นัดพบแรงงานคนพิการ ความภูมิใจที่ยืนได้ด้วยตัวเอง

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มนัดพบแรงงานคนพิการ

“ผมอยากมีงานทำ ได้เงินเดือนมาเลี้ยงครอบครัว ตอนนี้น้องชายก็เพิ่งประสบอุบัติเหตุต้องผ่าตัดสมอง ส่วนผมเองก็ช่วยแม่รับจ้าง ทำไม้ไก่ย่าง ส่งกิโลละ 1.80 บาท วันนึงก็ทำได้ประมาณ 50-60 กิโลกรัม แต่บางวันก็ไม่ไหวครับ เพราะเมื่อยมาก ต้องนั่งทำทั้งวัน แต่ก็สู้ครับ ถ้าที่ไหนเปิดรับสมัครงานผมก็จะไป” ธนวร อินต๊ะ กล่าว

ธนวร อินต๊ะ หรือ “ภพ” หนุ่มลำปางวัย 30 ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ เมื่อ 9 ปีก่อน ขณะที่เป็นนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลลำปาง ชั้นปี 2 สาขาพืชไร่ ทำให้ทุกวันนี้เป็นคนขาพิการ แต่ก็ยังพอที่จะไปไหนมาไหนด้วยตัวเองได้ แม้จะไม่เหมือนเมื่อก่อนก็ตาม ก่อนหน้านี้เคยสมัครงานและได้ทำงานเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อราว 3 ปีก่อน แต่ก็ต้องลาออก กลับมาอยู่บ้านที่ลำปาง เพราะเงินเดือนที่ได้สู้ค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ไม่ไหว ทุกวันนี้ช่วยแม่รับจ้าง แบ่งเบาภาระแม่ ตอนนี้น้องชายก็ประสบอุบัติเหตุต้องผ่าตัดสมองอีกคน แม่ต้องรับภาระหนักมาก ลำพังแค่เบี้ยยังชีพผู้พิการเดือนละ 500 บาทนั้นไม่เพียงพอที่จะอยู่ได้ทั้งเดือน

"ภพ" อยากได้งานทำ ฝันอยากเป็นพนักงานขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะมีความชอบและสนใจในด้านนี้ คิดว่าจะสามารถแนะนำลูกค้าได้ดี หากเขาได้รับโอกาสจากนายจ้างให้เข้าไปทำงาน ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แม้ว่าตอนนี้เขามีวุฒิการศึกษาชั้นม.6 เพราะหลังจากประสบอุบัติเหตุก็ไม่สามารถไปเรียนต่อจนจบปริญญาตรีอย่างที่ หวังไว้

ด้วยเหตุนี้ ปลายเดือนกรกฎาคมนี้ กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน จึงเตรียมจัดงานนัดพบแรงงานสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ โดยร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) จัดหาตำแหน่งงานว่างสำหรับคนพิการ และหาคนพิการเข้ามาทำงาน โดยมีตำแหน่งงานว่างในงานนัดพบแรงงานจำนวน 142 อัตรา เป็นของบริษัทในเครือเซ็นทรัล เช่นบีทูเอส แฟมิลี่มาร์ท คนพิการสามารถมาสมัครงานได้ที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยนายจ้างในเครือเซ็นทรัล จะรับสมัคร สัมภาษณ์ และประกาศผลในวันนั้นเลย หากได้ผลดีก็จะขยายไปจัดร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่ที่มีนิคมอุตสาหกรรมทั่ว ประเทศต่อไป

ประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่าการส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส และคนพิการนั้น เป็นสิ่งที่เราเร่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้พวกเขาสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ ที่สำคัญคือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งคนพิการส่วนใหญ่ต้องการยืนได้ด้วยตัวเองมากกว่าขอรับการสงเคราะห์ นายจ้างหลายๆ แห่งเองก็เคยแจ้งมาว่าประสบปัญหาการหาคนพิการเข้ามาทำงาน คือประกาศแล้วแต่ไม่ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเนื่องจากต่างฝ่ายต่างหากันไม่เจอ ดังนั้นกรมการจัดหางานจึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดนัดพบแรงงานคนพิการ เพื่อให้นายจ้างและคนพิการได้มาเจอกัน

ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบกิจการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบกิจการจะต้องนำส่งเข้ากองทุน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554 กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไปต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการเข้าทำงาน 1 คน มิฉะนั้นจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามอัตราส่วนที่กำหนด คืออัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คูณจำนวน 365 วัน จะเท่ากับจำนวนเงินที่สถานประกอบกิจการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนในปีนั้น ต่อคนพิการ 1 คน

ด้าน นภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กล่าวว่า จากสถิติ ปลายเดือนมิถุนายน 2556 พบว่าขณะนี้มีสถานประกอบการประมาณ 1.2 หมื่นแห่ง และมีสถานประกอบการที่ทยอยกันปฏิบัติตามกฎกระทรวงแล้วประมาณ 8,500 แห่ง

ทั้งนี้ ตำแหน่งงานของเครือเซ็นทรัล มีหลากหลายมาก ตั้งแต่พนักงานออฟฟิศ เช่นเจ้าหน้าที่พัสดุ แคชเชียร์ รับโทรศัพท์ ไปจนถึงเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ซ่อม ซึ่งบางทีคนทั่วไปอาจจะคิดว่าคนพิการทำไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วเขาสามารถทำได้ และบางคนอาจจะมีศักยภาพสูงกว่าคนที่มีร่างกายปกติเช่นพนักงานรับโทรศัพท์ นั้น ผู้พิการทางสายตาสามารถทำได้ ซึ่ง พก.มีทะเบียนและรายชื่อคนพิการบางส่วนแล้วว่า รายไหนต้องการทำงาน และสามารถทำงานตำแหน่งไหนได้ ตลอดจนโซนที่พักกับโซนที่ทำงานที่ใกล้เคียงกัน

การเปิดโอกาสรับคนพิการเข้าทำงานตามกฎกระทรวงนั้น จะช่วยให้คนพิการได้มีงานทำ มีรายได้จุนเจือครอบครัว ทำให้พวกเขามีความภูมิใจในตนเอง ที่เข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เป็นการช่วยส่งเสริมคนพิการให้มีงานทำได้ตรงกว่าการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ขณะที่นายจ้างเองก็ได้ลูกจ้างเข้ามาทำงาน ถือเป็นเรื่องวินๆ ทั้งสองฝ่าย เพียงแต่ขอให้เปิดโอกาสสำหรับคนพิการเท่านั้นก็จะช่วยให้พวกเขามีที่ยืนใน สังคมได้ด้วยตนเอง

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130721/163899/นัดพบแรงงานคนพิการความภูมิใจที่ยืนได้ด้วยตัวเอง.html#.UesljDcrWyg (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 21/07/2556 เวลา 01:54:55 ดูภาพสไลด์โชว์  นัดพบแรงงานคนพิการ ความภูมิใจที่ยืนได้ด้วยตัวเอง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มนัดพบแรงงานคนพิการ “ผมอยากมีงานทำ ได้เงินเดือนมาเลี้ยงครอบครัว ตอนนี้น้องชายก็เพิ่งประสบอุบัติเหตุต้องผ่าตัดสมอง ส่วนผมเองก็ช่วยแม่รับจ้าง ทำไม้ไก่ย่าง ส่งกิโลละ 1.80 บาท วันนึงก็ทำได้ประมาณ 50-60 กิโลกรัม แต่บางวันก็ไม่ไหวครับ เพราะเมื่อยมาก ต้องนั่งทำทั้งวัน แต่ก็สู้ครับ ถ้าที่ไหนเปิดรับสมัครงานผมก็จะไป” ธนวร อินต๊ะ กล่าว ธนวร อินต๊ะ หรือ “ภพ” หนุ่มลำปางวัย 30 ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ เมื่อ 9 ปีก่อน ขณะที่เป็นนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลลำปาง ชั้นปี 2 สาขาพืชไร่ ทำให้ทุกวันนี้เป็นคนขาพิการ แต่ก็ยังพอที่จะไปไหนมาไหนด้วยตัวเองได้ แม้จะไม่เหมือนเมื่อก่อนก็ตาม ก่อนหน้านี้เคยสมัครงานและได้ทำงานเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อราว 3 ปีก่อน แต่ก็ต้องลาออก กลับมาอยู่บ้านที่ลำปาง เพราะเงินเดือนที่ได้สู้ค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ไม่ไหว ทุกวันนี้ช่วยแม่รับจ้าง แบ่งเบาภาระแม่ ตอนนี้น้องชายก็ประสบอุบัติเหตุต้องผ่าตัดสมองอีกคน แม่ต้องรับภาระหนักมาก ลำพังแค่เบี้ยยังชีพผู้พิการเดือนละ 500 บาทนั้นไม่เพียงพอที่จะอยู่ได้ทั้งเดือน "ภพ" อยากได้งานทำ ฝันอยากเป็นพนักงานขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะมีความชอบและสนใจในด้านนี้ คิดว่าจะสามารถแนะนำลูกค้าได้ดี หากเขาได้รับโอกาสจากนายจ้างให้เข้าไปทำงาน ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แม้ว่าตอนนี้เขามีวุฒิการศึกษาชั้นม.6 เพราะหลังจากประสบอุบัติเหตุก็ไม่สามารถไปเรียนต่อจนจบปริญญาตรีอย่างที่ หวังไว้ ด้วยเหตุนี้ ปลายเดือนกรกฎาคมนี้ กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน จึงเตรียมจัดงานนัดพบแรงงานสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ โดยร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) จัดหาตำแหน่งงานว่างสำหรับคนพิการ และหาคนพิการเข้ามาทำงาน โดยมีตำแหน่งงานว่างในงานนัดพบแรงงานจำนวน 142 อัตรา เป็นของบริษัทในเครือเซ็นทรัล เช่นบีทูเอส แฟมิลี่มาร์ท คนพิการสามารถมาสมัครงานได้ที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยนายจ้างในเครือเซ็นทรัล จะรับสมัคร สัมภาษณ์ และประกาศผลในวันนั้นเลย หากได้ผลดีก็จะขยายไปจัดร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่ที่มีนิคมอุตสาหกรรมทั่ว ประเทศต่อไป ประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่าการส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส และคนพิการนั้น เป็นสิ่งที่เราเร่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้พวกเขาสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ ที่สำคัญคือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งคนพิการส่วนใหญ่ต้องการยืนได้ด้วยตัวเองมากกว่าขอรับการสงเคราะห์ นายจ้างหลายๆ แห่งเองก็เคยแจ้งมาว่าประสบปัญหาการหาคนพิการเข้ามาทำงาน คือประกาศแล้วแต่ไม่ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเนื่องจากต่างฝ่ายต่างหากันไม่เจอ ดังนั้นกรมการจัดหางานจึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดนัดพบแรงงานคนพิการ เพื่อให้นายจ้างและคนพิการได้มาเจอกัน ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบกิจการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบกิจการจะต้องนำส่งเข้ากองทุน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554 กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไปต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการเข้าทำงาน 1 คน มิฉะนั้นจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามอัตราส่วนที่กำหนด คืออัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คูณจำนวน 365 วัน จะเท่ากับจำนวนเงินที่สถานประกอบกิจการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนในปีนั้น ต่อคนพิการ 1 คน ด้าน นภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กล่าวว่า จากสถิติ ปลายเดือนมิถุนายน 2556 พบว่าขณะนี้มีสถานประกอบการประมาณ 1.2 หมื่นแห่ง และมีสถานประกอบการที่ทยอยกันปฏิบัติตามกฎกระทรวงแล้วประมาณ 8,500 แห่ง ทั้งนี้ ตำแหน่งงานของเครือเซ็นทรัล มีหลากหลายมาก ตั้งแต่พนักงานออฟฟิศ เช่นเจ้าหน้าที่พัสดุ แคชเชียร์ รับโทรศัพท์ ไปจนถึงเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ซ่อม ซึ่งบางทีคนทั่วไปอาจจะคิดว่าคนพิการทำไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วเขาสามารถทำได้ และบางคนอาจจะมีศักยภาพสูงกว่าคนที่มีร่างกายปกติเช่นพนักงานรับโทรศัพท์ นั้น ผู้พิการทางสายตาสามารถทำได้ ซึ่ง พก.มีทะเบียนและรายชื่อคนพิการบางส่วนแล้วว่า รายไหนต้องการทำงาน และสามารถทำงานตำแหน่งไหนได้ ตลอดจนโซนที่พักกับโซนที่ทำงานที่ใกล้เคียงกัน การเปิดโอกาสรับคนพิการเข้าทำงานตามกฎกระทรวงนั้น จะช่วยให้คนพิการได้มีงานทำ มีรายได้จุนเจือครอบครัว ทำให้พวกเขามีความภูมิใจในตนเอง ที่เข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เป็นการช่วยส่งเสริมคนพิการให้มีงานทำได้ตรงกว่าการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ขณะที่นายจ้างเองก็ได้ลูกจ้างเข้ามาทำงาน ถือเป็นเรื่องวินๆ ทั้งสองฝ่าย เพียงแต่ขอให้เปิดโอกาสสำหรับคนพิการเท่านั้นก็จะช่วยให้พวกเขามีที่ยืนใน สังคมได้ด้วยตนเอง ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130721/163899/นัดพบแรงงานคนพิการความภูมิใจที่ยืนได้ด้วยตัวเอง.html#.UesljDcrWyg คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...