เล็งออกประกาศค่าจ้างรายชั่วโมง
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อเร็วๆนี้ ได้พิจารณาเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง และได้มีมติเห็นชอบตามมติของคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองว่า ขณะนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง และให้ตัดคำว่า “วัน” ออกจากประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามข้อเสนอของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ
“ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการออกแนวปฏิบัติคุ้มครองคนทำงานพาร์ตไทม์ หากมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงไปก่อน อาจก่อให้เกิดผลกระทบในเรื่องบังคับใช้ตามมา เช่น การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในการจ้างงานชายและหญิง การประกาศเวลาทำงานปกติ การกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าชดเชย เป็นต้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาพการจ้างที่มีอยู่แล้ว รวมไปถึงกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ลูกจ้างไม่มีความมั่นคงในการทำงาน” นพ.สมเกียรติกล่าว และว่า ที่ประชุมยังเห็นพ้องกับคณะอนุกรรมการ กรณีการกำหนดอัตราค่าจ่งขั้นต่ำรายชั่วโมงจะก่อให้เกิดผลดีต่อกิจการบางประเภท เช่นภาคบริการ ท่องเที่ยว โรงแรม ธุรกิจแปรรูปอาหารสัตว์ทะเลหรือเลี้ยงกุ้ง เพราะนายจ้างสามารถเลือกจ้างงานในช่วงเวลาที่ต้องการได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในช่วงที่มีงานเร่งด่วน หรือกิจการที่มีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า 8 ชั่วโมง แต่จะส่งผลลบต่อตลาดแรงงานในวงกว้าง เนื่องจากนายจ้างอาจหลีกเลี่ยงมาจ้างงานบางช่วงเวลามากขึ้น เพราะจ่ายค่าจ้างถูกกว่า และไม่ต้องรับผิดชอบสวัสดิการต่างๆ รวมถึงประกันสังคม จึงเห็นว่าควรแยกประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชาวโมงออกจากประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน เพราะลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงจะมีสภาพการจ้างงานต่างกัน จึงให้ กสร.ศึกษาเพิ่มเต็มก่อนกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับกลุ่มทำงานพาร์ตไทม์
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อเร็วๆนี้ ได้พิจารณาเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง และได้มีมติเห็นชอบตามมติของคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองว่า ขณะนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง และให้ตัดคำว่า “วัน” ออกจากประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามข้อเสนอของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ “ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการออกแนวปฏิบัติคุ้มครองคนทำงานพาร์ตไทม์ หากมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงไปก่อน อาจก่อให้เกิดผลกระทบในเรื่องบังคับใช้ตามมา เช่น การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในการจ้างงานชายและหญิง การประกาศเวลาทำงานปกติ การกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าชดเชย เป็นต้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาพการจ้างที่มีอยู่แล้ว รวมไปถึงกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ลูกจ้างไม่มีความมั่นคงในการทำงาน” นพ.สมเกียรติกล่าว และว่า ที่ประชุมยังเห็นพ้องกับคณะอนุกรรมการ กรณีการกำหนดอัตราค่าจ่งขั้นต่ำรายชั่วโมงจะก่อให้เกิดผลดีต่อกิจการบางประเภท เช่นภาคบริการ ท่องเที่ยว โรงแรม ธุรกิจแปรรูปอาหารสัตว์ทะเลหรือเลี้ยงกุ้ง เพราะนายจ้างสามารถเลือกจ้างงานในช่วงเวลาที่ต้องการได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในช่วงที่มีงานเร่งด่วน หรือกิจการที่มีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า 8 ชั่วโมง แต่จะส่งผลลบต่อตลาดแรงงานในวงกว้าง เนื่องจากนายจ้างอาจหลีกเลี่ยงมาจ้างงานบางช่วงเวลามากขึ้น เพราะจ่ายค่าจ้างถูกกว่า และไม่ต้องรับผิดชอบสวัสดิการต่างๆ รวมถึงประกันสังคม จึงเห็นว่าควรแยกประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชาวโมงออกจากประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน เพราะลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงจะมีสภาพการจ้างงานต่างกัน จึงให้ กสร.ศึกษาเพิ่มเต็มก่อนกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับกลุ่มทำงานพาร์ตไทม์
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)