ้างว่า ขณะขับรถไปรับเพื่อนเพื่อทำธุระที่หน้าปากซอย คู่กรณีได้ขับรถเบนซ์สวนเข้ามา ซึ่งตามปกติ รถที่สวนจะต้องหลบที่เวิ้งข้างถนน แต่คู่กรณีไม่ยอม ส่งผลให้เรื่องราวบานปลาย ขณะที่ฝ่ายชายซึ่งอ้างตัวว่าเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชานิติศาสตร์ให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง บอกว่า ไม่ได้ทำร้ายร่างกายใคร แต่เป็นการ สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน
ต่อคำอ้างที่ว่า “สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน” เป็นประเด็นสะกิดใจว่าตามหลักกฎหมายมีเรื่อง การสมัครใจทะเลาะวิวาทจริงหรือไม่? เดลินิวส์ออนไลน์สอบถามไปยัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า การสมัครใจทะเลาะวิวาทตามหลักกฎหมายไม่มีจริง เพราะการทะเลาะวิวาทก็คือการทะเลาะวิวาทโดยทั่วไป มีผลตามคดีทำร้ายร่างกาย เปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายปกติ
“ยกตัวอย่างง่าย ๆ ของการสมัครใจทะเลาะวิวาทเปรียบได้กับการแข่งขันกีฬา เช่น ชกมวย เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยินดีต่อสู้กันภายใต้กฎกติกาที่ทั้งสองฝ่ายรับรู้ ดังนั้น การทะเลาะวิวาทใด ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือกติกา จึงถือเป็นการทำร้ายร่างกายตามปกติ มีบทลงโทษตามกระบวนการทางกฎหมาย” อาจารย์วนิดา กล่าว ด้านตำรวจเจ้าของคดีได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชน ว่า พนักงานสอบสวนได้ติดต่อฝ่ายชายซึ่งเป็นคู่กรณีมารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว เบื้องต้นเข้าข่ายทำร้ายร่างกายผู้อื่น มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งเป็นคดีลหุโทษ โดยพนักงานสอบสวนใช้หลักฐานจากคลิปเหตุการณ์ที่มีการบันทึกไว้ โดยก่อนหน้านี้ฝ่ายชายคู่กรณีให้การปฏิเสธและขอเตรียมพยานหลักฐาน ก่อนเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนพร้อมทนายความในวันที่ 27 ก.พ. เวลา 18.00 น.
อย่างไรก็ตาม คาดว่าประชาชนควรจะได้รับรู้คำให้การของฝ่ายชายคู่กรณีว่าจะให้ปากคำกับตำรวจอย่างไร และแน่นอนว่ากระแสทางสังคมออนไลน์ยังคงติดตามข่าวดังกล่าวว่าผลสุดท้ายจะลงเอยแบบใดสำหรับ กฎหมายความผิดต่อร่างกายนั้น มาดูกันให้ชัดกับประมวลกฎหมายอาญาดังมาตราต่อไปนี้ มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิด นั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสิบปี
อันตรายสาหัสนั้น คือ (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (5) แท้งลูก (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (8) ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า ยี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณีกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 297 ถ้าความผิด นั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี มาตรา 299 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ รับ อันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อห้ามการ ชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายนั้นแม้ผู้เสียหายจะยอมความแต่ก็ไม่มีผลให้คดียุติ เพราะการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ป.อ. เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน โดยคดีความผิดต่อแผ่นดินนั้นเป็นความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย และเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่ความจะไปทำความตกลงยอมความกันไม่ได้ แม้ว่าคู่ความจะได้ทำการยอมความหรือถอนฟ้องคดีไปแล้ว พนักงานสอบสวนยังอาจดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ต้องหาได้ อย่างไรก็ดีการยอมความในคดีอาญาของผู้เสียหายเองนั้นอาจมีผลเป็นการยอมความในส่วนคดีละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานทำร้ายร่างกายหากในการยอมความนั้นมีเนื้อหาบ่งถึงการยอมความในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาด้วย (ข้อมูลจากศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พอสรุปได้ชัด ๆ จาก คำกล่าวอ้างที่ว่า ทะเลาะด้วยความสมัครใจ มีจริงในกฎหมายหรือไม่...คงได้คำตอบ
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/440/187087 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เหตุการณ์ ทะเลาะวิวาท จากกรณีข่าวการทำร้ายร่างกายของผู้ชายกับผู้หญิงในการถอยรถตามคลิปที่ปรากฏในโลกออนไลน์ ชื่อเรื่อง “เขาว่าเขา (ใหญ่) แต่ต่อยผู้หญิง” เรื่องดังกล่าว ฝ่ายหญิงอ้างว่า ขณะขับรถไปรับเพื่อนเพื่อทำธุระที่หน้าปากซอย คู่กรณีได้ขับรถเบนซ์สวนเข้ามา ซึ่งตามปกติ รถที่สวนจะต้องหลบที่เวิ้งข้างถนน แต่คู่กรณีไม่ยอม ส่งผลให้เรื่องราวบานปลาย ขณะที่ฝ่ายชายซึ่งอ้างตัวว่าเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชานิติศาสตร์ให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง บอกว่า ไม่ได้ทำร้ายร่างกายใคร แต่เป็นการ สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน ต่อคำอ้างที่ว่า “สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน” เป็นประเด็นสะกิดใจว่าตามหลักกฎหมายมีเรื่อง การสมัครใจทะเลาะวิวาทจริงหรือไม่? เดลินิวส์ออนไลน์สอบถามไปยัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า การสมัครใจทะเลาะวิวาทตามหลักกฎหมายไม่มีจริง เพราะการทะเลาะวิวาทก็คือการทะเลาะวิวาทโดยทั่วไป มีผลตามคดีทำร้ายร่างกาย เปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายปกติ “ยกตัวอย่างง่าย ๆ ของการสมัครใจทะเลาะวิวาทเปรียบได้กับการแข่งขันกีฬา เช่น ชกมวย เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยินดีต่อสู้กันภายใต้กฎกติกาที่ทั้งสองฝ่ายรับรู้ ดังนั้น การทะเลาะวิวาทใด ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือกติกา จึงถือเป็นการทำร้ายร่างกายตามปกติ มีบทลงโทษตามกระบวนการทางกฎหมาย” อาจารย์วนิดา กล่าว ด้านตำรวจเจ้าของคดีได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชน ว่า พนักงานสอบสวนได้ติดต่อฝ่ายชายซึ่งเป็นคู่กรณีมารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว เบื้องต้นเข้าข่ายทำร้ายร่างกายผู้อื่น มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งเป็นคดีลหุโทษ โดยพนักงานสอบสวนใช้หลักฐานจากคลิปเหตุการณ์ที่มีการบันทึกไว้ โดยก่อนหน้านี้ฝ่ายชายคู่กรณีให้การปฏิเสธและขอเตรียมพยานหลักฐาน ก่อนเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนพร้อมทนายความในวันที่ 27 ก.พ. เวลา 18.00 น. อย่างไรก็ตาม คาดว่าประชาชนควรจะได้รับรู้คำให้การของฝ่ายชายคู่กรณีว่าจะให้ปากคำกับตำรวจอย่างไร และแน่นอนว่ากระแสทางสังคมออนไลน์ยังคงติดตามข่าวดังกล่าวว่าผลสุดท้ายจะลงเอยแบบใดสำหรับ กฎหมายความผิดต่อร่างกายนั้น มาดูกันให้ชัดกับประมวลกฎหมายอาญาดังมาตราต่อไปนี้ มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิด นั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสิบปี อันตรายสาหัสนั้น คือ (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (5) แท้งลูก (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (8) ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า ยี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณีกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 297 ถ้าความผิด นั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี มาตรา 299 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ รับ อันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อห้ามการ ชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายนั้นแม้ผู้เสียหายจะยอมความแต่ก็ไม่มีผลให้คดียุติ เพราะการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ป.อ. เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน โดยคดีความผิดต่อแผ่นดินนั้นเป็นความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย และเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่ความจะไปทำความตกลงยอมความกันไม่ได้ แม้ว่าคู่ความจะได้ทำการยอมความหรือถอนฟ้องคดีไปแล้ว พนักงานสอบสวนยังอาจดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ต้องหาได้ อย่างไรก็ดีการยอมความในคดีอาญาของผู้เสียหายเองนั้นอาจมีผลเป็นการยอมความในส่วนคดีละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานทำร้ายร่างกายหากในการยอมความนั้นมีเนื้อหาบ่งถึงการยอมความในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาด้วย (ข้อมูลจากศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พอสรุปได้ชัด ๆ จาก คำกล่าวอ้างที่ว่า ทะเลาะด้วยความสมัครใจ มีจริงในกฎหมายหรือไม่...คงได้คำตอบ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/440/187087
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)