ก.แรงงานปรับเกณฑ์จ่ายเงินเข้ากองทุนเหตุช่วยนายจ้างหาลูกจ้างพิการไม่ได้

แสดงความคิดเห็น

ก.แรงงานช่วยสถานประกอบการหาลูกจ้างพิการไม่ได้ ปรับเกณฑ์คำนวณจ่ายเงินเข้ากองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจากจ่ายในอัตราค่า จ้างขั้นต่ำคูณด้วย 365 วัน ให้เหลือ 313 วัน ชี้เพื่อให้ความเป็นธรรมนายจ้าง

นางปราณิน มุตตาหารัช รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประชุมคณะทำงานพิจารณาทบทวน “กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบกิจการและหน่วย งานของรัฐต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือสถานประกอบกิจการต้องนำส่งเข้ากองทุนและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554 โดยที่ประชุมได้พิจารณาข้อกำหนดกฎกระทรวงแรงงานที่ให้สถานประกอบการจ้างงาน คนพิการโดยมีลูกจ้างปกติ 100 คน จะต้องรับคนพิการเข้าทำงาน 1 คน หากไม่จ้างงานคนพิการก็จะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่วันละ 300 บาทคูณด้วยระยะเวลา 365 วัน รวมแล้วต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตรา 109,500 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับสูตรการคำนวณเงินเข้ากองทุน โดยนำค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วย 313 วัน รวมแล้วจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราที่ปรับสูตรการคำนวณอยู่ที่ 93,900 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งปรับกติกาการคำนวณวันทำงานและจำนวนเงินก็เพื่อให้ความเป็นธรรมกับนายจ้าง

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาวิจัยจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและ ต่างประเทศเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงเพื่อกำหนด มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

“ปัจจุบัน มีผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการจากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านคนทั่วประเทศ การจ้างงานคนพิการนั้นรัฐจำเป็นจะต้องดูแลให้นายจ้างและคนพิการอยู่ได้โดย รัฐจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ แม้ว่าจำนวนคนพิการที่มีการขึ้นทะเบียนในปัจจุบันจะยังไม่เพียงพอกับความ ต้องการของสถานประกอบการ”รองปลัด รง.กล่าว

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000034329 (ขนาดไฟล์: 164)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มี.ค.57

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 27/03/2557 เวลา 05:20:23

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ก.แรงงานช่วยสถานประกอบการหาลูกจ้างพิการไม่ได้ ปรับเกณฑ์คำนวณจ่ายเงินเข้ากองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจากจ่ายในอัตราค่า จ้างขั้นต่ำคูณด้วย 365 วัน ให้เหลือ 313 วัน ชี้เพื่อให้ความเป็นธรรมนายจ้าง นางปราณิน มุตตาหารัช รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประชุมคณะทำงานพิจารณาทบทวน “กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบกิจการและหน่วย งานของรัฐต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือสถานประกอบกิจการต้องนำส่งเข้ากองทุนและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554 โดยที่ประชุมได้พิจารณาข้อกำหนดกฎกระทรวงแรงงานที่ให้สถานประกอบการจ้างงาน คนพิการโดยมีลูกจ้างปกติ 100 คน จะต้องรับคนพิการเข้าทำงาน 1 คน หากไม่จ้างงานคนพิการก็จะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่วันละ 300 บาทคูณด้วยระยะเวลา 365 วัน รวมแล้วต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตรา 109,500 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับสูตรการคำนวณเงินเข้ากองทุน โดยนำค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วย 313 วัน รวมแล้วจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราที่ปรับสูตรการคำนวณอยู่ที่ 93,900 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งปรับกติกาการคำนวณวันทำงานและจำนวนเงินก็เพื่อให้ความเป็นธรรมกับนายจ้าง นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาวิจัยจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและ ต่างประเทศเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงเพื่อกำหนด มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น “ปัจจุบัน มีผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการจากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านคนทั่วประเทศ การจ้างงานคนพิการนั้นรัฐจำเป็นจะต้องดูแลให้นายจ้างและคนพิการอยู่ได้โดย รัฐจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ แม้ว่าจำนวนคนพิการที่มีการขึ้นทะเบียนในปัจจุบันจะยังไม่เพียงพอกับความ ต้องการของสถานประกอบการ”รองปลัด รง.กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000034329 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...