ผู้ประกอบการใหม่กับการเริ่มต้นธุรกิจ
จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ สามารถเรียกว่า "กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ขนาดย่อม" ซึ่งเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันกิจการ SMEs มีอัตราการจ้างแรงงานสูงถึง 80-90% ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรมีส่วนร่วมในการหาแนวทาง ตลอดจนนโยบายและแผนผลักดัน ให้กลุ่ม SMEs เหล่านี้ มีส่วนร่วมในการเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ SMEs ขนาดย่อม ซึ่งต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
สำหรับ ผู้ประกอบการใหม่รายใดที่กำลังตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจ เพื่อเข้าสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง ควรลองศึกษา ทบทวน และแสวงหาโอกาสความเป็นไปได้มากน้อยทางธุรกิจ เพื่อที่กิจการของตนจะสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นในอนาคต โดยมีข้อแนะนำ 4 แนวทาง ดังนี้ 1.วางแผนแนวคิดทางธุรกิจ เช่น ความเหมาะสม/คุณภาพของสินค้าหรือบริการที่จะนำเสนอต่อตลาด, ความสามารถในการแข่งขันกับตลาด, จุดแข็ง/จุดอ่อนของสินค้าหรือบริการ, ระดับราคาของสินค้าหรือบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่ง, ทำเลที่ตั้ง, วิธีการนำเสนอสินค้าหรือบริการ (ขายเอง/ขายผ่านตัวแทนจำหน่าย/ขายผ่านอินเทอร์เน็ต) เป็นต้น 2.คำนึง ถึงเรื่องการตลาด เช่น ประเภท/จำนวนของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย, การตอบสนองของลูกค้าด้านการนำเสนอ/ราคา/ปริมาณของสินค้าหรือบริการ, วิธีการ/งบประมาณในการโฆษณาประชาสัมพันธ์, วิธีการหาลูกค้าได้ล่วงหน้า เพื่อช่วยวางแผนการผลิตหรือเตรียมเงินทุนหมุนเวียน 3.คำนึงถึงเรื่อง การผลิต หรือขั้นตอนการให้บริการ เช่น ที่มา/ราคาของวัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบ, การควบคุมคุณภาพระหว่างการผลิตหรือการให้บริการ, วิธีแก้ไขปัญหาของความเสียหายระหว่างการผลิต, วิธีรองรับความไม่พอใจของลูกค้าในสินค้าหรือบริการ เป็นต้น4.คำนึงถึงเรื่องแหล่งเงินทุน เช่น แหล่งที่มา/จำนวนของเงินทุน, หากเป็นเงินทุนจากการกู้ยืมควรคำนึงถึงระยะเวลา/อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระ เงินกู้, ระยะเวลาในการคืนทุนของธุรกิจ, ความเสี่ยงที่จะทำให้ธุรกิจประสบปัญหา, วิธีแก้ไขหรือป้องกันเมื่อธุรกิจประสบปัญหา เป็นต้น จะเห็นว่า 4 แนวทางที่นำเสนอนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของแนวความคิดที่ผู้ประกอบการใหม่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ ก่อนการเริ่มต้นธุรกิจอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเปรียบเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงธุรกิจให้มีชีวิตชีวา นั่นคือ "เงินทุน" ซึ่งสิ่งที่เป็นใบเบิกทางที่สำคัญในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนคือ "แผนธุรกิจ" โดยกล่าวไว้ในฉบับที่แล้วนั่นเอง
ขอบคุณ ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374208236
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นักธุรกิจจับมือร่วมกัน จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ สามารถเรียกว่า "กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ขนาดย่อม" ซึ่งเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันกิจการ SMEs มีอัตราการจ้างแรงงานสูงถึง 80-90% ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรมีส่วนร่วมในการหาแนวทาง ตลอดจนนโยบายและแผนผลักดัน ให้กลุ่ม SMEs เหล่านี้ มีส่วนร่วมในการเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ SMEs ขนาดย่อม ซึ่งต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สำหรับ ผู้ประกอบการใหม่รายใดที่กำลังตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจ เพื่อเข้าสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง ควรลองศึกษา ทบทวน และแสวงหาโอกาสความเป็นไปได้มากน้อยทางธุรกิจ เพื่อที่กิจการของตนจะสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นในอนาคต โดยมีข้อแนะนำ 4 แนวทาง ดังนี้ 1.วางแผนแนวคิดทางธุรกิจ เช่น ความเหมาะสม/คุณภาพของสินค้าหรือบริการที่จะนำเสนอต่อตลาด, ความสามารถในการแข่งขันกับตลาด, จุดแข็ง/จุดอ่อนของสินค้าหรือบริการ, ระดับราคาของสินค้าหรือบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่ง, ทำเลที่ตั้ง, วิธีการนำเสนอสินค้าหรือบริการ (ขายเอง/ขายผ่านตัวแทนจำหน่าย/ขายผ่านอินเทอร์เน็ต) เป็นต้น 2.คำนึง ถึงเรื่องการตลาด เช่น ประเภท/จำนวนของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย, การตอบสนองของลูกค้าด้านการนำเสนอ/ราคา/ปริมาณของสินค้าหรือบริการ, วิธีการ/งบประมาณในการโฆษณาประชาสัมพันธ์, วิธีการหาลูกค้าได้ล่วงหน้า เพื่อช่วยวางแผนการผลิตหรือเตรียมเงินทุนหมุนเวียน 3.คำนึงถึงเรื่อง การผลิต หรือขั้นตอนการให้บริการ เช่น ที่มา/ราคาของวัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบ, การควบคุมคุณภาพระหว่างการผลิตหรือการให้บริการ, วิธีแก้ไขปัญหาของความเสียหายระหว่างการผลิต, วิธีรองรับความไม่พอใจของลูกค้าในสินค้าหรือบริการ เป็นต้น4.คำนึงถึงเรื่องแหล่งเงินทุน เช่น แหล่งที่มา/จำนวนของเงินทุน, หากเป็นเงินทุนจากการกู้ยืมควรคำนึงถึงระยะเวลา/อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระ เงินกู้, ระยะเวลาในการคืนทุนของธุรกิจ, ความเสี่ยงที่จะทำให้ธุรกิจประสบปัญหา, วิธีแก้ไขหรือป้องกันเมื่อธุรกิจประสบปัญหา เป็นต้น จะเห็นว่า 4 แนวทางที่นำเสนอนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของแนวความคิดที่ผู้ประกอบการใหม่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ ก่อนการเริ่มต้นธุรกิจอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเปรียบเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงธุรกิจให้มีชีวิตชีวา นั่นคือ "เงินทุน" ซึ่งสิ่งที่เป็นใบเบิกทางที่สำคัญในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนคือ "แผนธุรกิจ" โดยกล่าวไว้ในฉบับที่แล้วนั่นเอง ขอบคุณ ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374208236 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)