ปลดแอก'ภาระสังคม'แก่'คนพิการ' ...เซ็นทาราเปิดโอกาส'หลากอาชีพ'ให้ทำกิน

แสดงความคิดเห็น

เพราะจิตใจที่เปิดกว้าง ปราศจากอคติ และคำนึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ ทำให้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของเหล่า "ผู้ทุพพลภาพ"เจิดจ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่ง "กฎหมายจ้างงานคนพิการ" คลอดออกมาแบบพอดิบพอดี โดยมาตรา 33 ระบุให้หน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องรับคนพิการเข้าทำงาน 1 คน ส่งผลให้ผู้ทุพพลภาพมีอาชีพในการหาเลี้ยงตัวและครอบครัว มากกว่าการเป็นวนิพกเล่นดนตรีแลกเงิน ขายลอตเตอรี่ นวดแผนไทย หรือคอลเซ็นเตอร์

นอกจากนี้ พวกเขายังกลายเป็นคนเต็มคนที่ประกอบอาชีพการงานได้ไม่แพ้คนธรรมดา ไล่เรียงตั้งแต่พนักงานซักรีดเสื้อผ้า แม่บ้าน ฝ่ายครัว ทำเบเกอรี่ ให้บริการเซอร์วิสด้านไอที ขับรถส่งพนักงานด้วยกัน กระทั่งเป็นหนึ่งในพนักงานของแผนก HR หรือฝ่ายบุคคล!! ซึ่งหากเป็นงานในมูลนิธิคนพิการอย่างพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิ การ (พัทยา) หรือศูนย์คนพิการอื่นๆ คงไม่ใช่เรื่องแปลก ทว่า ในโรงแรมชื่อดังระดับประเทศอย่าง เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ในเครือเซ็นทาราแล้ว คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ผู้ทุพพลภาพจะมีโอกาสที่ดีในการเข้าไป ฝึกงาน หรือแม้แต่บรรจุเป็นพนักงาน "ไม่ได้เป็นพราะกฎหมาย แต่คำนึงถึงโอกาสของคนเป็นสำคัญ"

คำบอกกล่าวจาก ทินกฤต ร่างใหญ่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวดีๆ ในสังคมไทย กับโครงการ "4 สร้าง: สร้างโอกาส สร้างฝัน สร้างอนาคต สร้างอาชีพกับเซ็นทารา" ที่เปิดโอกาสให้เด็กด้อยโอกาสไม่มีที่เรียนต่อ มาฝึกงานมีความรู้มีอาชีพก่อนบรรจุเป็นพนักงานหากเด็กๆ ต้องการ และจัดให้เยาวชนผู้ทุพพลภาพเข้าร่วมเป็นปีแรกในปี 2556 นี้

"ปกติเรามีโควตาให้ปีละ 10 คน ปีนี้ก็แบ่งคละเป็นเด็กปกติ 5 คน เด็กพิการอีก 5 คน ซึ่งคัดจากสถานศึกษาทั่วประเทศ ทั้งเหนือ อีสาน และภาคใต้ โดยเข้าไปพูดคุยว่าใครอยากมาฝึกงานกับเรา และเลือกเด็กที่มีความตั้งใจจริงๆ ก็เป็นอะไรที่น่าตกใจว่าเยาวชนทุพพลภาพตั้งใจทำงานดี มีความอดทนมากกว่าเด็กปกติที่ขอตัวกลับบ้านไปแล้ว 2 ราย" ทินกฤติ เริ่มอธิบาย

ข้อมูลจากการพูดคุยกับ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล รร.เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว ทำให้รู้ด้วยว่า ปีนี้เยาวชนผู้ทุพพลภาพ 5 คนที่พิการทางสายตา 2 คน และหูหนวกอีก 3 คน ได้เข้าฝึกงานในหน้าที่ที่ต่างกันตาม "ความสามารถ"และ "ความเหมาะสม" ต่องานนั้นๆ โดยแบ่งเป็นพิการทางสายตารับผิดชอบงานสปา 2 คน นวดแผนไทยและฝ่าเท้า พิการทางการได้ยินรับผิดชอบงานห้องซักรีด 2 คน ส่วนอีก 1 คนที่เหลือนั้น ทำหน้าที่แยกเอกสารและช่วยงานต่างๆ ที่ฝ่าย HR

"แม้เราจะให้โอกาสผู้ทุพพลภาพ แต่งานโรงแรมก็มีข้อจำกัดบางส่วน ยิ่งเฉพาะการอยู่หน้าฟรอนต์เจอแขก จุดนี้ยังไม่เปิดให้ผู้พิการทำได้เพราะติดขัดเรื่องการสื่อสารระหว่างกัน แต่หากเป็นงานอื่นๆ ที่ไม่ต้องพบปะพูดคุยกับผู้มาใช้บริการ ก็สอนให้เรียนรู้ได้ไม่มีปัญหาอะไร ใครมีแววดีเราก็ผลักให้เขาได้เรียนรู้มากขึ้น อยู่ในตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับศักยภาพ การเรียนรู้ของผู้ทุพพลภาพอาจช้าหน่อย เพราะการสื่อสารระหว่างกันมีดีเลย์บ้าง เนื่องจากต้องใช้ทั้งภาษามือ เขียนตอบโต้ในกรณีหูหนวก หรือต้องอาศัยการสัมผัสทำซ้ำหลายๆ ครั้งในคนตาบอด"ทินกฤติ แจงเพิ่ม อย่างไรก็ดี สำหรับเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว แล้ว พนักงานทุพพลภาพไมใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากโรงแรมแห่งนี้ มีพนักงานทุพพลภาพชายในแผนกสปา 1 คน ซึ่งเป็นคนตาบอดและทำงานกับทางโรงแรมมานานจนเข้าสู่ปีที่ 26

ทินกฤติ บอกด้วยว่า พนักงานทุพพลภาพไม่ใช่ภาระขององค์กร คนไทยเองมีน้ำใจ เห็นเพื่อนร่วมงานเป็นผู้ทุพพลภาพก็ยินดีช่วยเหลือ ทำงานด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ทั้งนี้ ในอนาคตที่ต้องรับผู้พิการเข้าทำงานตามกฎหมาย หรือแม้แต่น้องๆ ที่ผ่านการฝึกงานและบรรจุเข้าเป็นพนักงานของโรงแรม ฝั่งธุรกิจก็ต้องปรับตัวในการทำงานร่วมกับคนพิการ ซึ่งคิดไว้ว่าจะจัดการเรียนการสอนภาษามือให้กับคนในองค์กร เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้ด้วยดี

เดชา ภู่ศิริ พนักงานสปานวดแผนไทยผู้พิการทางสายตาจากอุบัติเหตุวัย 40 ประจำ รร.เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา เผยความรู้สึกถึงกรณีที่สังคมยอมรับผู้พิการมากขึ้นว่าเป็นเรื่องที่ น่ายินดีที่สุด "โอกาสเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีกำลังใจต่อสู้กับชีวิต และสามารถทำให้เรายกสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มีความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น มีงานทำเป็นหลักแหล่ง ได้ทำงานในห้องแอร์ มีสวัสดิการสังคมที่ดี สามารถเลี้ยงดูเจือจานครอบครัวหรือสมาชิกในครอบครัวได้ และเมื่อสังคมให้โอกาสเราแล้ว ก็จำเป็นที่เราจะต้องพยายามอัพตัวเองขึ้นมาให้เขาเห็นว่าเรามี ศักยภาพ ไม่ได้เป็นตัวภาระ เราทำอะไรได้เหมือนที่คนปกติทำ แค่ร่างกายไม่สมบูรณ์เท่านั้น และถ้าเป็นไปได้เอยากให้ทุกอาชีพเปิดกว้างแก่คนพิการ"

ขณะที่ น้องๆ เยาวชนผู้ทุพพลภาพก็แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ภารณี ฟองทา เยาวชน

ผู้พิการทางสายตา จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากเชียงใหม่ และขอมาฝึกงานกับ รร.เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา บอกว่า ดีใจที่ได้มาฝึกงานที่นี่ เหมือนได้เปลี่ยนแปลงชีวิต และสังคมก็ยอมรับเรา ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า

ด้าน จิตรานิจ เริงใจ เยาวชนจากลำปาง ผู้พิการทางการได้ยินที่ได้รับโอกาสให้ฝึกงานในฝ่ายบุคคลของโรง แรม เปิดใจว่า เป็นความรู้สึกอบอุ่นที่ได้มาทำงานที่นี่ พี่ๆ สอนงานดี ดูแลดี และไม่มีใครดูถูกคนพิการ นอกเหนือไปกว่านั้นคือ เรามีรายได้ มีเงินเก็บพอที่จะส่งไปให้ที่บ้านได้ เพราะความเป็นอยู่ทางโรงแรมดู แลให้หมด ที่กินที่พัก หลังจากฝึกงานเสร็จก็อยากบรรจุเป็นพนักงาน แล้วค่อยเก็บเงินเพื่อเรียนต่อในชั้นปริญญาตรี ถึงเวลาที่สังคมไทยปลดอคติต่อคนพิการอย่างจริงจัง และเปิดทางทำมาหากินให้พวกเขามากขึ้น เพื่อไม่ให้คำว่า "ภาระ" ถูกตราอยู่หน้าผู้ทุพพลภาพเหมือนในอดีตและปัจจุบันที่ยังเป็นอยู่

อย่างไรก็ดี หากองค์กรหรือสถานประกอบการที่มีบุคลากร 100 คนขึ้นไป เลือกที่จะไม่จ้างพนักงานทุพพลภาพ องค์กรหรือบริษัทนั้นจะต้องส่งเงินอุดหนุนเข้ากองทุนส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้กับทาง พก. ปีละไม่น้อยกว่า 109,500 บาท ต่อผู้พิการ 1 คน ต่อปี หรือถ้าไม่คิดจ้างงานหรือส่งเงินเข้ากองทุน ตัวกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องจัดสถานที่ให้ผู้พิการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมางาน ฝึกงาน จัดซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการจ้างงานจากคนพิการ ซึ่งต้องมีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างไม่น้อยกว่า 5 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือประมาณ 547,500 บาท ต่อผู้พิการ 1 คนต่อปี แต่ถ้ามีการจ้างผู้พิการทำงาน ค่าใช้จ่ายที่จ้างสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้.

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/tpd/1653441

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 20/05/2556 เวลา 11:42:55

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เพราะจิตใจที่เปิดกว้าง ปราศจากอคติ และคำนึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ ทำให้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของเหล่า "ผู้ทุพพลภาพ"เจิดจ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่ง "กฎหมายจ้างงานคนพิการ" คลอดออกมาแบบพอดิบพอดี โดยมาตรา 33 ระบุให้หน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องรับคนพิการเข้าทำงาน 1 คน ส่งผลให้ผู้ทุพพลภาพมีอาชีพในการหาเลี้ยงตัวและครอบครัว มากกว่าการเป็นวนิพกเล่นดนตรีแลกเงิน ขายลอตเตอรี่ นวดแผนไทย หรือคอลเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ พวกเขายังกลายเป็นคนเต็มคนที่ประกอบอาชีพการงานได้ไม่แพ้คนธรรมดา ไล่เรียงตั้งแต่พนักงานซักรีดเสื้อผ้า แม่บ้าน ฝ่ายครัว ทำเบเกอรี่ ให้บริการเซอร์วิสด้านไอที ขับรถส่งพนักงานด้วยกัน กระทั่งเป็นหนึ่งในพนักงานของแผนก HR หรือฝ่ายบุคคล!! ซึ่งหากเป็นงานในมูลนิธิคนพิการอย่างพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิ การ (พัทยา) หรือศูนย์คนพิการอื่นๆ คงไม่ใช่เรื่องแปลก ทว่า ในโรงแรมชื่อดังระดับประเทศอย่าง เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ในเครือเซ็นทาราแล้ว คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ผู้ทุพพลภาพจะมีโอกาสที่ดีในการเข้าไป ฝึกงาน หรือแม้แต่บรรจุเป็นพนักงาน "ไม่ได้เป็นพราะกฎหมาย แต่คำนึงถึงโอกาสของคนเป็นสำคัญ" คำบอกกล่าวจาก ทินกฤต ร่างใหญ่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวดีๆ ในสังคมไทย กับโครงการ "4 สร้าง: สร้างโอกาส สร้างฝัน สร้างอนาคต สร้างอาชีพกับเซ็นทารา" ที่เปิดโอกาสให้เด็กด้อยโอกาสไม่มีที่เรียนต่อ มาฝึกงานมีความรู้มีอาชีพก่อนบรรจุเป็นพนักงานหากเด็กๆ ต้องการ และจัดให้เยาวชนผู้ทุพพลภาพเข้าร่วมเป็นปีแรกในปี 2556 นี้ "ปกติเรามีโควตาให้ปีละ 10 คน ปีนี้ก็แบ่งคละเป็นเด็กปกติ 5 คน เด็กพิการอีก 5 คน ซึ่งคัดจากสถานศึกษาทั่วประเทศ ทั้งเหนือ อีสาน และภาคใต้ โดยเข้าไปพูดคุยว่าใครอยากมาฝึกงานกับเรา และเลือกเด็กที่มีความตั้งใจจริงๆ ก็เป็นอะไรที่น่าตกใจว่าเยาวชนทุพพลภาพตั้งใจทำงานดี มีความอดทนมากกว่าเด็กปกติที่ขอตัวกลับบ้านไปแล้ว 2 ราย" ทินกฤติ เริ่มอธิบาย ข้อมูลจากการพูดคุยกับ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล รร.เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว ทำให้รู้ด้วยว่า ปีนี้เยาวชนผู้ทุพพลภาพ 5 คนที่พิการทางสายตา 2 คน และหูหนวกอีก 3 คน ได้เข้าฝึกงานในหน้าที่ที่ต่างกันตาม "ความสามารถ"และ "ความเหมาะสม" ต่องานนั้นๆ โดยแบ่งเป็นพิการทางสายตารับผิดชอบงานสปา 2 คน นวดแผนไทยและฝ่าเท้า พิการทางการได้ยินรับผิดชอบงานห้องซักรีด 2 คน ส่วนอีก 1 คนที่เหลือนั้น ทำหน้าที่แยกเอกสารและช่วยงานต่างๆ ที่ฝ่าย HR "แม้เราจะให้โอกาสผู้ทุพพลภาพ แต่งานโรงแรมก็มีข้อจำกัดบางส่วน ยิ่งเฉพาะการอยู่หน้าฟรอนต์เจอแขก จุดนี้ยังไม่เปิดให้ผู้พิการทำได้เพราะติดขัดเรื่องการสื่อสารระหว่างกัน แต่หากเป็นงานอื่นๆ ที่ไม่ต้องพบปะพูดคุยกับผู้มาใช้บริการ ก็สอนให้เรียนรู้ได้ไม่มีปัญหาอะไร ใครมีแววดีเราก็ผลักให้เขาได้เรียนรู้มากขึ้น อยู่ในตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับศักยภาพ การเรียนรู้ของผู้ทุพพลภาพอาจช้าหน่อย เพราะการสื่อสารระหว่างกันมีดีเลย์บ้าง เนื่องจากต้องใช้ทั้งภาษามือ เขียนตอบโต้ในกรณีหูหนวก หรือต้องอาศัยการสัมผัสทำซ้ำหลายๆ ครั้งในคนตาบอด"ทินกฤติ แจงเพิ่ม อย่างไรก็ดี สำหรับเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว แล้ว พนักงานทุพพลภาพไมใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากโรงแรมแห่งนี้ มีพนักงานทุพพลภาพชายในแผนกสปา 1 คน ซึ่งเป็นคนตาบอดและทำงานกับทางโรงแรมมานานจนเข้าสู่ปีที่ 26 ทินกฤติ บอกด้วยว่า พนักงานทุพพลภาพไม่ใช่ภาระขององค์กร คนไทยเองมีน้ำใจ เห็นเพื่อนร่วมงานเป็นผู้ทุพพลภาพก็ยินดีช่วยเหลือ ทำงานด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ทั้งนี้ ในอนาคตที่ต้องรับผู้พิการเข้าทำงานตามกฎหมาย หรือแม้แต่น้องๆ ที่ผ่านการฝึกงานและบรรจุเข้าเป็นพนักงานของโรงแรม ฝั่งธุรกิจก็ต้องปรับตัวในการทำงานร่วมกับคนพิการ ซึ่งคิดไว้ว่าจะจัดการเรียนการสอนภาษามือให้กับคนในองค์กร เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้ด้วยดี เดชา ภู่ศิริ พนักงานสปานวดแผนไทยผู้พิการทางสายตาจากอุบัติเหตุวัย 40 ประจำ รร.เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา เผยความรู้สึกถึงกรณีที่สังคมยอมรับผู้พิการมากขึ้นว่าเป็นเรื่องที่ น่ายินดีที่สุด "โอกาสเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีกำลังใจต่อสู้กับชีวิต และสามารถทำให้เรายกสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มีความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น มีงานทำเป็นหลักแหล่ง ได้ทำงานในห้องแอร์ มีสวัสดิการสังคมที่ดี สามารถเลี้ยงดูเจือจานครอบครัวหรือสมาชิกในครอบครัวได้ และเมื่อสังคมให้โอกาสเราแล้ว ก็จำเป็นที่เราจะต้องพยายามอัพตัวเองขึ้นมาให้เขาเห็นว่าเรามี ศักยภาพ ไม่ได้เป็นตัวภาระ เราทำอะไรได้เหมือนที่คนปกติทำ แค่ร่างกายไม่สมบูรณ์เท่านั้น และถ้าเป็นไปได้เอยากให้ทุกอาชีพเปิดกว้างแก่คนพิการ" ขณะที่ น้องๆ เยาวชนผู้ทุพพลภาพก็แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ภารณี ฟองทา เยาวชน ผู้พิการทางสายตา จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากเชียงใหม่ และขอมาฝึกงานกับ รร.เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา บอกว่า ดีใจที่ได้มาฝึกงานที่นี่ เหมือนได้เปลี่ยนแปลงชีวิต และสังคมก็ยอมรับเรา ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ด้าน จิตรานิจ เริงใจ เยาวชนจากลำปาง ผู้พิการทางการได้ยินที่ได้รับโอกาสให้ฝึกงานในฝ่ายบุคคลของโรง แรม เปิดใจว่า เป็นความรู้สึกอบอุ่นที่ได้มาทำงานที่นี่ พี่ๆ สอนงานดี ดูแลดี และไม่มีใครดูถูกคนพิการ นอกเหนือไปกว่านั้นคือ เรามีรายได้ มีเงินเก็บพอที่จะส่งไปให้ที่บ้านได้ เพราะความเป็นอยู่ทางโรงแรมดู แลให้หมด ที่กินที่พัก หลังจากฝึกงานเสร็จก็อยากบรรจุเป็นพนักงาน แล้วค่อยเก็บเงินเพื่อเรียนต่อในชั้นปริญญาตรี ถึงเวลาที่สังคมไทยปลดอคติต่อคนพิการอย่างจริงจัง และเปิดทางทำมาหากินให้พวกเขามากขึ้น เพื่อไม่ให้คำว่า "ภาระ" ถูกตราอยู่หน้าผู้ทุพพลภาพเหมือนในอดีตและปัจจุบันที่ยังเป็นอยู่ อย่างไรก็ดี หากองค์กรหรือสถานประกอบการที่มีบุคลากร 100 คนขึ้นไป เลือกที่จะไม่จ้างพนักงานทุพพลภาพ องค์กรหรือบริษัทนั้นจะต้องส่งเงินอุดหนุนเข้ากองทุนส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้กับทาง พก. ปีละไม่น้อยกว่า 109,500 บาท ต่อผู้พิการ 1 คน ต่อปี หรือถ้าไม่คิดจ้างงานหรือส่งเงินเข้ากองทุน ตัวกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องจัดสถานที่ให้ผู้พิการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมางาน ฝึกงาน จัดซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการจ้างงานจากคนพิการ ซึ่งต้องมีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างไม่น้อยกว่า 5 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือประมาณ 547,500 บาท ต่อผู้พิการ 1 คนต่อปี แต่ถ้ามีการจ้างผู้พิการทำงาน ค่าใช้จ่ายที่จ้างสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้. ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/tpd/1653441

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...